เอเจนซี - สองมหาอำนาจงัดข้อรอบใหม่ หนนี้ปักกิ่งเงื้อง่าเตรียมรีดภาษีรถเก๋งขนาดใหญ่และเอสยูวีที่ส่งออกจากอเมริกาสูงสุดถึง 22% หลังพ่ายวอชิงตันจากการวินิจฉัยของดับเบิลยูทีโอเมื่อไม่กี่เดือนก่อน ทำให้ต้องก้มหน้ารับภาษีส่งออกยางรถยนต์
มาตรการภาษีรอบใหม่มีเป้าหมายที่การส่งออกรถยนต์มูลค่าเฉียด 4,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาที่สัมพันธ์วอชิงตัน-ปักกิ่งกำลังตึงเครียดอย่างหนัก โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการค้าของพญามังกรกลายเป็นเป้าลับฝีปากของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแดนอินทรี โดยเฉพาะพวกที่สังกัดพรรครีพับลิกัน
รถยนต์ที่เข้าข่ายถูกรีดภาษีเพิ่มมีอาทิ คาดิลแลค เอสคาเลดของเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม), จี๊ป แกรนด์ เชอโรกีจากไครสเลอร์ กรุ๊ป ที่ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของเฟียตจากอิตาลี และรถสปอร์ตเอนกประสงค์ (เอสยูวี) ระดับหรูจากค่ายเมอร์ซีเดสของเดมเลอร์ และบีเอ็มดับเบิลยู
กระทรวงพาณิชย์จีนแจงว่า เอสยูวีและซีดานหรูที่ผลิตในอเมริกาเข้ามาดัมพ์ราคาในตลาดจีน สร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่อุตสาหกรรมยานยนต์ท้องถิ่น
ปัจจุบัน รถยนต์ที่ส่งออกสู่จีนต้องเสียภาษีอยู่แล้ว 25% และมาตรการภาษีใหม่จะถูกบวกเพิ่มเข้าไปจากฐานนี้
การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา จีนเพิ่งพ่ายแพ้ในข้อพิพาทเรื่องการส่งออกยางรถยนต์ไปสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อมา 2 ปี โดยองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในการขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จากจีน และปฏิเสธการอุทธรณ์ที่อ้างว่าความเคลื่อนไหวของวอชิงตันในปี 2009 เป็นลัทธิกีดกันการค้าซึ่งส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมยางรถยนต์ของจีน
แครอล กัธทรี โฆษกสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังอย่างมากกับการตัดสินใจล่าสุดของจีน ขณะที่ส.ส.อาวุโส 4 คนจากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน เรียกร้องให้ยูเอสทีอาร์ตอบโต้มาตรการภาษีที่ “ไม่เป็นธรรม” ดังกล่าว ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการตอบโต้ที่ไม่ได้รับอนุญาตของจีนต่ออเมริกาและประเทศคู่ค้าอื่นๆ
ภาษีใหม่ที่เรียกเก็บจากซีดานรุ่นใหญ่และเอสยูวีจะลดหลั่นกันไปจาก 2% สำหรับรถของบีเอ็มดับเบิลยู จนถึง 15% สำหรับไครสเลอร์ และเกือบ 22% สำหรับจีเอ็ม ส่วนฟอร์ดนั้นรอดตัวเนื่องจากไม่ได้ส่งออกรถที่ผลิตในอเมริกาไปจีน
ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองมหาอำนาจเขม็งเกลียวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีการสอบสวนแก้เผ็ดกันไปมาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ตอกย้ำคำเตือนของเหล่าผู้นำถึงลัทธิกีดกันการค้าที่กำลังพลุ่งพล่านท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มืดมนลง
ตัวแทนของเดมเลอร์แสดงความหวังว่า สองประเทศจะหาทางออกสำหรับความขัดแย้งนี้ได้โดยเร็ว ขณะที่บีเอ็มดับเบิลยูไม่คิดว่า มาตรการภาษีใหม่จะกระทบต่อธุรกิจในจีนของบริษัทมากนัก กระนั้น บริษัทเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้แล้ว
ด้านจีเอ็ม ค่ายรถอเมริกันที่ลงหลักปักฐานในจีนมากที่สุด เผยว่าจะทำงานร่วมกับตัวแทนรัฐบาลของทั้งสองประเทศเพื่อหาทางออก “โดยยึดตามแนวทางสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่สร้างสรรค์”
สำหรับไครสเลอร์กำลังทบทวนว่า มาตรการล่าสุดของจีนจะส่งผลต่อบริษัทอย่างไร
