เปิดใจ "สตีฟ คาร์ไลส์" ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสเอเชีย โอเปอเรชั่น และเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) และเชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้กุมบังเหียนของ GM ในภูมิภาคนี้ หลัง GM Corp. ซึ่งเป็นบริษัทฯ แม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยื่นขอล้มละลายและเข้ารับการพิทักษ์ทรัพย์ ดังข่าวที่กำลังโด่งดังไปทั่วโลกขณะนี้
ซึ่งทีมงาน "ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง" รวบรวมคำถาม-คำตอบของผู้บริหารและบรรดาสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เข้าร่วมงานแถลงข่าวของ GM ในวันนี้ (2 มิ.ย.2552) ถึงแนวทางการดำเนินงานต่อไปในอนาคตของ GM ที่มีต่อภูมิภาคนี้และต่อเมืองไทย
จีเอ็ม ประเทศไทย อยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์หลังการยื่นขอล้มละลายของ GM Corp. ที่สหรัฐอเมริกา หรือไม่?
ไม่เกี่ยว จีเอ็ม ประเทศไทย ไม่ได้ขอยื่นล้มละลายด้วย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินและกระบวนการทางศาลในสหรัฐอเมริกา จะไม่มีผลกระทบกับการดำเนินการในภูมิภาคนี้ และเราคงไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการคลัง
ผลกระทบที่มีต่อจีเอ็ม ประเทศไทย หลังการขอยื่นล้มละลายของ GM Corp.?
มีด้วยกัน 2 ประการคือ หนึ่งเกี่ยวกับแบรนด์ ความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า ซึ่งแสดงอยู่ในยอดขาย โดยเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราเห็นตัวเลขที่ตกลงอย่างชัดเจน แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว ยอดขายกลับเข้าสู่ภาวะที่น่าพอใจ
ส่วนประการที่สอง คงเป็นเรื่องใหม่ของเรา ที่จะต้องดำเนินงานภายใต้การจัดหางบประมาณด้วยตัวเอง และจะยึดแนวทางการใช้เงินแบบพอเพียง
ภาพรวมยอดขายจีเอ็ม ในภูมิภาคอาเซียนขณะนี้?
ยอดขายของรถจีเอ็มในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค (รวมจีน และออสเตรเลีย) มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 5.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ตัวเลขจะดูเหมือนเติบโตช้า แต่ถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางเอาไว้ ส่วนยอดขายเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนนี้เราครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 3.6% หรือราว 30,000 กว่าคัน
สำหรับโรงงานในเมืองไทย ปกติเรามีกำลังผลิตปีละ 40,000 คัน แบ่งสัดส่วนเป็นส่งออกราว 80% ที่เหลือขายในประเทศไทย ทั้งนี้หลังเกิดวิกฤต ทำให้ยอดส่งออกของเราร่วงลงจากเดิมประมาณ 40-50% หรือเหลือเพียง 54% ของการผลิตทั้งหมด และในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้ เรามียอดขายในประเทศไทยราว 5,000 คัน
ทั้งนี้จากวิกฤตดังกล่าวเราจะไม่มีการปลดพนักงานฝ่ายผลิตอีก ปัจจุบันมีอยู่ราว 1,200 คน แต่เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการ เราได้ประกาศปิดโรงงานประกอบรถยนต์ที่ระยองเป็นเวลา 2 อาทิตย์ นับจากบัดนี้ และคาดว่าจะกลับมาเปิดดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์หลายๆ ด้านของบริษัทฯ
แนวทางการดำเนินการต่อไปของจีเอ็ม ประเทศไทย?
เราคงจะต้องพยายามลดต้นทุน บริหารสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มุ่งเน้นส่งเสริมด้านการขายให้แข็งแกร่ง ล่าสุดมีการเปิดโชว์รูมของเชฟโรเลต ใหม่อีกถึง 2 แห่ง
ส่วนแผนงานต่างๆ ยังคงเดินหน้าต่อไปเช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และรถปิกอัพใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการขอสนับสนุนด้านเงินทุน ซึ่งเราอยากได้ในรูปแบบของเงินกู้ ขณะที่เรื่องการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเปิดตัวรถรุ่น “ครูซ” (Cruz) ที่ประเทศมาเลยเซีย สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะเปิดตัวได้ราวปีหน้า (พ.ศ. 2553)
อยากให้รัฐบาลไทยช่วยเหลืออย่างไร?
