กระแสการตอบรับของผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อรถยนต์ขนาดเล็ก รูปทรงแฮตช์แบ็ก เครื่องยนต์ไม่เกิน 1500 ซีซี ช่วงเวลานี้ถือว่ากำลังอยู่ในจังหวะขาขึ้น หลังมีน้องใหม่เปิดตัวเข้าสู่ตลาดเพิ่ม “มาสด้า 2” และ “ซูซูกิ สวิฟท์” โดยตัวแรกสามารถกอบโกยยอดขายไปอย่างเป็นกอบเป็นกำ ขณะที่ สวิฟท์ แม้จะเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการแต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคเช่นกัน
เมื่อมีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาดทีมงาน “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จึงขอนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันทั้งรถใหม่และรถที่ทำตลาดอยู่ก่อนแล้วอย่าง “โตโยต้า ยาริส” และ “ฮอนด้า แจ๊ซ” รวม 4 รุ่น โดยจะเป็นการเปรียบเทียบสเปกในรุ่นท็อปสุดตามคู่มือรวมกับราคาและข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะไม่ใช้ความสวยหรือความชอบเข้ามาเกี่ยว เนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องนานาจิตตังที่ทุกคนสามารถเห็นแตกต่างกันได้อย่างอิสระ
เริ่มต้นด้วย ฮอนด้า แจ๊ซ ในฐานะเจ้าตลาดรถและผู้แจ้งเกิดรถแบบแฮตช์แบ็ก 5 ประตูในประเทศไทย โดยโมเดลปัจจุบันเป็นเจนเนอเรชันที่ 2 ของการทำตลาดเปิดตัวเมื่อ 24 มี.ค.2551 สำหรับ โตโยต้า ยาริส เปิดตัวเมื่อ 17 ม.ค.ปี 2549 และเพิ่งจะไมเนอร์เชนจ์เมื่อ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ มาสด้า 2 เปิดตัว 17 พฤศจิกายนปีนี้เช่นกัน ส่วน ซูซูกิ สวิฟท์ เผยโฉมในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
สำหรับการเปรียบเทียบจากสเปก (ดูตารางประกอบ) ขนาดความยาว ฮอนด้า แจ๊ซ จะยาวที่สุด ทั้งขนาดตัวรถ และช่วงล้อ โดยตัวรถยาวกว่า ซูซูกิ สวิฟท์ ที่สั้นที่สุดถึง 165 มม. และช่วงล้อยาวกว่า 110 มม. ขณะที่ความกว้างภายนอกพอๆ กันที่ 1695 มม. ส่วนความกว้างของช่วงล้อจะใกล้เคียงกัน ยาริส, แจ๊ซ และมาสด้า 2 จะมีช่วงล้อหน้ากว้างกว่าช่วงล้อหลัง แตกต่างจากสวิฟท์ที่มีช่วงล้อหลังกว้างกว่าช่วงล้อหน้า
น้ำหนักของตัวรถ สวิฟท์จะเบาที่สุด ด้วยนำหนักรถเปล่า 1,000 กิโลกรัม ส่วนรถหนักที่สุดคือ แจ๊ซ 1,115 กิโลกรัม แต่เมื่อเทียบกับพละกำลังที่มีมาให้ แจ๊ซจะมีแรงม้าต่อน้ำหนักดีที่สุด คือ 1 แรงม้าแบกน้ำหนัก 9.29 กิโลกรัม รองลงมาเป็นสวิฟท์กับยาริส ที่ 1 แรงม้าต่อ 10 กิโลกรัม และมาสด้า 2 กำลัง 1 แรงม้าแบกน้ำหนัก 10.29 กิโลกรัม แม้ตัวเลขนี้จะไม่ใช่บทสรุปของสมรรถนะแต่แสดงถึงภาระเบี้องต้นของเครื่องยนต์ที่ต้องแบกรับเอา
เครื่องยนต์ของทุกคันจะมีระบบวาล์วแปรผัน เทคโนโลยีที่ถ่ายทอดมาเหมือนกันทุกรุ่น แต่อาจจะแตกต่างในด้านของการปรับแต่งระยะและเวลาเปิด-ปิดวาล์ว ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ โดยแจ๊ซเป็นเครื่องยนต์แบบ SOHC มีพละกำลังมากที่สุด 120 แรงม้า/6,600 รอบต่อนาที (รตน.) ตามมาด้วยยาริส DOHC 109 แรงม้า/6,000 รตน. มาสด้า 2 DOHC 103 แรงม้า/6,000 รตน. และสวิฟท์ DOHC 100 แรงม้า/6,000 รตน.
