รถยนต์แต่ละตลาดหรือเซกเม้นท์ จะมีคู่แข่งที่แย่งชิงยอดขายกันดุเดือด แต่ในกลุ่มรถยนต์ไฮบริด เนื่องจากเป็นตลาดใหม่ในไทย ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีทำตลาดเพียงไม่กี่รุ่น และไม่มีคู่แข่งขันกันโดยตรง แต่เมื่อ “ฮอนด้า ซีวิค” เปิดตัวสู่ตลาดไทย ทำให้เก๋งคอมแพ็กต์ไฮบริดร้อนแรงขึ้นมาทันที หลังจากตลาดนี้มีเพียง “โตโยต้า พริอุส” เท่านั้น แม้จะแตกต่างในรายละเอียด แต่ก็น่าสนใจว่าเป็นคู่แข่งกันโดยตรงหรือไม่ ? และทั้งสองรุ่นมีดีเด่นต่างกันอย่างไร?...
รูปลักษณ์และการออกแบบ
การกำเนิดของรถยนต์ทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกัน โตโยต้า พริอุส นับว่าเกิดมาเพื่อเป็นรถไฮบริด เพราะได้มีการพัฒนาและออกแบบให้เป็นรถไฮบริดแต่แรก โดยถือเป็นรถยนต์ไฮบริดเชิงพาณิชย์คันแรกของโลก(1997) ขณะที่ฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด เป็นรถรุ่นปกติทั่วไปของที่ถูกพัฒนาให้เป็นรถไฮบริด ตามนโยบายของฮอนด้าที่ต้องการให้ราคาจับต้องได้ง่าย ซึ่งรถยนต์ที่ฮอนด้าพัฒนาเป็นรถไฮบริดแต่เกิด ฮอนด้า อินไซต์(1.3 ลิตร -1999 โมเดลแรก 2 ประตู ) เห็นจะเป็นคู่แข่งกับพริอุสมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์การออกแบบ หรือตัวถัง เพียงแต่ปัจจุบันพริอุสได้ขยับขนาดเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้นเป็น 1.8 ลิตร(เดิม 1.5 ลิตร) จนปัจจุบันแทบพูดไม่เต็มปากนักว่าเป็นคู่แข่งกันโดยตรง(ราคาอินไซต์ก็ถูกกว่า)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในไทยรถยนต์ไฮบริดมีทำตลาดเพียงไม่กี่รุ่น และยังเป็นโมเดลที่ประกอบในไทย(CKD) ทั้งคู่ เมื่อบวกกับขนาดตัวถัง(ดูตารางประกอบ) และเป็นรถที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคอมแพ็กต์คาร์ จึงไม่พ้นที่จะกลายเป็นคู่แข่งกันโดยตรงในตลาดไทย แม้ซีวิค ไฮบริด จะมีรูปลักษณ์เป็นคอมแพ็กต์ซีดาน ขณะที่พริอุสจะเป็นรถท้ายตัดก็ตาม
เครื่องยนต์-มอเตอร์ และแบตเตอรี่
ขุมพลังฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด วางเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว i-VTEC 1.5 ลิตร กำลังสูงสุด 91 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้าแรงบิดสูงสุด 106 นิวตัน-เมตร ให้กำลัง 23 แรงม้า แบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนที่มีจุดเด่นเรื่องขนาดเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถจุพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น แม้ในเอกสารและโบชัวร์ของฮอนด้าในประเทศไทยจะไม่ได้ระบุ แต่จากข้อมูลของฮอนด้าในต่างประเทศ แบตเตอรี่มีความจุ 144โวลต์ 20 กิโลวัตต์ และส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT
ขณะที่โตโยต้า พริอุส เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว VVT- 1.8 ลิตร กำลังสูงสุด 99 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้าแรงบิดสูงสุด 207 นิวตัน-เมตร ให้กำลัง 82 แรงม้า แบตเตอรี่ยังเป็นแบบนิเกิล-เมทัล ไฮดราย ความจุพลังงานไฟฟ้า 201.6โวลต์ 27 กิโลวัตต์ หรือ 37 แรงม้า และระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ E-CVT ที่คันเกียร์จะกลับคืนสู่ตำแหน่งกลางอัตโนมัติทุกครั้งหลังการเข้าเกียร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเปลี่ยนเกียร์
จากขนาดเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ลูกใหญ่ นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักรถยนต์โดยรวมของ โตโยต้า พริอุส อยู่ที่ประมาณ 1,395 กิโลกรัม ขณะที่ของฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด น้ำหนักเบาะกว่าอยู่ที่ 1,291 และ 1,296 กิโลกรัมตามรุ่น
