เรื่องมันเศร้านะครับ ถ้ามองว่าไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่ค่ายใหญ่อย่าง“โฟล์คสวาเกน” ไม่ยอมมาลงทุนและดำเนินกิจการในบ้านเราอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หรือปล่อยให้เพียง“ดิสทริบิวเตอร์”ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการดูแลตลาดเท่านั้น
ประเมินได้ว่าศักยภาพของ“โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป”เรื่องเงินคงไม่ใช่ปัญหา แต่ถ้าโมเดลธุรกิจยังไม่สะเด็ดน้ำลงตัวหรือมาแล้วปวดหัวกว่าเดิม ทั้งจากสภาพตลาด คู่แข่ง(โดยเฉพาะค่ายญี่ปุ่น) เครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วน รวมถึงนโยบายรัฐบาลที่ต้องมีความชัดเจน ยากครับที่ค่ายยักษ์จากเยอรมันจะมาตั้งรกรากในไทย
ส่วน“ไทยยานยนตร์” ของ “เสี่ยวิทิต ลีนุตพงษ์” ผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ก็พยายามลุยตลาดตามอัตภาพ พร้อมเลือกโปรดักต์ชั้นดีและมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ด้วยรูปแบบนำเข้าทั้งคันย่อมส่งผลให้ราคาขายโดดสูง โฟล์คสวาเกนจึงถูกกำหนดคลาสให้เป็นรถหรูไปโดยปริยาย
...น่าเสียดายที่โฟล์คสวาเกนมีรถดีๆเยอะ และหลากหลายเซกเมนท์ แต่คนไทยกลับไม่มีโอกาสได้ใช้ อย่างรุ่น“นิว บีเทิล” (เจเนอเรชันที่ 2) ที่แม้จะเปลี่ยนแนวคิดจากการเป็นรถราคาถูก อึด และซ่อมดูแลรักษาง่าย (เป้าประสงค์แรกของการพัฒนารุ่นแรกในปี ค.ศ.1938) ไปเป็นรถแบบ“แฟชั่นเรโทร” แต่ต้องยอมรับว่าบ้านเมืองอื่นยังสามารถซื้อใช้กันสบาย สวนทางกับคนไทยที่ต้องมีเงินแถวๆ 2 ล้านบาทถึงจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าของ
เช่นเดียวกับ“บีเทิล โฉมใหม่”โมเดลเชนจ์(เจเนอเรชันที่ 3) ที่เพิ่งเริ่มทำตลาดในยุโรปและอเมริกาเหนือไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนเมืองไทยถูกนำเข้ามาขายก่อนโดยเกรย์มาร์เก็ตเหมือนเดิม อย่างคันสีเหลืองที่เห็นในรูป ค่าย BRG “รามคำแหง กรุ๊ป” เพิ่งนำออกมาจากตู้คอนเทนเนอร์สดๆร้อนๆ พร้อมเปิดราคาขาย 2.09 ล้านบาท
สำหรับสเปกของ“บีเทิล ใหม่” ที่ค่าย BRG เลือกนำเข้ามาขายต้องบอกว่าจัดออปชันเท่าที่จำเป็น โดยสังเกตเห็นว่า รุ่นนี้ไม่มีหลอดไฟ LED เรียงที่โคมไฟหน้า (Daytime lights) หลังคาแก้วแบบพาโนรามิก กุญแจอัจฉริยะ (Keyless Access)ขณะที่ขุมพลังก็เป็นบล็อกเล็กคือ เบนซิน เทอร์โบ1.2 ลิตร105 แรงม้า
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์อำนวยความสะดวกตามาตรฐานยังมีทั้ง แอร์กึ่งอัตโนมัติ พวงมาลัยมีปุ่มควบคุมมัลติฟังชัน จอทัชสกรีน ครูสคอนโทรล รวมถึงเครื่องเสียงรองรับ เอ็มพี3 และซีดีได้ 6 แผ่น พร้อมช่องต่อ AUX USB ระบบเชื่อมต่อบลูทูธ และขับพลังเสียงด้วยลำโพง 8 ตัว
ด้านความปลอดภัยระดับ ถุงลมนิรภัยคู่หน้าและด้านข้างรวม 4 จุด ดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบเสริมแรงเบรกไฮดรอลิก HBA ระบบควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ ESP ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน Hill Hold Function