ทั้งนี้ ปี 2009 จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ขึ้นเป็นตลาดรถใหญ่สุดในโลก แต่อุตสาหกรรมรถแดนมังกรยังอ่อนแอและเปราะบาง ทำให้เหลือพื้นที่ว่างในตลาดในประเทศถึง 70% สำหรับค่ายรถอเมริกัน ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ยอดขายรถยนต์นั่งในจีนเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในปีที่ผ่านมา แต่อัตราดังกล่าวกลับดิ่งฮวบในปีนี้ และคาดว่ายอดขายตลอดปีปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 5%
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อเมริกาส่งออกรถไปจีนคิดเป็นมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2010 และ 4,200 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้
หลังจากร่วมเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอมาถึง 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีแนวโน้มว่าจีนจะจมดิ่งในข้อพิพาททางการค้าลึกขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขยายตัวทางการค้าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนของแดนมังกร และอีกส่วนมาจากความไม่พอใจของประเทศคู่ค้าที่มองว่า ปักกิ่งอุ้มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์
การดำเนินการเพื่อตอบโต้แนวทางการค้าเหล่านั้นนำไปสู่สิ่งที่ไมเคิล พังกี เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำดับเบิลยูทีโอ ระบุเมื่อเดือนที่แล้วว่า รูปแบบที่เกิดขึ้นของจีนเป็นการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้การดำเนินการที่ชอบธรรมของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าอื่นๆ
เจ้าหน้าที่อเมริกันหลายคนไม่พอใจกับวิธีที่จีนตอบสนองต่อภาระหน้าที่ของตนเองในดับเบิลยูทีโอ และยืนยันว่า จะเพิ่มความพยายามในการบังคับใช้กฎต่อไป
ด้านรัฐมนตรีพาณิชย์ของจีน เฉิน เต๋อหมิง คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอในสหรัฐฯ และยุโรป จะทำให้เกิดข้อพิพาททางการค้ามากขึ้นในปีหน้า
มาตรการภาษีรอบใหม่มีเป้าหมายที่การส่งออกรถยนต์มูลค่าเฉียด 4,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาที่สัมพันธ์วอชิงตัน-ปักกิ่งกำลังตึงเครียดอย่างหนัก โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการค้าของพญามังกรกลายเป็นเป้าลับฝีปากของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแดนอินทรี โดยเฉพาะพวกที่สังกัดพรรครีพับลิกัน
รถยนต์ที่เข้าข่ายถูกรีดภาษีเพิ่มมีอาทิ คาดิลแลค เอสคาเลดของเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม), จี๊ป แกรนด์ เชอโรกีจากไครสเลอร์ กรุ๊ป ที่ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของเฟียตจากอิตาลี และรถสปอร์ตเอนกประสงค์ (เอสยูวี) ระดับหรูจากค่ายเมอร์ซีเดสของเดมเลอร์ และบีเอ็มดับเบิลยู
กระทรวงพาณิชย์จีนแจงว่า เอสยูวีและซีดานหรูที่ผลิตในอเมริกาเข้ามาดัมพ์ราคาในตลาดจีน สร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่อุตสาหกรรมยานยนต์ท้องถิ่น
ปัจจุบัน รถยนต์ที่ส่งออกสู่จีนต้องเสียภาษีอยู่แล้ว 25% และมาตรการภาษีใหม่จะถูกบวกเพิ่มเข้าไปจากฐานนี้
การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา จีนเพิ่งพ่ายแพ้ในข้อพิพาทเรื่องการส่งออกยางรถยนต์ไปสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อมา 2 ปี โดยองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในการขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จากจีน และปฏิเสธการอุทธรณ์ที่อ้างว่าความเคลื่อนไหวของวอชิงตันในปี 2009 เป็นลัทธิกีดกันการค้าซึ่งส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมยางรถยนต์ของจีน