ในด้านของแรงบิดก็เรียงลำดับตามพละกำลังเช่นกัน แจ๊ซมีแรงบิดสูงที่สุด คือ 145 นิวตันเมตร/4,800 รตน. ยาริส 141 นิวตันเมตร/4,200 รตน. มาสด้า 2 แรงบิดสูงสุด 135 นิวตันเมตร/4,000 รตน. และสวิฟท์ 133 นิวตันเมตร/4,000 รตน.
เมื่อพิจารณาตัวเลขจะเห็นว่าแจ๊ซมีพละกำลังกำลังสูงสุด แต่ก็มาในรอบเครื่องยนต์สูงกว่าคู่แข่งเช่นกัน สิ่งนี้มีทั้งด้านบวกและลบต่อการใช้งานของผู้บริโภค นั่นก็คือ ด้านบวกรถให้การตอบสนองที่ดีและแรงกว่า ในทางตรงกันข้าม เครื่องยนต์ก็จำต้องรับภาระหนักกว่าในเวลาที่ผู้ขับต้องการกำลังสูงสุด ตัวอย่างเช่น ยาริส เร่งรอบเครื่อง 6,000 รตน.ก็จะได้พละกำลังสูงสุดแล้ว (เร่งเกินกว่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์) ส่วนแจ๊ซต้องเร่งถึง 6,600 รตน.จึงจะได้พละกำลังสูงสุด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ขับว่าชอบรถที่ให้ลักษณะการตอบสนองแบบใดมากกว่ากัน
ส่วนระบบส่งกำลังทุกคันเป็นเกียร์อัตโนมัติเหมือนกัน แจ๊ซเป็นเพียงรุ่นเดียวที่มี 5 สปีด พร้อมแป้น Paddle Shift หลังพวงมาลัยให้ผู้ขับเปลี่ยนเกียร์ได้โดยไม่ต้องละมือจากพวงมาลัย ขณะที่รุ่นอื่นเป็นระบบเกียร์ 4 สปีด โดยยาริสและสวิฟท์มีคันเกียร์แบบขั้นบันได
น้ำมันที่ใช้เติมทุกรุ่นสามารถเติมน้ำมันเบนซินทุกชนิดตั้งแต่ อี20 ลงมาได้ เว้นเพียงสวิฟท์รุ่นเดียวที่เติม อี20 ไม่ได้เติมได้แค่อี10 สำหรับมาตรฐานไอเสีย แจ๊ซและมาสด้า 2 ผ่านมาตรฐานไอเสียยูโรสเตป 4 แล้ว คือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากว่า คู่แข่ง ยาริสและสวิฟท์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียเพียงยูโรสเตป 3 เท่านั้น
ช่วงล่างทุกรุ่นใช้ระบบเดียวกันคือ ด้านหน้าเป็นแม็กเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังเป็นแบบทอร์ชันบีมหรือคานแข็ง เพื่อประโยชน์ด้านการเพิ่มพื้นที่ใช้สอบภายในห้องโดยสาร แม้จะเหมือนกันในรูปแบบแต่ทุกคันจะแตกต่างกันตามการปรับแต่งของวิศวกรผู้ออกแบบรถของแต่ละค่าย ประเด็นนี้เห็นว่า ผู้บริโภคควรจะมีการทดลองขับก่อนจึงจะทราบถึงลักษณะการเซตช่วงล่างของแต่ละคันว่าถูกใจตัวเองหรือไม่
ระบบเบรก ด้านหน้าทุกคันเป็นดิสก์เบรก ส่วนด้านหลังมีเพียง ยาริส และแจ๊ซ ที่เป็นดิสก์เบรก มาสด้า 2 กับสวิฟท์ จะเป็นดรัมเบรก เนื่องจาก 2 รุ่นมองว่าดรัมเบรกเพียงพอแล้วที่จะหยุดพละกำลังของรถที่ตัวเองมีอยู่ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและค่าบำรุงดูแลรักษาของผู้บริโภคในระยะยาวได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานภายนอกที่ให้มา