อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2554 จากที่ถูกมองว่าจะเป็นอีกปีที่สดใส และสามารถทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง โดยบางฝ่ายถึงกับมองว่าอาจจะเห็นตัวเลขการผลิตรถทะลุ 2 ล้านคัน หรือมียอดขายพุ่งแตะ 9 แสนคัน แต่เหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นตลอดปีแบบไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น สะเทือนการผลิตในไทย จนต้องปรับลดการผลิตลงช่วงไตรมาสสองของปี และยังถูกถล่มซ้ำกับมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีช่วงโค้งสุดท้ายของปี ทำเอาช็อก! อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยและทั่วโลกไปตามๆ กัน
ในขณะที่คำยืนยัน “เอาอยู่” ของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย เป็นเพียงน้ำลายช่วยซ้ำให้จมมิดบาดาลเข้าไปอีก แถมโครงการ “รถคันแรก” ที่หวังจะช่วยกระตุ้นตลาด และผ่อนเบาภาระประชาชน กลับออกมาผิดเวลาในช่วงคาบเกี่ยวเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่พอดี ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ บทสรุปสุดท้ายอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย จึงเสียหายไปสิ้นถึง 2 แสนล้านบาท!!
เปิดฉากไตรมาสแรกสดใส
การที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2553 สามารถทุบสถิติในประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการผลิต 1.645 ล้านคัน หรือตลาดรถยนต์ในไทยทะลุกว่า 8.0 แสนคัน ทั้งที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอย่างรุนแรง แต่ก็สามารถฝ่าฟันผ่านไปได้อย่างงดงาม ทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2554 ถูกประเมินว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่ายอดการผลิตไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านคัน และตลาดรถยนต์ในประเทศอย่างต่ำ 8.6 แสนคัน
หากดูแนวโน้มดังกล่าว ดูเหมือนว่าจะน้อยไปเสียอีก เพราะตลอดช่วง 3 เดือนแรกของปี 2554 การผลิตและตลาดรถยนต์ในไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านตัวเลขไตรมาสแรกของปี ยอดการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและรองรับตลาดในประเทศ 4.689 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 22.5% และเฉพาะเดือนมีนาคมผลิตได้ถึง 1.72 แสนคัน ทำสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์การผลิตในไทยเลยทีเดียว
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศ ไตรมาสแรกก็ทำสถิติใหม่เช่นกัน โดยเดือนมีนาคมมียอดขายทั้งสิ้น 9.3 หมื่นคัน และเมื่อรวมตลอดช่วงไตรมาสแรกของปี ตลาดรถยนต์ไทยมียอดขายทั้งสิ้น 2.38 แสนคัน หรือเติบโตจากปีที่แล้ว 43% ตัวเลขการผลิตและขายในประเทศดังกล่าว จึงทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองตัวเลขประมาณการณ์อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในใจใหม่ โดยบางรายถึงกับมองตลาดในประเทศน่าจะบรรลุ 9 แสนคัน และตัวเลขการผลิตในปีนี้ อาจจะทะลุ 1.9 แสนคันได้?!
แต่ทันทีเข้าสู่ไตรมาสสองของปี 2554 ได้เกิดเค้าลางร้ายฉุดอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่กำลังพุ่งเป็นตอร์ปิโดให้หล่นวูบเป็นดาวตก!!
