ไม่ได้มีแค่รถยนต์นั่งเท่านั้นที่มีการพลิกตัวรับกับกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของรถยนต์พลังงานทางเลือก แต่กับกลุ่มตลาดเอสยูวี ผู้ผลิตอย่างแลนด์โรเวอร์ก็ให้ความสนใจด้วยเช่นกัน และมีการผลิตเวอร์ชันพลังไฮบริดแบบเสียบปลั๊กให้กับ "เรนจ์โรเวอร์ สปอร์ต" ออกมารองรับกับความต้องการนี้ด้วยเช่นกัน...แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่ต้นแบบอยู่นะ
แลนด์โรเวอร์เผยว่า Range-e เป็นโปรเจ็กต์ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านทางหน่วยงานอย่าง Technology Strategy Board และมีการผลิตเวอร์ชันต้นแบบจำนวน 5 คันออกมาวิ่งเก็บข้อมูลกันตั้งแต่ปี 2010 ก่อนที่จะนำไปสู่การพัฒนาให้กลายเป็นคันจริงสำหรับอวดโฉมอย่างที่เห็นอยู่นี้
เป้าหมายของหน่วยงานและการทำงานร่วมกันในครั้งนี้คือการผลักดันให้ประเทศอังกฤษมีความพร้อมสำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้ารวมถึงรถยนต์พลังงานทางเลือกแบบอื่นๆ และตัวแลนด์โรเวอร์เองก็วางแผนผลิตเวอร์ชันไฮบริด ที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลเป็นต้นกำลังกับมอเตอร์ไฟฟ้า ออกสู่ตลาดภายในปี 2013
นอกจากนั้น เพื่อให้สอดรับกับความเข้มงวดในด้านมลพิษ ทาง JLR หรือ Jaguar Land Rover วางแผนทุ่มเงินจำนวน 800 ล้านปอนด์ หรือ 40,000 ล้านบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองที่จะเปิดตัวในระหว่างปี 2008-2012 โดยมีเป้าหมายในการลดค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอีก 25%
สำหรับ Range-e ใช้เทคโนโลยีดีเซลแบบไฮบริด ซึ่งมีเครื่องยนต์วี6 3,000 ซีซี 245 แรงม้ารับหน้าที่ในการขับเคลื่อน โดยจะทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 69 กิโลวัตต์ หรือ 94 แรงม้าในการส่งกำลังในรูปแบบของไฮบริดในแบบ Parallel พร้อมเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะของ ZF ส่วนแบตเตอรี่เป็นแบบลิเธียม-ไออน สามารถเสียบปลั๊กชาร์จกับกระแสไฟบ้านได้สูงสุด 240 โวลต์
เหมือนกับรถยนต์ไฮบริดแบบ PHEV ทั่วไปทำได้ คือ สามารถแล่นในโหมด EV หรือพลังไฟฟ้าแบบเพียวๆ ได้ชั่วคราวเป็นระยะทาง 20 ไมล์ หรือ 32 กิโลเมตร เรียกว่าในหนึ่งครั้งของการบิดกุญแจสตาร์ท ถ้าต้องเดินทางโดยมีจุดหมายปลายทางที่มีระยะทางไม่ไกลมาก เครื่องยนต์สันดาปภายในก็แทบไม่ต้องตื่นขึ้นมาทำงานเลย พอถึงจุดหมายก็เสียบปลั๊กชาร์จไฟชดเชยส่วนที่เสียไป แต่นั่นหมายความว่าระยะทาง 32 กิโลเมตร คือ ระยะทางสูงสุดที่ทำได้ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าอยู่ในแบตเตอรี่แบบเต็มๆ ถ้ามีน้อยระยะทางก็ลดหลั่นลงไป
ระบบนี้จะมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะในปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่าคนยุโรปเดินทางด้วยรถยนต์ต่อวันเพียง 25 ไมล์ หรือ 40 กิโลเมตรเท่านั้นเองการพัฒนารถยนต์ให้มีความสามารถในการใช้โหมด EV ได้ จะสามารถช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันและลดการปล่อยก๊าซพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วย
สำหรับการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ Range-e จะมีตัวเลขอยู่ที่ 89 กรัมต่อ 1 กิโลเมตร และเมื่อทั้งเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยกันทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนแล้ว ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 339 แรงม้า สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 193 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนน้ำมัน 1 ถังสามารถแล่นทำระยะทางโดยรวมได้ 690 ไมล์ หรือ 1,110 กิโลเมตรเลยทีเดียว
