ทิ้งระยะนานรวม 4 ปีนับจากการเปิดตัวเวอร์ชันต้นแบบที่งานโชว์ในดีทรอยต์เมื่อปี 2005 ตอนนี้เล็กซัส แบรนด์ระดับหรูของโตโยต้า เดินหน้าลุยตลาดซูเปอร์คาร์ครั้งใหม่ด้วย LFA ความสปอร์ตที่เพียบพร้อมด้วยความหรูและความแรง ด้วยเครื่องยนต์วี10 4,800 ซีซีบล็อกใหม่ล่าสุดที่ได้รับการเติมความร้อนแรงด้วยตัวเลขของแรงม้าในระดับเกิน 500 ตัว
เล็กซัสนำ LFA ออกเปิดตัวครั้งแรกในงาน โตเกียว มอเตอร์โชว์ 2009 ที่ประเทศญี่ปุ่น และแม้ว่าจะใช้ชื่อรุ่นแบบเดียวกับต้นแบบ แต่ทว่ารายละเอียดของรูปลักษณ์รอบคัน โดยเฉพาะด้านหน้ากลับได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดแต่ก็มีกลิ่นอายของเค้าโครงจากตัวต้นแบบด้วยเช่นกันอย่างท่อไอเสียแบบ 3 ท่อวางเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมและติดตั้งอยู่ตรงกลางตรงส่วน Diffuser ของกันชนหลัง ซึ่งเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของสปอร์ตรุ่นนี้ก็ว่าได้
ตัวรถได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของ Front-Mid Engine ซึ่งเครื่องยนต์ว่างด้านหน้า โดยเครื่องยนต์จะถูกร่นให้ชิดกับผนังห้องเครื่องมากที่สุดและแนวด้านหน้าของตัวเครื่องก็จะวางอยู่ด้านหลังของแนวเพลาหน้า เพื่อประโยชน์ในเรื่องของการกระจายน้ำหนักระหว่างด้านหน้าและหลัง และชุดเกียร์แบบซีเควนเชียล 6 จังหวะก็วางอยู่ด้านท้ายตรงเพลาท้าย ทำให้ LFA มีตัวเลขอยู่ที่ 48:52%
ขณะที่มิติตัวถังมีความยาว 4,505 มิลลิเมตร กว้าง 1,895 มิลลิเมตร สูง 1,220 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,605 มิลลิเมตร เพิ่มความดุดันด้วยล้อแม็กแบบ Forged ขนาด 20 นิ้วของ BBS
ทีมวิศวกรของเล็กซัสจัดการนำวัสดุที่มีน้ำหนักเบามาใช้ตามจุดต่างๆ ของตัวรถ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ หรือ CFRP-Carbon Fiber Reinforce Plastic สำหรับผลิตชิ้นส่วนตัวถัง และแกนของพวงมาลัย, อะลูมิเนียมสำหรับชิ้นส่วนในระบบกันสะเทือนซึ่งด้านหน้าเป็นแบบปีกนก 2 ชั้นและด้านหลังแบบมัลติลิงก์ หรือดิสก์เบรกที่ผลิตจากคาร์บอนเซรามิก หรือ CCM-Carbon Ceramic Material ซึ่งด้านหน้ามีขนาด 390 มิลลิเมตรและด้านหลัง 360 มิลลิเมตร รวมถึงถอดอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ระบบเครื่องเสียงออกไป (แต่สามารถเลือกติดตั้งได้โดยเป็นออพชั่น) ผลคือ ตัวรถมีน้ำหนักอยู่ที่ 1,480-1,580 กิโลกรัมเท่านั้น