แจ๊ซกับมาสด้า 2 ให้ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว ส่วนยาริสและสวิฟท์เป็นขนาด 15 นิ้ว ซึ่งมาสด้า 2 มีขนาดหน้ายางกว้างที่สุด ไฟตัดหมอกติดตั้งเป็นมาตรฐานทุกคัน ยกเว้นแจ๊ซ กระจกมองข้างปรับและพับไฟฟ้า พร้อมไฟเลี้ยวเหมือนกันมีเพียง มาสด้า 2 เท่านั้นที่ไม่มีไฟเลี้ยวในกระจกมองข้าง
ส่วนอุปกรณ์ภายใน ทุกคันมาตรฐานเป็นเบาะผ้าสีดำเหมือนกัน เบาะนั่งด้านหลังแยกพับได้สัดส่วน 60:40 พวงมาลัยมัลติฟังก์ชัน ทุกรุ่นมีเครื่องเสียงซีดี เอ็มพี3 เป็นมาตรฐาน พร้อมช่องต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นโดย แจ๊ซเป็นแบบ USB ยาริสกับมาสด้า 2 เป็นแบบ AUX ขณะที่สวิฟท์ไม่มีช่องต่อ
ด้านความปลอดภัยทุกคันมีระบบเบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS ขณะที่ระบบเสริมแรงเบรก BA มีครบทุกคันขาดเพียงมาสด้า 2 ที่มิได้ใส่มาให้ ส่วนระบบป้องกันการขโมยทุกคันเป็นกุญแจ Immobilizer พร้อมสัญญาณกันขโมย โดยยาริส, มาสด้า 2 และสวิฟท์ มีระบบเปิดรถและติดเครื่องได้โดยไม่ต้องหยิบกุญแจออกจากกระเป๋า และยาริสเป็นเพียงรุ่นเดียวที่มีปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์
สนนราคาค่าตัว ยาริส สูงที่สุด 714,000 บาท ตามมาด้วย แจ๊ซ 705,000 บาท มาสด้า 2 ราคา 690,000 บาท และสวิฟท์ ถูกที่สุด 649,000 บาท
อีกปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจ คือ ด้านศูนย์บริการ ต้องยอมรับว่าโตโยต้ามีจำนวนศูนย์มากที่สุดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ฮอนด้าราว 150 แห่ง มาสด้า 106 แห่ง และซูซูกิ 44 แห่ง แต่หากเป็นศูนย์บริการตามมาตฐานใหม่ของซูซูกิจะมีเพียงแห่งเดียวที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง
ถึงบรรทัดนี้ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม อุปกรณ์และออพชั่นส่วนมากจะมีเหมือนกันแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่กี่รายการ ซึ่ง ฮอนด้า แจ๊ซ เด่นด้วยตัวถังขนาดใหญ่และพละกำลังมากที่สุด ขณะที่ มาสด้า 2 ได้ความสดใหม่ ซูซูกิสวิฟท์ ราคาถูกสุด ขณะที่ โตโยต้า ยาริส ชื่อชั้นโตโยต้าการันตีได้ ใครรักชอบคันไหนก็สุดแท้แต่ใจปรารถนา
ตารางเปรียบเทียบ
เมื่อมีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาดทีมงาน “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จึงขอนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันทั้งรถใหม่และรถที่ทำตลาดอยู่ก่อนแล้วอย่าง “โตโยต้า ยาริส” และ “ฮอนด้า แจ๊ซ” รวม 4 รุ่น โดยจะเป็นการเปรียบเทียบสเปกในรุ่นท็อปสุดตามคู่มือรวมกับราคาและข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะไม่ใช้ความสวยหรือความชอบเข้ามาเกี่ยว เนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องนานาจิตตังที่ทุกคนสามารถเห็นแตกต่างกันได้อย่างอิสระ
เริ่มต้นด้วย ฮอนด้า แจ๊ซ ในฐานะเจ้าตลาดรถและผู้แจ้งเกิดรถแบบแฮตช์แบ็ก 5 ประตูในประเทศไทย โดยโมเดลปัจจุบันเป็นเจนเนอเรชันที่ 2 ของการทำตลาดเปิดตัวเมื่อ 24 มี.ค.2551 สำหรับ โตโยต้า ยาริส เปิดตัวเมื่อ 17 ม.ค.ปี 2549 และเพิ่งจะไมเนอร์เชนจ์เมื่อ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ มาสด้า 2 เปิดตัว 17 พฤศจิกายนปีนี้เช่นกัน ส่วน ซูซูกิ สวิฟท์ เผยโฉมในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
สำหรับการเปรียบเทียบจากสเปก (ดูตารางประกอบ) ขนาดความยาว ฮอนด้า แจ๊ซ จะยาวที่สุด ทั้งขนาดตัวรถ และช่วงล้อ โดยตัวรถยาวกว่า ซูซูกิ สวิฟท์ ที่สั้นที่สุดถึง 165 มม. และช่วงล้อยาวกว่า 110 มม. ขณะที่ความกว้างภายนอกพอๆ กันที่ 1695 มม. ส่วนความกว้างของช่วงล้อจะใกล้เคียงกัน ยาริส, แจ๊ซ และมาสด้า 2 จะมีช่วงล้อหน้ากว้างกว่าช่วงล้อหลัง แตกต่างจากสวิฟท์ที่มีช่วงล้อหลังกว้างกว่าช่วงล้อหน้า
น้ำหนักของตัวรถ สวิฟท์จะเบาที่สุด ด้วยนำหนักรถเปล่า 1,000 กิโลกรัม ส่วนรถหนักที่สุดคือ แจ๊ซ 1,115 กิโลกรัม แต่เมื่อเทียบกับพละกำลังที่มีมาให้ แจ๊ซจะมีแรงม้าต่อน้ำหนักดีที่สุด คือ 1 แรงม้าแบกน้ำหนัก 9.29 กิโลกรัม รองลงมาเป็นสวิฟท์กับยาริส ที่ 1 แรงม้าต่อ 10 กิโลกรัม และมาสด้า 2 กำลัง 1 แรงม้าแบกน้ำหนัก 10.29 กิโลกรัม แม้ตัวเลขนี้จะไม่ใช่บทสรุปของสมรรถนะแต่แสดงถึงภาระเบี้องต้นของเครื่องยนต์ที่ต้องแบกรับเอา
เครื่องยนต์ของทุกคันจะมีระบบวาล์วแปรผัน เทคโนโลยีที่ถ่ายทอดมาเหมือนกันทุกรุ่น แต่อาจจะแตกต่างในด้านของการปรับแต่งระยะและเวลาเปิด-ปิดวาล์ว ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ โดยแจ๊ซเป็นเครื่องยนต์แบบ SOHC มีพละกำลังมากที่สุด 120 แรงม้า/6,600 รอบต่อนาที (รตน.) ตามมาด้วยยาริส DOHC 109 แรงม้า/6,000 รตน. มาสด้า 2 DOHC 103 แรงม้า/6,000 รตน. และสวิฟท์ DOHC 100 แรงม้า/6,000 รตน.
ในด้านของแรงบิดก็เรียงลำดับตามพละกำลังเช่นกัน แจ๊ซมีแรงบิดสูงที่สุด คือ 145 นิวตันเมตร/4,800 รตน. ยาริส 141 นิวตันเมตร/4,200 รตน. มาสด้า 2 แรงบิดสูงสุด 135 นิวตันเมตร/4,000 รตน. และสวิฟท์ 133 นิวตันเมตร/4,000 รตน.