แม้จะยังไม่บอกว่าผลิตออกขาย แต่ดูแนวโน้มแล้ว Range_e น่าจะเป็นอีกทางเลือกของการขับเคลื่อนที่แลนด์โรเวอร์น่าจะผลิตออกขายในยุคที่กระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ประเภทนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แลนด์โรเวอร์เผยว่า Range-e เป็นโปรเจ็กต์ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณผ่านทางหน่วยงานอย่าง Technology Strategy Board และมีการผลิตเวอร์ชันต้นแบบจำนวน 5 คันออกมาวิ่งเก็บข้อมูลกันตั้งแต่ปี 2010 ก่อนที่จะนำไปสู่การพัฒนาให้กลายเป็นคันจริงสำหรับอวดโฉมอย่างที่เห็นอยู่นี้
เป้าหมายของหน่วยงานและการทำงานร่วมกันในครั้งนี้คือการผลักดันให้ประเทศอังกฤษมีความพร้อมสำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้ารวมถึงรถยนต์พลังงานทางเลือกแบบอื่นๆ และตัวแลนด์โรเวอร์เองก็วางแผนผลิตเวอร์ชันไฮบริด ที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลเป็นต้นกำลังกับมอเตอร์ไฟฟ้า ออกสู่ตลาดภายในปี 2013
นอกจากนั้น เพื่อให้สอดรับกับความเข้มงวดในด้านมลพิษ ทาง JLR หรือ Jaguar Land Rover วางแผนทุ่มเงินจำนวน 800 ล้านปอนด์ หรือ 40,000 ล้านบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองที่จะเปิดตัวในระหว่างปี 2008-2012 โดยมีเป้าหมายในการลดค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอีก 25%
สำหรับ Range-e ใช้เทคโนโลยีดีเซลแบบไฮบริด ซึ่งมีเครื่องยนต์วี6 3,000 ซีซี 245 แรงม้ารับหน้าที่ในการขับเคลื่อน โดยจะทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 69 กิโลวัตต์ หรือ 94 แรงม้าในการส่งกำลังในรูปแบบของไฮบริดในแบบ Parallel พร้อมเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะของ ZF ส่วนแบตเตอรี่เป็นแบบลิเธียม-ไออน สามารถเสียบปลั๊กชาร์จกับกระแสไฟบ้านได้สูงสุด 240 โวลต์
เหมือนกับรถยนต์ไฮบริดแบบ PHEV ทั่วไปทำได้ คือ สามารถแล่นในโหมด EV หรือพลังไฟฟ้าแบบเพียวๆ ได้ชั่วคราวเป็นระยะทาง 20 ไมล์ หรือ 32 กิโลเมตร เรียกว่าในหนึ่งครั้งของการบิดกุญแจสตาร์ท ถ้าต้องเดินทางโดยมีจุดหมายปลายทางที่มีระยะทางไม่ไกลมาก เครื่องยนต์สันดาปภายในก็แทบไม่ต้องตื่นขึ้นมาทำงานเลย พอถึงจุดหมายก็เสียบปลั๊กชาร์จไฟชดเชยส่วนที่เสียไป แต่นั่นหมายความว่าระยะทาง 32 กิโลเมตร คือ ระยะทางสูงสุดที่ทำได้ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าอยู่ในแบตเตอรี่แบบเต็มๆ ถ้ามีน้อยระยะทางก็ลดหลั่นลงไป
ระบบนี้จะมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะในปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่าคนยุโรปเดินทางด้วยรถยนต์ต่อวันเพียง 25 ไมล์ หรือ 40 กิโลเมตรเท่านั้นเองการพัฒนารถยนต์ให้มีความสามารถในการใช้โหมด EV ได้ จะสามารถช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันและลดการปล่อยก๊าซพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วย
สำหรับการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ Range-e จะมีตัวเลขอยู่ที่ 89 กรัมต่อ 1 กิโลเมตร และเมื่อทั้งเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยกันทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนแล้ว ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 339 แรงม้า สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 193 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนน้ำมัน 1 ถังสามารถแล่นทำระยะทางโดยรวมได้ 690 ไมล์ หรือ 1,110 กิโลเมตรเลยทีเดียว
แม้จะยังไม่บอกว่าผลิตออกขาย แต่ดูแนวโน้มแล้ว Range_e น่าจะเป็นอีกทางเลือกของการขับเคลื่อนที่แลนด์โรเวอร์น่าจะผลิตออกขายในยุคที่กระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ประเภทนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง