ข่าวในประเทศ – ตลาดรถยนต์เริ่มคึกปิดยอดขายเดือนแรกเติบโตถึง 54.5% สูงสุดในรอบ 7 ปี ขายดีทุกกลุ่ม เหตุเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากมาตรการต่างๆ บวกแคมเปญส่งเสริมการขายจากช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ดันยอดส่งมอบเดือนม.ค.พุ่ง แต่ยังหวั่นเหตุการเมืองปลายเดือนก.พ.ฉุดตลาด
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2553 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,721 คัน เพิ่มขึ้น 53.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 28,839 คัน เพิ่มขึ้น 55.4% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 24,648 คัน เพิ่มขึ้น 53.5%
ตลาดรถยนต์เดือนมกราคมมีปริมาณการขาย 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี อย่างไรก็ดีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นมาสูงมากนั้นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อครึ่งปีหลังของปี2008 และเริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นเป็นลำดับ โดยรถยนต์นั่งเติบโต 53.2% รถเพื่อการพาณิชย์เติบโต 55.4% โดยเฉพาะรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ เติบโตถึง 53.5%
“อีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ สินค้าทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น การฟื้นตัวของการส่งออก รวมถึงการแนะนำสินค้าใหม่และกิจกรรมส่งเสริมการขาย ในช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปลายปีที่ผ่านมามียอดจองสูงที่สุดและเริ่มทยอยส่งมอบรถให้กับลูกค้าล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนตลาดรถยนต์” วุฒิกรกล่าว
สำหรับตลาดรถยนต์เดือน กุมภาพันธ์ คาดว่าปริมาณการขายยังคงดีอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคมที่สูงถึง 71.9 สูงสุดในรอบ 21 เดือน การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ มาตรการต่อเนื่องต่างๆของภาครัฐที่มุ่งกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ ประกอบกับข้อมูลสถิติการขายที่เดือนกุมภาพันธ์จะมียอดขายเป็นอันดับ 2 ของไตรมาสแรก
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ภายในประเทศช่วงปลายเดือนอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและภาคการลงทุน สำหรับกรณีเรียกรถกลับมาตรวจสอบแก้ไขในต่างประเทศนั้น คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์เมืองไทยมากนัก เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละค่ายได้ออกมาให้รายละเอียดและอธิบายแก่ลูกค้าอย่างเข้าใจ ประกอบกับมาตรฐานการผลิตมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เชื่อว่าสามารถสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคได้ในที่สุด
ตารางแสดงยอดขายรถยนต์รวมทุกประเภท
ตารางแสดงยอดขายรถยนต์นั่ง
ตารางแสดงยอดขายรถปิกอัพขนาด 1 ตันล้วน
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2553 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,721 คัน เพิ่มขึ้น 53.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 28,839 คัน เพิ่มขึ้น 55.4% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 24,648 คัน เพิ่มขึ้น 53.5%
ตลาดรถยนต์เดือนมกราคมมีปริมาณการขาย 49,560 คัน เพิ่มขึ้น 54.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี อย่างไรก็ดีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นมาสูงมากนั้นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐอเมริกาเมื่อครึ่งปีหลังของปี2008 และเริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นเป็นลำดับ โดยรถยนต์นั่งเติบโต 53.2% รถเพื่อการพาณิชย์เติบโต 55.4% โดยเฉพาะรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ เติบโตถึง 53.5%
“อีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ สินค้าทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น การฟื้นตัวของการส่งออก รวมถึงการแนะนำสินค้าใหม่และกิจกรรมส่งเสริมการขาย ในช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปลายปีที่ผ่านมามียอดจองสูงที่สุดและเริ่มทยอยส่งมอบรถให้กับลูกค้าล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนตลาดรถยนต์” วุฒิกรกล่าว
สำหรับตลาดรถยนต์เดือน กุมภาพันธ์ คาดว่าปริมาณการขายยังคงดีอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคมที่สูงถึง 71.9 สูงสุดในรอบ 21 เดือน การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ มาตรการต่อเนื่องต่างๆของภาครัฐที่มุ่งกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ ประกอบกับข้อมูลสถิติการขายที่เดือนกุมภาพันธ์จะมียอดขายเป็นอันดับ 2 ของไตรมาสแรก
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ภายในประเทศช่วงปลายเดือนอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและภาคการลงทุน สำหรับกรณีเรียกรถกลับมาตรวจสอบแก้ไขในต่างประเทศนั้น คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์เมืองไทยมากนัก เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละค่ายได้ออกมาให้รายละเอียดและอธิบายแก่ลูกค้าอย่างเข้าใจ ประกอบกับมาตรฐานการผลิตมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เชื่อว่าสามารถสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคได้ในที่สุด
ตารางแสดงยอดขายรถยนต์รวมทุกประเภท
ยี่ห้อ | ม.ค.10 | ม.ค.09 | อัตราการเติบโต(%) |
โตโยต้า | 20,289 | 13,455 | 50.8 |
อีซูซุ | 10,168 | 7,123 | 42.7 |
ฮอนด้า | 7,701 | 5,304 | 45.2 |
นิสสัน | 2,617 | 1,666 | 57.1 |
มิตซูบิชิ | 2,176 | 1,148 | 89.5 |
มาสด้า | 1,937 | 632 | 206.5 |
เชฟโรเลต | 1,022 | 759 | 34.7 |
ฮีโน่ | 606 | 437 | 38.7 |
โปรตอน | 542 | 223 | 143.0 |
ฟอร์ด | 513 | 452 | 13.5 |
รวมทั้งตลาด | 49,560 | 32,085 | 54.5 |
ตารางแสดงยอดขายรถยนต์นั่ง
ยี่ห้อ | ม.ค.10 | ม.ค.09 | อัตราการเติบโต(%) |
โตโยต้า | 8,665 | 6,743 | 28.5 |
ฮอนด้า | 7,059 | 4,963 | 42.2 |
มาสด้า | 1,583 | 289 | 447.8 |
นิสสัน | 962 | 415 | 131.8 |
โปรตอน | 542 | 223 | 143.0 |
มิตซูบิชิ | 532 | 198 | 168.7 |
เชฟโรเลต | 468 | 262 | 78.6 |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 279 | 169 | 65.1 |
บีเอ็มดับเบิลยู | 185 | 58 | 219.0 |
ฟอร์ด | 107 | 55 | 94.5 |
รวมทั้งตลาด | 20,721 | 13,527 | 53.2 |
ตารางแสดงยอดขายรถปิกอัพขนาด 1 ตันล้วน
ยี่ห้อ | ม.ค.10 | ม.ค.09 | อัตราการเติบโต(%) |
โตโยต้า | 9,300 | 5,173 | 79.8 |
อีซูซุ | 9,044 | 6,440 | 40.4 |
นิสสัน | 1,642 | 1,206 | 36.2 |
มิตซูบิชิ | 903 | 557 | 62.1 |
ทาทา | 369 | 75 | 392 |
มาสด้า | 348 | 343 | 1.5 |
เชฟโรเลต | 340 | 379 | -10.3 |
ฟอร์ด | 331 | 367 | -9.8 |
รวมทั้งตลาด | 22,277 | 14,540 | 53.2 |