เมื่อพิจารณาตัวเลขจะเห็นว่าแจ๊ซมีพละกำลังกำลังสูงสุด แต่ก็มาในรอบเครื่องยนต์สูงกว่าคู่แข่งเช่นกัน สิ่งนี้มีทั้งด้านบวกและลบต่อการใช้งานของผู้บริโภค นั่นก็คือ ด้านบวกรถให้การตอบสนองที่ดีและแรงกว่า ในทางตรงกันข้าม เครื่องยนต์ก็จำต้องรับภาระหนักกว่าในเวลาที่ผู้ขับต้องการกำลังสูงสุด ตัวอย่างเช่น ยาริส เร่งรอบเครื่อง 6,000 รตน.ก็จะได้พละกำลังสูงสุดแล้ว (เร่งเกินกว่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์) ส่วนแจ๊ซต้องเร่งถึง 6,600 รตน.จึงจะได้พละกำลังสูงสุด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ขับว่าชอบรถที่ให้ลักษณะการตอบสนองแบบใดมากกว่ากัน
ส่วนระบบส่งกำลังทุกคันเป็นเกียร์อัตโนมัติเหมือนกัน แจ๊ซเป็นเพียงรุ่นเดียวที่มี 5 สปีด พร้อมแป้น Paddle Shift หลังพวงมาลัยให้ผู้ขับเปลี่ยนเกียร์ได้โดยไม่ต้องละมือจากพวงมาลัย ขณะที่รุ่นอื่นเป็นระบบเกียร์ 4 สปีด โดยยาริสและสวิฟท์มีคันเกียร์แบบขั้นบันได
น้ำมันที่ใช้เติมทุกรุ่นสามารถเติมน้ำมันเบนซินทุกชนิดตั้งแต่ อี20 ลงมาได้ เว้นเพียงสวิฟท์รุ่นเดียวที่เติม อี20 ไม่ได้เติมได้แค่อี10 สำหรับมาตรฐานไอเสีย แจ๊ซและมาสด้า 2 ผ่านมาตรฐานไอเสียยูโรสเตป 4 แล้ว คือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากว่า คู่แข่ง ยาริสและสวิฟท์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียเพียงยูโรสเตป 3 เท่านั้น
ช่วงล่างทุกรุ่นใช้ระบบเดียวกันคือ ด้านหน้าเป็นแม็กเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังเป็นแบบทอร์ชันบีมหรือคานแข็ง เพื่อประโยชน์ด้านการเพิ่มพื้นที่ใช้สอบภายในห้องโดยสาร แม้จะเหมือนกันในรูปแบบแต่ทุกคันจะแตกต่างกันตามการปรับแต่งของวิศวกรผู้ออกแบบรถของแต่ละค่าย ประเด็นนี้เห็นว่า ผู้บริโภคควรจะมีการทดลองขับก่อนจึงจะทราบถึงลักษณะการเซตช่วงล่างของแต่ละคันว่าถูกใจตัวเองหรือไม่
ระบบเบรก ด้านหน้าทุกคันเป็นดิสก์เบรก ส่วนด้านหลังมีเพียง ยาริส และแจ๊ซ ที่เป็นดิสก์เบรก มาสด้า 2 กับสวิฟท์ จะเป็นดรัมเบรก เนื่องจาก 2 รุ่นมองว่าดรัมเบรกเพียงพอแล้วที่จะหยุดพละกำลังของรถที่ตัวเองมีอยู่ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและค่าบำรุงดูแลรักษาของผู้บริโภคในระยะยาวได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานภายนอกที่ให้มา แจ๊ซกับมาสด้า 2 ให้ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว ส่วนยาริสและสวิฟท์เป็นขนาด 15 นิ้ว ซึ่งมาสด้า 2 มีขนาดหน้ายางกว้างที่สุด ไฟตัดหมอกติดตั้งเป็นมาตรฐานทุกคัน ยกเว้นแจ๊ซ กระจกมองข้างปรับและพับไฟฟ้า พร้อมไฟเลี้ยวเหมือนกันมีเพียง มาสด้า 2 เท่านั้นที่ไม่มีไฟเลี้ยวในกระจกมองข้าง
