ฟอร์ด ประกาศเริ่มทำการวิจัยพัฒนาหุ่นจำลองทดสอบการชนแบบดิจิตอลสำหรับผู้โดยสารเด็ก หวังยกระดับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย และนำมาต่อยอดเพื่อการใช้งานจริงต่อไปในอนาคต
หลังจากดำเนินการวิจัยด้านความปลอดภัยในการขับขี่มายาวนานกว่า 10 ปี เพื่อสร้างหุ่นจำลองทดสอบการชนแบบดิจิตอลสำหรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดสูง ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของร่างกายหรือการจำลองอวัยวะต่างๆอย่างละเอียด เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของมนุษย์บ้างในขณะที่เกิดการชน
ล่าสุด ทีมวิจัยของฟอร์ดกำลังทำการสร้างหุ่นจำลองเด็กจากเครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลกระทบจากการชนระหว่างผู้โดยสารที่เป็นเด็กและผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่
โดย ดร. สตีฟ โรฮานา หัวหน้าฝ่ายเทคนิคอาวุโสด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานวิจัยและวิศวกรรมขั้นสูงของฟอร์ด เปิดเผยว่า ฟอร์ดศึกษาแนวโน้มการได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่ ซึ่งทำให้ทราบว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คนวัย 1-34 ปี ขณะเดียวกันกำลังศึกษาในรายละเอียดว่า ผู้โดยสารที่เป็นเด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากการชนแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไรบ้าง
“ระบบปกป้องความปลอดภัยผู้โดยสารของฟอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บร้ายแรงและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นจากการชน ซึ่งระบบต่างๆ ของเราได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การบาดเจ็บจากการชนก็ยังคงมีอยู่ และยิ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งมีความสามารถในการพัฒนาระบบปกป้องความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสารได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะร่างกายของเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างมาก การพัฒนาหุ่นจำลองดิจิตอลสำหรับเด็กจะช่วยให้เราสามารถออกแบบระบบปกป้องความปลอดภัยสำหรับเด็กได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต”
ฟอร์ดได้พัฒนาหุ่นจำลองดิจิตอลแบบผู้ใหญ่มาแล้วก่อนหน้านี้ โดยโครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 และต้องใช้เวลากว่า 10 ปีในการเก็บรายละเอียดทั้งหมดเพื่อความถูกต้อง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เสร็จสมบูรณ์ในพ.ศ. 2547
ฟอร์ดใช้หุ่นจำลองดิจิตอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ในงานวิจัยต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถยนต์ ดังนั้น หุ่นจำลองนี้จึงไม่ใช่ประดิษฐกรรมที่จะถูกนำมาใช้แทนที่หุ่นจำลองทดสอบการชนในปัจจุบันแต่อย่างใด เนื่องจากหุ่นจำลองทดสอบการชนทั่วไปจะช่วยวัดผลกระทบของร่างกายที่เกิดจากการรับแรงกระแทก แต่หุ่นจำลองดิจิตอลจะถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกลไกการได้รับบาดเจ็บของร่างกาย ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาระบบปกป้องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“หุ่นจำลองดิจิตอลของฟอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นทีละชิ้น ทีละส่วน เริ่มจาก สมอง กะโหลก คอ โครงกระดูก แขน ขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยนักวิทยาศาสตร์จะต้องศึกษาวิจัยองค์ประกอบของอวัยวะแต่ละส่วนอย่างละเอียด” ดร.โรฮานา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายของเด็กยังมีอยู่ไม่มากนัก นักวิจัยของฟอร์ดจึงได้นำเอาความสามารถในการร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกมาใช้ ด้วยการลงนามในข้อตกลง 1 ปี ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เทียนจิน ประเทศจีน
โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลเด็กเทียนจิน ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสรีระของเด็กและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างกายของเด็กจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ ผลการตรวจวินิจฉัยอาสาสมัครด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และผลจากเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CAT Scans) ซึ่งเทียนจินนับว่าเป็นมณฑลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมณฑลหนึ่งในประเทศจีนและตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับโครงการดังกล่าวจะมาจากการรวบรวมข้อมูลงานเขียนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ
หลังจากดำเนินการวิจัยด้านความปลอดภัยในการขับขี่มายาวนานกว่า 10 ปี เพื่อสร้างหุ่นจำลองทดสอบการชนแบบดิจิตอลสำหรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดสูง ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของร่างกายหรือการจำลองอวัยวะต่างๆอย่างละเอียด เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของมนุษย์บ้างในขณะที่เกิดการชน
ล่าสุด ทีมวิจัยของฟอร์ดกำลังทำการสร้างหุ่นจำลองเด็กจากเครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลกระทบจากการชนระหว่างผู้โดยสารที่เป็นเด็กและผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่
โดย ดร. สตีฟ โรฮานา หัวหน้าฝ่ายเทคนิคอาวุโสด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานวิจัยและวิศวกรรมขั้นสูงของฟอร์ด เปิดเผยว่า ฟอร์ดศึกษาแนวโน้มการได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่ ซึ่งทำให้ทราบว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คนวัย 1-34 ปี ขณะเดียวกันกำลังศึกษาในรายละเอียดว่า ผู้โดยสารที่เป็นเด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากการชนแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไรบ้าง
“ระบบปกป้องความปลอดภัยผู้โดยสารของฟอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บร้ายแรงและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นจากการชน ซึ่งระบบต่างๆ ของเราได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การบาดเจ็บจากการชนก็ยังคงมีอยู่ และยิ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งมีความสามารถในการพัฒนาระบบปกป้องความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสารได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะร่างกายของเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างมาก การพัฒนาหุ่นจำลองดิจิตอลสำหรับเด็กจะช่วยให้เราสามารถออกแบบระบบปกป้องความปลอดภัยสำหรับเด็กได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต”
ฟอร์ดได้พัฒนาหุ่นจำลองดิจิตอลแบบผู้ใหญ่มาแล้วก่อนหน้านี้ โดยโครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 และต้องใช้เวลากว่า 10 ปีในการเก็บรายละเอียดทั้งหมดเพื่อความถูกต้อง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เสร็จสมบูรณ์ในพ.ศ. 2547
ฟอร์ดใช้หุ่นจำลองดิจิตอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ในงานวิจัยต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถยนต์ ดังนั้น หุ่นจำลองนี้จึงไม่ใช่ประดิษฐกรรมที่จะถูกนำมาใช้แทนที่หุ่นจำลองทดสอบการชนในปัจจุบันแต่อย่างใด เนื่องจากหุ่นจำลองทดสอบการชนทั่วไปจะช่วยวัดผลกระทบของร่างกายที่เกิดจากการรับแรงกระแทก แต่หุ่นจำลองดิจิตอลจะถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกลไกการได้รับบาดเจ็บของร่างกาย ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาระบบปกป้องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“หุ่นจำลองดิจิตอลของฟอร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นทีละชิ้น ทีละส่วน เริ่มจาก สมอง กะโหลก คอ โครงกระดูก แขน ขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยนักวิทยาศาสตร์จะต้องศึกษาวิจัยองค์ประกอบของอวัยวะแต่ละส่วนอย่างละเอียด” ดร.โรฮานา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายของเด็กยังมีอยู่ไม่มากนัก นักวิจัยของฟอร์ดจึงได้นำเอาความสามารถในการร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกมาใช้ ด้วยการลงนามในข้อตกลง 1 ปี ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เทียนจิน ประเทศจีน
โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลเด็กเทียนจิน ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสรีระของเด็กและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างกายของเด็กจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ ผลการตรวจวินิจฉัยอาสาสมัครด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และผลจากเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CAT Scans) ซึ่งเทียนจินนับว่าเป็นมณฑลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมณฑลหนึ่งในประเทศจีนและตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับโครงการดังกล่าวจะมาจากการรวบรวมข้อมูลงานเขียนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