ปลายปีที่แล้วผู้เขียนมีโอกาสไปตำจอกที่กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ร่วมฉลองการเปิดโชว์รูมศูนย์บริการแห่งใหม่ของ“เชฟโรเลต” พร้อมประกาศลงหลักปักขายรถยนต์บนแผ่นดินแห่งนี้อย่างเป็นทางการ
...งานนี้ม่วนซื่นหลาย แต่จะไปทั้งทีจะไปแบบธรรมดาไม่ได้ เพราะตามสไตล์“เชฟโรเลต” ต้องจัดให้ใหญ่อลังการ มีลูกเล่นปนความตื่นเต้น ทีมงานก็เลยเตรียมสุดยอดพีพีวีรุ่นใหม่ “เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” มาให้ผู้สื่อข่าวได้ลองขับ โดยเริ่มขบวนจากสนามบินอุดรธานี มุ่งขึ้นเหนือไปหนองคาย เพื่อข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ก่อนเลี้ยวขวาเข้าเวียงจันทน์ ผ่านชุมชนแหล่งธุรกิจ จนถึงจุดหมายโชว์รูม-ศูนย์บริการอันทันสมัยของเชฟโรเลต
โดยค่าย“จีเอ็ม”แต่งตั้งให้กลุ่มธุรกิจ“มะนียม”เป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์เชฟโรเลตในลาวอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่ม “มะนียม”ถือเป็นขาใหญ่ในแวดวงยานยนต์ของลาว และได้ลงทุนไปกว่า 1,200 ล้านบาทเพื่อสร้างโชว์รูม-ศูนย์บริการบนเนื้อที่ 5,000 ตารางเมตร
ในส่วนงานบริการหลังการขายจะมี 9 ช่องซ่อม ลิฟท์ยก 9 ตัว มีศักยภาพให้บริการรถเชฟโรเลตได้มากกว่า 30 คันต่อวัน ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าหมายการขายในปีนี้ไว้ 1,100 คัน จากรถที่ทำตลาด5 รุ่นคือ สปาร์ก,เซล,ครูซ,แคปติวา และโคโลราโด (ตลาดรวมของลาวประมาณ 11,000-12,000 คัน/ปี)
ทั้งนี้รถยนต์ 5รุ่นที่กล่าวมา มีเพียงปิกอัพโคโลราโดที่นำเข้าจากประเทศไทย (ราคาขายกว่า 1.2 ล้านบาท) ด้านแคปติวาและครูซ นำเข้าเกาหลี ส่วนสปาร์กมาจากจีน ซึ่งสาเหตุที่รถมีหลายแหล่งที่มาก็เพราะกำแพงภาษีที่ต่างกัน (เห็นว่านำเข้าจากไทยจะเสียภาษีแพงกว่าจีนและเกาหลี)
ส่วน “เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” ที่ผู้สื่อข่าวไทยยกขบวนมาขับอวดโฉมบนถนนกรุงเวียงจันทน์ก็มีโอกาสนำเข้ามาขายในอนาคตเช่นกัน
….ผู้เขียนได้อยู่กับ “เทรลเบลเซอร์”ตัวท็อป 2.8 LTZ 4WD ตลอด3 วัน คือขับไป-กลับอุดรธานี และใช้เป็นพาหนะตะลอนทัวร์เวียงจันทน์ (รถหนึ่งคันนั่ง 3 คน สลับกันขับ) ซึ่งในภาพรวมของการพัฒนาจีเอ็มทำได้ถูกทางแล้วละครับ เพราะมีเอสยูวี“แคปติวา” ที่พัฒนาบนพื้นฐานรถยนต์นั่ง เอาไว้รองรับการขับแบบนิ่มหรูสบายๆ ส่วน “เทรลเบลเซอร์” ที่พัฒนามาจากพื้นฐานปิกอัพโคโลราโด ก็ออกแนวบึกบึนหนักแน่น เน้นลุย