แครอล กัธทรี โฆษกสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังอย่างมากกับการตัดสินใจล่าสุดของจีน ขณะที่ส.ส.อาวุโส 4 คนจากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน เรียกร้องให้ยูเอสทีอาร์ตอบโต้มาตรการภาษีที่ “ไม่เป็นธรรม” ดังกล่าว ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการตอบโต้ที่ไม่ได้รับอนุญาตของจีนต่ออเมริกาและประเทศคู่ค้าอื่นๆ
ภาษีใหม่ที่เรียกเก็บจากซีดานรุ่นใหญ่และเอสยูวีจะลดหลั่นกันไปจาก 2% สำหรับรถของบีเอ็มดับเบิลยู จนถึง 15% สำหรับไครสเลอร์ และเกือบ 22% สำหรับจีเอ็ม ส่วนฟอร์ดนั้นรอดตัวเนื่องจากไม่ได้ส่งออกรถที่ผลิตในอเมริกาไปจีน
ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองมหาอำนาจเขม็งเกลียวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีการสอบสวนแก้เผ็ดกันไปมาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ตอกย้ำคำเตือนของเหล่าผู้นำถึงลัทธิกีดกันการค้าที่กำลังพลุ่งพล่านท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มืดมนลง
ตัวแทนของเดมเลอร์แสดงความหวังว่า สองประเทศจะหาทางออกสำหรับความขัดแย้งนี้ได้โดยเร็ว ขณะที่บีเอ็มดับเบิลยูไม่คิดว่า มาตรการภาษีใหม่จะกระทบต่อธุรกิจในจีนของบริษัทมากนัก กระนั้น บริษัทเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้แล้ว
ด้านจีเอ็ม ค่ายรถอเมริกันที่ลงหลักปักฐานในจีนมากที่สุด เผยว่าจะทำงานร่วมกับตัวแทนรัฐบาลของทั้งสองประเทศเพื่อหาทางออก “โดยยึดตามแนวทางสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่สร้างสรรค์”
สำหรับไครสเลอร์กำลังทบทวนว่า มาตรการล่าสุดของจีนจะส่งผลต่อบริษัทอย่างไร
ทั้งนี้ ปี 2009 จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ขึ้นเป็นตลาดรถใหญ่สุดในโลก แต่อุตสาหกรรมรถแดนมังกรยังอ่อนแอและเปราะบาง ทำให้เหลือพื้นที่ว่างในตลาดในประเทศถึง 70% สำหรับค่ายรถอเมริกัน ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ยอดขายรถยนต์นั่งในจีนเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในปีที่ผ่านมา แต่อัตราดังกล่าวกลับดิ่งฮวบในปีนี้ และคาดว่ายอดขายตลอดปีปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 5%
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อเมริกาส่งออกรถไปจีนคิดเป็นมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2010 และ 4,200 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้
หลังจากร่วมเป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอมาถึง 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีแนวโน้มว่าจีนจะจมดิ่งในข้อพิพาททางการค้าลึกขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขยายตัวทางการค้าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนของแดนมังกร และอีกส่วนมาจากความไม่พอใจของประเทศคู่ค้าที่มองว่า ปักกิ่งอุ้มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์
การดำเนินการเพื่อตอบโต้แนวทางการค้าเหล่านั้นนำไปสู่สิ่งที่ไมเคิล พังกี เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำดับเบิลยูทีโอ ระบุเมื่อเดือนที่แล้วว่า รูปแบบที่เกิดขึ้นของจีนเป็นการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้การดำเนินการที่ชอบธรรมของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าอื่นๆ
เจ้าหน้าที่อเมริกันหลายคนไม่พอใจกับวิธีที่จีนตอบสนองต่อภาระหน้าที่ของตนเองในดับเบิลยูทีโอ และยืนยันว่า จะเพิ่มความพยายามในการบังคับใช้กฎต่อไป
ด้านรัฐมนตรีพาณิชย์ของจีน เฉิน เต๋อหมิง คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอในสหรัฐฯ และยุโรป จะทำให้เกิดข้อพิพาททางการค้ามากขึ้นในปีหน้า