ในช่วงปี 2011 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และนี่คือ 5 ข่าวเด่นที่ทางทีมข่าวมอเตอริ่งของ ASTV ผู้จัดการได้คัดเลือกเอาไว้
1.ภัยพิบัติเขย่าห่วงโซ่การผลิต
หลายคนคงจะคุ้นหูกับคำว่าห่วงโซ่การผลิต หรือ Supply Chain กันมากขึ้น หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติขึ้นถึง 2 ครั้งในช่วงต้นปีและปลายปี จนทำให้เกิดผลกระทบในแง่การผลิตรถยนต์ทั่วโลกอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกการผลิตรถยนต์มีการเชื่อมต่อถึงกันมากกว่าที่คิด
ทั้งแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ล้วนทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลกเกิดอาการชะงักงัน ไม่เฉพาะผู้ผลิตรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศทั้ง 2 แห่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ อีกด้วย เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ต้องพึ่งพาชิ้นส่วน หรืออะไหล่รถยนต์ที่มาจากซัพพลายเออร์ ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ในประเทศที่ประสบภัยพิบัติดังกล่าว
รถยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย และจะขาดชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งไม่ได้ ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ และจำเป็นที่จะต้องมีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อสอดรับกับภาวะการขาดแคลนชิ้นส่วน
นอกจากนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งส่งผลกระทบโดยตรงกับโตโยต้า และมีสิทธิ์ทำให้พวกเขาหล่นจากบัลลังก์การเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายต่อปีสูงสุด โดยโตโยต้ายึดตำแหน่งนี้มาจากจีเอ็มตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา และเชื่อว่ายอดขายของโตโยต้าจะลดลงอย่างมาก ขณะที่เมื่อสรุปยอดขายในปี 2011 ซึ่งจะประกาศออกมาในช่วงเดือนมกราคมปี 2012 ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับโตโยต้าในด้านยอดขายจะไม่ได้มีเพียงแค่การหล่นไปอยู่อันดับที่ 2 เท่านั้น แต่หนักถึงขนาดอาจหล่นไปอยู่ที่ 3 ตามหลังทั้งจีเอ็ม และโฟล์คสวาเกนเลยทีเดียว
เช่นเดียวกับเล็กซัส แบรนด์รถยนต์ระดับหรูของโตโยต้าที่มีสิทธิ์หล่นจากเบอร์ 1 ในตลาดหรูของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี เพราะว่ารถยนต์ของเล็กซัสที่ขายอยู่ในสหรัฐอเมริกา ล้วนต้องพึ่งพาการนำเข้ามาจากไลน์ผลิตของโตโยต้าในญี่ปุ่น
ต้องรอดูว่าข่าวนี้จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
2.จะอยู่หรือไป “ซาบ” ยังไม่ได้ข้อสรุป
หลังจากทำท่าว่าจะรอดหลังประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน แต่ในที่สุดทางด้านผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังของสวีเดนอย่างซาบต้องขอล้มละลาย และยื่นเรื่องเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์สินทรัพย์เหมือนกับที่อดีตบริษัทแม่อย่างจีเอ็มเคยทำเมื่อปีที่แล้ว แต่กรณีของซาบยังไม่ได้ข้อสรุปเมื่อโดนศาลสวีเดนปฏิเสธ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าในตอนนี้ซาบได้ยื่นเรื่องขึ้นไปทางศาลของสวีเดนในการขอพิทักษ์สินทรัพย์จากการรุมทึ้งของบรรดาเจ้าหนี้ แต่ดูเหมือนว่าศาลสวีเดนจะไม่สนใจต่อการยื่นเรื่องในครั้งนี้และได้ตอบปฏิเสธไปแล้ว นั่นทำให้ทางซาบจำเป็นต้องขออุทธรณ์ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาสักพักในการพิจารณาและตัดสิน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยซาบเชื่อว่าการพิทักษ์สินทรัพย์จะช่วยลดปัญหาของการคัมแบ็คสู่ตลาดในอนาคต เพราะจะทำให้ซาบยังเหลือสินทรัพย์ที่จำเป็นในการกลับมายืนได้อีกครั้ง