สำหรับเมืองไทยอาจจะเรียกรถประเภทนี้ว่า“พีพีวี” แต่จีเอ็มให้คำจำกัดความ“เทรลเบลเซอร์”ว่าเป็น“เอสยูวี ดี-เซกเมนท์” (แคปติวา เป็นเอสยูวี ซี-เซกเมนท์) พร้อมย้ำว่า แม้การพัฒนาบนพื้นฐานปิกอัพขนาดกลาง แบบตัวถังบนแชสซีส์ (body-on-frame) แต่ได้ปรับปรุงโครงสร้างระบบกันสะเทือนด้านหลังให้เป็นแบบอิสระ 5 จุดยึด ขณะที่คอยล์สปริงที่ติดตั้งอยู่ที่ล้อทั้ง 4 เพิ่มความนุ่มนวลและดูดซับแรงกระแทกได้ดี รองรับทุกรูปแบบการใช้งาน ทั้งการเดินทางในเมือง และบนเส้นทางถนนลูกรัง-ออฟโรด
ขณะเดียวกันยังให้ความสะดวกสบาย ด้วยพื้นที่ภายในห้องโดยสารกว้างขวางที่สุดในรถระดับเดียวกัน รองรับผู้โดยสารด้วยเบาะ 3 แถว 7 ที่นั่ง ซึ่งเบาะแถว 2 และ3 สามารถพับได้หลากหลายเพิ่มความอเนกประสงค์
นอกจากนี้ผู้เขียนยังสังเกตว่า “เทรลเบลเซอร์” ยังจัดหนักเรื่องความปลอดภัย(ซึ่งเป็นมาตรฐานของจีเอ็ม) โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่คิดและสั่งงานช่วยเหลือแทนการตัดสินใจของผู้ขับในเสี้ยววินาที ทั้ง ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (Electronic Stability Control-ESP) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและป้องกันการลื่นไถล (Traction Control) ระบบกระจายสัดส่วนแรงเบรก (Dynamic Rear Brake Proportioning) ระบบช่วยเบรกกระทันหัน (Panic Brake Assist) ระบบควบคุมแรงบิดเครื่องยนต์ป้องกันการลื่นไถล (Engine Drag Control) และระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ เมื่อลงทางลาดชัน (Hill Descent Control)
….ในภาพรวมของรายละเอียดทางเทคนิคต่างๆ“เทรลเบลเซอร์”ดูดีทีเดียวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่วนสมรรถนะการขับขี่ผู้เขียนมองว่า ทีมวิศวกรผู้พัฒนาพยายามยึดบุคลิกของค่ายเอาไว้อย่างเหนียวแน่น กล่าวคืออัตราเร่งไม่ได้จี๊ดจ๊าดพลุ่งพล่านเหมือนรถญี่ปุ่น รวมถึงการบังคับควมคุม-การตอบสนองของแป้นเบรก ยังออกแนวหนัก-แข็ง (ตามลำดับ) ต้องใช้เวลาปรับตัวให้คุ้นชินพอสมควร
โดยเครื่องยนต์ดูราแมกซ์ ดีเซลคอมมอนเรล 2.8 ลิตร เทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด180 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด อย่างที่บอกว่าดูสเปกและตัวเลข Outputต่างๆที่ออกมาแล้วน่าตื่นเต้น แต่พอขับจริงๆการตอบสนองค่อนข้างห่อเหี่ยว
….ไม่แรง ไม่บู๊ดุดัน จังหวะเร่งแซงต้องมีรอจังหวะ ที่สำคัญน้ำหนักพวงมาลัยออกแนวหนักไปนิด ส่งผลให้การควบคุมไม่ลื่นเนียนเมื่อเทียบกับ “ฟอร์จูนเนอร์” และ “ปาเจโร สปอร์ต”
ส่วนแป้นเบรกออกแนวแข็งและต้องกดลงไปลึกหน่อย ถึงจะรับรู้ถึงอาการจับของเบรก ซึ่งตรงนี้เป็นบุคลิกของรถเชฟโรเลตเขาละครับ เพราะต้องการให้จังหวะเบรกออกแนวนุ่มนวล ไม่หน้าทิ่มหัวจิก แต่ในส่วนตัวของผู้เขียนเอง ทำใจให้ชอบยากกับการเซ็ทระบบเบรกแบบนี้
