ค่ายรถแดนมังกร “เฌอรี่” ฟุ้ง! สามารถทำยอดขายพุ่ง 10,000 คันต่อปี หากบริษัทแม่ในจีนเร่งแผนตั้งโรงงานในไทย และสนับสนุนรถใหม่เข้ามาทำตลาด หลังจากมีหลายรุ่นกำลังศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเก๋งซีดานและแฮทช์แบ็ก กลุ่มซับคอมแพ็กต์, คอมแพ็กต์คาร์ รวมถึงมินิเอ็มพีวี ลุ้นจีนผลิตพวงมาลัยขวาให้ พร้อมนำเข้ามาเผยโฉมในไทยงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2011 ทันที ขณะที่ตัวเลขยอดขายปีนี้เชื่อเติบโตเท่าตัว ตั้งเป้ารวม 3,000 คัน หลังยอดจองรถตู้อเนกประสงค์ “บิ๊ก-ดี” มาแรง คุยมีเท่าไหร่ขายได้หมด แต่ติดปัญหาทางจีนส่งมอบรถให้ไม่พอความต้องการ พร้อมเดินหน้ารุกตลาดต่อเนื่อง นำเอสยูวี “ทิกโก” ติดตั้งระบบแอลพีจีในราคาเดิม เพิ่มทางเลือกตอบโจทย์ยุคน้ำมันแพง ควบกลยุทธ์ซุ่มขยายเครือข่ายศูนย์ซ่อม หวังมัดใจลูกค้าเชื่อมั่นบริการหลังการขาย เผยบริษัทแม่เอาจริงขึ้นไลน์ประกอบรถในไทยแน่นอน ขั้นตอนเหลือรอสรุปโมเดลจะเป็นเก๋งหรือปิกอัพในเร็วๆ นี้ คาดเซ็นสัญญาร่วมทุนในปี 2555
เข้าสู่ปีที่ 3 กับการต่อสู้แย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดเมืองไทย สำหรับค่ายรถยนต์จากแดนมังกร “เฌอรี่” แม้ผลงานช่วง 2 ปีแรกอาจไม่เข้าเป้า ทำตัวเลขได้เพียง 2,000 คัน จนทำให้เจ้าของแบรนด์ในจีน “เฌอรี่ ออโตโมทีฟ” ถึงกับออกมาพูดตรงๆ ถึงความไม่พอใจต่อยอดขายที่ฝ่ายไทยทำได้ และย้ำชัดถึงเป้าหมายควรจะไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 คัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังยืนยันที่สนับสนุน “ไทยเฌอรี่ยานยนต์” ผู้แทนจำหน่ายในไทย ผลักดันดันยอดขายให้ได้ตามเป้า โดยจะสนับสนุนรถรุ่นใหม่ๆ ให้ไทยมากขึ้น เห็นได้จากการเริ่มส่งรถรุ่นเอ1(A1) เข้ามาทำตลาดเป็นทางการเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และล่าสุดกับการเปิดตัวรถตู้อเนกประสงค์ขนาด 14 ที่นั่ง “บิ๊ก-ดี” (Big- D)ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์2011 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างมาก ทำให้เส้นทางแบรนด์รถชื่อดังของจีนรายนี้ เริ่มมีเส้นทางในประเทศไทยสดใสขึ้น...
