xs
xsm
sm
md
lg

‘บ๊อช’ ทำสถิติโลกใหม่กับเทคโนโลยีคอมมอนเรล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ข่าวในประเทศ - ค่าย“บ๊อช” ผู้ผลิตเทคโนโลยียานยนต์ระดับนำ เผยสถิติโลกใหม่ขับรถระยะทางไกล จากออสเตรเลียผ่านเอเชียเข้าสู่ประเทศรัสเซีย ระยะทางกว่า 23,000 กม. ภายในเวลา 17 วัน ด้วยรถโฟล์คสวาเก้น ทัวเร็ก TDI Clean Diesel เครื่องยนต์เทคโนโลยีหัวฉีดดีเซลจากบ๊อช ประกาศพร้อมเดินหน้าสร้างสรรค์สุดยอดระบบคอมมอนเรล สู่ความดันสูงระดับ 2,500 บาร์

บริษัท โรเบิร์ท บ็อช จำกัด จากกลุ่มบ๊อชในประเทศไทย เปิดเผยถึงการสถิติโลกใหม่จากการขับรถระยะทางไกล จากเมืองที่อยู่ใต้สุดไปยังเมืองที่อยู่เหนือสุดของโลก เริ่มที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผ่านเอเชียอย่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ลาว และจีน เป็นต้น ไปสิ้นสุดยังเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 17 วัน โดยรถโฟล์คสวาเก้น ทัวเร็ก TDI Clean Diesel เครื่องยนต์โดยเทคโนโลยีหัวฉีดดีเซลคอมมอนเรลจากบ๊อช ขับโดย “ไรเนอร์ ซีทโล” นักผจญภัยและขับรถออฟโรด ซึ่งเดินทางพร้อมเพื่อนร่วมทีม ด้วยระยะทางกว่า 23,000 กิโลเมตร ในโอกาสที่ซีทโลเดินทางมาเยือนประเทศไทย
“การเดินทางจากเมลเบิร์น ไปยังเมือง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของพวกเราในครั้งนี้ ถือเป็นการเดินทางทำสถิติอีกเป็นครั้งที่ 3 หลังจากการเดินทางจากอาร์เจนตินาไปยังอลาสก้า ในปี พ.ศ. 2554 และการเดินทางขึ้นภูเขาไฟ โอโจสเดลซาลาโด (Ojos delSalado) ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลก ในปี พ.ศ.2548 แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางครั้งล่าสุด ถือได้ว่าเป็นการเดินทางที่เยี่ยมยอดและเป็นบทพิสูจน์ถึงการตัดสินใจที่ถูกต้องของเราในการเลือกรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีดีเซลจากบ๊อช ที่ให้พลังความเร็วและความมั่นใจในการขับขี่ทุกสภาพถนน และในทุกสถานะการณ์” ซีทโลกล่าว
ไรเนอร์ ซีทโล แจกลายเซ็นต์แฟนๆ
เทคโนโลยีระบบคอมมอนเร (CRS 3-20) เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งของเครื่องยนต์ในโฟล์คสวาเก้น ทัวเร็ก Clean Diesel ที่ประหยัดคุ้มค่าต่อการใช้งาน มากไปกว่านั้นยังทำให้เครื่องยนต์สะอาดและทรงพลัง เทคโนโลยีระบบหัวฉีดดีเซล ซึ่งควบคุมด้วยระบบอีเล็คทรอนิคส์นี้ เป็นระบบที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้า ได้รับการพัฒนามาจากบ๊อซ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตระบบหัวฉีดน้ำมันดีเซลชั้นนำของโลก
“มีความท้าทายที่พวกเราพบอยู่ 2 อย่างในการเดินทางครั้งนี้ ความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศและความแตกต่างของคุณภาพน้ำมันในแต่ละประเทศตลอดเส้นทางที่ไรเนอร์ขับผ่าน แต่เทคโนโลยีคอมมอนเรลของบ๊อช ก็สอบผ่านได้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาทางด้านเทคนิคแม้แต่ปัญหาเดียวจากการใช้ระบบคอมมอนเรลของบ๊อช”
เคล้าส์ แลนด์ฮอยซ์เซอร์ หัวหน้าส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายกิจการภายนอกและรัฐสัมพันธ์ขอบ๊อชกล่าวและว่า “สำหรับบ๊อซ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้จัดหาเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบดีเซลที่ทันสมัยและสะอาดของโลก โครงการนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีดีเซลคอมมอนเรลของบ๊อช ที่สะอาดและมีประสิทธิภาพในทุกสภาวะอากาศ แม้จะท่ามกลางการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน”