อย่างไรก็ตามเรื่องของช่วงล่างการทรงตัวไม่เป็นรอง“ฟอร์จูนเนอร์” และ “ปาเจโร สปอร์ต” แน่นอน ตัวรถยังถ่ายเทน้ำหนักดี จังหวะเข้าออกโค้งทำได้หนึบหนับ ส่วนทางตรงใช้ความเร็วสูง 120-140 กม./ชม. ขับสบายไม่เครียด
...มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ขบวน“เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” ขับออกนอกเมืองไปที่เขื่อนน้ำงึม ซึ่งเป็นหนึ่งในเขื่อนหลักของ สปป.ลาว ที่เน้นเรื่องชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการเดินทางช่วงนี้ผู้เขียนลองไปนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลัง พบว่าตำแหน่งนั่งดูเหมือนจะสูง(เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้ขับ) พื้นที่กว้างขวางขยับขยายสะดวก แต่คิดว่าพนักพิงหลังชันไปนิด ขณะที่การรองรับแรงสะเทือนจากพื้นถนนยังเด้งแข็งพอสมควร
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันวัดจากหน้าจออัจฉริยะ มีตัวเลข 10-11 กม./ลิตรให้เห็น
รวบรัดตัดความ....ไปตะลุยเวียงจันทน์โดยมี “เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” เป็นเพื่อนคู่ใจ ถือว่าไว้ใจได้พร้อมลุยทุกสภาพ ออปชันและระบบอำนวยความสะดวก-ปลอดภัยต่างๆดูแล้วคุ้มค่า ช่วยให้การขับขี่มั่นใจ แต่สมรรถนะโดยรวมของรถไม่โดดเด่นไปสักทาง ออกแนวกลางๆไม่เหนือกว่าคู่แข่งอย่าง “ฟอร์จูนเนอร์-ปาเจโร สปอร์ต” ที่แต่ละคันก็มีจุดขายที่เป็นจุดเด่นชัดเจน
...งานนี้ม่วนซื่นหลาย แต่จะไปทั้งทีจะไปแบบธรรมดาไม่ได้ เพราะตามสไตล์“เชฟโรเลต” ต้องจัดให้ใหญ่อลังการ มีลูกเล่นปนความตื่นเต้น ทีมงานก็เลยเตรียมสุดยอดพีพีวีรุ่นใหม่ “เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” มาให้ผู้สื่อข่าวได้ลองขับ โดยเริ่มขบวนจากสนามบินอุดรธานี มุ่งขึ้นเหนือไปหนองคาย เพื่อข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ก่อนเลี้ยวขวาเข้าเวียงจันทน์ ผ่านชุมชนแหล่งธุรกิจ จนถึงจุดหมายโชว์รูม-ศูนย์บริการอันทันสมัยของเชฟโรเลต
โดยค่าย“จีเอ็ม”แต่งตั้งให้กลุ่มธุรกิจ“มะนียม”เป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์เชฟโรเลตในลาวอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่ม “มะนียม”ถือเป็นขาใหญ่ในแวดวงยานยนต์ของลาว และได้ลงทุนไปกว่า 1,200 ล้านบาทเพื่อสร้างโชว์รูม-ศูนย์บริการบนเนื้อที่ 5,000 ตารางเมตร
ในส่วนงานบริการหลังการขายจะมี 9 ช่องซ่อม ลิฟท์ยก 9 ตัว มีศักยภาพให้บริการรถเชฟโรเลตได้มากกว่า 30 คันต่อวัน ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าหมายการขายในปีนี้ไว้ 1,100 คัน จากรถที่ทำตลาด5 รุ่นคือ สปาร์ก,เซล,ครูซ,แคปติวา และโคโลราโด (ตลาดรวมของลาวประมาณ 11,000-12,000 คัน/ปี)
