ข่าวในประเทศ-ยอดขายรถยนต์ทุกยี่ห้อประจำเดือนพฤศจิกายน 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 25,664 คัน ลดลง 67.5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากเหตุอุทกภัยที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ แม้โรงงานผลิตหลายแห่งจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ต้องหยุดการผลิตชั่วคราวเนื่องจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน
วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 25,664 คัน ลดลง 67.5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบจากอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ทำให้โรงงานรถยนต์หลายแห่งที่แม้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จำต้องหยุดการผลิตตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วน
สำหรับตัวเลขตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือนแรก มีปริมาณการขาย 739,506 คัน เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.3% ทั้งนี้อัตราการเติบโตสะสม 11 เดือน ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากช่วง 9 เดือนแรกของปี ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี มีการเติบโตทั้งภาคการลงทุนและบริโภค และความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ก่อนที่ผู้ผลิตรถยนต์จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม จนทำให้ต้องหยุดการผลิตอยู่ช่วงหนึ่ง
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากยังคงเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ดีการที่โรงงานผลิตรถยนต์เกือบทุกแห่ง และหลายนิคมอุตสาหกรรมสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้ง แม้ระดับการผลิตจะยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภท
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง
ยอดจำหน่ายรถกะบะ 1 ตัน
ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
หน่วย : คัน
วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 25,664 คัน ลดลง 67.5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบจากอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ทำให้โรงงานรถยนต์หลายแห่งที่แม้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จำต้องหยุดการผลิตตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วน
สำหรับตัวเลขตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือนแรก มีปริมาณการขาย 739,506 คัน เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.3% ทั้งนี้อัตราการเติบโตสะสม 11 เดือน ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากช่วง 9 เดือนแรกของปี ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี มีการเติบโตทั้งภาคการลงทุนและบริโภค และความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ก่อนที่ผู้ผลิตรถยนต์จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม จนทำให้ต้องหยุดการผลิตอยู่ช่วงหนึ่ง
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากยังคงเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ดีการที่โรงงานผลิตรถยนต์เกือบทุกแห่ง และหลายนิคมอุตสาหกรรมสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้ง แม้ระดับการผลิตจะยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภท
ยี่ห้อ | พ.ย.54 | พ.ย.53 | เปลี่ยนแปลง | มกราคม-พฤศจิกายน 54 |
โตโยต้า | 4,047 | 33,650 | -88.0% | 275,265 |
มิตซูบิชิ | 3,557 | 4,073 | -12.7% | 59,966 |
นิสสัน | 3,294 | 5,220 | -36.9% | 61,675 |
ฮอนด้า | 3,162 | 10,146 | -68.8% | 81,754 |
อีซูซุ | 2,592 | 15,443 | -83.2% | 123,953 |
มาสด้า | 1,994 | 2,698 | -26.1% | 37,125 |
ซูซูกิ | 858 | 449 | +91.1% | 8,072 |
ฮิโน่ | 600 | 1,006 | -40.4% | 8,952 |
มิตซูบิชิ-ฟูโซ่ | 75 | 109 | -31.2% | 595 |
ซูบารุ | 2 | 6 | -66.7% | 126 |
นิสสัน-ดีเซล | 0 | 18 | -100.0% | 106 |
รวมรถญี่ปุ่น | 20,181 | 72,818 | -72.3% | 657,589 |
เชฟโรเลต | 2,355 | 1,554 | +51.5% | 27,244 |
ฟอร์ด | 2,078 | 2,131 | -2.5% | 27,044 |
ทาทา | 258 | 476 | -45.8% | 4,554 |
ฮุนได | 236 | 266 | -11.3% | 3,895 |
โปรตอน | 164 | 256 | -35.9% | 4,896 |
ดีเอฟเอ็ม | 112 | 74 | +51.4% | 1,383 |
เกีย | 67 | 37 | +81.1% | 768 |
วอลโว่ | 65 | 98 | -33.7% | 1,525 |
วู่หลิง | 27 | 35 | -22.9% | 418 |
โฟล์คสวาเกน | 16 | 103 | -84.5% | 580 |
เปอโยต์ | 3 | 7 | -57.1% | 128 |
แดวู | 2 | 0 | 39 | |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 0 | 498 | -100% | 3,901 |
บีเอ็มดับเบิ้ลยู | 0 | 252 | -100% | 3,053 |
ยี่ห้ออื่นๆ | 100 | 269 | -62.8% | 2,489 |
รวมทั้งหมด | 25,664 | 78,874 | -67.5% | 739,506 |
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง
ยี่ห้อ | พ.ย.54 | พ.ย.53 | เปลี่ยนแปลง | มกราคม-พฤศจิกายน 54 |
ฮอนด้า | 2,835 | 9,391 | -69.8% | 75,974 |
นิสสัน | 2,686 | 3,056 | -12.1% | 41,586 |
โตโยต้า | 2,127 | 14,756 | -85.6% | 131,165 |
มาสด้า | 1,643 | 1,990 | -17.4% | 28,457 |
ซูซูกิ | 403 | 190 | +112.1% | 3,948 |
มิตซูบิชิ | 343 | 759 | -54.8% | 6,659 |
ซูบารุ | 2 | 6 | -66.7% | 110 |
รวมรถญี่ปุ่น | 10,039 | 30,148 | -66.7% | 287,899 |
เชฟโรเลต | 1,279 | 632 | +102.4% | 14,154 |
ฟอร์ด | 1,150 | 1,543 | -25.5% | 18,228 |
โปรตอน | 164 | 256 | -35.9% | 4,896 |
เกีย | 44 | 17 | +158.8% | 462 |
โฟล์คสวาเกน | 4 | 57 | -93.0% | 211 |
เปอโยต์ | 3 | 7 | -57.1% | 128 |
ฮุนได | 3 | 0 | 0.0% | 119 |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 0 | 439 | -100.0% | 3,726 |
บีเอ็มดับเบิ้ลยู | 0 | 229 | -100.0% | 2,332 |
วอลโว่ | 0 | 44 | -100.0% | 569 |
ยี่ห้ออื่นๆ | 60 | 222 | -73.0% | 1,894 |
รวมทั้งหมด | 12,746 | 33,594 | -62.1% | 334,618 |
ยอดจำหน่ายรถกะบะ 1 ตัน
ยี่ห้อ | พ.ย.54 | พ.ย.53 | เปลี่ยนแปลง | มกราคม-พฤศจิกายน 54 |
มิตซูบิชิ | 3,214 | 3,314 | -3.0% | 53,306 |
อีซูซุ | 2,029 | 14,337 | -85.8% | 112,885 |
โตโยต้า | 1,025 | 17,133 | -94.0% | 128,835 |
ฟอร์ด | 890 | 546 | +63.0% | 8,371 |
นิสสัน | 600 | 2,107 | -71.5% | 19,611 |
มาสด้า | 346 | 705 | -50.9% | 8,648 |
ทาทา | 248 | 476 | -47.9% | 4,370 |
เชฟโรเลต | 79 | 692 | -88.6% | 8,527 |
รวมทั้งหมด | 8,431 | 39,310 | -78.6% | 344,553 |
ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
หน่วย : คัน