เครื่องยนต์เป็นบล็อกใหม่ล่าสุดในรหัส 1LR-GSE ที่ทางยามาฮ่ามีส่วนร่วมในการพัฒนา และทางเล็กซัสเคยนำออกทดสอบในสนามแข่งมาแล้วในรายการ 24 ชั่วโมงที่นูร์บูร์กริงเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยตัวบล็อกเป็นแบบวี10 ทวินแคม 40 วาล์ว พร้อมวาล์วแปรผันแบบ Dual VVT-i มีความจุ 4,805 ซีซี พร้อมกำลังสูงสุด 552 แรงม้า ที่ 8,700 รอบ/นาที และแรงบิดสูงสุด 48.9 กก.-ม. ที่ 6,800 รอบ/นาที หรือคิดออกมาแล้วมีกำลังต่อลิตรอยู่ที่ 115 แรงม้า/ลิตร พร้อมระบบอ่างน้ำมันเครื่องแบบ Dry Sump ทำให้สามารถวางเครื่องยนต์ได้ต่ำลงเพื่อประโยชน์ในเรื่องจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถ
เมื่อจับคู่กับเกียร์แบบซีเควนเชียล ASG-Automated Sequential Gearbox แบบ 6 จังหวะ สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงใน 3.7 วินาที และความเร็วสูงสุด 325 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ที่เหนือกว่านั้นคือการเอาใจใส่ต่อเสียงคำรามของเครื่องยนต์ ซึ่งมีการปรับปรุงให้เสียงของเครื่องยนต์เวลาที่รอบเครื่องยนต์ตวัดเพราะการกระแทกคันเร่งตอบสนองได้ไม่แตกต่างจากเครื่องยนต์ของรถแข่งฟอร์มูลา วัน ซึ่งในอดีตเคยใช้เครื่องยนต์วี10 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นวี8 ในยุคปัจจุบัน
การผลิตของ LFA จะอยู่ที่โรงงาน Motomachi ของโตโยต้าในประเทศญี่ปุ่นด้วยการผลิตออกมาเพียง 500 คันเท่านั้น หรือคิดแล้วเฉลี่ย 20 คันต่อเดือนเพื่อให้ตัวรถมีความประณีตและพิถีพิถันสมกับเป็นซูเปอร์คาร์ระดับไฮเอนด์ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ก็จะได้รับการผลิตและประกอบโดยวิศวกรเพียงคนเดียวต่อ 1 บล็อกเหมือนกับของ AMG
ส่วนราคาอยู่ที่ 368,000 ยูโร หรือ 18.4 ล้านบาท เข้าบ้านเราเท่าไรลองเอา 3 คูณดู น่าจะได้ตัวเลขคร่าวๆ
เล็กซัสนำ LFA ออกเปิดตัวครั้งแรกในงาน โตเกียว มอเตอร์โชว์ 2009 ที่ประเทศญี่ปุ่น และแม้ว่าจะใช้ชื่อรุ่นแบบเดียวกับต้นแบบ แต่ทว่ารายละเอียดของรูปลักษณ์รอบคัน โดยเฉพาะด้านหน้ากลับได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดแต่ก็มีกลิ่นอายของเค้าโครงจากตัวต้นแบบด้วยเช่นกันอย่างท่อไอเสียแบบ 3 ท่อวางเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมและติดตั้งอยู่ตรงกลางตรงส่วน Diffuser ของกันชนหลัง ซึ่งเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของสปอร์ตรุ่นนี้ก็ว่าได้
ตัวรถได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของ Front-Mid Engine ซึ่งเครื่องยนต์ว่างด้านหน้า โดยเครื่องยนต์จะถูกร่นให้ชิดกับผนังห้องเครื่องมากที่สุดและแนวด้านหน้าของตัวเครื่องก็จะวางอยู่ด้านหลังของแนวเพลาหน้า เพื่อประโยชน์ในเรื่องของการกระจายน้ำหนักระหว่างด้านหน้าและหลัง และชุดเกียร์แบบซีเควนเชียล 6 จังหวะก็วางอยู่ด้านท้ายตรงเพลาท้าย ทำให้ LFA มีตัวเลขอยู่ที่ 48:52%