“ภาพลักษณ์รถยนต์เฌอรี่มาจากการติดลบ เพราะสินค้าทุกอย่างที่มาจากประเทศจีน คนไทยมักมองว่าไม่มีคุณภาพ แต่พอเข้าสู่ปีที่ 3 แนวโน้มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะผู้บริโภคได้สัมผัสและรู้ว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด รวมถึงมีการรับประกันรถทุกคันนาน 3 ปี หรือ 100,000 กม. ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบกับเมื่อลูกค้าได้ใช้และพอใจกับสมรรถนะ จึงมีการบอกต่อแนะนำคนรู้จักให้มาซื้อ อย่างในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา มีรถที่ขายออกไปจำนวนหลายคัน มาจากการแนะนำบอกต่อของลูกค้าที่เคยใช้”
“มนทกานติ์ คณะวรรณ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเฌอรี่ยานยนตร์ จำกัด และเป็นบริษัทในเครือไทยยานยนต์ผู้ถือแบรนด์รถยนต์ชื่อดัง “โฟล์คสวาเกน” เปิดเผยเกี่ยวกับพัฒนาการความเชื่อมั่นแบรนด์รถยนต์จากประเทศจีน หลังจากทัศนะคติของลูกค้าเริ่มเปลี่ยนไป พร้อมทั้งเชื่อว่าจะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีผลิตภัณฑ์เป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเก๋งขนาดเล็กรุ่นเอ1 และล่าสุดรถตู้รุ่นบิ๊ก-ดี รวมถึงได้มีการนำรถอเนกประสงค์ “เฌอรี่ ทิกโก”(Tiggo) มาติดแอลพีจีจำหน่ายให้กับลูกค้าในราคาเดิม
“จากทิศทางตลาดปีนี้ เราตั้งเป้าการขายรวมไม่ต่ำกว่า 3,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว เพราะผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่รู้จัก และลูกค้าให้การยอมรับด้านคุณภาพมากขึ้น ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากขึ้น โดยเฉพาะรถตู้บิ๊ก-ดีที่คาดจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 1,500 คันในปีนี้”
ไม่เพียงเท่านั้นมนทกานติ์ยังมั่นใจว่า จะผลักดันยอดขายได้มากกว่า หากทางบริษัทแม่ในจีนสามารถส่งรถให้ได้มากกว่านี้ ปัจจุบันทางจีนไม่ค่อยจะส่งมอบรถให้ได้ตามต้องการ เพราะจะเน้นผลิตรถพวงมาลัยซ้าย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเหมือนกับในประเทศจีน ขณะที่ตลาดส่งออกรถพวงมาลัยขวาเพิ่งเริ่ม จึงยังไม่ค่อยผลิตเยอะมาก และไทยเฌอรี่ฯ ยังต้องมาปรับปรุงสเปกในโรงงานไทยอีก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าชาวไทย
ทั้งนี้โรงงานในไทยจะทำการใส่ล้อแม็ก เบาะใช้หนังแท้ หรือระบบประตูเซ็นทรัลล็อค ซึ่งเป็นการเพิ่มออฟชันให้ไม่เหมือนที่อื่น น่าจะเป็นรถเฌอรี่ที่ฟูลออปชันที่ดีที่สุดในโลกแล้ว แต่โรงงานในไทยจะไม่เข้าไปยุ่งเรื่องของเครื่องยนต์ หรือช่วงล่าง เพราะถือว่ามีสมรรถนะที่ดีอยู่แล้ว โดยรถเฌอรี่ใช้เทคโนโลยีของเยอรมัน อย่างพวงเรื่องอิเลกทรอนิก หรือระบบในเครื่องยนต์ จะใช้เทคโนโลยีที่ถ่ายทอดมาจากบ็อช (Bosch)
“ปัจจุบันลูกค้าให้การตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การทำตลาด แต่อยู่ที่ทางบริษัทแม่ในจีน ไม่สามารถส่งรถให้เพียงพอกับความต้องการ อย่างรถตู้บิ๊ก-ดีปีนี้ได้มาประมาณ 1,500 คันเท่านั้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีในการค่อยๆ ขยายการเติบโต เพราะเราอยากจะเน้นเรื่องคุณภาพ และให้ลูกค้าพึงพอใจกับแบรนด์ หากไปเน้นปริมาณมากอย่างเดียว อาจจะทำให้คุณภาพและการบริการไม่ดี เมื่อเกิดปัญหาอะไรจะทำให้ควบคุมยาก และจะส่งผลเสียต่อแบรนด์ ที่ลูกค้าชาวไทยเพิ่งเริ่มให้รับการยอมรับได้” มนกานติ์กล่าวและว่า
ในส่วนของเครือข่ายการขายของเฌอรี่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 19 แห่ง แบ่งเป็นกรุงเทพฯและปริมณฑล 5 แห่ง และต่างจังหวัด 14 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีทั้งโชว์รูมและศูนย์บริการอยู่ในจุดเดียวกัน ซึ่งถือว่าครอบคลุมจังหวัดใหญ่ และปริมาณการขายในปัจจุบัน จึงไม่คิดที่จะตั้งดีลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายเพิ่มในปีนี้ แต่เฌอรี่ให้ความสำคัญกับการดูแลและบริการหลังการขาย จึงมีเป้าหมายจะเปิดศูนย์บริการเพิ่มอีก 10 แห่งทั่วประเทศในปีนี้
