โอกาสที่บริษัท เชลล์ ประเทศไทย เปิดตัวน้ำมันเบนซินสูตรใหม่ วี-พาวเวอร์ เบนซิน ทางเชลล์ ได้เชิญ “มาร์ค เจเน่” นักขับรถทดสอบมือหนึ่งของทีมแข่งรถเฟอร์รารี่ในปัจจุบัน ซึ่งอดีตเคยเป็นนักแข่งฟอร์มูล่า วันมาก่อนและเคยสัมผัสกับความแรงของน้ำมันชนิดใหม่นี้แล้ว โดยจัดให้สื่อมวลชนหลายสำนักเข้าร่วมสัมภาษณ์ และ “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” รวบรวมเรื่องราว มุมมองและแง่คิดของเขา ณ วันที่ความฝันกลายเป็นความจริง
-เริ่มต้นการเป็นนักขับรถอย่างไร?
เริ่มจากการไปเรียนขับรถโกคาร์ทเมื่อตอนอายุ 13 ปี แล้วรู้สึกว่าชอบการขับรถจึงสนใจฝึกฝนอย่างจริงจังและเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไต่ลำดับรายการขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันรถสูตร1 หรือฟอร์มูล่า วัน(F1)
หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานกับทีมแข่งฟอร์มูล่า วันของ เฟอร์รารี่ ในฐานะนักขับรถทดสอบ ทำหน้าที่ขับทดสอบรถแข่ง เพื่อให้ข้อมูลกับทีมแข่งในการปรับแต่งรถ ซึ่งการร่วมงานกับทีมแข่งเฟอร์รารี่เปรียบเสมือนความฝันเป็นความจริง
-คุณสมบัติสำคัญของอาชีพนี้?
มีอยู่ 3 ประการหลักคือ 1. ต้องขับรถให้เร็วได้เท่ากับนักแข่งตัวจริง 2.มีประสาทสัมผัสที่รวดเร็วสามารถรับรู้ถึงความแตกต่างแม้เพียงเล็กน้อยได้ เช่น น้ำมันที่มีส่วนผสมแตกต่างกันเราต้องรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงให้ได้ และสิ่งสำคัญที่สุดลำดับ 3. ต้องสามารถสื่อสารถึงความแตกต่างนั้นให้กับทีมวิศวกรหรือช่างได้ เพื่อใช้ในการปรับแต่งหรือพัฒนาสมรรถนะของรถ ส่วนร่างกายต้องมีความฟิตและพร้อมอยู่เสมอ
สำหรับหน้าที่ของนักขับรถทดสอบนอกจากขับเพื่อเก็บข้อมูลไปพัฒนาคือ ทำให้นักแข่งตัวจริงมุ่งสมาธิในการแข่งเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องแบ่งสมาธิมาจับความรู้สึกในการปรับปรุงรถ และอีกหน้าที่หนึ่งคือ คุยและตอบคำถามต่างๆ ของนักข่าวในวันแข่งขันฟอร์มูล่า วัน แทนนักแข่งตัวจริง
-หากอยากเป็นนักขับรถทดสอบบ้าง?
หนทางยาวไกล แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเรียนขับรถโกคาร์ทก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นค่อยขยับมาขับในรถรุ่นที่เป็นแบบล้อเปิดเช่น บีเอ็มดับเบิลยู ฟอร์มูล่า แล้วค่อยขยับมาแข่งในรายการที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆเช่น ฟอร์มูล่า3 ส่วนตัวผมเองใช้เวลาราว 9-10 ปีจากจุดเริ่มต้นในวัย 13 ปีกว่าจะมาถึงจุดที่ตั้งใจไว้คือการเข้าร่วมแข่งขันฟอร์มูล่า วัน
-ประสบการณ์อุบัติเหตุในชีวิต?
สำหรับอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดของชีวิตคือ ตอนที่แข่งรายการ เลอมังส์ 24 ชั่วโมง ผมขับด้วยความเร็ว 270 กม./ชม. แล้วรถเกิดไถลออกนอกเส้นทาง ไปฟาดกับกำแพง ตัวรถพังยับ แต่ตัวผมกับเจ็บเพียงแค่ที่ขาและซี่โครงเท่านั้น สิ่งนี้ถือเป็นเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของรถยนต์ที่มีในสนามแข่ง
-มีวิธีการป้องกันอุบัติเหตุอย่างไร?
