ขณะที่รุ่นพี่อย่างซีรีส์ 3 กำลังจะถึงคิวเลิกผลิตในปลายปีนี้ เพื่อเปิดทางให้รุ่นใหม่โฉมเดลเชนจ์ในรหัส F30 เปิดตัวออกสู่ตลาดในปีหน้า ทางด้านรุ่นน้องอย่างซีรีส์ 1 ชิงสร้างสีสันในตลาดรถยนต์ระดับหรูไซส์คอมแพกต์ก่อน เมื่อบีเอ็มดับเบิลยูเปิดตัวโฉมใหม่ออกมาแล้ว และเตรียมรุกตลาดในยุโรปเดือนกันยายนนี้ ด้วยตัวถังมาตรฐานอย่างแฮทช์แบ็ก 5 ประตูก่อน แล้วจากนั้นค่อยทยอยเปิดตัวโฉมใหม่ของตัวถังต่างๆ อย่างรุ่น 3 ประตู, คูเป้ และเปิดประทุนตามมาทีหลัง
ซีรีส์ 1 เป็นรถยนต์ที่บีเอ็มดับเบิลยูพัฒนาขึ้นมาเพื่อเจาะตลาดในกลุ่ม Entry Level ในระดับหรู เพื่อแข่งขันกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ และออดี้ ซึ่งในตอนนั้นมีเอ-คลาส และเอ3 โดยว่ากันว่าซีรีส์ 1 เป็นการเข้ามาทดแทนตลาดของซีรีส์ 3 คอมแพกต์ที่ยุติการผลิตนับจากซีรีส์ 3 รหัส E46 หมดอายุการทำตลาด
สำหรับรุ่นแรกของซีรีส์ 1 เปิดตัวในปี 2004 โดยใช้รหัส E87 กับตัวถังแฮทช์แบ็ก 5 ประตู และแม้ว่าจะเป็นรถยนต์ที่มีระดับทางการตลาดต่ำกว่าซีรีส์ 3 แต่ในเชิงวิศวกรรมกลับไม่ได้ด้อยกว่า เพราะซีรีส์ 1 ได้รับการพัฒนาอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานเดียวกับซีรีส์ 3 พร้อมกับถูกกำหนดระดับตลาดให้แทรกกลางระหว่างมินิ กับซีรีส์ 3 พร้อมกับความโดดเด่นเหนือคู่แข่งกับการเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง ที่มีอัตราส่วนการกระจายน้ำหนักหน้า-หลังที่สมดุล 50:50
จากนั้นซีรีส์ 1 ก็เริ่มลุยตลาดเรื่อยมาด้วยตัวถังต่างๆ ที่ถูกส่งเข้ามาเสริมทัพไม่ว่าจะเป็นแฮทช์แบ็ก 3 ประตู (E81) คูเป้ (E82) และเปิดประทุน (E88) รวมถึงตัวแรงที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบอย่างรุ่น M Coupe ที่ทำตลาดผ่านตัวถังคูเป้ และเป็นการย้อนรอยความเร้าใจของรถยนต์สุดคลาสสิกอย่าง 2002 Turbo
ทางด้านรุ่นใหม่ของซีรีส์ 1 มาพร้อมกับรหัสตัวถัง F20 และเริ่มรุกตลาดระลอกแรกด้วยทางเลือกแบบเดิม คือ แฮทช์แบ็ก 5 ประตูที่มีขนาดตัวถังใหญ่ขึ้นจากรุ่นเดิมในเกือบทุกสัดส่วน ทั้งความยาว 4,324 มิลลิเมตร เพิ่มขึ้น 85 มิลลิเมตร กว้างขึ้น 17 มิลลิเมตรเป็น 1,765 มิลลิเมตร สูง 1,421 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อเพิ่มขึ้น 30 มิลลิเมตร เป็น 2,690 มิลลิเมตร ซึ่งตรงนี้ส่งผลให้พื้นที่เก็บสัมภาระด้านท้ายของตัวรถเพิ่มขึ้น 30 ลิตร เป็น 360 ลิตร และพื้นที่วางขาของเบาะนั่งหลังเพิ่มอีก 21 มิลลิเมตร
ในด้านงานออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก มีการนำแนวทางและสไตล์ของเส้นสายการออกแบบยุคใหม่ที่ถูกเริ่มใช้กับซีรีส์ 7 รุ่นปัจจุบัน มาใช้กับซีรีส์ 1 ในรุ่นนี้ พร้อมกับผสมผสานกับเอกลักษณ์ที่สำคัญทางด้านรูปลักษณ์ของบีเอ็มดับเบิลยูเอาไว้ เช่น ไฟหน้าแบบดวงกลมคู่ ซึ่งปัจจุบันถูกวางอยู่ในกรอบแล้ว, เส้นแนวหลังคาด้านหลังที่หักโค้งลงเป็นตัว J หรือ Hofmiester Kink และกระจังหน้าแบบไตคู่ Double Kidney เพื่อช่วยเพิ่มความลงตัวในด้านรูปโฉมภายนอก