“ตอนนี้เราจะเน้นการดูแลและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เฌอรี่ไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร ในไทยเราเป็นแบรนด์เล็กๆ การดูแลลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ และโดยเฉพาะเมื่อมีการส่งมอบรถไปมากขึ้น ดังนั้นเราไม่ทิ้งเรื่องนี้แน่นอน”
“กลิน บุณยนิตย์” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยเฌอรี่ ยานยนตร์ จำกัด กล่าวเสริมให้เห็นทิศทางของเฌอรี่ต่อไป แต่ยืนยันคุณภาพและสมรรถนะของรถยนต์เฌอรี่ไม่ได้ด้อยกว่าใคร และไม่ต้องห่วงเรื่องอะไหล่มีพร้อมรองรับ ที่สำคัญมีราคาค่อนข้างต่ำกว่ารถญี่ปุ่น เพราะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกรอบข้อตกลงทางการค้าระหว่างจีนและอาเซียน
ส่วนการทำตลาดกลินบอกว่า ยังคงต้องทำต่อไป แต่จะเน้นกลยุทธ์เจาะตรงเข้าหาลูกค้า มุ่งลงพื้นที่สร้างความมีส่วนร่วมของลูกค้าต่อไป ผ่านรูปแบบกิจกรรมให้ลูกค้ามีโอกาสทดลองขับขี่ เพื่อสัมผัสสมรรถนะของรถด้วยตัวเอง ขณะที่การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหญ่อย่างวิทยุและโทรทัศน์ยังไม่ใช่แผนหลัก เนื่องจากแบรนด์เล็กอย่างเฌอรี่จะเน้นสร้างเครือข่ายลูกค้า เพื่อช่วยโฆษณาปากต่อปาก หรือจากสมาชิกระหว่างกลุ่ม ซึ่งน่าจะได้ผลมากกว่า
สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด มนทกานติ์บอกว่ากำลังศึกษานำเข้ามาทำตลาด เพราะมีรถหลายรุ่นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น “เฌอรี่ เอ3” (A3) รถซีดานและแฮทช์แบ็ก 1.6 และ 1.8 ลิตร และรถมินิเอ็มพีวี “เฌอรี่ คิว22” (Q22) แต่คงต้องดูความพร้อมของบริษัทแม่ เพราะเขาจะผลิตรุ่นพวงมาลัยขวาเมื่อไหร่
“ปลายปีนี้อาจจะมีการนำรถบางรุ่น เข้ามาโชว์ในงานมอเตอร์เอ็กซ์ 2011 อย่างเช่นเฌอรี่ เอ3 หากทางจีนเริ่มผลิตรุ่นพวงมาลัยขวาได้ภายในปีนี้ รวมถึงการผลิตเกียร์เกียร์อัตโนมัติในรถที่ขายอยู่อย่างรุ่นเอ1 เพราะปัญหาปัจจุบันมีเฉพาะรุ่นเกียร์ธรรมดา ทำให้ตลาดใหญ่ของเฌอรี่จึงอยู่ที่ต่างจังหวัด หากมีรุ่นเกียร์อัตโนมัติจะช่วยขยายตลาดในเมืองได้มากขึ้น หากผลิตภัณฑ์มีหลากหลายทางเลือก มั่นใจจะสามารถทำยอดขายเพิ่มเป็น 5,000 คัน หรือเมื่อขึ้นไลน์ประกอบรถในไทย จะเพิ่มเป็น 10,000 คัน ตามที่ทางบริษัทแม่ในจีนต้องการก็ได้”
ทั้งนี้เกี่ยวกับความคืบหน้าแผนการลงทุน ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์เฌอรี่ในไทย มนทกานติ์กล่าวว่ามีความคืบหน้าไปมาก แนวโน้มชัดเจนว่าจะมีการประกอบรถในไทยแน่ เพราะทางเฌอรี่ ออโตโมทีฟ มีนโยบายให้แต่ละประเทศผลิตคนละโมเดล ปัจจุบันในอาเซียนก็มีประกอบที่มาเลเซียเป็น เฌอรี่ บี14 ครอส(B14 Cross) ที่ไทยนำเข้ามาทำตลาดในปัจุบัน
“การตั้งโรงงานประกอบรถในไทยค่อนข้างแน่นอน ตอนนี้เหลือเพียงเจรจาเจาะลงไปรายละเอียด จะขึ้นไลน์ประกอบรถโมเดลไหน ซึ่งทางเราอยากจะให้ทำรถเก๋งขนาดเล็ก แต่ทางจีนสนใจจะประกอบปิกอัพ เพราะเห็นว่าไทยเป็นตลาดใหญ่ แต่เรามองว่าค่อนข้างยาก เนื่องจากปิกอัพในไทยค่อนข้างจะแข็งแกร่งทั้งนั้น ขณะที่ปิกอัพของจีนค่อนข้างล้าสมัยไม่เหมาะกับไทย หากจะทำต้องปรับใหม่หมด แต่ทุกอย่างน่าจะสรุปในปีนี้ และคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาร่วมทุนในปีหน้าได้”
ฟังจากน้ำเสียงของผู้รับผิดชอบทำตลาดในไทย “ไทยเฌอรี่ยานยนต์” ค่อนข้างมั่นใจมากกว่าปีที่ผ่านมากทีเดียว ปัญหาจึงเหลืออยู่ว่า... จะทำให้ลูกค้าชาวไทยมีความเชื่อมั่นมากขึ้นกว่านี้อีกหรือไม่? และจะโน้มน้าวให้บริษัทแม่ในจีนตอบสนองได้แค่ไหน?!