คือทีมงานผู้พัฒนารถแข่งนั้นจะเน้นเรื่องของความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 ฉะนั้นจึงค่อนข้างมั่นใจกับการขับ และตัวเราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมด้วยการฟิตร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฝึกสมาธิ เตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการจินตนาการถึงสนามแข่ง พักผ่อนให้เพียงพอ หรือหากวันไหนรู้สึกว่าร่างกายไม่พร้อมจะต้องไม่ฝืนขับ
-วิกฤตเศรษฐกิจกระทบบ้างไหม?
มีส่วนกระทบพอสมควรเนื่องจากค่ายรถหลายค่ายรวมถึงผู้สนับสนุนลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการทำการตลาดลงราว 20-30% ทำให้เราต้องมาบริหารจัดการต้นทุนของเราให้น้อยลงตามเช่น จากเดิมที่เคยขับทดสอบในสนามจริง 30 รอบ อาจจะเหลือแค่ 10 หรือ 20 รอบ แต่ส่วนที่ขาดไปทดแทนด้วยการขับกับเครื่องจำลอง(Simulator)ได้ สำหรับความปลอดภัยยังคงเต็มที่เหมือนเดิมไม่มีการปรับลดลงแต่อย่างใด
-สนามแข่งฟอร์มูล่า วัน ที่ยากที่สุด?
ผมเลือก “โมนาโก” โดยตัวสนามเองอาจจะไม่ใช่สนามที่มีโค้งหรือเส้นทางยากสุด แต่เป็นสนามที่นักขับทุกคนต้องใช้สมาธิสูงสุด
-ความฝันสูงสุด?
คือการได้ร่วมทีมแข่งของเฟอร์รารี่ ซึ่งผมได้มาถึงจุดนั้นแล้ว และคงอยากทำงานอย่างนี้ต่อไปอีกสักระยะ ส่วนในอนาคตหลังออกจากวงการแข่งรถแล้วคาดว่าจะไปเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ
-รถส่วนตัว?
ปัจจุบันมีอยู่ 3 คัน คือ มาเซราติ ควอทโตพอร์เต้ , เปอโยต์ 407 คูเป้ และเฟียต โครมา
-สิ่งที่อยากบอกกับนักซิ่ง?
ถนนไม่ใช่สนามแข่ง หากอยากขับรถเร็ว อยากแข่งขันกันควรจะมาขับกันในสนามแข่งจริง ทั้งสนุก และปลอดภัยกับตัวเองและผู้อื่น การแสดงความสามารถบนท้องถนนเป็นสิ่งอันตราย
-เริ่มต้นการเป็นนักขับรถอย่างไร?
เริ่มจากการไปเรียนขับรถโกคาร์ทเมื่อตอนอายุ 13 ปี แล้วรู้สึกว่าชอบการขับรถจึงสนใจฝึกฝนอย่างจริงจังและเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไต่ลำดับรายการขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันรถสูตร1 หรือฟอร์มูล่า วัน(F1)
หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานกับทีมแข่งฟอร์มูล่า วันของ เฟอร์รารี่ ในฐานะนักขับรถทดสอบ ทำหน้าที่ขับทดสอบรถแข่ง เพื่อให้ข้อมูลกับทีมแข่งในการปรับแต่งรถ ซึ่งการร่วมงานกับทีมแข่งเฟอร์รารี่เปรียบเสมือนความฝันเป็นความจริง
-คุณสมบัติสำคัญของอาชีพนี้?
มีอยู่ 3 ประการหลักคือ 1. ต้องขับรถให้เร็วได้เท่ากับนักแข่งตัวจริง 2.มีประสาทสัมผัสที่รวดเร็วสามารถรับรู้ถึงความแตกต่างแม้เพียงเล็กน้อยได้ เช่น น้ำมันที่มีส่วนผสมแตกต่างกันเราต้องรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงให้ได้ และสิ่งสำคัญที่สุดลำดับ 3. ต้องสามารถสื่อสารถึงความแตกต่างนั้นให้กับทีมวิศวกรหรือช่างได้ เพื่อใช้ในการปรับแต่งหรือพัฒนาสมรรถนะของรถ ส่วนร่างกายต้องมีความฟิตและพร้อมอยู่เสมอ
สำหรับหน้าที่ของนักขับรถทดสอบนอกจากขับเพื่อเก็บข้อมูลไปพัฒนาคือ ทำให้นักแข่งตัวจริงมุ่งสมาธิในการแข่งเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องแบ่งสมาธิมาจับความรู้สึกในการปรับปรุงรถ และอีกหน้าที่หนึ่งคือ คุยและตอบคำถามต่างๆ ของนักข่าวในวันแข่งขันฟอร์มูล่า วัน แทนนักแข่งตัวจริง
-หากอยากเป็นนักขับรถทดสอบบ้าง?