และก็เช่นเดียวกันกับภายใน รถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูถือเป็นอีกแบรนด์ที่ค่อนข้างคงเอกลักษณ์การออกแบบของชุดมาตรวัดในรถยนต์ในสายการผลิตเกือบทุกรุ่น (ไม่นับรวมรุ่นพิเศษ) ซึ่งตามปกติแล้ว จะมีมาตรวัดดวงกลม 2 ดวงเป็นมาตรวัดรอบเครื่องยนต์กับความเร็วรวมอยู่ในกรอบเดียวกัน เน้นดีไซน์แบบเรียบๆ ไม่หวือหวา และบางรุ่นจะมี 2 ดวงเล็กประกบซ้าย-ขวาเป็นมาตรวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงกับเข็มความร้อน โดยในซีรีส์ 1 ใหม่ก็ยังยึดสไตล์การออกแบบเช่นนี้ เพียงแต่ออกแบบใหม่ให้ดูสวยและทันสมัยขึ้น
ในส่วนของระบบไฮเทคอย่าง i-Drive ก็มีการติดตั้งเอาไว้ด้วยเช่นกัน แสดงผลผ่านทางหน้าจอขนาด8.8 นิ้ว พร้อมกับปุ่ม i-Drive ที่ติดตั้งอยู่ทางคอนโซลเกียร์ใกล้กับเบรกมือ ขณะที่ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติมากับหัวเกียร์ทรงเดียวกับที่สัมผัสได้ในซีรีส์ 7 และซีรีส์ 5
ขณะที่รุ่นปกติเบาะหลังสามารถพับพนักพิงในอัตราส่วน 60:40 และถ้าอยากได้แบบอเนกประสงค์ขึ้น ก็จ่ายเงินเพิ่มเพื่อแลกกับความสามารถในการพับแบบ 40/20/40 เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการบรรทุกสัมภาระ ซึ่งเมื่อพับเบาะหลังลงทั้งหมด ปริมาตรในการบรรทุกสัมภาระจะเพิ่มเป็น 1,200 ลิตร
ด้านทางเลือกของเครื่องยนต์ในช่วงแรกเน้นแบบ 4 สูบเป็นหลัก และยังคงคอนเซปต์แบบขับเคลื่อนล้อหลังเช่นเดิม ส่วนเครื่องยนต์มากับแนวคิด BMW Twin Power Turbo Technology เริ่มกับรุ่น 116i เครื่องยนต์ 1600 ซีซี เทอร์โบแบบ Twin-Scroll พร้อมระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง หรือ Di และระบบวาล์วแปรผันแบบ Double-Vanos มีกำลังสูงสุด 136 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที และแรงบิดสุด 22.4 กก.-ม. ที่ 1,350-4,300 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงใน 8.5 วินาที และความเร็วปลาย 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ตามด้วยรุ่น 118i ติดตั้งเทอร์โบ มีกำลังขยับขึ้นเป็น 170 แรงม้า ที่ 4,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 25.5 กก.-ม. ที่ 1,500-4,500 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงใน 7.4 วินาที และความเร็วปลาย 225 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ส่วนรุ่นเทอร์โบดีเซลมีให้เลือกหลากหลาย เริ่มจาก 116d ที่มีกำลัง 116 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 26.5 กก.-ม. ที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที ตามด้วย 118d ขยับกำลังขึ้นมาเป็น 143 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 32.6 กก.-ม. ที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที และปิดท้ายกับรุ่น 120d ขยับความเร้าใจขึ้นมาเป็น 184 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 38.7 กก.-ม. ที่ 1,750-2,750 รอบ/นาที ใช้เวลา 7.2 วินาทีสำหรับอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง และความเร็วสูงสุด 228 กิโลเมตร/ชั่วโมง
สำหรับระบบส่งกำลังจะจับคู่กับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ แต่ถ้าอยากสบายก็มีเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะมาให้เลือกใช้ด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกสำหรับรถยนต์ในคลาสนี้ ส่วนระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบแม็กเฟอร์สันสตรัทที่ด้านหน้า และด้านหลังแบบยึด 5 จุดที่ด้านหลัง อีกทั้งยังมีการขยายความกว้างช่วงล้อหน้า และหลังจากรุ่นเดิมอีก 51 และ 72 มิลลิเมตร ตามลำดับ เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้น
