เข้าสู่หน้าฝนกันแล้ว สำหรับชาวสองล้อไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือตกเบาๆ ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง เพราะนอกจากจะตัวเปียกปอนเสี่ยงต่อการเป็นหวัดแล้ว การขับขี่ในทัศนวิสัยที่ไม่ดีตอนฝนตกยังทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย
“ฝนเป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เราสามารถเตรียมพร้อมได้ก่อนขับขี่ในแต่ละครั้งก็คือร่างกายและรถมอเตอร์ไซค์” สมนึก ประกอบผล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค บริษัท บีพี-คาสตรอล (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมเผยเคล็ด(ไม่)ลับในการเตรียมพร้อม และดูแลรถมอเตอร์ไซค์ (รวมทั้งชีวิตของทุกคนบนท้องถนน) ในฤดูฝนแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางและใช้ชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่การเตรียมพร้อม ตรวจเช็คและการแก้ปัญหาเบื้องต้นที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้
รายการตรวจเช็ค | สภาพของปัญหา | วิธีการแก้ปัญหา |
น้ำมันเครื่อง | -ระดับน้ำมันเครื่องไม่ถูกต้อง -น้ำมันเครื่องสกปรก / เสื่อมสภาพ -น้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น(น้ำปนเปื้อนในน้ำมันเครื่อง) -ระดับน้ำมันเครื่องลดลงเร็วมาก | -ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง / ปรับแก้ไขให้ถูกต้อง -ตรวจสอบอายุการใช้งาน สีและสภาพของน้ำมันเครื่อง / เปลี่ยน -ตรวจหารอยรั่วหรือหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขจุดที่รั่ว ล้างภายในเครื่องยนต์และเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง -ตรวจหารอยรั่วซึม / แก้ไข หรือกรณีเครื่องยนต์หลวม ให้ช่างแก้ไขเครื่องยนต์ใหม่ |
ระบบเบรค | -เบรคลื่น (เบรคไม่อยู่) -เบรคค้าง (เบรคไม่คืน) -ระยะฟรีเบรคไม่ถูกต้อง -เบรคมีเสียงดัง (ขณะเบรค) -น้ำมันเบรคสกปรก /เปลี่ยนสี | -ตรวจการสึกหรอของผ้าเบรคและจานเบรค / แก้ไข หรือเปลี่ยน (ถ้าจำเป็น) -ไล่ลมเบรคใหม่ (กรณีเป็นเบรคแบบดิสเบรค) -ตรวจสอบสภาพผ้าเบรค สปริงเบรคและกลไก เบรค / แก้ไขหรือเปลี่ยนถ้าจำเป็น -ตรวจเช็ค / ปรับตั้งใหม่ -ตรวจสภาพผ้าเบรค จานเบรคหรือดุมเบรค / ขัดทำ ความสะอาด แก้ไขหรือเปลี่ยน (ถ้าจำป็น) -เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคใหม่ |
ยาง | -ยางเสื่อมสภาพ / ดอกยางเหลือน้อยหรือสึกหรอไม่สม่ำเสมอ -แรงดันลมยางไม่ถูกต้อง (อ่อนหรือแข็งเกินไป) | -ตรวจเช็ค / เปลี่ยน -ตรวจและเติมลมยางให้ถูกต้อง |
กรองอากาศ | -สกปรก / อุดตัน / เปียกชื้น -เสื่อมสภาพ / เปื่อยหรือฉีกขาด | -ตรวจสอบสภาพ / เปลี่ยนหรือทำความสะอาด (เฉพาะรุ่นที่ไส้กรองไม่เคลือบสารเคมี ส่วนรุ่นที่ เคลือบสารเคมีไม่ต้องทำความสะอาด กรณี สกปรกหรืออุดตันให้เปลี่ยนใหม่) -ตรวจเช็คและเปลี่ยน |
หัวเทียนและปลั๊กหัวเทียน | -หัวเทียนสกปรก / หัวเทียนบอด -ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนไม่ถูกต้อง -หัวเทียนเสื่อมสภาพ / ชำรุด (ฉนวน แตกหัก เขี้ยวกร่อน คราบกำลังอัดรั่ว) -ปลั๊กหัวเทียนเสื่อมสภาพ (เปลือก แตกหัก ยางฉนวนเปื่อย ไฟแรงสูงรั่ว) | -ตรวจสอบ / ทำความสะอาด -ตรวจสอบ / ปรับตั้งให้ถูกต้อง -ตรวจสอบประกายไฟ, ตรวจสภาพภายนอก / เปลี่ยน (ถ้าจำเป็น) -ตรวจเช็ค / เปลี่ยน |
ระบบไฟแสงสว่างและไฟสัญญาณ | -วงจรไฟฟ้าขัดข้อง / ไม่ทำงาน -สวิตช์ควบคุมวงจรชำรุด / เป็นสนิมติดขัด หน้าสัมผัสชำรุด | -ตรวจสอบวงจร / ตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ -ตรวจสอบการทำงาน / ฉีดล้างทำความสะอาดด้วยสเปรย์ไล่ความชื้นหรือเปลี่ยน (ถ้าจำเป็น) |
“สำหรับผู้ขับขี่มือใหม่หรือผู้ที่ไม่สะดวกในการตรวจสอบด้วยตัวเอง ก็สามารถนำรถมอเตอร์ไซค์ของท่านเข้าตรวจเช็คในศูนย์บริการ หรือปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Bike Point ทุกสาขาใกล้บ้าน”
นอกจากนี้ ควรเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น หมวกกันน็อคแบบเต็มใบที่มีหน้ากากใสกันเม็ดฝน และเศษดินกระเด็นใส่, ชุดกันฝนควรมีติดไว้กับที่เก็บของใต้เบาะรถทั้งของผู้ขี่และคนซ้อนท้ายเพื่อป้องกันฝนและเศษโคลนที่อาจกระเด็นมาโดน เสื้อผ้าจะได้ไม่เลอะเทอะ, ถุงมือเพื่อกันมือที่กุมแฮนด์ลื่นในขณะฝนตก เพิ่มความปลอดภัยในการควบคุมรถ ตลอดจนแผ่นป้ายทะเบียนและเอกสารสำคัญต่างๆ หากเปียกฝน หรือสูญหายไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบทำใหม่ทันที โดยสามารถติดต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบก
ข้อมูล : บริษัท บีพี-คาสตรอล (ประเทศไทย) จำกัด
ภาพการตรวจเช็คสภาพรถ : สตอมคลับ