ขณะที่มิติตัวถังมีความยาว 4,505 มิลลิเมตร กว้าง 1,895 มิลลิเมตร สูง 1,220 มิลลิเมตร และระยะฐานล้อ 2,605 มิลลิเมตร เพิ่มความดุดันด้วยล้อแม็กแบบ Forged ขนาด 20 นิ้วของ BBS
ทีมวิศวกรของเล็กซัสจัดการนำวัสดุที่มีน้ำหนักเบามาใช้ตามจุดต่างๆ ของตัวรถ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ หรือ CFRP-Carbon Fiber Reinforce Plastic สำหรับผลิตชิ้นส่วนตัวถัง และแกนของพวงมาลัย, อะลูมิเนียมสำหรับชิ้นส่วนในระบบกันสะเทือนซึ่งด้านหน้าเป็นแบบปีกนก 2 ชั้นและด้านหลังแบบมัลติลิงก์ หรือดิสก์เบรกที่ผลิตจากคาร์บอนเซรามิก หรือ CCM-Carbon Ceramic Material ซึ่งด้านหน้ามีขนาด 390 มิลลิเมตรและด้านหลัง 360 มิลลิเมตร รวมถึงถอดอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ระบบเครื่องเสียงออกไป (แต่สามารถเลือกติดตั้งได้โดยเป็นออพชั่น) ผลคือ ตัวรถมีน้ำหนักอยู่ที่ 1,480-1,580 กิโลกรัมเท่านั้น
เครื่องยนต์เป็นบล็อกใหม่ล่าสุดในรหัส 1LR-GSE ที่ทางยามาฮ่ามีส่วนร่วมในการพัฒนา และทางเล็กซัสเคยนำออกทดสอบในสนามแข่งมาแล้วในรายการ 24 ชั่วโมงที่นูร์บูร์กริงเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยตัวบล็อกเป็นแบบวี10 ทวินแคม 40 วาล์ว พร้อมวาล์วแปรผันแบบ Dual VVT-i มีความจุ 4,805 ซีซี พร้อมกำลังสูงสุด 552 แรงม้า ที่ 8,700 รอบ/นาที และแรงบิดสูงสุด 48.9 กก.-ม. ที่ 6,800 รอบ/นาที หรือคิดออกมาแล้วมีกำลังต่อลิตรอยู่ที่ 115 แรงม้า/ลิตร พร้อมระบบอ่างน้ำมันเครื่องแบบ Dry Sump ทำให้สามารถวางเครื่องยนต์ได้ต่ำลงเพื่อประโยชน์ในเรื่องจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถ
เมื่อจับคู่กับเกียร์แบบซีเควนเชียล ASG-Automated Sequential Gearbox แบบ 6 จังหวะ สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงใน 3.7 วินาที และความเร็วสูงสุด 325 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ที่เหนือกว่านั้นคือการเอาใจใส่ต่อเสียงคำรามของเครื่องยนต์ ซึ่งมีการปรับปรุงให้เสียงของเครื่องยนต์เวลาที่รอบเครื่องยนต์ตวัดเพราะการกระแทกคันเร่งตอบสนองได้ไม่แตกต่างจากเครื่องยนต์ของรถแข่งฟอร์มูลา วัน ซึ่งในอดีตเคยใช้เครื่องยนต์วี10 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นวี8 ในยุคปัจจุบัน
การผลิตของ LFA จะอยู่ที่โรงงาน Motomachi ของโตโยต้าในประเทศญี่ปุ่นด้วยการผลิตออกมาเพียง 500 คันเท่านั้น หรือคิดแล้วเฉลี่ย 20 คันต่อเดือนเพื่อให้ตัวรถมีความประณีตและพิถีพิถันสมกับเป็นซูเปอร์คาร์ระดับไฮเอนด์ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ก็จะได้รับการผลิตและประกอบโดยวิศวกรเพียงคนเดียวต่อ 1 บล็อกเหมือนกับของ AMG
ส่วนราคาอยู่ที่ 368,000 ยูโร หรือ 18.4 ล้านบาท เข้าบ้านเราเท่าไรลองเอา 3 คูณดู น่าจะได้ตัวเลขคร่าวๆ