ในปี 2010 ทางจีเอ็มได้ขายกิจการของซาบไปให้กับสปายเกอร์ ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติฮอลแลนด์ เพื่อฟื้นฟูกิจการของซาบ ซึ่งในตอนแรกเหตุการณ์ทำท่าว่าจะดีขึ้น จนกระทั่งมาถึงช่วงกลางปี 2011 ที่ผ่านมา ซาบประสบปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องทางการเงินต่อเนื่อง และไม่มีเงินจ่ายทั้งค่าชิ้นส่วน และค่าแรงคนงาน ส่งผลให้จำเป็นต้องมีการยุติการผลิตในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้อเจียง ยังแมน โลตัส ออโต้โมบิล และ ผางต้า ออโต้โมบิล เทรด ก็ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลจีนในการเข้ามาช่วยเหลือให้เงินสนับสนุนเพื่อแลกกับการซื้อ Know How ของซาบมาต่อยอดในการพัฒนารถยนต์ แต่สุดท้ายข้อเสนอนี้ก็โดนสกัดโดยทางจีเอ็ม ซึ่งยืนยันว่าจะไม่มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีของซาบที่ทางจีเอ็มเป็นเจ้าของและถือสิทธิ์อยู่ รวมถึงยังตัดการสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของจีเอ็มที่มีให้กับซาบ หากซาบตกลงขายสิ่งนี้ให้กับทางผางต้า และผลักดันให้อนาคตของซาบไปยืนอยู่บนปากเหวมากยิ่งขึ้น
ที่สุดแล้วจนถึงตอนนี้ซาบก็ยังไม่ได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ และคาดว่าศึกนี้คงจะยืดเยื้อจนถึงปีหน้าอย่างแน่นอน
3.รถแข่งเฟอร์รารี่โดนฟ้อง ฐานชื่อพ้องปิกอัพดัง
กลายเป็นเรื่องไม่คาดฝันไปเสียแล้ว สำหรับทีมแข่งเฟอร์รารี่ เพราะหลังจากที่มีการเปิดตัวรถแข่ง F1 รุ่นใหม่ในชื่อ F150 ออกมาได้ไม่นาน ทางด้านฟอร์ด มอเตอร์ จัดการฟ้องร้องทันที เพราะว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปิกอัพรุ่นดังอย่าง F-150 ของ F-Series และทำให้เฟอร์รี่ต้องแก้เกมด้วยการเปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานเดิม
F150 ของเฟอร์รารี่เป็นรถแข่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการแข่งขันซีซั่น 2011 และแทนที่เฟอร์รารี่จะใช้รหัสธรรมดาอย่าง F11 ตามชื่อปีค.ศ.ที่ลงแข่ง ก็เปลี่ยนมาเป็น F150 เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปีของการรวมประเทศอิตาลี จนนำไปสู่การฟ้องร้องของฟอร์ดในที่สุด
“เฟอร์รารี่กำลังทำการล่วงละเมิดเครื่องหมายการค้า F-150 ของเรา และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ฟอร์ดต้องยื่นคำร้องต่อศาลแขวงในดีทรอยต์” โฆษกของฟอร์ดกล่าว โดยการฟ้องครั้งนี้นอกจากจะเรียกร้องให้เฟอร์รารี่เปลี่ยนชื่อรถแข่งแล้ว ยังมีการเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราวๆ 3 ล้านบาท อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานเฟอร์รารี่ก็ออกมาแก้ต่าง และระบุว่าไม่เข้าใจมุมมองของฟอร์ดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะชื่อที่ใช้ถูกใช้กับรถแข่ง F1 ปี 2011 ไม่ได้นำออกมาใช้ในการโฆษณาหรือสร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ และที่มาของชื่อทางเฟอร์รารี่ก็ระบุอย่างชัดเจน