การทำงานของระบบไฮบริด
ฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด ระบบการทำงานของไฮบริดเป็นแบบคู่ขนาน(Parallel Hybrid) ซึ่งเครื่องยนต์เป็นหลักในการขับเคลื่อน โดยมีมอเตอร์ไฟฟ้าช่วย ทำให้ฮอนด้าเรียกระบบไฮบริดตนเองว่า IMA (Integrated Motor Assist) โดยหลักการทำงานของระบบไฮบริดในซีวิค ช่วงออกตัวเครื่องยนต์จะทำหน้าที่หลักขับเคลื่อน และเสริมแรงจากมอเตอร์ไฟฟ้า ในขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วต่ำคงที่ เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน และเข้าสู่โหมด EV โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว และเมื่อเร่งแซงมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานผสานกับเครื่องยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเร่งแซง แต่เมื่อเบรกเครื่องยนต์จะหยุดทำงาน ระบบจะนำพลังงานที่สูญเสียไปในขณะเบรก มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งกลับคืนสู่แบตเตอรี่ เพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ต่อไป ส่วนเมื่อรถหยุดเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ และเข้าสู่โหมด Idling Stop เพื่อการประหยัดน้ำมันและลดมลพิษ
ส่วนระบบไฮบริดของโตโยต้า พริอุส จะเป็นแบบอนุกรม/ขนาด (Series/Parallel) โดยสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ทั้งจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงทำงานผสานกันให้ได้กำลังสูงสุด ซึ่งโตโยต้าเรียกระบบไฮบริดตนเองว่า THS และจุดเด่นของระบบไฮบริดโตโยต้า มอเตอร์ไฟฟ้าจะมี 2 ตัว ทำหน้าที่ขับเคลื่อน และกำเนิดไฟฟ้า
สำหรับระบบการทำงานขณะออกตัว รถยนต์จะถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เมื่อขับขี่ปกติความเร็วคงที่เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมันสูงสุด และขณะเดียวกันพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้จะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ และเมื่อเพิ่มความเร็ว หรือเร่งแซง เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าผนวกกำลังไฟจากแบตเตอรี่ทำให้ได้อัตราเร่งสูงสุด ส่วนขณะเบรกหรือรถหยุดระบบจะทำงานคล้ายๆ กับฮอนด้า
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
รถยนต์ไฮบริดวัตถุประสงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุด ดังนั้นอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป็นอีกจุดขาย แต่ในเอกสารของรถยนต์ทั้งสองรุ่นไม่ได้ระบุข้อมูลตรงนี้ นอกจากการบอกของเจ้าหน้าที่ ซึ่งระบุว่าพริอุสมีอัตราสิ้นเปลืองที่ประมาณ 22 กม./ลิตร ขณะที่ซีวิค ไฮบริด ประหยัดมากกว่ารุ่นปกติ (เครื่องยนต์ 1.8) ประมาณ 49-50% แต่จากการตรวสอบข้อมูลในต่างประเทศ และจากเว็บไซต์ของหน่วยงานพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (www.fueleconomy.gov) ตามมาตรฐาน EPA โดยฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ย 44 ไมล์/แกลลอน หรือประมาณ 18.7 กม./ลิตร และโตโยต้า พริอุส เฉลี่ยอยู่ที่ 50 ไมล์/แกลลอน หรือประมาณ 21.25 กม./ลิตร
เทคโนโลยีโดดเด่น
ฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด แน่นอนย่อมต้องมีระบบ Eco Assist ช่วยการขับขี่แบบประหยัดน้ำมัน ซึ่งจะเห็นได้ในรถรุ่นใหม่ๆ ของฮอนด้าทุกรุ่น อย่างเช่นโหมด Econ ที่จะช่วยปรับทำงานของเครื่องยนต์และเกียร์ให้ทำงานสัมพันธ์กันในขณะรถวิ่ง รวมถึงปรับระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และการหมุนของอากาศภายในห้องโดยสารให้เหมาะสมกับภายนอก ทำให้ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง นอกจากนี้ยังมีจอแสดงข้อมูลและควบคุมการประหยัดน้ำมัน ตลอดจนการขับขี่ต่างๆ หรือรู้จักกันในชื่อ i-MID เป็นต้น
