ข่าวในประเทศ – พิษเศรษฐกิจตกต่ำ-การเมืองผันผวน ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของโลก TRW หอบเงินลงทุน 2 โครงการ ตั้งโรงงานผลิตเบรกและช่วงล่างแห่งใหม่ มูลค่าร่วมพันล้านบาท เผ่นหนีไทยหันไปซบประเทศมาเลเซียและจีนแทน แม้ไทยจะเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียน แต่ยืนยันไม่กระทบการทำธุรกิจ ประกาศแผน 5 ปี “BIG RED” ดันธุรกิจเติบโตปีละ 20% คาดปีนี้ยอดขายอะไหล่ในไทยพุ่ง 600 ล้านบาท
นายพรศักดิ์ อริยพงศ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที อาร์ ดับบลิว เอเชียติ๊ก จำกัด หรือ TAC ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอะไหล่แท้สำหรับรถยนต์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ TRW ผู้ผลิตชิ้นส่วนใหญ่ของโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน และอำนาจซื้อของผู้บริโภค
“ไทยต้องพลาดโอกาสนำเงินลงทุนของ TRW จำนวนถึง 2 โครงการ ซึ่งมูลค่าหลายร้อยล้านบาท โดยโครงการแรกตั้งโรงงานเบรกและช่วงล่างรถยนต์ ซึ่งเดิมมีแผนอาจจะลงทุนในไทย แต่ปัญหาความผันผวนทางการเมือง ทำให้บริษัทแม่เปลี่ยนไปลงทุนที่มาเลเซียแทน มีมูลค่ากว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีกโครงการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเหมือนกัน และบริษัทในไทยก็ยื่นเรื่องขอให้ตั้งในไทย แต่ที่สุดก็พลาดจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองเช่นเดิม โดยคาดว่าบริษัทแม่จะเลือกลงทุนที่จีน ซึ่งมูลค่าลงทุนยังไม่ชัดเจน แต่น่าจะสูงกว่าที่มาเลเซีย”
ทั้งนี้การไม่เลือกลงทุนในไทย ซึ่งถือเป็นสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ TAC ในไทย เพราะแม้จะลงทุนที่มาเลเซียแต่ภาษีก็ไม่ได้มากนัก ตามกรอบข้อตกลงการค้าเสรีของอาเซียน หรืออาฟต้า ส่วนที่ประเทศจีนแม้ค่าแรงจะถูกกว่าไทย แต่ก็มีปัญหาเรื่องภาษีที่สูงกว่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงพอสมควร
นายพรศักดิ์กล่าวว่า แม้จะเกิดปัญหามากมายกับประเทศไทย แต่ในส่วนของตลาดอะไหล่รถยนต์ ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบการทำตลาด คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากอะไหล่เป็นสินค้าจำเป็น และปริมาณรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ก็ไม่ได้ลดลง ที่สำคัญสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ ทำให้ผู้ที่คิดจะเปลี่ยนรถใหม่ อาจจะชะลอการซื้อและใช้รถคันเดิมต่อไป ด้วยการหันมาเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุดแทน โดยเฉพาะระบบเบรกที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาก
“ดังนั้นจึงคาดว่าจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทฯ ยังคงเติบโตอยู่ โดยตั้งเป้ายยอดขายปีนี้กว่า 600 ล้านบาท หรือขยายตัวไม่ต่ำกว่า 20% จากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้กว่า 500 ล้านบาท และตั้งเป้าไว้ว่าจะมีอัตราการเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 20% จนถึงปี 2556 จากการประกาศแผน BIG RED ของบริษัทฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้างของปีที่ผ่านมา”