สำหรับการทำตลาดจะเริ่มประมาณเดือนกันยายนนี้ กับราคาในอังกฤษอยู่ระหว่าง 19,375-23,480 ปอนด์ หรือ 968,000-1,170,000 บาท
ซีรีส์ 1 เป็นรถยนต์ที่บีเอ็มดับเบิลยูพัฒนาขึ้นมาเพื่อเจาะตลาดในกลุ่ม Entry Level ในระดับหรู เพื่อแข่งขันกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ และออดี้ ซึ่งในตอนนั้นมีเอ-คลาส และเอ3 โดยว่ากันว่าซีรีส์ 1 เป็นการเข้ามาทดแทนตลาดของซีรีส์ 3 คอมแพกต์ที่ยุติการผลิตนับจากซีรีส์ 3 รหัส E46 หมดอายุการทำตลาด
สำหรับรุ่นแรกของซีรีส์ 1 เปิดตัวในปี 2004 โดยใช้รหัส E87 กับตัวถังแฮทช์แบ็ก 5 ประตู และแม้ว่าจะเป็นรถยนต์ที่มีระดับทางการตลาดต่ำกว่าซีรีส์ 3 แต่ในเชิงวิศวกรรมกลับไม่ได้ด้อยกว่า เพราะซีรีส์ 1 ได้รับการพัฒนาอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานเดียวกับซีรีส์ 3 พร้อมกับถูกกำหนดระดับตลาดให้แทรกกลางระหว่างมินิ กับซีรีส์ 3 พร้อมกับความโดดเด่นเหนือคู่แข่งกับการเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง ที่มีอัตราส่วนการกระจายน้ำหนักหน้า-หลังที่สมดุล 50:50
จากนั้นซีรีส์ 1 ก็เริ่มลุยตลาดเรื่อยมาด้วยตัวถังต่างๆ ที่ถูกส่งเข้ามาเสริมทัพไม่ว่าจะเป็นแฮทช์แบ็ก 3 ประตู (E81) คูเป้ (E82) และเปิดประทุน (E88) รวมถึงตัวแรงที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบอย่างรุ่น M Coupe ที่ทำตลาดผ่านตัวถังคูเป้ และเป็นการย้อนรอยความเร้าใจของรถยนต์สุดคลาสสิกอย่าง 2002 Turbo
ทางด้านรุ่นใหม่ของซีรีส์ 1 มาพร้อมกับรหัสตัวถัง F20 และเริ่มรุกตลาดระลอกแรกด้วยทางเลือกแบบเดิม คือ แฮทช์แบ็ก 5 ประตูที่มีขนาดตัวถังใหญ่ขึ้นจากรุ่นเดิมในเกือบทุกสัดส่วน ทั้งความยาว 4,324 มิลลิเมตร เพิ่มขึ้น 85 มิลลิเมตร กว้างขึ้น 17 มิลลิเมตรเป็น 1,765 มิลลิเมตร สูง 1,421 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อเพิ่มขึ้น 30 มิลลิเมตร เป็น 2,690 มิลลิเมตร ซึ่งตรงนี้ส่งผลให้พื้นที่เก็บสัมภาระด้านท้ายของตัวรถเพิ่มขึ้น 30 ลิตร เป็น 360 ลิตร และพื้นที่วางขาของเบาะนั่งหลังเพิ่มอีก 21 มิลลิเมตร
ในด้านงานออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก มีการนำแนวทางและสไตล์ของเส้นสายการออกแบบยุคใหม่ที่ถูกเริ่มใช้กับซีรีส์ 7 รุ่นปัจจุบัน มาใช้กับซีรีส์ 1 ในรุ่นนี้ พร้อมกับผสมผสานกับเอกลักษณ์ที่สำคัญทางด้านรูปลักษณ์ของบีเอ็มดับเบิลยูเอาไว้ เช่น ไฟหน้าแบบดวงกลมคู่ ซึ่งปัจจุบันถูกวางอยู่ในกรอบแล้ว, เส้นแนวหลังคาด้านหลังที่หักโค้งลงเป็นตัว J หรือ Hofmiester Kink และกระจังหน้าแบบไตคู่ Double Kidney เพื่อช่วยเพิ่มความลงตัวในด้านรูปโฉมภายนอก
และก็เช่นเดียวกันกับภายใน รถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูถือเป็นอีกแบรนด์ที่ค่อนข้างคงเอกลักษณ์การออกแบบของชุดมาตรวัดในรถยนต์ในสายการผลิตเกือบทุกรุ่น (ไม่นับรวมรุ่นพิเศษ) ซึ่งตามปกติแล้ว จะมีมาตรวัดดวงกลม 2 ดวงเป็นมาตรวัดรอบเครื่องยนต์กับความเร็วรวมอยู่ในกรอบเดียวกัน เน้นดีไซน์แบบเรียบๆ ไม่หวือหวา และบางรุ่นจะมี 2 ดวงเล็กประกบซ้าย-ขวาเป็นมาตรวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงกับเข็มความร้อน โดยในซีรีส์ 1 ใหม่ก็ยังยึดสไตล์การออกแบบเช่นนี้ เพียงแต่ออกแบบใหม่ให้ดูสวยและทันสมัยขึ้น