เข้าสู่ปีที่ 3 กับการต่อสู้แย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดเมืองไทย สำหรับค่ายรถยนต์จากแดนมังกร “เฌอรี่” แม้ผลงานช่วง 2 ปีแรกอาจไม่เข้าเป้า ทำตัวเลขได้เพียง 2,000 คัน จนทำให้เจ้าของแบรนด์ในจีน “เฌอรี่ ออโตโมทีฟ” ถึงกับออกมาพูดตรงๆ ถึงความไม่พอใจต่อยอดขายที่ฝ่ายไทยทำได้ และย้ำชัดถึงเป้าหมายควรจะไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 คัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังยืนยันที่สนับสนุน “ไทยเฌอรี่ยานยนต์” ผู้แทนจำหน่ายในไทย ผลักดันดันยอดขายให้ได้ตามเป้า โดยจะสนับสนุนรถรุ่นใหม่ๆ ให้ไทยมากขึ้น เห็นได้จากการเริ่มส่งรถรุ่นเอ1(A1) เข้ามาทำตลาดเป็นทางการเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และล่าสุดกับการเปิดตัวรถตู้อเนกประสงค์ขนาด 14 ที่นั่ง “บิ๊ก-ดี” (Big- D)ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์2011 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างมาก ทำให้เส้นทางแบรนด์รถชื่อดังของจีนรายนี้ เริ่มมีเส้นทางในประเทศไทยสดใสขึ้น...
“ภาพลักษณ์รถยนต์เฌอรี่มาจากการติดลบ เพราะสินค้าทุกอย่างที่มาจากประเทศจีน คนไทยมักมองว่าไม่มีคุณภาพ แต่พอเข้าสู่ปีที่ 3 แนวโน้มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะผู้บริโภคได้สัมผัสและรู้ว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด รวมถึงมีการรับประกันรถทุกคันนาน 3 ปี หรือ 100,000 กม. ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบกับเมื่อลูกค้าได้ใช้และพอใจกับสมรรถนะ จึงมีการบอกต่อแนะนำคนรู้จักให้มาซื้อ อย่างในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา มีรถที่ขายออกไปจำนวนหลายคัน มาจากการแนะนำบอกต่อของลูกค้าที่เคยใช้”
“มนทกานติ์ คณะวรรณ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเฌอรี่ยานยนตร์ จำกัด และเป็นบริษัทในเครือไทยยานยนต์ผู้ถือแบรนด์รถยนต์ชื่อดัง “โฟล์คสวาเกน” เปิดเผยเกี่ยวกับพัฒนาการความเชื่อมั่นแบรนด์รถยนต์จากประเทศจีน หลังจากทัศนะคติของลูกค้าเริ่มเปลี่ยนไป พร้อมทั้งเชื่อว่าจะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีผลิตภัณฑ์เป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเก๋งขนาดเล็กรุ่นเอ1 และล่าสุดรถตู้รุ่นบิ๊ก-ดี รวมถึงได้มีการนำรถอเนกประสงค์ “เฌอรี่ ทิกโก”(Tiggo) มาติดแอลพีจีจำหน่ายให้กับลูกค้าในราคาเดิม
“จากทิศทางตลาดปีนี้ เราตั้งเป้าการขายรวมไม่ต่ำกว่า 3,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากกว่าเท่าตัว เพราะผลิตภัณฑ์เริ่มเป็นที่รู้จัก และลูกค้าให้การยอมรับด้านคุณภาพมากขึ้น ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากขึ้น โดยเฉพาะรถตู้บิ๊ก-ดีที่คาดจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 1,500 คันในปีนี้”
ไม่เพียงเท่านั้นมนทกานติ์ยังมั่นใจว่า จะผลักดันยอดขายได้มากกว่า หากทางบริษัทแม่ในจีนสามารถส่งรถให้ได้มากกว่านี้ ปัจจุบันทางจีนไม่ค่อยจะส่งมอบรถให้ได้ตามต้องการ เพราะจะเน้นผลิตรถพวงมาลัยซ้าย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเหมือนกับในประเทศจีน ขณะที่ตลาดส่งออกรถพวงมาลัยขวาเพิ่งเริ่ม จึงยังไม่ค่อยผลิตเยอะมาก และไทยเฌอรี่ฯ ยังต้องมาปรับปรุงสเปกในโรงงานไทยอีก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าชาวไทย
ทั้งนี้โรงงานในไทยจะทำการใส่ล้อแม็ก เบาะใช้หนังแท้ หรือระบบประตูเซ็นทรัลล็อค ซึ่งเป็นการเพิ่มออฟชันให้ไม่เหมือนที่อื่น น่าจะเป็นรถเฌอรี่ที่ฟูลออปชันที่ดีที่สุดในโลกแล้ว แต่โรงงานในไทยจะไม่เข้าไปยุ่งเรื่องของเครื่องยนต์ หรือช่วงล่าง เพราะถือว่ามีสมรรถนะที่ดีอยู่แล้ว โดยรถเฌอรี่ใช้เทคโนโลยีของเยอรมัน อย่างพวงเรื่องอิเลกทรอนิก หรือระบบในเครื่องยนต์ จะใช้เทคโนโลยีที่ถ่ายทอดมาจากบ็อช (Bosch)
“ปัจจุบันลูกค้าให้การตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การทำตลาด แต่อยู่ที่ทางบริษัทแม่ในจีน ไม่สามารถส่งรถให้เพียงพอกับความต้องการ อย่างรถตู้บิ๊ก-ดีปีนี้ได้มาประมาณ 1,500 คันเท่านั้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีในการค่อยๆ ขยายการเติบโต เพราะเราอยากจะเน้นเรื่องคุณภาพ และให้ลูกค้าพึงพอใจกับแบรนด์ หากไปเน้นปริมาณมากอย่างเดียว อาจจะทำให้คุณภาพและการบริการไม่ดี เมื่อเกิดปัญหาอะไรจะทำให้ควบคุมยาก และจะส่งผลเสียต่อแบรนด์ ที่ลูกค้าชาวไทยเพิ่งเริ่มให้รับการยอมรับได้” มนกานติ์กล่าวและว่า
ในส่วนของเครือข่ายการขายของเฌอรี่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 19 แห่ง แบ่งเป็นกรุงเทพฯและปริมณฑล 5 แห่ง และต่างจังหวัด 14 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีทั้งโชว์รูมและศูนย์บริการอยู่ในจุดเดียวกัน ซึ่งถือว่าครอบคลุมจังหวัดใหญ่ และปริมาณการขายในปัจจุบัน จึงไม่คิดที่จะตั้งดีลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายเพิ่มในปีนี้ แต่เฌอรี่ให้ความสำคัญกับการดูแลและบริการหลังการขาย จึงมีเป้าหมายจะเปิดศูนย์บริการเพิ่มอีก 10 แห่งทั่วประเทศในปีนี้
“ตอนนี้เราจะเน้นการดูแลและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เฌอรี่ไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร ในไทยเราเป็นแบรนด์เล็กๆ การดูแลลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ และโดยเฉพาะเมื่อมีการส่งมอบรถไปมากขึ้น ดังนั้นเราไม่ทิ้งเรื่องนี้แน่นอน”
“กลิน บุณยนิตย์” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยเฌอรี่ ยานยนตร์ จำกัด กล่าวเสริมให้เห็นทิศทางของเฌอรี่ต่อไป แต่ยืนยันคุณภาพและสมรรถนะของรถยนต์เฌอรี่ไม่ได้ด้อยกว่าใคร และไม่ต้องห่วงเรื่องอะไหล่มีพร้อมรองรับ ที่สำคัญมีราคาค่อนข้างต่ำกว่ารถญี่ปุ่น เพราะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกรอบข้อตกลงทางการค้าระหว่างจีนและอาเซียน