...แต่ถ้าข้ามมาในส่วนของรูปร่างหน้าตา งานนี้ต้องยอมรับว่าการออกแบบ “บีเทิล ใหม่” ถือเป็นการบ้านสำคัญไม่แพ้เรื่องสมรรถนะ เพราะไหนจะต้องยึดโครงสร้างแบบเดิม แถมยังต้องเพิ่มความสดใหม่ให้ดูโดดเด่นหรือแตกต่างกว่าโฉมเก่า (เจเนอเรชัน 2) ซึ่งสุดท้ายทีมออกแบบและวิศวกรก็ปั้น “เต่าทองน้องใหม่” ออกมาได้ลงตัว
ด้วยมิติตัวถังยาว 4,278 มม. (ยาวกว่าเดิม 152 มม.) กว้าง 1,808 มม. (กว้างกว่าเดิม 84มม.) สูง 1,486 มม. (เตี้ยกว่าเดิม 12 มม.) โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ ดีไซน์กันชนหน้าใหม่ พร้อมการปรับรายละเอียดในโคมไฟหน้า และโคมไฟท้ายทรงใหม่
ทั้งนี้โฟล์คสวาเกนพยายามเล่นกับอารมณ์ของลูกค้า โดยอิงความคลาสสิคซึ่งหนึ่งจุดที่ผู้เขียนชอบคือล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้วที่ออกแบบเป็นทรงกระทะคว่ำเหมือนบีเทิลยุคเก่า (แต่เมืองนอกก็มีลายอื่นให้เลือก) รวมถึงโป่งล้อโตๆและเส้นสายโค้งมนรอบคัน หรือถ้าลองเปิดประตูข้างและประตูหลังพร้อมกัน มองมุมไหนก็คล้ายกับเต่าทองกำลังบินดีๆนี่เอง
ขณะที่ภายในห้องโดยสารเข้าออกสบายจากบานประตูสุดยาว ที่เผื่อเอาไว้ให้ผู้โดยสารด้านหลังสามารถแทรกตัวเข้าไปได้ง่าย(แม้เอาเข้าจริงก็ไม่ง่ายเท่าไหร่) เบาะนั่งแบบผ้าสัมผัสนุ่มและไม่บีบสรีระมากนัก ขณะเดียวกันถ้าคนขับตัวสูงประมาณ 180 ซม. อาจจะต้องถอยเบาะมาด้านหลังมากหน่อย (พร้อมกับปรับระยะพวงมาลัยเข้าหาตัวมากขึ้น) แข้งขาถึงจะเหยียดได้ถนัด แต่กระนั้นทัศวิสัยในการมองด้านหน้าและด้านข้างยังโปร่งชัด
ส่วนพวงมาลัยแบบขอบล่างตัดตรงสไตล์รถสปอร์ต ขณะที่ปุ่มควบคุมบนพวงมาลัย คันเกียร์ และชุดสั่งงานต่างๆแถบยกชุดมาจาก “กอล์ฟ”และ“ซิรอคโค” ด้านคอนโซลหน้าและขอบประตูด้านบน เล่นสีสันด้วยแผงอลูมิเนียมสีเดียวกับตัวถังรถ หวังเพิ่มความโดดเด่นสวยงาม
เมื่อหน้าตาและการตกแต่งดูเร้าอารมณ์แล้ว ในส่วนของสมรรถนะที่วางเครื่องยนต์เบนซิน TSI 4 สูบ 1.2 ลิตร เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด105 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 175 นิวตันเมตรที่ 4,100 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทซ์ DSG 7 สปีด ถือว่าตอบสนองการขับขี่ได้เร้าใจไม่แพ้กัน
...จะว่าไปผู้เขียนเคยสัมผัสและชื่นชมระบบขับเคลื่อนชุดนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว จาก“สโกด้า เยติ” ดังนั้นเมื่อยกมาลงใน “บีเทิล โฉมใหม่” จึงไม่มีข้อกังขาใดๆ อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ทำได้ 10.9 วินาที จังหวะออกตัวมีอาการกระชากนิดๆ พร้อมเทอร์โบทำงานขยันขันแข็ง
ขณะที่ประสิทธิภาพของเกียร์DSG 7 สปีดก็ช่วยได้มาก ดังนั้นการขับย่านความเร็วต่ำส่งไปถึง 100-120 กม./ชม. พละกำลังมาทันใจ มีช่วงฉุดแรงดึงตลอด โดยจังหวะบี้คันเร่งตามแรงกดของเท้าขวา รถจัดพลังมาให้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับเสียงหวานๆของเครื่องยนต์ ส่วนการขับบนความเร็ว 120 กม./ชม. พวงมาลัยยังนิ่ง ช่วงล่างแน่นให้ความมั่นใจ