เราได้ไปคุยกับรัฐบาลไทยมาแล้ว ซึ่งรัฐบาลให้คำตอบที่เป็นการสนับสนุนด้านจิตใจแก่เราอย่างดีมาก ทำให้เรามีความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการต่อไป
สิ่งที่จีเอ็มอยากได้มากที่สุดเวลานี้ เพื่อให้บริษัทอยู่รอด?
เงินทุน เราต้องการเงินสำหรับโครงการเครื่องยนต์ดีเซลและปิกอัพใหม่อีก 15,000 ล้านบาท โดยจะแบ่งเป็นการลงทุนใส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลราว 5,000 ล้านบาทและที่เหลือจะเป็นของการพัฒนารถปิกอัพใหม่ ซึ่งเราคาดว่าจะได้รับคำตอบภายใน 60-90 วัน และหากไม่ได้ก็ต้องหาทางอื่นต่อไป
จีเอ็ม จะทำให้ลูกค้าเข้าใจได้อย่างไรว่าไม่มีผลกระทบ?
ใช้เอกสารอธิบายว่า สิ่งเราพูดวันนี้เป็นความจริง ผลการดำเนินงานของ GM ใหม่ (บริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจาก GM Corp. เข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์และล้มละลาย) จะมีตัวเลขที่ดีมาก ซึ่งเราจะย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง และดำเนินการตามแนวทางควบคุมต้นทุน จัดการคลังสินค้า บริหารงบการขายและการตลาดให้สอดคล้องกับยอดขาย
ถึงบรรทัดนี้คงจะพอทำให้ลูกค้าและผู้บริโภคชาวไทยที่เป็นสาวกของแบรนด์รถยนต์อันดับ 1 ของอเมริกัน ได้พอใจชื้นขึ้นมาบ้าง ว่าอย่างไรจีเอ็มคงยังมีแผนจะสู้ต่อและคงจะไม่ล้มหายตายจากเมืองไทยไปง่ายๆ อย่างแน่นอน
ซึ่งทีมงาน "ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง" รวบรวมคำถาม-คำตอบของผู้บริหารและบรรดาสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ที่เข้าร่วมงานแถลงข่าวของ GM ในวันนี้ (2 มิ.ย.2552) ถึงแนวทางการดำเนินงานต่อไปในอนาคตของ GM ที่มีต่อภูมิภาคนี้และต่อเมืองไทย
จีเอ็ม ประเทศไทย อยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์หลังการยื่นขอล้มละลายของ GM Corp. ที่สหรัฐอเมริกา หรือไม่?
ไม่เกี่ยว จีเอ็ม ประเทศไทย ไม่ได้ขอยื่นล้มละลายด้วย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินและกระบวนการทางศาลในสหรัฐอเมริกา จะไม่มีผลกระทบกับการดำเนินการในภูมิภาคนี้ และเราคงไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการคลัง
ผลกระทบที่มีต่อจีเอ็ม ประเทศไทย หลังการขอยื่นล้มละลายของ GM Corp.?
มีด้วยกัน 2 ประการคือ หนึ่งเกี่ยวกับแบรนด์ ความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า ซึ่งแสดงอยู่ในยอดขาย โดยเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราเห็นตัวเลขที่ตกลงอย่างชัดเจน แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว ยอดขายกลับเข้าสู่ภาวะที่น่าพอใจ
ส่วนประการที่สอง คงเป็นเรื่องใหม่ของเรา ที่จะต้องดำเนินงานภายใต้การจัดหางบประมาณด้วยตัวเอง และจะยึดแนวทางการใช้เงินแบบพอเพียง
ภาพรวมยอดขายจีเอ็ม ในภูมิภาคอาเซียนขณะนี้?