ด้านโตโยต้า พริอุส มีโหมดตอบสนองการขับขี่ให้เลือก ไม่ว่าจะอารมณ์การขับขี่แบบเร้าใจจะมี PWR Mode เป็นการผสานกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์อย่างเต็มที่ แต่ถ้าต้องการความประหยัดน้ำมันเลือก ECO Mode ระบบจะเลือกใช้กำลังการขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความประหยัดเป็นหลัก และยังมี EV Mode สามารถใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว โดยระยะทางขึ้นอยู่กับปริมาณแบตเตอรี่และความเร็ว สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลเมตร
จุดขายอีกอย่างเห็นจะเป็นระบบปรับอากาศเปิด-ปิดด้วยกุญแจรีโมท รวมถึงหลังคา Moon Roof และมีระบบแผง Solar ที่จะรับพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ในการทำงานของพัดลม ช่วยลดอุณหภูมิในห้องโดยสารขณะจอดรถกลางแดด และประหยัดพลังงาน
ระบบความปลอดภัย
ขณะที่ระบบความปลอดภัยทั้งสองรุ่นจัดมาให้เต็ม ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมการทรงตัว เบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก และระบบป้องกันล้อหมุนฟรี โดยฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด จะเพิ่มระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน(Hill Start Assist) และถุงลมนิรภัยคู่หน้า แต่โตโยต้า พริอุส จัดมาให้ 7 จุดรอบคัน พร้อมหมอนพิงศรีษะคู่หน้าแบบช่วยลดแรงกระแทก
จากข้อมูลเบื้องต้นของคอมแพ็กต์ไฮบริดทั้งสองรุ่น เมื่อบวกกับราคาฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด ที่มี 2 รุ่น เริ่ม 1.035 ล้านบาท และตัวท็อป 1.095 บาท ขณะที่โตโยต้า พริอุส ซึ่งด้วยการออกแบบรถ ตลอดจนเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่า ทำให้ราคาเปิดที่ 1.199 ในรุ่นสแตนดาร์ด และมีตัวแต่ง TRD Sportivo 1.269 ล้านบาท ตามด้วยสองรุ่นท็อป 1.299 และ 1.369 ล้านบาท คงพอจะเป็นข้อมูลประกอบกับการตัดสินใจถอยกันได้?!
รูปลักษณ์และการออกแบบ
การกำเนิดของรถยนต์ทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกัน โตโยต้า พริอุส นับว่าเกิดมาเพื่อเป็นรถไฮบริด เพราะได้มีการพัฒนาและออกแบบให้เป็นรถไฮบริดแต่แรก โดยถือเป็นรถยนต์ไฮบริดเชิงพาณิชย์คันแรกของโลก(1997) ขณะที่ฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด เป็นรถรุ่นปกติทั่วไปของที่ถูกพัฒนาให้เป็นรถไฮบริด ตามนโยบายของฮอนด้าที่ต้องการให้ราคาจับต้องได้ง่าย ซึ่งรถยนต์ที่ฮอนด้าพัฒนาเป็นรถไฮบริดแต่เกิด ฮอนด้า อินไซต์(1.3 ลิตร -1999 โมเดลแรก 2 ประตู ) เห็นจะเป็นคู่แข่งกับพริอุสมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์การออกแบบ หรือตัวถัง เพียงแต่ปัจจุบันพริอุสได้ขยับขนาดเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้นเป็น 1.8 ลิตร(เดิม 1.5 ลิตร) จนปัจจุบันแทบพูดไม่เต็มปากนักว่าเป็นคู่แข่งกันโดยตรง(ราคาอินไซต์ก็ถูกกว่า)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในไทยรถยนต์ไฮบริดมีทำตลาดเพียงไม่กี่รุ่น และยังเป็นโมเดลที่ประกอบในไทย(CKD) ทั้งคู่ เมื่อบวกกับขนาดตัวถัง(ดูตารางประกอบ) และเป็นรถที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคอมแพ็กต์คาร์ จึงไม่พ้นที่จะกลายเป็นคู่แข่งกันโดยตรงในตลาดไทย แม้ซีวิค ไฮบริด จะมีรูปลักษณ์เป็นคอมแพ็กต์ซีดาน ขณะที่พริอุสจะเป็นรถท้ายตัดก็ตาม
เครื่องยนต์-มอเตอร์ และแบตเตอรี่
ขุมพลังฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด วางเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว i-VTEC 1.5 ลิตร กำลังสูงสุด 91 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้าแรงบิดสูงสุด 106 นิวตัน-เมตร ให้กำลัง 23 แรงม้า แบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนที่มีจุดเด่นเรื่องขนาดเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถจุพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น แม้ในเอกสารและโบชัวร์ของฮอนด้าในประเทศไทยจะไม่ได้ระบุ แต่จากข้อมูลของฮอนด้าในต่างประเทศ แบตเตอรี่มีความจุ 144โวลต์ 20 กิโลวัตต์ และส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT
ขณะที่โตโยต้า พริอุส เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว VVT- 1.8 ลิตร กำลังสูงสุด 99 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้าแรงบิดสูงสุด 207 นิวตัน-เมตร ให้กำลัง 82 แรงม้า แบตเตอรี่ยังเป็นแบบนิเกิล-เมทัล ไฮดราย ความจุพลังงานไฟฟ้า 201.6โวลต์ 27 กิโลวัตต์ หรือ 37 แรงม้า และระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ E-CVT ที่คันเกียร์จะกลับคืนสู่ตำแหน่งกลางอัตโนมัติทุกครั้งหลังการเข้าเกียร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเปลี่ยนเกียร์
จากขนาดเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ลูกใหญ่ นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักรถยนต์โดยรวมของ โตโยต้า พริอุส อยู่ที่ประมาณ 1,395 กิโลกรัม ขณะที่ของฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด น้ำหนักเบาะกว่าอยู่ที่ 1,291 และ 1,296 กิโลกรัมตามรุ่น
การทำงานของระบบไฮบริด
ฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด ระบบการทำงานของไฮบริดเป็นแบบคู่ขนาน(Parallel Hybrid) ซึ่งเครื่องยนต์เป็นหลักในการขับเคลื่อน โดยมีมอเตอร์ไฟฟ้าช่วย ทำให้ฮอนด้าเรียกระบบไฮบริดตนเองว่า IMA (Integrated Motor Assist) โดยหลักการทำงานของระบบไฮบริดในซีวิค ช่วงออกตัวเครื่องยนต์จะทำหน้าที่หลักขับเคลื่อน และเสริมแรงจากมอเตอร์ไฟฟ้า ในขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วต่ำคงที่ เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน และเข้าสู่โหมด EV โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว และเมื่อเร่งแซงมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานผสานกับเครื่องยนต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเร่งแซง แต่เมื่อเบรกเครื่องยนต์จะหยุดทำงาน ระบบจะนำพลังงานที่สูญเสียไปในขณะเบรก มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งกลับคืนสู่แบตเตอรี่ เพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ต่อไป ส่วนเมื่อรถหยุดเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ และเข้าสู่โหมด Idling Stop เพื่อการประหยัดน้ำมันและลดมลพิษ
ส่วนระบบไฮบริดของโตโยต้า พริอุส จะเป็นแบบอนุกรม/ขนาด (Series/Parallel) โดยสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ทั้งจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงทำงานผสานกันให้ได้กำลังสูงสุด ซึ่งโตโยต้าเรียกระบบไฮบริดตนเองว่า THS และจุดเด่นของระบบไฮบริดโตโยต้า มอเตอร์ไฟฟ้าจะมี 2 ตัว ทำหน้าที่ขับเคลื่อน และกำเนิดไฟฟ้า
สำหรับระบบการทำงานขณะออกตัว รถยนต์จะถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เมื่อขับขี่ปกติความเร็วคงที่เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมันสูงสุด และขณะเดียวกันพลังงานส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้จะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ และเมื่อเพิ่มความเร็ว หรือเร่งแซง เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าผนวกกำลังไฟจากแบตเตอรี่ทำให้ได้อัตราเร่งสูงสุด ส่วนขณะเบรกหรือรถหยุดระบบจะทำงานคล้ายๆ กับฮอนด้า