ส่วนอุปกรณ์ภายใน ทุกคันมาตรฐานเป็นเบาะผ้าสีดำเหมือนกัน เบาะนั่งด้านหลังแยกพับได้สัดส่วน 60:40 พวงมาลัยมัลติฟังก์ชัน ทุกรุ่นมีเครื่องเสียงซีดี เอ็มพี3 เป็นมาตรฐาน พร้อมช่องต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นโดย แจ๊ซเป็นแบบ USB ยาริสกับมาสด้า 2 เป็นแบบ AUX ขณะที่สวิฟท์ไม่มีช่องต่อ
ด้านความปลอดภัยทุกคันมีระบบเบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS ขณะที่ระบบเสริมแรงเบรก BA มีครบทุกคันขาดเพียงมาสด้า 2 ที่มิได้ใส่มาให้ ส่วนระบบป้องกันการขโมยทุกคันเป็นกุญแจ Immobilizer พร้อมสัญญาณกันขโมย โดยยาริส, มาสด้า 2 และสวิฟท์ มีระบบเปิดรถและติดเครื่องได้โดยไม่ต้องหยิบกุญแจออกจากกระเป๋า และยาริสเป็นเพียงรุ่นเดียวที่มีปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์
สนนราคาค่าตัว ยาริส สูงที่สุด 714,000 บาท ตามมาด้วย แจ๊ซ 705,000 บาท มาสด้า 2 ราคา 690,000 บาท และสวิฟท์ ถูกที่สุด 649,000 บาท
อีกปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจ คือ ด้านศูนย์บริการ ต้องยอมรับว่าโตโยต้ามีจำนวนศูนย์มากที่สุดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ฮอนด้าราว 150 แห่ง มาสด้า 106 แห่ง และซูซูกิ 44 แห่ง แต่หากเป็นศูนย์บริการตามมาตฐานใหม่ของซูซูกิจะมีเพียงแห่งเดียวที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง
ถึงบรรทัดนี้ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม อุปกรณ์และออพชั่นส่วนมากจะมีเหมือนกันแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่กี่รายการ ซึ่ง ฮอนด้า แจ๊ซ เด่นด้วยตัวถังขนาดใหญ่และพละกำลังมากที่สุด ขณะที่ มาสด้า 2 ได้ความสดใหม่ ซูซูกิสวิฟท์ ราคาถูกสุด ขณะที่ โตโยต้า ยาริส ชื่อชั้นโตโยต้าการันตีได้ ใครรักชอบคันไหนก็สุดแท้แต่ใจปรารถนา
ตารางเปรียบเทียบ
โตโยต้า ยาริส | ฮอนด้า แจ๊ซ | มาสด้า 2 | ซูซูกิ สวิฟท์ | ||
ขนาด | ยาว(มม.) | 3,785 | 3,920 | 3,913 | 3,755 |
กว้าง(มม.) | 1,695 | 1,695 | 1,695 | 1,690 | |
สูง(มม.) | 1,520 | 1,525 | 1,478 | 1,510 | |
ความยาวช่วงล้อ | (มม.) | 2,460 | 2,500 | 2,490 | 2,390 |
ความกว้างช่วงล้อ | หน้า(มม.) | 1,470 | 1,476 | 1,465 | 1,470 |
หลัง(มม.) | 1,460 | 1,459 | 1,455 | 1,480 | |
ระยะต่ำสุดจากพื้น | (มม.) | 140 | 150 | na | 145 |
รัศมีวงเลี้ยว | เมตร | 4.7 | 4.9 | 4.9 | 4.7 |
น้ำหนักรถ | กิโลกรัม | 1,090 | 1,115 | 1,060 | 1,000 |
เครื่องยนต์ | 1NZ-FE | L15A7 | MZR | M15A | |
แบบ | 4 สูบ 16 วาล์ว DOHC VVT-i | 4 สูบ 16 วาล์ว SOHC i-VTEC | 4 สูบ 16 วาล์ว DOHC S-VT/TSCV | 4 สูบ 16 วาล์ว DOHC VVT | |
ความจุกระบอกสูบ | 1,497 | 1,497 | 1,498 | 1,490 | |
กำลังสูงสุด | แรงม้า/รตน. | 109/6,000 | 120/6,600 | 103/6,000 | 100/6,000 |
แรงบิดสูงสุด | นิวตันเมตร/รตน. | 141/4,200 | 145/4,800 | 135/4,000 | 133/4,000 |