ผู้ขียนชอบน้ำหนักและการควบคุมพวงมาลัยที่กะระยะองศาเลี้ยวยอดเยี่ยม ในช่วงความเร็วต่ำ(การจราจรหนาแน่น,ถอยจอด)ขับสบายไม่หนักมือ และจะรู้สึกว่าหน่วงมากขึ้นเมื่อใช้ความเร็วสูง
ส่วนโครงสร้างกันสะเทือนเซ็ทมาแข็งนิดๆ ขับในเมืองช่วงถนนไม่เรียบหรือขึ้นลงคอสะพานจะรับรู้ถึงอาการเด้งดิบพอสมควร ยิ่งคนนั่งด้านหลังอาการจะหนักกว่าเพื่อน แต่นั่นละครับถ้านำไปวิ่งทางไกลต่างจังหวัด ช่วงล่างหนึบแน่น เสถียรภาพการทรงตัวเป็นเลิศ
ด้านประสิทธิภาพของเบรกยอดเยี่ยม น้ำหนักแป้นและการตอบสนองของเบรกนุ่มนวล ระยะชะลอหยุดแม่นยำ นับเป็นอีกหนึ่งจุดที่ได้ใจผู้เขียน ส่วนอัตราบริโภคน้ำมันกับการลองขับนั่งกันไป 3 คน ผ่านรถติดในเมือง และวิ่งถนนใหญ่ออกต่างจังหวัดใช้ความเร็ว 120-140 กม./ชม. และมีบางช่วงแอบลองสมรรถนะสูงๆ ได้ตัวเลขเฉลี่ย 10-11 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ... “โฟล์คฯเต่า บีเทิล” เป็นรถอีกหนึ่งรุ่นที่อารมณ์(การซื้อ)อยู่เหนือเหตุผล เศรษฐีมีตังค์จริงๆคงไม่มานั่งคิด หรือฟังเสียงคนอื่นมาก เมื่อเทียบกับความโดดเด่นแตกต่างที่ได้รับจากอมตะยานยนต์ อันแฝงความคลาสสิกปนกลิ่นประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ในขณะที่ไทยยานยนตร์ซึ่งเป็นตัวแทนขายอย่างเป็นทางการยังต้องรอความพร้อมหลายอย่าง แถมยังอยากได้ของยากคือเครื่องยนต์เบนซิน1.4 ลิตร เทอร์โบคู่มาทำตลาด ซึ่งรถคงจะพร้อมขายอย่างเร็วต้นปีหน้า ดังนั้นระหว่างนี้ใครอยากเท่ก่อนก็ติดต่อไปที่ BRG ได้เลย
ประเมินได้ว่าศักยภาพของ“โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป”เรื่องเงินคงไม่ใช่ปัญหา แต่ถ้าโมเดลธุรกิจยังไม่สะเด็ดน้ำลงตัวหรือมาแล้วปวดหัวกว่าเดิม ทั้งจากสภาพตลาด คู่แข่ง(โดยเฉพาะค่ายญี่ปุ่น) เครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วน รวมถึงนโยบายรัฐบาลที่ต้องมีความชัดเจน ยากครับที่ค่ายยักษ์จากเยอรมันจะมาตั้งรกรากในไทย
ส่วน“ไทยยานยนตร์” ของ “เสี่ยวิทิต ลีนุตพงษ์” ผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ก็พยายามลุยตลาดตามอัตภาพ พร้อมเลือกโปรดักต์ชั้นดีและมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ด้วยรูปแบบนำเข้าทั้งคันย่อมส่งผลให้ราคาขายโดดสูง โฟล์คสวาเกนจึงถูกกำหนดคลาสให้เป็นรถหรูไปโดยปริยาย
...น่าเสียดายที่โฟล์คสวาเกนมีรถดีๆเยอะ และหลากหลายเซกเมนท์ แต่คนไทยกลับไม่มีโอกาสได้ใช้ อย่างรุ่น“นิว บีเทิล” (เจเนอเรชันที่ 2) ที่แม้จะเปลี่ยนแนวคิดจากการเป็นรถราคาถูก อึด และซ่อมดูแลรักษาง่าย (เป้าประสงค์แรกของการพัฒนารุ่นแรกในปี ค.ศ.1938) ไปเป็นรถแบบ“แฟชั่นเรโทร” แต่ต้องยอมรับว่าบ้านเมืองอื่นยังสามารถซื้อใช้กันสบาย สวนทางกับคนไทยที่ต้องมีเงินแถวๆ 2 ล้านบาทถึงจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าของ