“เราเชื่อว่า สิ่งทีเกิดขึ้นไม่น่าจะสร้างความสับสนกันระหว่างการแข่งขันในสนาม กับการสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพราะเราก็ไม่ได้นำชื่อนี้มาใช้ผลิตรถสปอร์ตรุ่นใหม่เพื่อขายในตลาด” ทางเฟอร์รารี่กล่าวและว่า “แต่เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดมากไปกว่านี้ ทางเฟอร์รารี่ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อรถแข่งรุ่นนี้มาเป็น Ferrari F150th Italia”
แม้จะไม่ได้เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่เฟอร์รารี่ก็ถือหุ้นโดยเฟียตจำนวน 85% และเฟียตเองก็ถือหุ้นอยู่ในไครสเลอร์ 25% และก็ทำหน้าที่บริหารบริษัทไครสเลอร์ LLC ซึ่งเป็นคู่ปรับของฟอร์ดในตลาดรถยนต์ของเมืองลุงแซม เรื่องนี้ก็เลยถูกจับมาโยงเข้าด้วยกัน
ทางด้านฟอร์ดกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกเขาเคยแจ้งไปทางเฟอร์รารี่ตอนช่วงที่มีการเปิดตัวรถแข่งรุ่นนี้มาแล้ว ว่าพวกเขาควรจะเปลี่ยนชื่อรุ่นใหม่ แต่ทางเฟอร์รารี่ก็ไม่ได้ดำเนินการหรือมีทีท่าว่าจะทำการใดๆ จนนำไปสู่การฟ้องร้องในที่สุด โดย F-150 เป็นชื่อปิกอัพของฟอร์ดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 1975 และถูกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ปี 1995
4.โฟล์คฯ ทุ่มสุดตัวขึ้นเบอร์ 1 โลกในปี 2018
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายรวมมากที่สุดในโลกภายในปี 2018 ทางโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป แห่งเยอรมนีประกาศเตรียมทุ่มเงินจำนวน 62.4 พันล้านยูโร หรือ 2.58 ล้านล้านบาท ตลอดช่วง 5 ปีในโครงการต่างๆ เพื่อผลิตรถยนต์และเทคโนโลยีสำหรับช่วยกระตุ้นตลาดทั่วโลก
ดร.มาร์ติน วินเตอร์คอร์น ซีอีโอของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป กล่าวว่า เงินลงทุนจำนวนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านยอดขายที่เราวางเอาไว้ในการก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลข 1 ของโลก โดยในปัจจุบันโฟล์คฯ เป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลข 3 ซึ่งมียอดขายตามหลังโตโยต้าและจีเอ็ม
สำหรับเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้ในการขยายส่วนการผลิต ทั้งเพิ่มจำนวนโรงงานใหม่ๆ และขยายกำลังการผลิตของโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว รวมถึงงานวิจัยและพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ สำหรับรถยนต์ทั้ง 9 แบรนด์ที่อยู่ในเครือโฟล์คสวาเกน ซึ่งก็รวมถึงออดี้, เบนท์ลีย์, สโกดา, เซียท และโฟล์คสวาเกนตลอดช่วงปี 2012-2016
นอกจากนั้น ดร.วินเตอร์คอร์น ยังได้ระบุว่าส่วนหนึ่งของเงินจำนวนนี้จะถูกลงทุนไปในด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สำหรับในกรณีของบริษัทร่วมทุนในจีนอย่าง Shanghai-Volkswagen Automotive and FAW-Volkswagen Automotive นั้นจะไม่อยู่ในข่ายของการลงทุนครั้งนี้ โดยทางโฟล์คฯ จะกันงบเอาไว้อีก 14 พันล้านยูโร หรือ 616,000 ล้านบาท สำหรับ 2 บริษัทนี้โดยเฉพาะ ตลอดช่วงปี 2012-2016
การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการเอาจริงของโฟล์คฯ ในการขยับขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลก เพราะตัวเลขเงินงบประมาณที่เตรียมทุ่มลงไปนั้นเพิ่มจากการประกาศในก่อนหน้านี้ โดยในตอนแรกโฟล์คฯ วางแผนลงทุนรวมทั้งสิ้น 61.6 พันล้านยูโร หรือ 2.71 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในประเทศ 10 พันล้านยูโร และต่างประเทศ 51.6 พันล้านยูโร หรือ 2.27 ล้านล้านบาท