ระบบจ่ายน้ำมัน | มัลติพอยต์ EFI | มัลติพอยต์ PGM-FI | มัลติพอยต์ | มัลติพอยต์ MPI | |
มาตรฐานไอเสีย | ยูโร 3 | ยูโร 4 | ยูโร 4 | ยูโร 3 | |
ความจุถังน้ำมัน | 42 | 42 | 43 | 43 | |
ชนิดน้ำมันที่ใช้ | E20/E10/91/95 | E20/E10/91/95 | E20/E10/91/95 | E10/91/95 | |
ระบบส่งกำลัง | ออโต้ 4 สปีด (Gate Type) | ออโต้ 5 สปีด (Grade Logic Control) | ออโต้ 4 สปีด | ออโต้ 4 สปีด (แบบขั้นบันได) | |
ระบบกันสะเทือน | หน้า | แม็กเฟอร์สันสตรัท | แม็กเฟอร์สันสตรัท อิสระ | แม็กเฟอร์สันสตรัท อิสระ | แม็กเฟอร์สันสตรัท อิสระ |
หลัง | ทอร์ชันบีม/คอยล์สปริง | ทอร์ชันบีม H-shape | กึ่งอิสระ ทอร์ชันบีม | ทอร์ชันบีม/คอยล์สปริง | |
ระบบเบรก | หน้า | ดิสก์ | ดิสก์มีช่องระบายความร้อน | ดิสก์มีช่องระบายความร้อน | ดิสก์มีช่องระบายความร้อน |
หลัง | ดิสก์ | ดิสก์ | ดรัมเบรก | ดรัมเบรก | |
ขนาดยาง/ล้อ | 185/60 R15 | 185/55 R16 | 195/45 R16 | 185/60 R15 | |
ไฟหน้า | มัลติรีเฟลกเตอร์ | มัลติรีเฟลกเตอร์ | มัลติรีเฟลกเตอร์ | ฮาโลเจน | |
ไฟตัดหมอก | หน้า-หลัง | ออปชัน | หน้า | หน้า | |
พวงมาลัย | เพาเวอร์ไฟฟ้า(EPS) | เพาเวอร์ไฟฟ้า(EPS) | เพาเวอร์ไฟฟ้า(EPAS) | เพาเวอร์ไฟฟ้า(EPS) | |
เบาะนั่ง | ผ้าสีดำ | ผ้าสีดำ ผ้าสีดำ | ผ้าสีดำ | ผ้าสีดำ | |
เบาะนั่งหลัง | แยกพับได้ 60-40 | เอนได้/แยกพับได้ 60-40 | แยกพับได้ 60-40 | แยกพับได้ 60-40 | |
กระจกมองข้างพับเก็บไฟฟ้า/ไฟเลี้ยว | มี/มี | มี/มี | มี/ไม่มี | มี/มี | |
กระจกไฟฟ้า | 4 บานป้องกันการหนีบ (เฉพาะผู้ขับ) | 4 บานป้องกันการหนีบ (เฉพาะผู้ขับ) | 4 บาน | 4 บาน | |
สวิตช์ควบคุมเครื่องเสียงบนพวงมาลัย | มี | มี | มี | มี | |
เครื่องเสียง/ลำโพง | CD MP3 มีช่องต่อ AUX 6 จุด | CD MP3 มีช่องต่อ USB | CD MP3 มีช่องต่อ AUX 4 จุด | 2 Din CD-MP3 4 จุด | |
เบรก ABS | มี | มี | มี | มี | |
ระบบกระจายแรงเบรก EBD | มี | มี | มี | มี | |
ระบบเสริมแรงเบรก BA | มี | มี | ไม่มี | มี | |
ถุงลมนิรภัย | คู่หน้า | คู่หน้า | คู่หน้า | คู่หน้า | |
ระบบป้องกันการโจรกรรม | กุญแจ Immobilizer/TDS | กุญแจ Immobilizer/สัญญากันขโมย | กุญแจ Immobilizer/สัญญากันขโมย | กุญแจ Immobilizer | |
น้ำหนักรถ/กำลังสูงสุด | (กิโลกรัมต่อแรงม้า) | 10 ต่อ 1 | 9.29 ต่อ 1 | 10.29 ต่อ 1 | 10ต่อ1 |
ออปชันที่แตกต่าง | Push Start | ปุ่ม Paddle Shift | ระบบแอร์ออโต้ | ||
ผู้ผลิต | บ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด | บ.ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด | บ.มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด | บ.พีที ซูซูกิ อินโดโมบิล จำกัด | |
ราคา | (บาท) | 714,000 | 705,000 | 690,000 | 649,000 |