สำหรับกลยุทธ์ BIG RED ที่ประกาศออกมา เพื่อผลักดันเป้าหมายของ TRW ให้บรรลุทั่วโลก ประกอบด้วย 1.เร็วขึ้น คือการออกสินค้าใหม่สู่ตลาดเป็นรายแรก ซึ่งเดิมการแนะนำอะไหล่สู่ตลาด จะต้องรอรถใหม่รุ่นนั้นๆ ให้ครบ 3 ปีก่อน ก็จะย่นเหลือเพียง 1 ปี หรือหากเป็นระบบช่วงล่างก็เหลือ 2 ปี 2.สูงขึ้น คือมีส่วนแบ่งทางการตลาดและสร้างคุณค่าทางการบริการให้กับลูกค้ามากขึ้น และ 3. แข็งแรงขึ้น ในแง่ของการบริการและสนับสนุนการกระจายสินค้า
ส่วนภารกิจที่บริษัทต้องดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ดังกล่าว โดยจะต้องขยายธุรกิจให้ครอบคลุมตลาดอาเซียนมากขึ้น ซึ่ง TAC ในไทยเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค และปัจจุบันมีสาขาอยู่ที่มาเลเซีย และสิงคโปร์ จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า จัดตั้งทีมบริหารการตลาดและเทคนิค เพิ่มสินค้าให้ครบรุ่นรถยนต์มากที่สุด และโครงสร้างราคาอะไหล่เหมาะสม เป็นต้น
นายพรศักดิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาสินค้าระบบเบรก ช่วงล่าง และพวงมาลัย ของ TRW ค่อนข้างครอบคลุมประมาณ 70-80% แต่เมื่อมีการตั้งโรงงานแห่งใหม่ในมาเลเซีย จะทำให้มีสินค้าที่ค่อนข้างครบวงจร แม้จะต้องทำให้มีการสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมาได้มีการลงทุนตรงนี้ไปประมาณ 50-60 ล้านบาท แต่จะเกิดประโยชน์กับลูกค้าในการรับอะไหล่ที่มีคุณภาพ และครอบคลุมตามความต้องการ
สำหรับยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเปิดตัวมี 3 รายการ ได้แก่ ผ้าเบรกที่ผลิตจากโรงงานในมาเลเซีย โดยได้มีการเปิดตัวไปก่อนช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา และที่จะเปิดตัวในปีนี้เป็นจานเบรก และไฮโดรลิกเบรก ซึ่งผลจากการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ จะทำให้มีสินค้าที่ครอบคลุมมากขึ้น และผลักดันยอดขายให้เติบโตตามเป้า ส่วนเครือข่ายการจำหน่ายปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,600 ร้าน ปีนี้จะเปิดเพิ่มไม่มากประมาณ 10% แต่จะเน้นยกระดับการบริการลูกค้ามากขึ้น
นายพรศักดิ์ อริยพงศ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที อาร์ ดับบลิว เอเชียติ๊ก จำกัด หรือ TAC ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอะไหล่แท้สำหรับรถยนต์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ TRW ผู้ผลิตชิ้นส่วนใหญ่ของโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน และอำนาจซื้อของผู้บริโภค
“ไทยต้องพลาดโอกาสนำเงินลงทุนของ TRW จำนวนถึง 2 โครงการ ซึ่งมูลค่าหลายร้อยล้านบาท โดยโครงการแรกตั้งโรงงานเบรกและช่วงล่างรถยนต์ ซึ่งเดิมมีแผนอาจจะลงทุนในไทย แต่ปัญหาความผันผวนทางการเมือง ทำให้บริษัทแม่เปลี่ยนไปลงทุนที่มาเลเซียแทน มีมูลค่ากว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีกโครงการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเหมือนกัน และบริษัทในไทยก็ยื่นเรื่องขอให้ตั้งในไทย แต่ที่สุดก็พลาดจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองเช่นเดิม โดยคาดว่าบริษัทแม่จะเลือกลงทุนที่จีน ซึ่งมูลค่าลงทุนยังไม่ชัดเจน แต่น่าจะสูงกว่าที่มาเลเซีย”
ทั้งนี้การไม่เลือกลงทุนในไทย ซึ่งถือเป็นสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ TAC ในไทย เพราะแม้จะลงทุนที่มาเลเซียแต่ภาษีก็ไม่ได้มากนัก ตามกรอบข้อตกลงการค้าเสรีของอาเซียน หรืออาฟต้า ส่วนที่ประเทศจีนแม้ค่าแรงจะถูกกว่าไทย แต่ก็มีปัญหาเรื่องภาษีที่สูงกว่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงพอสมควร
นายพรศักดิ์กล่าวว่า แม้จะเกิดปัญหามากมายกับประเทศไทย แต่ในส่วนของตลาดอะไหล่รถยนต์ ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบการทำตลาด คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากอะไหล่เป็นสินค้าจำเป็น และปริมาณรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ก็ไม่ได้ลดลง ที่สำคัญสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ ทำให้ผู้ที่คิดจะเปลี่ยนรถใหม่ อาจจะชะลอการซื้อและใช้รถคันเดิมต่อไป ด้วยการหันมาเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุดแทน โดยเฉพาะระบบเบรกที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาก
“ดังนั้นจึงคาดว่าจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทฯ ยังคงเติบโตอยู่ โดยตั้งเป้ายยอดขายปีนี้กว่า 600 ล้านบาท หรือขยายตัวไม่ต่ำกว่า 20% จากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้กว่า 500 ล้านบาท และตั้งเป้าไว้ว่าจะมีอัตราการเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 20% จนถึงปี 2556 จากการประกาศแผน BIG RED ของบริษัทฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้างของปีที่ผ่านมา”
สำหรับกลยุทธ์ BIG RED ที่ประกาศออกมา เพื่อผลักดันเป้าหมายของ TRW ให้บรรลุทั่วโลก ประกอบด้วย 1.เร็วขึ้น คือการออกสินค้าใหม่สู่ตลาดเป็นรายแรก ซึ่งเดิมการแนะนำอะไหล่สู่ตลาด จะต้องรอรถใหม่รุ่นนั้นๆ ให้ครบ 3 ปีก่อน ก็จะย่นเหลือเพียง 1 ปี หรือหากเป็นระบบช่วงล่างก็เหลือ 2 ปี 2.สูงขึ้น คือมีส่วนแบ่งทางการตลาดและสร้างคุณค่าทางการบริการให้กับลูกค้ามากขึ้น และ 3. แข็งแรงขึ้น ในแง่ของการบริการและสนับสนุนการกระจายสินค้า
ส่วนภารกิจที่บริษัทต้องดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ดังกล่าว โดยจะต้องขยายธุรกิจให้ครอบคลุมตลาดอาเซียนมากขึ้น ซึ่ง TAC ในไทยเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค และปัจจุบันมีสาขาอยู่ที่มาเลเซีย และสิงคโปร์ จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า จัดตั้งทีมบริหารการตลาดและเทคนิค เพิ่มสินค้าให้ครบรุ่นรถยนต์มากที่สุด และโครงสร้างราคาอะไหล่เหมาะสม เป็นต้น
นายพรศักดิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาสินค้าระบบเบรก ช่วงล่าง และพวงมาลัย ของ TRW ค่อนข้างครอบคลุมประมาณ 70-80% แต่เมื่อมีการตั้งโรงงานแห่งใหม่ในมาเลเซีย จะทำให้มีสินค้าที่ค่อนข้างครบวงจร แม้จะต้องทำให้มีการสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมาได้มีการลงทุนตรงนี้ไปประมาณ 50-60 ล้านบาท แต่จะเกิดประโยชน์กับลูกค้าในการรับอะไหล่ที่มีคุณภาพ และครอบคลุมตามความต้องการ
สำหรับยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเปิดตัวมี 3 รายการ ได้แก่ ผ้าเบรกที่ผลิตจากโรงงานในมาเลเซีย โดยได้มีการเปิดตัวไปก่อนช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา และที่จะเปิดตัวในปีนี้เป็นจานเบรก และไฮโดรลิกเบรก ซึ่งผลจากการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ จะทำให้มีสินค้าที่ครอบคลุมมากขึ้น และผลักดันยอดขายให้เติบโตตามเป้า ส่วนเครือข่ายการจำหน่ายปัจจุบันมีอยู่กว่า 1,600 ร้าน ปีนี้จะเปิดเพิ่มไม่มากประมาณ 10% แต่จะเน้นยกระดับการบริการลูกค้ามากขึ้น