5.บีเอ็มฯ เปิดซับแบรนด์ iลุยตลาดรถไฟฟ้า
บีเอ็มดับเบิลยูวางเป้าหมายอย่างชัดเจนในการรุกตลาดรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดซับแบรนด์หรือรถยนต์รหัสใหม่ในเครือ โดยใช้ชื่อว่า i ที่จะเริ่มทำตลาดในปี 2014 พร้อมกับเชื่อมั่นว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าทั่วโลก โดยตั้งเป้าในการทำตลาดของปีแรกที่วางขายเอาไว้ที่ 30,000 คันต่อปี
i เป็นแบรนด์ใหม่ที่บีเอ็มดับเบิลยูต้องการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลุยตลาดพลังงานทางเลือก และได้เผยโฉมออกมาแล้ว 2 รุ่นคือ i3 ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าสำหรับเอาใจคนเมือง และอีกรุ่นคือ i8 เป็นสปอร์ตขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีไฮบริด
คาดว่าคันจริงของ i3 ที่ถูกพัฒนาบนพื้นฐานเดียวกับตัวต้นแบบจะถูกเผยโฉมในปลายปี 2013 โดยรถยนต์รุ่นนี้เป็นโปรเจกต์ที่รู้จักกันดั้งเดิมในชื่อ Mega City Vehicle ขณะที่รถยนต์อีกรุ่นที่จะถูกผลิตขายในโปรเจกต์ i ก็คือ รุ่น i8 ซึ่งใช้เทคโนโลยีไฮบริดแบบ Plug-in และเป็นผลผลิตที่บีเอ็มดับเบิลยูเปิดเผยความเคลื่อนไหวออกมาก่อนหน้านั้น โดยเป็นสปอร์ตไฮบริดที่พัฒนามาจากต้นแบบรุ่น Vision EfficientDynamics ที่เปิดตัวในปี 2009
ทางด้านราคาของทั้ง 2 รุ่น ยังไม่มีการเคาะออกมาอย่างเป็นทางการ แต่แหล่งข่าวภายในของบีเอ็มดับเบิลยูเปิดเผยว่า i3 จะมีค่าตัวอยู่ราวๆ 40,000 ยูโร หรือ 1.6 กว่าล้านบาทเมื่อขายอยู่ในยุโรป และแน่นอนว่าแม้จะเป็นแบรนด์ใหม่ที่ถูกเปิดตัวออกมา แต่รถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูที่มีรหัส i นำหน้าจะเป็นรถยนต์ในกลุ่ม Premium Car ทั้งหมด
1.ภัยพิบัติเขย่าห่วงโซ่การผลิต
หลายคนคงจะคุ้นหูกับคำว่าห่วงโซ่การผลิต หรือ Supply Chain กันมากขึ้น หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติขึ้นถึง 2 ครั้งในช่วงต้นปีและปลายปี จนทำให้เกิดผลกระทบในแง่การผลิตรถยนต์ทั่วโลกอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกการผลิตรถยนต์มีการเชื่อมต่อถึงกันมากกว่าที่คิด
ทั้งแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ล้วนทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ทั่วโลกเกิดอาการชะงักงัน ไม่เฉพาะผู้ผลิตรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศทั้ง 2 แห่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ อีกด้วย เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ต้องพึ่งพาชิ้นส่วน หรืออะไหล่รถยนต์ที่มาจากซัพพลายเออร์ ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ในประเทศที่ประสบภัยพิบัติดังกล่าว
รถยนต์ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย และจะขาดชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งไม่ได้ ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ และจำเป็นที่จะต้องมีการลดกำลังการผลิตลงเพื่อสอดรับกับภาวะการขาดแคลนชิ้นส่วน
นอกจากนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้งส่งผลกระทบโดยตรงกับโตโยต้า และมีสิทธิ์ทำให้พวกเขาหล่นจากบัลลังก์การเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายต่อปีสูงสุด โดยโตโยต้ายึดตำแหน่งนี้มาจากจีเอ็มตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา และเชื่อว่ายอดขายของโตโยต้าจะลดลงอย่างมาก ขณะที่เมื่อสรุปยอดขายในปี 2011 ซึ่งจะประกาศออกมาในช่วงเดือนมกราคมปี 2012 ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับโตโยต้าในด้านยอดขายจะไม่ได้มีเพียงแค่การหล่นไปอยู่อันดับที่ 2 เท่านั้น แต่หนักถึงขนาดอาจหล่นไปอยู่ที่ 3 ตามหลังทั้งจีเอ็ม และโฟล์คสวาเกนเลยทีเดียว
เช่นเดียวกับเล็กซัส แบรนด์รถยนต์ระดับหรูของโตโยต้าที่มีสิทธิ์หล่นจากเบอร์ 1 ในตลาดหรูของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี เพราะว่ารถยนต์ของเล็กซัสที่ขายอยู่ในสหรัฐอเมริกา ล้วนต้องพึ่งพาการนำเข้ามาจากไลน์ผลิตของโตโยต้าในญี่ปุ่น
ต้องรอดูว่าข่าวนี้จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
2.จะอยู่หรือไป “ซาบ” ยังไม่ได้ข้อสรุป
หลังจากทำท่าว่าจะรอดหลังประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน แต่ในที่สุดทางด้านผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังของสวีเดนอย่างซาบต้องขอล้มละลาย และยื่นเรื่องเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์สินทรัพย์เหมือนกับที่อดีตบริษัทแม่อย่างจีเอ็มเคยทำเมื่อปีที่แล้ว แต่กรณีของซาบยังไม่ได้ข้อสรุปเมื่อโดนศาลสวีเดนปฏิเสธ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าในตอนนี้ซาบได้ยื่นเรื่องขึ้นไปทางศาลของสวีเดนในการขอพิทักษ์สินทรัพย์จากการรุมทึ้งของบรรดาเจ้าหนี้ แต่ดูเหมือนว่าศาลสวีเดนจะไม่สนใจต่อการยื่นเรื่องในครั้งนี้และได้ตอบปฏิเสธไปแล้ว นั่นทำให้ทางซาบจำเป็นต้องขออุทธรณ์ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาสักพักในการพิจารณาและตัดสิน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยซาบเชื่อว่าการพิทักษ์สินทรัพย์จะช่วยลดปัญหาของการคัมแบ็คสู่ตลาดในอนาคต เพราะจะทำให้ซาบยังเหลือสินทรัพย์ที่จำเป็นในการกลับมายืนได้อีกครั้ง
ในปี 2010 ทางจีเอ็มได้ขายกิจการของซาบไปให้กับสปายเกอร์ ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติฮอลแลนด์ เพื่อฟื้นฟูกิจการของซาบ ซึ่งในตอนแรกเหตุการณ์ทำท่าว่าจะดีขึ้น จนกระทั่งมาถึงช่วงกลางปี 2011 ที่ผ่านมา ซาบประสบปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องทางการเงินต่อเนื่อง และไม่มีเงินจ่ายทั้งค่าชิ้นส่วน และค่าแรงคนงาน ส่งผลให้จำเป็นต้องมีการยุติการผลิตในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้อเจียง ยังแมน โลตัส ออโต้โมบิล และ ผางต้า ออโต้โมบิล เทรด ก็ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลจีนในการเข้ามาช่วยเหลือให้เงินสนับสนุนเพื่อแลกกับการซื้อ Know How ของซาบมาต่อยอดในการพัฒนารถยนต์ แต่สุดท้ายข้อเสนอนี้ก็โดนสกัดโดยทางจีเอ็ม ซึ่งยืนยันว่าจะไม่มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีของซาบที่ทางจีเอ็มเป็นเจ้าของและถือสิทธิ์อยู่ รวมถึงยังตัดการสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของจีเอ็มที่มีให้กับซาบ หากซาบตกลงขายสิ่งนี้ให้กับทางผางต้า และผลักดันให้อนาคตของซาบไปยืนอยู่บนปากเหวมากยิ่งขึ้น
ที่สุดแล้วจนถึงตอนนี้ซาบก็ยังไม่ได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ และคาดว่าศึกนี้คงจะยืดเยื้อจนถึงปีหน้าอย่างแน่นอน
3.รถแข่งเฟอร์รารี่โดนฟ้อง ฐานชื่อพ้องปิกอัพดัง