พิษสึนามิญี่ปุ่นสะเทือนไทย
กลางเดือนมีนาคมก่อนเข้าสู่ไตรมาส 2 ของปี เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น จนทำให้บ้านเรือน อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมเสียหายยับเยิน พร้อมกับมีผู้เสียชีวิตนับหมื่นราย
แม้เหตุการณ์จะเกิดที่ประเทศญี่ปุ่น และการนำเข้ารถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นจะมีเพียงเล็กน้อย เพราะค่ายรถญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด ได้เข้ามาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ และใช้ชิ้นส่วนจากในไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีชิ้นส่วนสำคัญบางอย่าง โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การส่งมอบชิ้นส่วนจากญี่ปุ่นสะดุดลง
เหตุนี้ช่วงกลางเดือนเมษายน โรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่นในไทย จึงเริ่มมีการปรับลดกำลังการผลิตลง และทำให้การส่งมอบรถลูกค้าล่าช้าออกไปด้วย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและบริษัทรถยนต์ อาทิ โตโยต้า, ฮอนด้า, อีซุซู, นิสสัน, ซูซูกิ, จีเอ็ม, มิตซูบิชิ และคาวาซากิ ต่างได้มีการแถลงผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้การผลิตในไทยลดลง 50% ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ขณะที่ “วัลลภ เตียศิริ” ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ระบุว่า... “การลดกำลังการผลิตลง 50% จากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิ ทำให้ยอดการผลิตรถหายไป 1.5 แสนคัน ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ หรือสูญเสียรายได้กว่า 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขประเมินถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น หากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย น่าจะทำให้ตัวเลขการผลิตลดลงมากกว่านี้”
อย่างไรก็ตาม ค่ายรถในไทยกลับมาผลิตเร็วกว่าที่คาดไว้ และการหาชิ้นส่วนจากแหล่งอื่นๆ มาทดแทน ทำให้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมก็เริ่มกลับมาผลิตได้ มีเพียงฮอนด้าที่โรงงานชิ้นส่วนอยู่ในบริเวณเกิดเหตุสึนามิโดยตรง จึงฟื้นการผลิตได้ช้ากว่ายี่ห้ออื่นๆ...
ดังนั้นโดยรวมเหตุการณ์สึนามิ จึงไม่ส่งผลเสียหายต่ออุตสาหกรรมรถยนต์นัก โดยไตรมาส 2 ของปี 2554 มีการผลิตทั้งสิ้น 3.41 แสนคัน ลดลงเพียง 11% เท่านั้น
มหาอุทกภัยถล่มจมบาดาล
หลังฟื้นจากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น เข้าสู่ครึ่งปีหลังอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เดินเครื่องเต็มที่เพื่อชดเชยการผลิตที่หายไป แต่เพิ่งกลับมาผลิตได้เพียง 3 เดือน อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยกลับมาสะดุดอีกครั้ง และคราวนี้ถึงกับช็อก! เลยทีเดียว
โดยช่วงปลายเดือนกันยายน เกิดน้ำท่วมใหญ่ภาคกลางและไหลเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง และเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในไทย รวมถึงโรงงานประกอบรถยนต์ของฮอนด้า
เมื่อรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันอยู่ตลอดเวลาว่า “เอาอยู่” ไม่สามารถหยุดน้องน้ำได้ ทำให้พอเข้าสู่เดือนตุลาคมอยุธยาและปทุมธานีจมบาดาล นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งจมอยู่ใต้น้ำ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทหยุดชะงัก และเท่านั้นไม่พอมวลน้ำได้ไหลทะลักท่วมเขตกรุงเทพฯ และนครปฐมบางส่วน
เหตุนี้จึงไม่ต้องพูดถึงโรงงานฮอนด้าจะรอดหรือไม่? ภาพรถยนต์ที่ผลิตไว้กว่า 1,000 คันสะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดี!!
ขณะที่โรงงานรถยนต์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า อีซูซุ มิตซูบิชิ นิสสัน มาสด้า จีเอ็ม ฟอร์ด และมาสด้า ต่างก็พลอยทยอยหยุดการผลิตไปเช่นกัน เพราะโรงงานชิ้นส่วนที่จมมิดน้ำอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีหยุดการผลิตเช่นกัน ทำให้ไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้แก่บริษัทรถมาประกอบได้ และยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลก เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปทั่วโลกด้วย
ดังนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย จึงชะงักตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม และจมมิดน้ำยาวมาจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน สถานการณ์จึงเริ่มคลี่คลาย โดยค่ายรถเริ่มกลับมาผลิตอีกครั้ง จะมีก็เพียง “ฮอนด้า” ที่เพิ่งฟื้นจากพิษสึนามิ กลับมาผลิตเต็มที่ในเดือนกันยายน ต้องมาโดนมรสุมลูกใหญ่ถล่มโรงงานจมน้ำมิด จนต้องหยุดการผลิตยาวไปจนถึงต้นปี 2555
เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีนี้ นับว่าทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเสียหาย มากกว่าผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อต้นปีเสียอีก โดยประเมินกันว่าจะเสียหายนับแสนล้านบาทเลยทีเดียว!!
รถคันแรกแป้กฉุดตลาดไม่ขึ้น
ช่วงคาบเกี่ยวก่อนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทย มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับตลาดรถยนต์ไทย นั่นก็คือโครงการเงิน “รถคันแรก” ให้แก่ประชาชนสูงสุด 1 แสนบาท ตามนโยบายของรัฐบาล “ปูแดง” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียง 2 เดือน เพื่อช่วยลดภาระประชาชน และกระตุ้นตลาดรถยนต์ไทยปีนี้
โดยเงื่อนไขรถคันแรกที่รัฐบาลประกาศออกมา คือ ต้องเป็นรถยนต์นั่งที่มีขนาดไม่เกิน 1500 ซีซี ส่วนปิกอัพไม่จำกัดขนาดเครื่องยนต์ แต่ต้องมีราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาท และต้องผลิตในประเทศเท่านั้น ซึ่งจะคืนเงินตามมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายจริง และไม่เกิน 1 แสนบาท ขณะที่ผู้ซื้อจะต้องซื้อรถเป็นคันแรก อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป และต้องครอบครองรถ 5 ปีขึ้นไป ระหว่างนี้ไม่สามารถขายโอนได้ โดยกำหนดโครงการตั้งแต่ 16 กันยายน 2554 จนถึง 31 ธันวาคม 2555
ทันทีที่รัฐบาลประกาศเงื่อนไขออกมา ค่ายรถมีทั้งตอบรับและคัดค้าน อย่าง “ฟอร์ด” ที่มองว่าไม่เป็นธรรมกับรุ่นเฟียสต้าที่เป็นเครื่องยนต์ 1600 ซีซี ด้าน “โปรตอน” และ “ทาทา” มองเป็นการกีดกันการค้า เจาะจงเฉพาะรถผลิตในประเทศเท่านั้น และนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการโอนสิทธิ์รถได้ ต้องครอบครองนาน 5 ปี ทำให้ไฟแนนซ์หวั่นหากลูกค้าผิดนัดชำระค่างวด จะทำให้ไม่สามารถยึดรถได้
นอกจากปัญหาความไม่เป็นธรรมแล้ว โครงการรถคันแรกยังเปิดออกมาผิดเวลา โดยคิกออฟในช่วงเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย ทำให้บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ผู้คนไม่กะจิตกะใจที่จะซื้อรถ และโรงงานประกอบรถยนต์ก็ผลิตไม่ได้…
ผลยกแรกของโครงการรถคันแรก จึงแป้กไม่เป็นท่า!! เพราะตั้งแต่ 16 กันยายน จนถึง 2 ธันวาคม มีประชาชนเข้าร่วมโครงการรถคันแรกเพียงแค่กว่า 1.3 พันคัน หรือคืนเงินเพียง 108 ล้านบาทเท่านั้น ห่างไกลลิบลับกับเป้าหมายตลอดโครงการจำนวน 5 แสนคัน หรือวงเงินคืนภาษี 3 หมื่นล้านบาท
อุตฯ รถยนต์พินาศ2แสนล้าน
ดังนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ตลอดช่วงปี 2554 จึงมีช่วงสดใสจริงๆ เพียงแค่ไตรมาสแรกเท่านั้น ซึ่งก็เป็นส่วนผลักดันให้ตลาดรถยนต์ไทยไม่ถึงดิ่งเหวมากนัก โดยยอดขาย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ยังปิดอยู่ที่ 7.39 แสนคัน หรือเติบโต 4.6% ขณะที่การผลิตหล่นวูบลงไป 9% หรือมีเพียง 1.35 ล้านคัน เพราะการผลิตส่งออกชะงักไปเลย
แต่หากมาดูผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทยรอบ 50 ปี จะเห็นว่าในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนตกต่ำอย่างมาก ผลิตได้เพียง 2-3 หมื่นคันต่อเดือนเท่านั้น โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนผลิตได้ 2.33 หมื่น เป็นตัวเลขการผลิตต่ำสุดในรอบ 151 เดือน หรือ 12 ปีเลยทีเดียว!!
“เดิมตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1.8-2.0 ล้านคัน แต่ผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ จนทำให้โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ ทำให้ยอดการผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554 หายไป 3.0-3.5 แสนคัน หรือมูลค่าประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านบาท ส่งผลให้ถึงสิ้นปียอดการผลิตรถยนต์ในไทย น่าจะอยู่ที่ประมาณกว่า 1.4 ล้านคันเท่านั้น”
นั่นเป็นการประเมินของ “ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับความเห็นของ “วัลลภ เตียศิริ” ที่มองว่าตัวเลขการผลิตรถยนต์ในปีนี้ไม่น่าจะเกิน 1.6 ล้านคัน จากที่เคยมองว่าจะทะลุ 2 ล้านคัน
“การผลิตรถที่ลดลงมาจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อต้นปี และน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงปลายปี ทำให้ตัวเลขการผลิตรถยนต์ในไทย คาดว่าจะหายไปประมาณ 4 แสนคัน หรือคิดเป็นมูลค่าประเทศสูญเสียโอกาสประมาณ 2 แสนล้านบาท”
เห็นตัวเลขประเมินดังกล่าวแล้ว... อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2554 ที่คาดว่าจะพุ่งเป็นตอร์ปิโด กลับดิ่งเหวเป็นดาวตก ทำเอาช็อก! อุตสาหกรรมยานยนต์ไปทั่วโลก!!
ในขณะที่คำยืนยัน “เอาอยู่” ของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย เป็นเพียงน้ำลายช่วยซ้ำให้จมมิดบาดาลเข้าไปอีก แถมโครงการ “รถคันแรก” ที่หวังจะช่วยกระตุ้นตลาด และผ่อนเบาภาระประชาชน กลับออกมาผิดเวลาในช่วงคาบเกี่ยวเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่พอดี ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ บทสรุปสุดท้ายอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย จึงเสียหายไปสิ้นถึง 2 แสนล้านบาท!!
เปิดฉากไตรมาสแรกสดใส
การที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2553 สามารถทุบสถิติในประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการผลิต 1.645 ล้านคัน หรือตลาดรถยนต์ในไทยทะลุกว่า 8.0 แสนคัน ทั้งที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอย่างรุนแรง แต่ก็สามารถฝ่าฟันผ่านไปได้อย่างงดงาม ทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2554 ถูกประเมินว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่ายอดการผลิตไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านคัน และตลาดรถยนต์ในประเทศอย่างต่ำ 8.6 แสนคัน
หากดูแนวโน้มดังกล่าว ดูเหมือนว่าจะน้อยไปเสียอีก เพราะตลอดช่วง 3 เดือนแรกของปี 2554 การผลิตและตลาดรถยนต์ในไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านตัวเลขไตรมาสแรกของปี ยอดการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและรองรับตลาดในประเทศ 4.689 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 22.5% และเฉพาะเดือนมีนาคมผลิตได้ถึง 1.72 แสนคัน ทำสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์การผลิตในไทยเลยทีเดียว
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศ ไตรมาสแรกก็ทำสถิติใหม่เช่นกัน โดยเดือนมีนาคมมียอดขายทั้งสิ้น 9.3 หมื่นคัน และเมื่อรวมตลอดช่วงไตรมาสแรกของปี ตลาดรถยนต์ไทยมียอดขายทั้งสิ้น 2.38 แสนคัน หรือเติบโตจากปีที่แล้ว 43% ตัวเลขการผลิตและขายในประเทศดังกล่าว จึงทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองตัวเลขประมาณการณ์อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในใจใหม่ โดยบางรายถึงกับมองตลาดในประเทศน่าจะบรรลุ 9 แสนคัน และตัวเลขการผลิตในปีนี้ อาจจะทะลุ 1.9 แสนคันได้?!
แต่ทันทีเข้าสู่ไตรมาสสองของปี 2554 ได้เกิดเค้าลางร้ายฉุดอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่กำลังพุ่งเป็นตอร์ปิโดให้หล่นวูบเป็นดาวตก!!
พิษสึนามิญี่ปุ่นสะเทือนไทย
กลางเดือนมีนาคมก่อนเข้าสู่ไตรมาส 2 ของปี เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น จนทำให้บ้านเรือน อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมเสียหายยับเยิน พร้อมกับมีผู้เสียชีวิตนับหมื่นราย
แม้เหตุการณ์จะเกิดที่ประเทศญี่ปุ่น และการนำเข้ารถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นจะมีเพียงเล็กน้อย เพราะค่ายรถญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด ได้เข้ามาตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ และใช้ชิ้นส่วนจากในไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีชิ้นส่วนสำคัญบางอย่าง โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การส่งมอบชิ้นส่วนจากญี่ปุ่นสะดุดลง
เหตุนี้ช่วงกลางเดือนเมษายน โรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่นในไทย จึงเริ่มมีการปรับลดกำลังการผลิตลง และทำให้การส่งมอบรถลูกค้าล่าช้าออกไปด้วย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและบริษัทรถยนต์ อาทิ โตโยต้า, ฮอนด้า, อีซุซู, นิสสัน, ซูซูกิ, จีเอ็ม, มิตซูบิชิ และคาวาซากิ ต่างได้มีการแถลงผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้การผลิตในไทยลดลง 50% ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ขณะที่ “วัลลภ เตียศิริ” ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ระบุว่า... “การลดกำลังการผลิตลง 50% จากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิ ทำให้ยอดการผลิตรถหายไป 1.5 แสนคัน ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ หรือสูญเสียรายได้กว่า 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขประเมินถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น หากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย น่าจะทำให้ตัวเลขการผลิตลดลงมากกว่านี้”
อย่างไรก็ตาม ค่ายรถในไทยกลับมาผลิตเร็วกว่าที่คาดไว้ และการหาชิ้นส่วนจากแหล่งอื่นๆ มาทดแทน ทำให้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมก็เริ่มกลับมาผลิตได้ มีเพียงฮอนด้าที่โรงงานชิ้นส่วนอยู่ในบริเวณเกิดเหตุสึนามิโดยตรง จึงฟื้นการผลิตได้ช้ากว่ายี่ห้ออื่นๆ...
ดังนั้นโดยรวมเหตุการณ์สึนามิ จึงไม่ส่งผลเสียหายต่ออุตสาหกรรมรถยนต์นัก โดยไตรมาส 2 ของปี 2554 มีการผลิตทั้งสิ้น 3.41 แสนคัน ลดลงเพียง 11% เท่านั้น
มหาอุทกภัยถล่มจมบาดาล
หลังฟื้นจากผลกระทบเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น เข้าสู่ครึ่งปีหลังอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เดินเครื่องเต็มที่เพื่อชดเชยการผลิตที่หายไป แต่เพิ่งกลับมาผลิตได้เพียง 3 เดือน อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยกลับมาสะดุดอีกครั้ง และคราวนี้ถึงกับช็อก! เลยทีเดียว
โดยช่วงปลายเดือนกันยายน เกิดน้ำท่วมใหญ่ภาคกลางและไหลเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง และเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในไทย รวมถึงโรงงานประกอบรถยนต์ของฮอนด้า
เมื่อรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันอยู่ตลอดเวลาว่า “เอาอยู่” ไม่สามารถหยุดน้องน้ำได้ ทำให้พอเข้าสู่เดือนตุลาคมอยุธยาและปทุมธานีจมบาดาล นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งจมอยู่ใต้น้ำ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทหยุดชะงัก และเท่านั้นไม่พอมวลน้ำได้ไหลทะลักท่วมเขตกรุงเทพฯ และนครปฐมบางส่วน
เหตุนี้จึงไม่ต้องพูดถึงโรงงานฮอนด้าจะรอดหรือไม่? ภาพรถยนต์ที่ผลิตไว้กว่า 1,000 คันสะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดี!!
ขณะที่โรงงานรถยนต์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า อีซูซุ มิตซูบิชิ นิสสัน มาสด้า จีเอ็ม ฟอร์ด และมาสด้า ต่างก็พลอยทยอยหยุดการผลิตไปเช่นกัน เพราะโรงงานชิ้นส่วนที่จมมิดน้ำอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานีหยุดการผลิตเช่นกัน ทำให้ไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้แก่บริษัทรถมาประกอบได้ และยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลก เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปทั่วโลกด้วย
ดังนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย จึงชะงักตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม และจมมิดน้ำยาวมาจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน สถานการณ์จึงเริ่มคลี่คลาย โดยค่ายรถเริ่มกลับมาผลิตอีกครั้ง จะมีก็เพียง “ฮอนด้า” ที่เพิ่งฟื้นจากพิษสึนามิ กลับมาผลิตเต็มที่ในเดือนกันยายน ต้องมาโดนมรสุมลูกใหญ่ถล่มโรงงานจมน้ำมิด จนต้องหยุดการผลิตยาวไปจนถึงต้นปี 2555
เหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีนี้ นับว่าทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเสียหาย มากกว่าผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อต้นปีเสียอีก โดยประเมินกันว่าจะเสียหายนับแสนล้านบาทเลยทีเดียว!!
รถคันแรกแป้กฉุดตลาดไม่ขึ้น
ช่วงคาบเกี่ยวก่อนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทย มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับตลาดรถยนต์ไทย นั่นก็คือโครงการเงิน “รถคันแรก” ให้แก่ประชาชนสูงสุด 1 แสนบาท ตามนโยบายของรัฐบาล “ปูแดง” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียง 2 เดือน เพื่อช่วยลดภาระประชาชน และกระตุ้นตลาดรถยนต์ไทยปีนี้