ทั้งนี้รถยนต์ 5รุ่นที่กล่าวมา มีเพียงปิกอัพโคโลราโดที่นำเข้าจากประเทศไทย (ราคาขายกว่า 1.2 ล้านบาท) ด้านแคปติวาและครูซ นำเข้าเกาหลี ส่วนสปาร์กมาจากจีน ซึ่งสาเหตุที่รถมีหลายแหล่งที่มาก็เพราะกำแพงภาษีที่ต่างกัน (เห็นว่านำเข้าจากไทยจะเสียภาษีแพงกว่าจีนและเกาหลี)
ส่วน “เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” ที่ผู้สื่อข่าวไทยยกขบวนมาขับอวดโฉมบนถนนกรุงเวียงจันทน์ก็มีโอกาสนำเข้ามาขายในอนาคตเช่นกัน
….ผู้เขียนได้อยู่กับ “เทรลเบลเซอร์”ตัวท็อป 2.8 LTZ 4WD ตลอด3 วัน คือขับไป-กลับอุดรธานี และใช้เป็นพาหนะตะลอนทัวร์เวียงจันทน์ (รถหนึ่งคันนั่ง 3 คน สลับกันขับ) ซึ่งในภาพรวมของการพัฒนาจีเอ็มทำได้ถูกทางแล้วละครับ เพราะมีเอสยูวี“แคปติวา” ที่พัฒนาบนพื้นฐานรถยนต์นั่ง เอาไว้รองรับการขับแบบนิ่มหรูสบายๆ ส่วน “เทรลเบลเซอร์” ที่พัฒนามาจากพื้นฐานปิกอัพโคโลราโด ก็ออกแนวบึกบึนหนักแน่น เน้นลุย
สำหรับเมืองไทยอาจจะเรียกรถประเภทนี้ว่า“พีพีวี” แต่จีเอ็มให้คำจำกัดความ“เทรลเบลเซอร์”ว่าเป็น“เอสยูวี ดี-เซกเมนท์” (แคปติวา เป็นเอสยูวี ซี-เซกเมนท์) พร้อมย้ำว่า แม้การพัฒนาบนพื้นฐานปิกอัพขนาดกลาง แบบตัวถังบนแชสซีส์ (body-on-frame) แต่ได้ปรับปรุงโครงสร้างระบบกันสะเทือนด้านหลังให้เป็นแบบอิสระ 5 จุดยึด ขณะที่คอยล์สปริงที่ติดตั้งอยู่ที่ล้อทั้ง 4 เพิ่มความนุ่มนวลและดูดซับแรงกระแทกได้ดี รองรับทุกรูปแบบการใช้งาน ทั้งการเดินทางในเมือง และบนเส้นทางถนนลูกรัง-ออฟโรด
ขณะเดียวกันยังให้ความสะดวกสบาย ด้วยพื้นที่ภายในห้องโดยสารกว้างขวางที่สุดในรถระดับเดียวกัน รองรับผู้โดยสารด้วยเบาะ 3 แถว 7 ที่นั่ง ซึ่งเบาะแถว 2 และ3 สามารถพับได้หลากหลายเพิ่มความอเนกประสงค์
นอกจากนี้ผู้เขียนยังสังเกตว่า “เทรลเบลเซอร์” ยังจัดหนักเรื่องความปลอดภัย(ซึ่งเป็นมาตรฐานของจีเอ็ม) โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่คิดและสั่งงานช่วยเหลือแทนการตัดสินใจของผู้ขับในเสี้ยววินาที ทั้ง ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (Electronic Stability Control-ESP) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและป้องกันการลื่นไถล (Traction Control) ระบบกระจายสัดส่วนแรงเบรก (Dynamic Rear Brake Proportioning) ระบบช่วยเบรกกระทันหัน (Panic Brake Assist) ระบบควบคุมแรงบิดเครื่องยนต์ป้องกันการลื่นไถล (Engine Drag Control) และระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ เมื่อลงทางลาดชัน (Hill Descent Control)
