ข่าวในประเทศ - มิตซูบิชิ เป็นปลื้มยอดขายปีที่ผ่านมาโตถึง 101.5 % หรือ 39,549 คัน ขณะที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 66 % บรรลุเป้าส่วนแบ่งการตลาดที่ตั้งไว้ 5 % บิ๊กบอสคาดปีหน้ามีโอกาสแตะ 6 % หรือ 50,000 คัน เหตุมั่นใจการนำเสนอรถยนต์ที่หลากหลาย ตรงใจผู้บริโภคทั้ง ซีเอ็นจี และอี85 ช่วยดันยอดให้สำเร็จ
นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เดือนธันวาคม ที่ผ่านมา บริษัทฯสามารถทำยอดจำหน่ายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 โดยมียอดจำหน่าย 5,424 คัน ที่สำคัญช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มียอดจำหน่ายในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรวมของปี 2553 สูงกว่าปีก่อนถึงสองเท่าตัว คือ 39,549 คัน บรรลุเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดที่ตั้งไว้ 5% ขณะที่ยอดการส่งออกก็เพิ่มขึ้น 66% อยู่ที่ระดับมากกว่า 180,000 คัน
ปัจจัยที่ส่งผลให้ยอดจำหน่ายในประเทศสูงขึ้นนี้ นาย มูราฮาชิ มองว่าเกิดจากการที่บริษัทฯ นำเสนอรถยนต์ที่มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะรุ่นที่เป็นพลังงานทางเลือกทั้ง CNG และ E85 รวมถึงความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ส่วนยอดจำหน่ายในประเทศแบ่งเป็นกลุ่มรถยนต์นั่งซึ่งประกอบด้วย แลนเซอร์,สแปซเวกอน จำหน่ายได้ 8,333 คัน ในปี 2553 ขณะที่ปี 2552 จำหน่ายได้ 4,229 คัน เติบโต 97 % สำหรับรถปิกอัพ และพีพีวี อย่าง ไทรทัน ,ปาเจโร่ สปอร์ต จำหน่ายได้ 31,216 คัน ในปี2553 ขณะที่ปี 2552 ขายได้ 15,397 คัน เติบโต 102.7% รวมแล้วมียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 39,549 คัน เทียบกับปี 2552 ขายได้ 19,626 คัน เติบโตถึง 101.5 %
สำหรับการส่งออกของบริษัทฯ ในปีที่ผ่านมาสามารถทำยอดได้มากกว่า 180,000 คัน (รวมCBU และ CKD) หรือเติบโตขึ้น 66% จากปีก่อน (108,896 คัน) ซึ่งตลาดส่งออกที่ดีได้แก่กลุ่มประเทศอาเซียนและยุโรป ใน ขณะที่ยอดการผลิตรวมตลอดปีอยู่ที่ระดับ 197,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 98% จากปีก่อน (99,208 คัน)
นาย มูราฮาชิ ประมาณการว่าในปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ของประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ระดับ 780,000 คัน เพิ่มขึ้นถึง 47% จากปีก่อนหน้า (531,282 คัน) อันเนื่องมากจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางด้านการเมือง และความมั่นใจของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2554 ด้วยอัตราเติบโตประมาณ 4-5% สอดคล้องกับระดับ GDP ซึ่งจะทำให้ตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีขนาดประมาณ 820,000 คัน โดยมองเห็นปัจจัยสนับสนุนจากการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ การขยายตัวของการลงทุนทางธุรกิจ รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของหลายค่ายที่กระตุ้นให้ตลาดมีความคึกคักยิ่งขึ้น ในส่วนของมิตซูบิชินั้น วางเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดที่ 6% หรือประมาณ
นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เดือนธันวาคม ที่ผ่านมา บริษัทฯสามารถทำยอดจำหน่ายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 โดยมียอดจำหน่าย 5,424 คัน ที่สำคัญช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มียอดจำหน่ายในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรวมของปี 2553 สูงกว่าปีก่อนถึงสองเท่าตัว คือ 39,549 คัน บรรลุเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดที่ตั้งไว้ 5% ขณะที่ยอดการส่งออกก็เพิ่มขึ้น 66% อยู่ที่ระดับมากกว่า 180,000 คัน
ปัจจัยที่ส่งผลให้ยอดจำหน่ายในประเทศสูงขึ้นนี้ นาย มูราฮาชิ มองว่าเกิดจากการที่บริษัทฯ นำเสนอรถยนต์ที่มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะรุ่นที่เป็นพลังงานทางเลือกทั้ง CNG และ E85 รวมถึงความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ส่วนยอดจำหน่ายในประเทศแบ่งเป็นกลุ่มรถยนต์นั่งซึ่งประกอบด้วย แลนเซอร์,สแปซเวกอน จำหน่ายได้ 8,333 คัน ในปี 2553 ขณะที่ปี 2552 จำหน่ายได้ 4,229 คัน เติบโต 97 % สำหรับรถปิกอัพ และพีพีวี อย่าง ไทรทัน ,ปาเจโร่ สปอร์ต จำหน่ายได้ 31,216 คัน ในปี2553 ขณะที่ปี 2552 ขายได้ 15,397 คัน เติบโต 102.7% รวมแล้วมียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 39,549 คัน เทียบกับปี 2552 ขายได้ 19,626 คัน เติบโตถึง 101.5 %
สำหรับการส่งออกของบริษัทฯ ในปีที่ผ่านมาสามารถทำยอดได้มากกว่า 180,000 คัน (รวมCBU และ CKD) หรือเติบโตขึ้น 66% จากปีก่อน (108,896 คัน) ซึ่งตลาดส่งออกที่ดีได้แก่กลุ่มประเทศอาเซียนและยุโรป ใน ขณะที่ยอดการผลิตรวมตลอดปีอยู่ที่ระดับ 197,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 98% จากปีก่อน (99,208 คัน)
นาย มูราฮาชิ ประมาณการว่าในปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ของประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ระดับ 780,000 คัน เพิ่มขึ้นถึง 47% จากปีก่อนหน้า (531,282 คัน) อันเนื่องมากจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางด้านการเมือง และความมั่นใจของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2554 ด้วยอัตราเติบโตประมาณ 4-5% สอดคล้องกับระดับ GDP ซึ่งจะทำให้ตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีขนาดประมาณ 820,000 คัน โดยมองเห็นปัจจัยสนับสนุนจากการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ การขยายตัวของการลงทุนทางธุรกิจ รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของหลายค่ายที่กระตุ้นให้ตลาดมีความคึกคักยิ่งขึ้น ในส่วนของมิตซูบิชินั้น วางเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดที่ 6% หรือประมาณ