โดยเงื่อนไขรถคันแรกที่รัฐบาลประกาศออกมา คือ ต้องเป็นรถยนต์นั่งที่มีขนาดไม่เกิน 1500 ซีซี ส่วนปิกอัพไม่จำกัดขนาดเครื่องยนต์ แต่ต้องมีราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาท และต้องผลิตในประเทศเท่านั้น ซึ่งจะคืนเงินตามมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายจริง และไม่เกิน 1 แสนบาท ขณะที่ผู้ซื้อจะต้องซื้อรถเป็นคันแรก อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป และต้องครอบครองรถ 5 ปีขึ้นไป ระหว่างนี้ไม่สามารถขายโอนได้ โดยกำหนดโครงการตั้งแต่ 16 กันยายน 2554 จนถึง 31 ธันวาคม 2555
ทันทีที่รัฐบาลประกาศเงื่อนไขออกมา ค่ายรถมีทั้งตอบรับและคัดค้าน อย่าง “ฟอร์ด” ที่มองว่าไม่เป็นธรรมกับรุ่นเฟียสต้าที่เป็นเครื่องยนต์ 1600 ซีซี ด้าน “โปรตอน” และ “ทาทา” มองเป็นการกีดกันการค้า เจาะจงเฉพาะรถผลิตในประเทศเท่านั้น และนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการโอนสิทธิ์รถได้ ต้องครอบครองนาน 5 ปี ทำให้ไฟแนนซ์หวั่นหากลูกค้าผิดนัดชำระค่างวด จะทำให้ไม่สามารถยึดรถได้
นอกจากปัญหาความไม่เป็นธรรมแล้ว โครงการรถคันแรกยังเปิดออกมาผิดเวลา โดยคิกออฟในช่วงเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย ทำให้บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ผู้คนไม่กะจิตกะใจที่จะซื้อรถ และโรงงานประกอบรถยนต์ก็ผลิตไม่ได้…
ผลยกแรกของโครงการรถคันแรก จึงแป้กไม่เป็นท่า!! เพราะตั้งแต่ 16 กันยายน จนถึง 2 ธันวาคม มีประชาชนเข้าร่วมโครงการรถคันแรกเพียงแค่กว่า 1.3 พันคัน หรือคืนเงินเพียง 108 ล้านบาทเท่านั้น ห่างไกลลิบลับกับเป้าหมายตลอดโครงการจำนวน 5 แสนคัน หรือวงเงินคืนภาษี 3 หมื่นล้านบาท
อุตฯ รถยนต์พินาศ2แสนล้าน
ดังนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ตลอดช่วงปี 2554 จึงมีช่วงสดใสจริงๆ เพียงแค่ไตรมาสแรกเท่านั้น ซึ่งก็เป็นส่วนผลักดันให้ตลาดรถยนต์ไทยไม่ถึงดิ่งเหวมากนัก โดยยอดขาย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ยังปิดอยู่ที่ 7.39 แสนคัน หรือเติบโต 4.6% ขณะที่การผลิตหล่นวูบลงไป 9% หรือมีเพียง 1.35 ล้านคัน เพราะการผลิตส่งออกชะงักไปเลย
แต่หากมาดูผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทยรอบ 50 ปี จะเห็นว่าในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนตกต่ำอย่างมาก ผลิตได้เพียง 2-3 หมื่นคันต่อเดือนเท่านั้น โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนผลิตได้ 2.33 หมื่น เป็นตัวเลขการผลิตต่ำสุดในรอบ 151 เดือน หรือ 12 ปีเลยทีเดียว!!
“เดิมตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 1.8-2.0 ล้านคัน แต่ผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ จนทำให้โรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ ทำให้ยอดการผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2554 หายไป 3.0-3.5 แสนคัน หรือมูลค่าประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านบาท ส่งผลให้ถึงสิ้นปียอดการผลิตรถยนต์ในไทย น่าจะอยู่ที่ประมาณกว่า 1.4 ล้านคันเท่านั้น”
นั่นเป็นการประเมินของ “ศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับความเห็นของ “วัลลภ เตียศิริ” ที่มองว่าตัวเลขการผลิตรถยนต์ในปีนี้ไม่น่าจะเกิน 1.6 ล้านคัน จากที่เคยมองว่าจะทะลุ 2 ล้านคัน
“การผลิตรถที่ลดลงมาจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อต้นปี และน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงปลายปี ทำให้ตัวเลขการผลิตรถยนต์ในไทย คาดว่าจะหายไปประมาณ 4 แสนคัน หรือคิดเป็นมูลค่าประเทศสูญเสียโอกาสประมาณ 2 แสนล้านบาท”
เห็นตัวเลขประเมินดังกล่าวแล้ว... อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2554 ที่คาดว่าจะพุ่งเป็นตอร์ปิโด กลับดิ่งเหวเป็นดาวตก ทำเอาช็อก! อุตสาหกรรมยานยนต์ไปทั่วโลก!!