หนทางยาวไกล แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเรียนขับรถโกคาร์ทก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นค่อยขยับมาขับในรถรุ่นที่เป็นแบบล้อเปิดเช่น บีเอ็มดับเบิลยู ฟอร์มูล่า แล้วค่อยขยับมาแข่งในรายการที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆเช่น ฟอร์มูล่า3 ส่วนตัวผมเองใช้เวลาราว 9-10 ปีจากจุดเริ่มต้นในวัย 13 ปีกว่าจะมาถึงจุดที่ตั้งใจไว้คือการเข้าร่วมแข่งขันฟอร์มูล่า วัน
-ประสบการณ์อุบัติเหตุในชีวิต?
สำหรับอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดของชีวิตคือ ตอนที่แข่งรายการ เลอมังส์ 24 ชั่วโมง ผมขับด้วยความเร็ว 270 กม./ชม. แล้วรถเกิดไถลออกนอกเส้นทาง ไปฟาดกับกำแพง ตัวรถพังยับ แต่ตัวผมกับเจ็บเพียงแค่ที่ขาและซี่โครงเท่านั้น สิ่งนี้ถือเป็นเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของรถยนต์ที่มีในสนามแข่ง
-มีวิธีการป้องกันอุบัติเหตุอย่างไร?
คือทีมงานผู้พัฒนารถแข่งนั้นจะเน้นเรื่องของความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 ฉะนั้นจึงค่อนข้างมั่นใจกับการขับ และตัวเราเองก็ต้องเตรียมความพร้อมด้วยการฟิตร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฝึกสมาธิ เตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการจินตนาการถึงสนามแข่ง พักผ่อนให้เพียงพอ หรือหากวันไหนรู้สึกว่าร่างกายไม่พร้อมจะต้องไม่ฝืนขับ
-วิกฤตเศรษฐกิจกระทบบ้างไหม?
มีส่วนกระทบพอสมควรเนื่องจากค่ายรถหลายค่ายรวมถึงผู้สนับสนุนลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการทำการตลาดลงราว 20-30% ทำให้เราต้องมาบริหารจัดการต้นทุนของเราให้น้อยลงตามเช่น จากเดิมที่เคยขับทดสอบในสนามจริง 30 รอบ อาจจะเหลือแค่ 10 หรือ 20 รอบ แต่ส่วนที่ขาดไปทดแทนด้วยการขับกับเครื่องจำลอง(Simulator)ได้ สำหรับความปลอดภัยยังคงเต็มที่เหมือนเดิมไม่มีการปรับลดลงแต่อย่างใด
-สนามแข่งฟอร์มูล่า วัน ที่ยากที่สุด?
ผมเลือก “โมนาโก” โดยตัวสนามเองอาจจะไม่ใช่สนามที่มีโค้งหรือเส้นทางยากสุด แต่เป็นสนามที่นักขับทุกคนต้องใช้สมาธิสูงสุด
-ความฝันสูงสุด?
คือการได้ร่วมทีมแข่งของเฟอร์รารี่ ซึ่งผมได้มาถึงจุดนั้นแล้ว และคงอยากทำงานอย่างนี้ต่อไปอีกสักระยะ ส่วนในอนาคตหลังออกจากวงการแข่งรถแล้วคาดว่าจะไปเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ
-รถส่วนตัว?
ปัจจุบันมีอยู่ 3 คัน คือ มาเซราติ ควอทโตพอร์เต้ , เปอโยต์ 407 คูเป้ และเฟียต โครมา
-สิ่งที่อยากบอกกับนักซิ่ง?
ถนนไม่ใช่สนามแข่ง หากอยากขับรถเร็ว อยากแข่งขันกันควรจะมาขับกันในสนามแข่งจริง ทั้งสนุก และปลอดภัยกับตัวเองและผู้อื่น การแสดงความสามารถบนท้องถนนเป็นสิ่งอันตราย