ส่วนการทำตลาดกลินบอกว่า ยังคงต้องทำต่อไป แต่จะเน้นกลยุทธ์เจาะตรงเข้าหาลูกค้า มุ่งลงพื้นที่สร้างความมีส่วนร่วมของลูกค้าต่อไป ผ่านรูปแบบกิจกรรมให้ลูกค้ามีโอกาสทดลองขับขี่ เพื่อสัมผัสสมรรถนะของรถด้วยตัวเอง ขณะที่การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหญ่อย่างวิทยุและโทรทัศน์ยังไม่ใช่แผนหลัก เนื่องจากแบรนด์เล็กอย่างเฌอรี่จะเน้นสร้างเครือข่ายลูกค้า เพื่อช่วยโฆษณาปากต่อปาก หรือจากสมาชิกระหว่างกลุ่ม ซึ่งน่าจะได้ผลมากกว่า
สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด มนทกานติ์บอกว่ากำลังศึกษานำเข้ามาทำตลาด เพราะมีรถหลายรุ่นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น “เฌอรี่ เอ3” (A3) รถซีดานและแฮทช์แบ็ก 1.6 และ 1.8 ลิตร และรถมินิเอ็มพีวี “เฌอรี่ คิว22” (Q22) แต่คงต้องดูความพร้อมของบริษัทแม่ เพราะเขาจะผลิตรุ่นพวงมาลัยขวาเมื่อไหร่
“ปลายปีนี้อาจจะมีการนำรถบางรุ่น เข้ามาโชว์ในงานมอเตอร์เอ็กซ์ 2011 อย่างเช่นเฌอรี่ เอ3 หากทางจีนเริ่มผลิตรุ่นพวงมาลัยขวาได้ภายในปีนี้ รวมถึงการผลิตเกียร์เกียร์อัตโนมัติในรถที่ขายอยู่อย่างรุ่นเอ1 เพราะปัญหาปัจจุบันมีเฉพาะรุ่นเกียร์ธรรมดา ทำให้ตลาดใหญ่ของเฌอรี่จึงอยู่ที่ต่างจังหวัด หากมีรุ่นเกียร์อัตโนมัติจะช่วยขยายตลาดในเมืองได้มากขึ้น หากผลิตภัณฑ์มีหลากหลายทางเลือก มั่นใจจะสามารถทำยอดขายเพิ่มเป็น 5,000 คัน หรือเมื่อขึ้นไลน์ประกอบรถในไทย จะเพิ่มเป็น 10,000 คัน ตามที่ทางบริษัทแม่ในจีนต้องการก็ได้”
ทั้งนี้เกี่ยวกับความคืบหน้าแผนการลงทุน ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์เฌอรี่ในไทย มนทกานติ์กล่าวว่ามีความคืบหน้าไปมาก แนวโน้มชัดเจนว่าจะมีการประกอบรถในไทยแน่ เพราะทางเฌอรี่ ออโตโมทีฟ มีนโยบายให้แต่ละประเทศผลิตคนละโมเดล ปัจจุบันในอาเซียนก็มีประกอบที่มาเลเซียเป็น เฌอรี่ บี14 ครอส(B14 Cross) ที่ไทยนำเข้ามาทำตลาดในปัจุบัน
“การตั้งโรงงานประกอบรถในไทยค่อนข้างแน่นอน ตอนนี้เหลือเพียงเจรจาเจาะลงไปรายละเอียด จะขึ้นไลน์ประกอบรถโมเดลไหน ซึ่งทางเราอยากจะให้ทำรถเก๋งขนาดเล็ก แต่ทางจีนสนใจจะประกอบปิกอัพ เพราะเห็นว่าไทยเป็นตลาดใหญ่ แต่เรามองว่าค่อนข้างยาก เนื่องจากปิกอัพในไทยค่อนข้างจะแข็งแกร่งทั้งนั้น ขณะที่ปิกอัพของจีนค่อนข้างล้าสมัยไม่เหมาะกับไทย หากจะทำต้องปรับใหม่หมด แต่ทุกอย่างน่าจะสรุปในปีนี้ และคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาร่วมทุนในปีหน้าได้”
ฟังจากน้ำเสียงของผู้รับผิดชอบทำตลาดในไทย “ไทยเฌอรี่ยานยนต์” ค่อนข้างมั่นใจมากกว่าปีที่ผ่านมากทีเดียว ปัญหาจึงเหลืออยู่ว่า... จะทำให้ลูกค้าชาวไทยมีความเชื่อมั่นมากขึ้นกว่านี้อีกหรือไม่? และจะโน้มน้าวให้บริษัทแม่ในจีนตอบสนองได้แค่ไหน?!