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
รถยนต์ไฮบริดวัตถุประสงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุด ดังนั้นอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป็นอีกจุดขาย แต่ในเอกสารของรถยนต์ทั้งสองรุ่นไม่ได้ระบุข้อมูลตรงนี้ นอกจากการบอกของเจ้าหน้าที่ ซึ่งระบุว่าพริอุสมีอัตราสิ้นเปลืองที่ประมาณ 22 กม./ลิตร ขณะที่ซีวิค ไฮบริด ประหยัดมากกว่ารุ่นปกติ (เครื่องยนต์ 1.8) ประมาณ 49-50% แต่จากการตรวสอบข้อมูลในต่างประเทศ และจากเว็บไซต์ของหน่วยงานพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (www.fueleconomy.gov) ตามมาตรฐาน EPA โดยฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ย 44 ไมล์/แกลลอน หรือประมาณ 18.7 กม./ลิตร และโตโยต้า พริอุส เฉลี่ยอยู่ที่ 50 ไมล์/แกลลอน หรือประมาณ 21.25 กม./ลิตร
เทคโนโลยีโดดเด่น
ฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด แน่นอนย่อมต้องมีระบบ Eco Assist ช่วยการขับขี่แบบประหยัดน้ำมัน ซึ่งจะเห็นได้ในรถรุ่นใหม่ๆ ของฮอนด้าทุกรุ่น อย่างเช่นโหมด Econ ที่จะช่วยปรับทำงานของเครื่องยนต์และเกียร์ให้ทำงานสัมพันธ์กันในขณะรถวิ่ง รวมถึงปรับระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และการหมุนของอากาศภายในห้องโดยสารให้เหมาะสมกับภายนอก ทำให้ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง นอกจากนี้ยังมีจอแสดงข้อมูลและควบคุมการประหยัดน้ำมัน ตลอดจนการขับขี่ต่างๆ หรือรู้จักกันในชื่อ i-MID เป็นต้น
ด้านโตโยต้า พริอุส มีโหมดตอบสนองการขับขี่ให้เลือก ไม่ว่าจะอารมณ์การขับขี่แบบเร้าใจจะมี PWR Mode เป็นการผสานกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์อย่างเต็มที่ แต่ถ้าต้องการความประหยัดน้ำมันเลือก ECO Mode ระบบจะเลือกใช้กำลังการขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความประหยัดเป็นหลัก และยังมี EV Mode สามารถใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว โดยระยะทางขึ้นอยู่กับปริมาณแบตเตอรี่และความเร็ว สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลเมตร
จุดขายอีกอย่างเห็นจะเป็นระบบปรับอากาศเปิด-ปิดด้วยกุญแจรีโมท รวมถึงหลังคา Moon Roof และมีระบบแผง Solar ที่จะรับพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ในการทำงานของพัดลม ช่วยลดอุณหภูมิในห้องโดยสารขณะจอดรถกลางแดด และประหยัดพลังงาน
ระบบความปลอดภัย
ขณะที่ระบบความปลอดภัยทั้งสองรุ่นจัดมาให้เต็ม ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมการทรงตัว เบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก และระบบป้องกันล้อหมุนฟรี โดยฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด จะเพิ่มระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน(Hill Start Assist) และถุงลมนิรภัยคู่หน้า แต่โตโยต้า พริอุส จัดมาให้ 7 จุดรอบคัน พร้อมหมอนพิงศรีษะคู่หน้าแบบช่วยลดแรงกระแทก
จากข้อมูลเบื้องต้นของคอมแพ็กต์ไฮบริดทั้งสองรุ่น เมื่อบวกกับราคาฮอนด้า ซีวิค ไฮบริด ที่มี 2 รุ่น เริ่ม 1.035 ล้านบาท และตัวท็อป 1.095 บาท ขณะที่โตโยต้า พริอุส ซึ่งด้วยการออกแบบรถ ตลอดจนเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่า ทำให้ราคาเปิดที่ 1.199 ในรุ่นสแตนดาร์ด และมีตัวแต่ง TRD Sportivo 1.269 ล้านบาท ตามด้วยสองรุ่นท็อป 1.299 และ 1.369 ล้านบาท คงพอจะเป็นข้อมูลประกอบกับการตัดสินใจถอยกันได้?!