กลายเป็นเรื่องไม่คาดฝันไปเสียแล้ว สำหรับทีมแข่งเฟอร์รารี่ เพราะหลังจากที่มีการเปิดตัวรถแข่ง F1 รุ่นใหม่ในชื่อ F150 ออกมาได้ไม่นาน ทางด้านฟอร์ด มอเตอร์ จัดการฟ้องร้องทันที เพราะว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปิกอัพรุ่นดังอย่าง F-150 ของ F-Series และทำให้เฟอร์รี่ต้องแก้เกมด้วยการเปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานเดิม
F150 ของเฟอร์รารี่เป็นรถแข่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการแข่งขันซีซั่น 2011 และแทนที่เฟอร์รารี่จะใช้รหัสธรรมดาอย่าง F11 ตามชื่อปีค.ศ.ที่ลงแข่ง ก็เปลี่ยนมาเป็น F150 เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปีของการรวมประเทศอิตาลี จนนำไปสู่การฟ้องร้องของฟอร์ดในที่สุด
“เฟอร์รารี่กำลังทำการล่วงละเมิดเครื่องหมายการค้า F-150 ของเรา และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ฟอร์ดต้องยื่นคำร้องต่อศาลแขวงในดีทรอยต์” โฆษกของฟอร์ดกล่าว โดยการฟ้องครั้งนี้นอกจากจะเรียกร้องให้เฟอร์รารี่เปลี่ยนชื่อรถแข่งแล้ว ยังมีการเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราวๆ 3 ล้านบาท อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นานเฟอร์รารี่ก็ออกมาแก้ต่าง และระบุว่าไม่เข้าใจมุมมองของฟอร์ดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะชื่อที่ใช้ถูกใช้กับรถแข่ง F1 ปี 2011 ไม่ได้นำออกมาใช้ในการโฆษณาหรือสร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ และที่มาของชื่อทางเฟอร์รารี่ก็ระบุอย่างชัดเจน
“เราเชื่อว่า สิ่งทีเกิดขึ้นไม่น่าจะสร้างความสับสนกันระหว่างการแข่งขันในสนาม กับการสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพราะเราก็ไม่ได้นำชื่อนี้มาใช้ผลิตรถสปอร์ตรุ่นใหม่เพื่อขายในตลาด” ทางเฟอร์รารี่กล่าวและว่า “แต่เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดมากไปกว่านี้ ทางเฟอร์รารี่ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อรถแข่งรุ่นนี้มาเป็น Ferrari F150th Italia”
แม้จะไม่ได้เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่เฟอร์รารี่ก็ถือหุ้นโดยเฟียตจำนวน 85% และเฟียตเองก็ถือหุ้นอยู่ในไครสเลอร์ 25% และก็ทำหน้าที่บริหารบริษัทไครสเลอร์ LLC ซึ่งเป็นคู่ปรับของฟอร์ดในตลาดรถยนต์ของเมืองลุงแซม เรื่องนี้ก็เลยถูกจับมาโยงเข้าด้วยกัน
ทางด้านฟอร์ดกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกเขาเคยแจ้งไปทางเฟอร์รารี่ตอนช่วงที่มีการเปิดตัวรถแข่งรุ่นนี้มาแล้ว ว่าพวกเขาควรจะเปลี่ยนชื่อรุ่นใหม่ แต่ทางเฟอร์รารี่ก็ไม่ได้ดำเนินการหรือมีทีท่าว่าจะทำการใดๆ จนนำไปสู่การฟ้องร้องในที่สุด โดย F-150 เป็นชื่อปิกอัพของฟอร์ดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 1975 และถูกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ปี 1995
4.โฟล์คฯ ทุ่มสุดตัวขึ้นเบอร์ 1 โลกในปี 2018
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายรวมมากที่สุดในโลกภายในปี 2018 ทางโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป แห่งเยอรมนีประกาศเตรียมทุ่มเงินจำนวน 62.4 พันล้านยูโร หรือ 2.58 ล้านล้านบาท ตลอดช่วง 5 ปีในโครงการต่างๆ เพื่อผลิตรถยนต์และเทคโนโลยีสำหรับช่วยกระตุ้นตลาดทั่วโลก
