ข่าวในประเทศ – โตโยต้า เผยยอดขายรถยนต์รวมหลังผ่าน 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.2552) ทำได้ 419,755 คัน ลดลง 17.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คาด 2 เดือนสุดท้ายตลาดสดใส เหตุรถใหม่พร้อมแคมเปญเพียบ
วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อประจำเดือนตุลาคม 2552 ทำได้ 53,271 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 22,747 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ 30,524 คัน ส่วนปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 26,487 คัน ขณะเดียวกันยอดขายสะสม 10 เดือน(ม.ค.-ต.ค.2552) มีปริมาณทั้งสิ้น 419,755 คัน ลดลง 17.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 175,552 คัน ลดลง 5.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 244,203 คัน ลดลง 25.0% รวมทั้งรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้มีจำนวน 211,377 คัน ลดลง 24.2%
ในส่วนของตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม มีปริมาณการขาย 53,271 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 18 เดือน โดยตลาดรถยนต์นั่งเติบโต 23.4% สูงสุดในรอบปี จากความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์หลายรุ่นทั้งขนาดกลางและเล็ก ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตไม่เปลี่ยนแปลง โดยตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.5% เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ส่งผลต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ไม่เปลี่ยนแปลง และราคาสินค้าการเกษตรบางชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ยอดขายสะสม 10 เดือน ที่ทำได้ 419,755 คัน ลดลง 17.7% นั้น เป็นอัตราการเติบโตที่หดตัวน้อยที่สุดของปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 5.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 25.0% ทั้งนี้ยอดขายรถยนต์สะสมยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในท้ายไตรมาส 3 ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การเร่งจ่ายงบประมาณภาครัฐ ตลอดจนการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ดำเนินการในครึ่งปีหลัง ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น
นายวุฒิกร ยังประเมินว่า ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน น่าจะมีปริมาณการขายดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆ ตลอดจนข้อเสนอพิเศษต่างๆ ที่แต่ละค่ายนำมาเสนอต่อผู้บริโภค เพื่อหวังบรรลุเป้าหมายทางการขายในช่วงสิ้นปี ประกอบกับราคาสินค้าการเกษตรที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการประกันราคาพืชผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน แต่อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
ตารางแสดงยอดขายรวม
วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์รวมทุกยี่ห้อประจำเดือนตุลาคม 2552 ทำได้ 53,271 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 22,747 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ 30,524 คัน ส่วนปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 26,487 คัน ขณะเดียวกันยอดขายสะสม 10 เดือน(ม.ค.-ต.ค.2552) มีปริมาณทั้งสิ้น 419,755 คัน ลดลง 17.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 175,552 คัน ลดลง 5.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 244,203 คัน ลดลง 25.0% รวมทั้งรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้มีจำนวน 211,377 คัน ลดลง 24.2%
ในส่วนของตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม มีปริมาณการขาย 53,271 คัน เพิ่มขึ้น 8.8% เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 18 เดือน โดยตลาดรถยนต์นั่งเติบโต 23.4% สูงสุดในรอบปี จากความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์หลายรุ่นทั้งขนาดกลางและเล็ก ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตไม่เปลี่ยนแปลง โดยตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.5% เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการลงทุนของภาคเอกชน ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ส่งผลต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ไม่เปลี่ยนแปลง และราคาสินค้าการเกษตรบางชนิดมีการปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ยอดขายสะสม 10 เดือน ที่ทำได้ 419,755 คัน ลดลง 17.7% นั้น เป็นอัตราการเติบโตที่หดตัวน้อยที่สุดของปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 5.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 25.0% ทั้งนี้ยอดขายรถยนต์สะสมยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในท้ายไตรมาส 3 ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การเร่งจ่ายงบประมาณภาครัฐ ตลอดจนการดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ดำเนินการในครึ่งปีหลัง ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น
นายวุฒิกร ยังประเมินว่า ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน น่าจะมีปริมาณการขายดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆ ตลอดจนข้อเสนอพิเศษต่างๆ ที่แต่ละค่ายนำมาเสนอต่อผู้บริโภค เพื่อหวังบรรลุเป้าหมายทางการขายในช่วงสิ้นปี ประกอบกับราคาสินค้าการเกษตรที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการประกันราคาพืชผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน แต่อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
ตารางแสดงยอดขายรวม
ยี่ห้อ | ต.ค.52 | ม.ค.-ต.ค.52 | ม.ค.-ต.ค.51 | อัตราเติบโต(%) |
โตโยต้า | 23,786 | 177,666 | 216,456 | -17.9 |
อีซูซุ | 10,614 | 85,772 | 111,792 | -23.3 |
ฮอนด้า | 9,009 | 72,008 | 72,145 | -0.2 |
นิสสัน | 2,535 | 22,303 | 26,765 | -16.7 |
มิตซูบิชิ | 2,167 | 14,396 | 19,955 | -27.9 |
มาสด้า | 916 | 8,451 | 9,365 | -9.8 |
ฮีโน่ | 966 | 5,483 | 6,025 | -9.0 |
ซูซูกิ | 245 | 1,940 | 6,657 | -70.9 |
นิสสัน ดีเซล | 80 | 480 | 828 | -42.0 |
มิตซู ฟูโซ่ | 64 | 1,095 | 1,289 | -15.1 |
ซูบารุ | 12 | 112 | 122 | -8.2 |
รวมค่ายญี่ปุ่น | 50,127 | 389,706 | 471,399 | -17.3 |
ฮุนได | 95 | 1,254 | 732 | +71.3 |
เกีย | 22 | 301 | 337 | -10.7 |
แดวู | 0 | 27 | 65 | -58.5 |
เชฟโรเลต | 1,101 | 11,684 | 19,178 | -39.1 |
ฟอร์ด | 697 | 5,933 | 7,849 | -24.4 |
โปรตอน | 257 | 2,328 | 2,669 | -12.8 |
เบนซ์ | 255 | 3,466 | 3,579 | -3.2 |
BMW | 207 | 1,688 | 1,621 | +4.1 |
ทาทา | 172 | 839 | 157 | +468.8 |
วอลโว่ | 98 | 587 | 772 | -24.0 |
โฟล์คสวาเกน | 22 | 358 | 290 | +23.4 |
วูหลิ่ง | 18 | 211 | 357 | -40.9 |
เปอโยต์ | 11 | 71 | 106 | -33.0 |
อื่นๆ | 189 | 1,248 | 1,089 | +14.6 |
รวม | 53,271 | 419,755 | 510,200 | -17.7 |