ในส่วนของระบบไฮเทคอย่าง i-Drive ก็มีการติดตั้งเอาไว้ด้วยเช่นกัน แสดงผลผ่านทางหน้าจอขนาด8.8 นิ้ว พร้อมกับปุ่ม i-Drive ที่ติดตั้งอยู่ทางคอนโซลเกียร์ใกล้กับเบรกมือ ขณะที่ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติมากับหัวเกียร์ทรงเดียวกับที่สัมผัสได้ในซีรีส์ 7 และซีรีส์ 5
ขณะที่รุ่นปกติเบาะหลังสามารถพับพนักพิงในอัตราส่วน 60:40 และถ้าอยากได้แบบอเนกประสงค์ขึ้น ก็จ่ายเงินเพิ่มเพื่อแลกกับความสามารถในการพับแบบ 40/20/40 เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการบรรทุกสัมภาระ ซึ่งเมื่อพับเบาะหลังลงทั้งหมด ปริมาตรในการบรรทุกสัมภาระจะเพิ่มเป็น 1,200 ลิตร
ด้านทางเลือกของเครื่องยนต์ในช่วงแรกเน้นแบบ 4 สูบเป็นหลัก และยังคงคอนเซปต์แบบขับเคลื่อนล้อหลังเช่นเดิม ส่วนเครื่องยนต์มากับแนวคิด BMW Twin Power Turbo Technology เริ่มกับรุ่น 116i เครื่องยนต์ 1600 ซีซี เทอร์โบแบบ Twin-Scroll พร้อมระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง หรือ Di และระบบวาล์วแปรผันแบบ Double-Vanos มีกำลังสูงสุด 136 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที และแรงบิดสุด 22.4 กก.-ม. ที่ 1,350-4,300 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงใน 8.5 วินาที และความเร็วปลาย 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ตามด้วยรุ่น 118i ติดตั้งเทอร์โบ มีกำลังขยับขึ้นเป็น 170 แรงม้า ที่ 4,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 25.5 กก.-ม. ที่ 1,500-4,500 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงใน 7.4 วินาที และความเร็วปลาย 225 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ส่วนรุ่นเทอร์โบดีเซลมีให้เลือกหลากหลาย เริ่มจาก 116d ที่มีกำลัง 116 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 26.5 กก.-ม. ที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที ตามด้วย 118d ขยับกำลังขึ้นมาเป็น 143 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 32.6 กก.-ม. ที่ 1,750-2,500 รอบ/นาที และปิดท้ายกับรุ่น 120d ขยับความเร้าใจขึ้นมาเป็น 184 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 38.7 กก.-ม. ที่ 1,750-2,750 รอบ/นาที ใช้เวลา 7.2 วินาทีสำหรับอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง และความเร็วสูงสุด 228 กิโลเมตร/ชั่วโมง
สำหรับระบบส่งกำลังจะจับคู่กับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ แต่ถ้าอยากสบายก็มีเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะมาให้เลือกใช้ด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกสำหรับรถยนต์ในคลาสนี้ ส่วนระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบแม็กเฟอร์สันสตรัทที่ด้านหน้า และด้านหลังแบบยึด 5 จุดที่ด้านหลัง อีกทั้งยังมีการขยายความกว้างช่วงล้อหน้า และหลังจากรุ่นเดิมอีก 51 และ 72 มิลลิเมตร ตามลำดับ เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้น
สำหรับการทำตลาดจะเริ่มประมาณเดือนกันยายนนี้ กับราคาในอังกฤษอยู่ระหว่าง 19,375-23,480 ปอนด์ หรือ 968,000-1,170,000 บาท