ดร.มาร์ติน วินเตอร์คอร์น ซีอีโอของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป กล่าวว่า เงินลงทุนจำนวนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านยอดขายที่เราวางเอาไว้ในการก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลข 1 ของโลก โดยในปัจจุบันโฟล์คฯ เป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลข 3 ซึ่งมียอดขายตามหลังโตโยต้าและจีเอ็ม
สำหรับเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้ในการขยายส่วนการผลิต ทั้งเพิ่มจำนวนโรงงานใหม่ๆ และขยายกำลังการผลิตของโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว รวมถึงงานวิจัยและพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ สำหรับรถยนต์ทั้ง 9 แบรนด์ที่อยู่ในเครือโฟล์คสวาเกน ซึ่งก็รวมถึงออดี้, เบนท์ลีย์, สโกดา, เซียท และโฟล์คสวาเกนตลอดช่วงปี 2012-2016
นอกจากนั้น ดร.วินเตอร์คอร์น ยังได้ระบุว่าส่วนหนึ่งของเงินจำนวนนี้จะถูกลงทุนไปในด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สำหรับในกรณีของบริษัทร่วมทุนในจีนอย่าง Shanghai-Volkswagen Automotive and FAW-Volkswagen Automotive นั้นจะไม่อยู่ในข่ายของการลงทุนครั้งนี้ โดยทางโฟล์คฯ จะกันงบเอาไว้อีก 14 พันล้านยูโร หรือ 616,000 ล้านบาท สำหรับ 2 บริษัทนี้โดยเฉพาะ ตลอดช่วงปี 2012-2016
การประกาศครั้งนี้ถือเป็นการเอาจริงของโฟล์คฯ ในการขยับขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลก เพราะตัวเลขเงินงบประมาณที่เตรียมทุ่มลงไปนั้นเพิ่มจากการประกาศในก่อนหน้านี้ โดยในตอนแรกโฟล์คฯ วางแผนลงทุนรวมทั้งสิ้น 61.6 พันล้านยูโร หรือ 2.71 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในประเทศ 10 พันล้านยูโร และต่างประเทศ 51.6 พันล้านยูโร หรือ 2.27 ล้านล้านบาท
5.บีเอ็มฯ เปิดซับแบรนด์ iลุยตลาดรถไฟฟ้า
บีเอ็มดับเบิลยูวางเป้าหมายอย่างชัดเจนในการรุกตลาดรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดซับแบรนด์หรือรถยนต์รหัสใหม่ในเครือ โดยใช้ชื่อว่า i ที่จะเริ่มทำตลาดในปี 2014 พร้อมกับเชื่อมั่นว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าทั่วโลก โดยตั้งเป้าในการทำตลาดของปีแรกที่วางขายเอาไว้ที่ 30,000 คันต่อปี
i เป็นแบรนด์ใหม่ที่บีเอ็มดับเบิลยูต้องการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลุยตลาดพลังงานทางเลือก และได้เผยโฉมออกมาแล้ว 2 รุ่นคือ i3 ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าสำหรับเอาใจคนเมือง และอีกรุ่นคือ i8 เป็นสปอร์ตขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีไฮบริด
คาดว่าคันจริงของ i3 ที่ถูกพัฒนาบนพื้นฐานเดียวกับตัวต้นแบบจะถูกเผยโฉมในปลายปี 2013 โดยรถยนต์รุ่นนี้เป็นโปรเจกต์ที่รู้จักกันดั้งเดิมในชื่อ Mega City Vehicle ขณะที่รถยนต์อีกรุ่นที่จะถูกผลิตขายในโปรเจกต์ i ก็คือ รุ่น i8 ซึ่งใช้เทคโนโลยีไฮบริดแบบ Plug-in และเป็นผลผลิตที่บีเอ็มดับเบิลยูเปิดเผยความเคลื่อนไหวออกมาก่อนหน้านั้น โดยเป็นสปอร์ตไฮบริดที่พัฒนามาจากต้นแบบรุ่น Vision EfficientDynamics ที่เปิดตัวในปี 2009
ทางด้านราคาของทั้ง 2 รุ่น ยังไม่มีการเคาะออกมาอย่างเป็นทางการ แต่แหล่งข่าวภายในของบีเอ็มดับเบิลยูเปิดเผยว่า i3 จะมีค่าตัวอยู่ราวๆ 40,000 ยูโร หรือ 1.6 กว่าล้านบาทเมื่อขายอยู่ในยุโรป และแน่นอนว่าแม้จะเป็นแบรนด์ใหม่ที่ถูกเปิดตัวออกมา แต่รถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูที่มีรหัส i นำหน้าจะเป็นรถยนต์ในกลุ่ม Premium Car ทั้งหมด