ข่าวในประเทศ - ปตท.เปิดสถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย ที่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีของปตท. อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมเล็งขยายเพิ่มอีก 5 แห่งภายในปีหน้า
สถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบของปตท. สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สามารถรองรับการประจุไฟฟ้ารถยนต์ไฟฟ้าได้พร้อมกัน 3 คัน ประกอบด้วย ตู้ประจุไฟฟ้า 3 ตู้ ได้แก่ ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสตรงแบบเติมเร็ว 1 ตู้ ใช้เวลาเติมประมาณ 30 นาที ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสสลับแบบเติมเร็วปานกลาง ใช้เวลาเติมประมาณ 3 ชั่วโมง และ 3 ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสสลับแบบเติมช้า ใช้เวลาเติมประมาณ 8 ชั่วโมง
สำหรับยุทธ์ศาสตร์การพัฒนารถพลังงานไฟฟ้ากำลังเป็นที่จับตามองมากขึ้นจากสาธารณชน และหน่วยงานภาครัฐ ส่วนหนึ่งมาจากการจัดกิจกรรมทดสอบขับเชฟโรเลต โวลต์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งพลังงานไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในหลายหนทางที่มีความเป็นไปได้สูงในการช่วยตอบโจทย์ระบบขับเคลื่อนเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน
“เชฟโรเลต มีความชื่นชมยินดีต่อมาตรการที่รัฐบาลไทยแสดงออกมา ผ่านทางบริษัทปตท. ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะช่วยลดมลพิษและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” มาร์ติน แอพเฟล ประธานกรรมการ ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวและว่า
“เราเสนอแนะให้รัฐบาลไทย พิจารณาการเริ่มพัฒนายุทธศาสตร์รถพลังงานไฟฟ้าในประเทศอย่างรวดเร็วด้วยการทำให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงรถปลั๊กอินและรถไฟฟ้าขยายระยะทางขับเคลื่อนได้ง่ายยิ่งขึ้น และสร้างความต้องการของตลาด ตลอดจนลดกำแพงพิกัดอัตราศุลกากร”
โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในแวดวงอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นสอดคล้องกับจีเอ็ม ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกำหนดทิศทางของแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน และเพิ่มแรงจูงใจเพื่อช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงและความต้องการใช้รถพลังงานไฟฟ้า
เมื่อตลาดมีความแข็งแกร่ง มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบด้านเทคนิคที่ครบครันจนรถพลังงานไฟฟ้าเป็นที่ต้องการ ประเทศไทยจะสามารถยืนอยู่แถวหน้าของเทคโนโลยีสีเขียวและเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ ปตท. มีแผนขยายเครือข่ายสถานีประจุไฟฟ้า เพิ่มเติมอีก 5 สถานีภายในปี 2556 แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ 2 สถานี คือบริเวณปตท. สำนักงานใหญ่ และใกล้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการ ร.1 รอ.บนถนนวิภาวดีรังสิต และอีก 3 สถานี ได้แก่บนเส้นทาง กรุงเทพฯ - ระยอง 2 สถานี และในจังหวัดนนทบุรีอีก 1 สถานี
สถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบของปตท. สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สามารถรองรับการประจุไฟฟ้ารถยนต์ไฟฟ้าได้พร้อมกัน 3 คัน ประกอบด้วย ตู้ประจุไฟฟ้า 3 ตู้ ได้แก่ ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสตรงแบบเติมเร็ว 1 ตู้ ใช้เวลาเติมประมาณ 30 นาที ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสสลับแบบเติมเร็วปานกลาง ใช้เวลาเติมประมาณ 3 ชั่วโมง และ 3 ตู้ประจุไฟฟ้ากระแสสลับแบบเติมช้า ใช้เวลาเติมประมาณ 8 ชั่วโมง
สำหรับยุทธ์ศาสตร์การพัฒนารถพลังงานไฟฟ้ากำลังเป็นที่จับตามองมากขึ้นจากสาธารณชน และหน่วยงานภาครัฐ ส่วนหนึ่งมาจากการจัดกิจกรรมทดสอบขับเชฟโรเลต โวลต์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งพลังงานไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในหลายหนทางที่มีความเป็นไปได้สูงในการช่วยตอบโจทย์ระบบขับเคลื่อนเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน
“เชฟโรเลต มีความชื่นชมยินดีต่อมาตรการที่รัฐบาลไทยแสดงออกมา ผ่านทางบริษัทปตท. ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะช่วยลดมลพิษและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” มาร์ติน แอพเฟล ประธานกรรมการ ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวและว่า
“เราเสนอแนะให้รัฐบาลไทย พิจารณาการเริ่มพัฒนายุทธศาสตร์รถพลังงานไฟฟ้าในประเทศอย่างรวดเร็วด้วยการทำให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงรถปลั๊กอินและรถไฟฟ้าขยายระยะทางขับเคลื่อนได้ง่ายยิ่งขึ้น และสร้างความต้องการของตลาด ตลอดจนลดกำแพงพิกัดอัตราศุลกากร”
โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในแวดวงอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นสอดคล้องกับจีเอ็ม ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกำหนดทิศทางของแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน และเพิ่มแรงจูงใจเพื่อช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงและความต้องการใช้รถพลังงานไฟฟ้า
เมื่อตลาดมีความแข็งแกร่ง มีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบด้านเทคนิคที่ครบครันจนรถพลังงานไฟฟ้าเป็นที่ต้องการ ประเทศไทยจะสามารถยืนอยู่แถวหน้าของเทคโนโลยีสีเขียวและเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้ ปตท. มีแผนขยายเครือข่ายสถานีประจุไฟฟ้า เพิ่มเติมอีก 5 สถานีภายในปี 2556 แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ 2 สถานี คือบริเวณปตท. สำนักงานใหญ่ และใกล้สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาเพื่อสวัสดิการ ร.1 รอ.บนถนนวิภาวดีรังสิต และอีก 3 สถานี ได้แก่บนเส้นทาง กรุงเทพฯ - ระยอง 2 สถานี และในจังหวัดนนทบุรีอีก 1 สถานี