เช่นเดียวกับ“บีเทิล โฉมใหม่”โมเดลเชนจ์(เจเนอเรชันที่ 3) ที่เพิ่งเริ่มทำตลาดในยุโรปและอเมริกาเหนือไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนเมืองไทยถูกนำเข้ามาขายก่อนโดยเกรย์มาร์เก็ตเหมือนเดิม อย่างคันสีเหลืองที่เห็นในรูป ค่าย BRG “รามคำแหง กรุ๊ป” เพิ่งนำออกมาจากตู้คอนเทนเนอร์สดๆร้อนๆ พร้อมเปิดราคาขาย 2.09 ล้านบาท
สำหรับสเปกของ“บีเทิล ใหม่” ที่ค่าย BRG เลือกนำเข้ามาขายต้องบอกว่าจัดออปชันเท่าที่จำเป็น โดยสังเกตเห็นว่า รุ่นนี้ไม่มีหลอดไฟ LED เรียงที่โคมไฟหน้า (Daytime lights) หลังคาแก้วแบบพาโนรามิก กุญแจอัจฉริยะ (Keyless Access)ขณะที่ขุมพลังก็เป็นบล็อกเล็กคือ เบนซิน เทอร์โบ1.2 ลิตร105 แรงม้า
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์อำนวยความสะดวกตามาตรฐานยังมีทั้ง แอร์กึ่งอัตโนมัติ พวงมาลัยมีปุ่มควบคุมมัลติฟังชัน จอทัชสกรีน ครูสคอนโทรล รวมถึงเครื่องเสียงรองรับ เอ็มพี3 และซีดีได้ 6 แผ่น พร้อมช่องต่อ AUX USB ระบบเชื่อมต่อบลูทูธ และขับพลังเสียงด้วยลำโพง 8 ตัว
ด้านความปลอดภัยระดับ ถุงลมนิรภัยคู่หน้าและด้านข้างรวม 4 จุด ดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบเสริมแรงเบรกไฮดรอลิก HBA ระบบควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ ESP ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน Hill Hold Function
...แต่ถ้าข้ามมาในส่วนของรูปร่างหน้าตา งานนี้ต้องยอมรับว่าการออกแบบ “บีเทิล ใหม่” ถือเป็นการบ้านสำคัญไม่แพ้เรื่องสมรรถนะ เพราะไหนจะต้องยึดโครงสร้างแบบเดิม แถมยังต้องเพิ่มความสดใหม่ให้ดูโดดเด่นหรือแตกต่างกว่าโฉมเก่า (เจเนอเรชัน 2) ซึ่งสุดท้ายทีมออกแบบและวิศวกรก็ปั้น “เต่าทองน้องใหม่” ออกมาได้ลงตัว
ด้วยมิติตัวถังยาว 4,278 มม. (ยาวกว่าเดิม 152 มม.) กว้าง 1,808 มม. (กว้างกว่าเดิม 84มม.) สูง 1,486 มม. (เตี้ยกว่าเดิม 12 มม.) โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ ดีไซน์กันชนหน้าใหม่ พร้อมการปรับรายละเอียดในโคมไฟหน้า และโคมไฟท้ายทรงใหม่
ทั้งนี้โฟล์คสวาเกนพยายามเล่นกับอารมณ์ของลูกค้า โดยอิงความคลาสสิคซึ่งหนึ่งจุดที่ผู้เขียนชอบคือล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้วที่ออกแบบเป็นทรงกระทะคว่ำเหมือนบีเทิลยุคเก่า (แต่เมืองนอกก็มีลายอื่นให้เลือก) รวมถึงโป่งล้อโตๆและเส้นสายโค้งมนรอบคัน หรือถ้าลองเปิดประตูข้างและประตูหลังพร้อมกัน มองมุมไหนก็คล้ายกับเต่าทองกำลังบินดีๆนี่เอง
ขณะที่ภายในห้องโดยสารเข้าออกสบายจากบานประตูสุดยาว ที่เผื่อเอาไว้ให้ผู้โดยสารด้านหลังสามารถแทรกตัวเข้าไปได้ง่าย(แม้เอาเข้าจริงก็ไม่ง่ายเท่าไหร่) เบาะนั่งแบบผ้าสัมผัสนุ่มและไม่บีบสรีระมากนัก ขณะเดียวกันถ้าคนขับตัวสูงประมาณ 180 ซม. อาจจะต้องถอยเบาะมาด้านหลังมากหน่อย (พร้อมกับปรับระยะพวงมาลัยเข้าหาตัวมากขึ้น) แข้งขาถึงจะเหยียดได้ถนัด แต่กระนั้นทัศวิสัยในการมองด้านหน้าและด้านข้างยังโปร่งชัด