ยอดขายของรถจีเอ็มในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค (รวมจีน และออสเตรเลีย) มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 5.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ตัวเลขจะดูเหมือนเติบโตช้า แต่ถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางเอาไว้ ส่วนยอดขายเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนนี้เราครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 3.6% หรือราว 30,000 กว่าคัน
สำหรับโรงงานในเมืองไทย ปกติเรามีกำลังผลิตปีละ 40,000 คัน แบ่งสัดส่วนเป็นส่งออกราว 80% ที่เหลือขายในประเทศไทย ทั้งนี้หลังเกิดวิกฤต ทำให้ยอดส่งออกของเราร่วงลงจากเดิมประมาณ 40-50% หรือเหลือเพียง 54% ของการผลิตทั้งหมด และในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้ เรามียอดขายในประเทศไทยราว 5,000 คัน
ทั้งนี้จากวิกฤตดังกล่าวเราจะไม่มีการปลดพนักงานฝ่ายผลิตอีก ปัจจุบันมีอยู่ราว 1,200 คน แต่เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการ เราได้ประกาศปิดโรงงานประกอบรถยนต์ที่ระยองเป็นเวลา 2 อาทิตย์ นับจากบัดนี้ และคาดว่าจะกลับมาเปิดดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์หลายๆ ด้านของบริษัทฯ
แนวทางการดำเนินการต่อไปของจีเอ็ม ประเทศไทย?
เราคงจะต้องพยายามลดต้นทุน บริหารสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มุ่งเน้นส่งเสริมด้านการขายให้แข็งแกร่ง ล่าสุดมีการเปิดโชว์รูมของเชฟโรเลต ใหม่อีกถึง 2 แห่ง
ส่วนแผนงานต่างๆ ยังคงเดินหน้าต่อไปเช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และรถปิกอัพใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการขอสนับสนุนด้านเงินทุน ซึ่งเราอยากได้ในรูปแบบของเงินกู้ ขณะที่เรื่องการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเปิดตัวรถรุ่น “ครูซ” (Cruz) ที่ประเทศมาเลยเซีย สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะเปิดตัวได้ราวปีหน้า (พ.ศ. 2553)
อยากให้รัฐบาลไทยช่วยเหลืออย่างไร?
เราได้ไปคุยกับรัฐบาลไทยมาแล้ว ซึ่งรัฐบาลให้คำตอบที่เป็นการสนับสนุนด้านจิตใจแก่เราอย่างดีมาก ทำให้เรามีความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการต่อไป
สิ่งที่จีเอ็มอยากได้มากที่สุดเวลานี้ เพื่อให้บริษัทอยู่รอด?
เงินทุน เราต้องการเงินสำหรับโครงการเครื่องยนต์ดีเซลและปิกอัพใหม่อีก 15,000 ล้านบาท โดยจะแบ่งเป็นการลงทุนใส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลราว 5,000 ล้านบาทและที่เหลือจะเป็นของการพัฒนารถปิกอัพใหม่ ซึ่งเราคาดว่าจะได้รับคำตอบภายใน 60-90 วัน และหากไม่ได้ก็ต้องหาทางอื่นต่อไป
จีเอ็ม จะทำให้ลูกค้าเข้าใจได้อย่างไรว่าไม่มีผลกระทบ?
ใช้เอกสารอธิบายว่า สิ่งเราพูดวันนี้เป็นความจริง ผลการดำเนินงานของ GM ใหม่ (บริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจาก GM Corp. เข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์และล้มละลาย) จะมีตัวเลขที่ดีมาก ซึ่งเราจะย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง และดำเนินการตามแนวทางควบคุมต้นทุน จัดการคลังสินค้า บริหารงบการขายและการตลาดให้สอดคล้องกับยอดขาย
ถึงบรรทัดนี้คงจะพอทำให้ลูกค้าและผู้บริโภคชาวไทยที่เป็นสาวกของแบรนด์รถยนต์อันดับ 1 ของอเมริกัน ได้พอใจชื้นขึ้นมาบ้าง ว่าอย่างไรจีเอ็มคงยังมีแผนจะสู้ต่อและคงจะไม่ล้มหายตายจากเมืองไทยไปง่ายๆ อย่างแน่นอน