อนาคตเทคโนโลยีคอมมอนเรลกับความดันสูง 2,500 บาร์
คำว่า ”คอมมอนเรล” มีความหมายถึงแรงอัดที่สะสมจากการฉีดน้ำมัน ด้วยแรงดันสูงเข้าสู่กระบอกสูบ ซึ่งการสูบฉีดของเครื่องยนต์หลายครั้ง ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เงียบขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และก๊าซพิษตัวอื่นได้มาก ในปัจจุบัน รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลสะอาด จะใช้น้ำมันโดยเฉลี่ยน้อยลงกว่า 30% ปล่อยควันน้อยลงกว่า 25% เครื่องยนต์มีแรงบิดและให้พลังขับเคลื่อนมากขึ้นประมาณ 50% เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินในรุ่นเดียวกัน

ระบบคอมมอนเรลรุ่นแรกทำงานด้วยแรงดันสูง 1,350 บาร์ แต่ในปัจจุบันระบบคอมมอนเรลรุ่น 2 นี้มีความดันสูงถึง 2,000 บาร์ โดยมีโซลินอยด์วาล์วเป็นตัววัดปริมาณการฉีดน้ำมันอย่างเที่ยงตรง ซึ่งสามารถควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงได้สูงถึง 8 ครั้งต่อการหมุนของเครื่องยนต์ 1 รอบ

เครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรล 2 สามารถใช้ได้กับรถยนต์นั่ง และรถยนต์ในเชิงพาณิชย์ทุกชนิดทั่วโลก มากไปกว่านั้นบ๊อซยังได้ผลิตเครื่องยนต์ระบบคอมมอนเรลรุ่น 3 ที่ติดตั้งด้วยหัวฉีดไฟฟ้าเปียโซ่ (Piezo) สำหรับการใช้งานในทุกสถานการณ์ เครื่องยนต์ระบบใหม่นี้จะทำให้เกิดการวัดปริมาณน้ำมันได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากทั้งก่อน และหลังการสูบฉีดน้ำมัน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (NOx) ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เงียบขึ้นได้ ผู้พัฒนาระบบคอมมอนเรลได้ประสบผลสำเร็จ ในการผลิตเครื่องยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงแม้ว่าคุณภาพของน้ำมันดีเซลจะไม่สูงมากก็ตาม
เนื่องจากการควบคุมโดยใช้ระบบหัวฉีดไฟฟ้าเปียโซ่ ซึ่งมีพลังสูงกว่าการควบคุมโดยใช้โซลินอยด์ถึง 10 เท่า จึงทำให้เครื่องยนต์คอมมอนเรลไม่มีปัญหากับกับปริมาณฝุ่นละออง ที่อยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบคอมมอนเรล แรงอัดความดันหัวฉีดสามารถสูงได้ถึง 2,200 บาร์ และวิศวกรหลายคนของบ๊อซกำลังช่วยกันพัฒนาแรงดันให้สูงถึง 2,500 บาร์หรือมากกว่านั้น เพื่อให้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลนี้เป็นเทคโนโลยีสำหรับอนาคต
ในเรื่องการจัดการกับการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (NOx) บ๊อซได้ใช้เทคโนโลยีคอมมอนเรลที่เรียกว่าดี น๊อกโทรนิกส์ (Denoxtronic) ซึ่งเทคโนโลยีนี้ตรงกับหลักเกณฑ์เรื่องการควบคุมการปล่อยก๊าซที่เข้มงวดที่สุดในยุโรป รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานยูโร 6 ในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ.2557 หรือ Tier 2 Bin 5 ในสหรัฐอเมริกา ทำให้รถยนต์ดีเซลที่ติดตั้งเทคโนโลยีระบบคอมมอนเรลในปัจจุบัน เป็นที่นิยมและมีจำหน่ายทั่วไปในตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา

กำลังโหลดความคิดเห็น