ส่วนพวงมาลัยแบบขอบล่างตัดตรงสไตล์รถสปอร์ต ขณะที่ปุ่มควบคุมบนพวงมาลัย คันเกียร์ และชุดสั่งงานต่างๆแถบยกชุดมาจาก “กอล์ฟ”และ“ซิรอคโค” ด้านคอนโซลหน้าและขอบประตูด้านบน เล่นสีสันด้วยแผงอลูมิเนียมสีเดียวกับตัวถังรถ หวังเพิ่มความโดดเด่นสวยงาม
เมื่อหน้าตาและการตกแต่งดูเร้าอารมณ์แล้ว ในส่วนของสมรรถนะที่วางเครื่องยนต์เบนซิน TSI 4 สูบ 1.2 ลิตร เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด105 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 175 นิวตันเมตรที่ 4,100 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทซ์ DSG 7 สปีด ถือว่าตอบสนองการขับขี่ได้เร้าใจไม่แพ้กัน
...จะว่าไปผู้เขียนเคยสัมผัสและชื่นชมระบบขับเคลื่อนชุดนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว จาก“สโกด้า เยติ” ดังนั้นเมื่อยกมาลงใน “บีเทิล โฉมใหม่” จึงไม่มีข้อกังขาใดๆ อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ทำได้ 10.9 วินาที จังหวะออกตัวมีอาการกระชากนิดๆ พร้อมเทอร์โบทำงานขยันขันแข็ง
ขณะที่ประสิทธิภาพของเกียร์DSG 7 สปีดก็ช่วยได้มาก ดังนั้นการขับย่านความเร็วต่ำส่งไปถึง 100-120 กม./ชม. พละกำลังมาทันใจ มีช่วงฉุดแรงดึงตลอด โดยจังหวะบี้คันเร่งตามแรงกดของเท้าขวา รถจัดพลังมาให้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับเสียงหวานๆของเครื่องยนต์ ส่วนการขับบนความเร็ว 120 กม./ชม. พวงมาลัยยังนิ่ง ช่วงล่างแน่นให้ความมั่นใจ
ผู้ขียนชอบน้ำหนักและการควบคุมพวงมาลัยที่กะระยะองศาเลี้ยวยอดเยี่ยม ในช่วงความเร็วต่ำ(การจราจรหนาแน่น,ถอยจอด)ขับสบายไม่หนักมือ และจะรู้สึกว่าหน่วงมากขึ้นเมื่อใช้ความเร็วสูง
ส่วนโครงสร้างกันสะเทือนเซ็ทมาแข็งนิดๆ ขับในเมืองช่วงถนนไม่เรียบหรือขึ้นลงคอสะพานจะรับรู้ถึงอาการเด้งดิบพอสมควร ยิ่งคนนั่งด้านหลังอาการจะหนักกว่าเพื่อน แต่นั่นละครับถ้านำไปวิ่งทางไกลต่างจังหวัด ช่วงล่างหนึบแน่น เสถียรภาพการทรงตัวเป็นเลิศ
ด้านประสิทธิภาพของเบรกยอดเยี่ยม น้ำหนักแป้นและการตอบสนองของเบรกนุ่มนวล ระยะชะลอหยุดแม่นยำ นับเป็นอีกหนึ่งจุดที่ได้ใจผู้เขียน ส่วนอัตราบริโภคน้ำมันกับการลองขับนั่งกันไป 3 คน ผ่านรถติดในเมือง และวิ่งถนนใหญ่ออกต่างจังหวัดใช้ความเร็ว 120-140 กม./ชม. และมีบางช่วงแอบลองสมรรถนะสูงๆ ได้ตัวเลขเฉลี่ย 10-11 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ... “โฟล์คฯเต่า บีเทิล” เป็นรถอีกหนึ่งรุ่นที่อารมณ์(การซื้อ)อยู่เหนือเหตุผล เศรษฐีมีตังค์จริงๆคงไม่มานั่งคิด หรือฟังเสียงคนอื่นมาก เมื่อเทียบกับความโดดเด่นแตกต่างที่ได้รับจากอมตะยานยนต์ อันแฝงความคลาสสิกปนกลิ่นประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ในขณะที่ไทยยานยนตร์ซึ่งเป็นตัวแทนขายอย่างเป็นทางการยังต้องรอความพร้อมหลายอย่าง แถมยังอยากได้ของยากคือเครื่องยนต์เบนซิน1.4 ลิตร เทอร์โบคู่มาทำตลาด ซึ่งรถคงจะพร้อมขายอย่างเร็วต้นปีหน้า ดังนั้นระหว่างนี้ใครอยากเท่ก่อนก็ติดต่อไปที่ BRG ได้เลย