….ในภาพรวมของรายละเอียดทางเทคนิคต่างๆ“เทรลเบลเซอร์”ดูดีทีเดียวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ส่วนสมรรถนะการขับขี่ผู้เขียนมองว่า ทีมวิศวกรผู้พัฒนาพยายามยึดบุคลิกของค่ายเอาไว้อย่างเหนียวแน่น กล่าวคืออัตราเร่งไม่ได้จี๊ดจ๊าดพลุ่งพล่านเหมือนรถญี่ปุ่น รวมถึงการบังคับควมคุม-การตอบสนองของแป้นเบรก ยังออกแนวหนัก-แข็ง (ตามลำดับ) ต้องใช้เวลาปรับตัวให้คุ้นชินพอสมควร
โดยเครื่องยนต์ดูราแมกซ์ ดีเซลคอมมอนเรล 2.8 ลิตร เทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด180 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด อย่างที่บอกว่าดูสเปกและตัวเลข Outputต่างๆที่ออกมาแล้วน่าตื่นเต้น แต่พอขับจริงๆการตอบสนองค่อนข้างห่อเหี่ยว
….ไม่แรง ไม่บู๊ดุดัน จังหวะเร่งแซงต้องมีรอจังหวะ ที่สำคัญน้ำหนักพวงมาลัยออกแนวหนักไปนิด ส่งผลให้การควบคุมไม่ลื่นเนียนเมื่อเทียบกับ “ฟอร์จูนเนอร์” และ “ปาเจโร สปอร์ต”
ส่วนแป้นเบรกออกแนวแข็งและต้องกดลงไปลึกหน่อย ถึงจะรับรู้ถึงอาการจับของเบรก ซึ่งตรงนี้เป็นบุคลิกของรถเชฟโรเลตเขาละครับ เพราะต้องการให้จังหวะเบรกออกแนวนุ่มนวล ไม่หน้าทิ่มหัวจิก แต่ในส่วนตัวของผู้เขียนเอง ทำใจให้ชอบยากกับการเซ็ทระบบเบรกแบบนี้
อย่างไรก็ตามเรื่องของช่วงล่างการทรงตัวไม่เป็นรอง“ฟอร์จูนเนอร์” และ “ปาเจโร สปอร์ต” แน่นอน ตัวรถยังถ่ายเทน้ำหนักดี จังหวะเข้าออกโค้งทำได้หนึบหนับ ส่วนทางตรงใช้ความเร็วสูง 120-140 กม./ชม. ขับสบายไม่เครียด
...มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ขบวน“เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” ขับออกนอกเมืองไปที่เขื่อนน้ำงึม ซึ่งเป็นหนึ่งในเขื่อนหลักของ สปป.ลาว ที่เน้นเรื่องชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการเดินทางช่วงนี้ผู้เขียนลองไปนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลัง พบว่าตำแหน่งนั่งดูเหมือนจะสูง(เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้ขับ) พื้นที่กว้างขวางขยับขยายสะดวก แต่คิดว่าพนักพิงหลังชันไปนิด ขณะที่การรองรับแรงสะเทือนจากพื้นถนนยังเด้งแข็งพอสมควร
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันวัดจากหน้าจออัจฉริยะ มีตัวเลข 10-11 กม./ลิตรให้เห็น
รวบรัดตัดความ....ไปตะลุยเวียงจันทน์โดยมี “เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์” เป็นเพื่อนคู่ใจ ถือว่าไว้ใจได้พร้อมลุยทุกสภาพ ออปชันและระบบอำนวยความสะดวก-ปลอดภัยต่างๆดูแล้วคุ้มค่า ช่วยให้การขับขี่มั่นใจ แต่สมรรถนะโดยรวมของรถไม่โดดเด่นไปสักทาง ออกแนวกลางๆไม่เหนือกว่าคู่แข่งอย่าง “ฟอร์จูนเนอร์-ปาเจโร สปอร์ต” ที่แต่ละคันก็มีจุดขายที่เป็นจุดเด่นชัดเจน