ข่าวในประเทศ –เชฟโรเลต ประสบความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน หลัง เชฟโรเลต แคปติวา ได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากเขียว” จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สมอ.) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) โดยผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดแล้วว่าเป็นรถยนต์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุด
จากการคว้ามาตรฐานฉลากเขียวดังกล่าว ทำให้เชฟโรเลต เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานฉลากเขียวอันเข้มงวดติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ต่อจาก เชฟโรเลต ออพตร้า เอสเตท รถยนต์คันแรกที่ได้รับฉลากนี้นับแต่มีการประกาศข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวเมื่อปี 2548
“เชฟโรเลต ภูมิใจและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานฉลากเขียวอันทรงเกียรตินี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของเราในการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือมาตรฐานฉลากเขียว สำหรับ ออพตร้า เอสเตท และอาวีโอ และล่าสุด คือ แคปติวา ทั้งสามรางวัลเป็นความภาคภูมิใจของเรา” สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
“ฉลากเขียว” เป็นเครื่องหมายที่แสดงคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะมอบให้แก่ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ซึ่ง “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปล่อยสารเคมีหรือกากสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและทรัพยากรทั้งในระหว่างการผลิต การขนส่ง และการใช้งาน อีกทั้งไม่เป็นภาระในการกำจัดหลังทิ้งและไม่ก่อให้เกิดขยะมากนัก ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคในการช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ ข้อกำหนดของฉลากเขียว จะแตกต่างไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยข้อกำหนดทั่วไปของฉลากเขียว สำหรับรถยนต์นั่งมีหลายประการด้วยกัน อาทิ โรงงานต้องมีระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000 กระบวนการผลิต การกำจัดของเสีย และคู่มือแนะนำการดูแลอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ส่วนข้อกำหนดเฉพาะนั้น ได้แก่ สีและสารเคมีที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ จะต้องไม่ผสมโลหะหนัก มีเอกสารแนะนำวิธีการจัดการของเสียจากการใช้งาน มีระดับมลพิษทางเสียงไม่เกินที่กำหนด และมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งต้องผ่านมาตรฐานการปล่อยไอเสียสู่อากาศ ยูโร 3 และสารทำความเย็นที่ใช้ในระบบปรับอากาศต้องมี ค่าโอดีพี เท่ากับศูนย์ (ODP - Ozone Depletion Potential ระดับค่าการวัดสารทำความเย็นที่มีผลต่อการทำลายชั้นโอโซน)
นอกจากนั้น รถยนต์ฉลากเขียว ยังต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำจัดสารหล่อลื่น และสารเคมีอันตราย นอกจากนั้น ส่วนประกอบอื่นๆ และชิ้นส่วนพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้จะต้องมีสัญลักษ์บ่งบอกอย่างชัดเจนอีกด้วย
จากการคว้ามาตรฐานฉลากเขียวดังกล่าว ทำให้เชฟโรเลต เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานฉลากเขียวอันเข้มงวดติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ต่อจาก เชฟโรเลต ออพตร้า เอสเตท รถยนต์คันแรกที่ได้รับฉลากนี้นับแต่มีการประกาศข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวเมื่อปี 2548
“เชฟโรเลต ภูมิใจและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานฉลากเขียวอันทรงเกียรตินี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของเราในการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือมาตรฐานฉลากเขียว สำหรับ ออพตร้า เอสเตท และอาวีโอ และล่าสุด คือ แคปติวา ทั้งสามรางวัลเป็นความภาคภูมิใจของเรา” สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
“ฉลากเขียว” เป็นเครื่องหมายที่แสดงคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะมอบให้แก่ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ซึ่ง “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปล่อยสารเคมีหรือกากสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและทรัพยากรทั้งในระหว่างการผลิต การขนส่ง และการใช้งาน อีกทั้งไม่เป็นภาระในการกำจัดหลังทิ้งและไม่ก่อให้เกิดขยะมากนัก ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคในการช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ ข้อกำหนดของฉลากเขียว จะแตกต่างไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยข้อกำหนดทั่วไปของฉลากเขียว สำหรับรถยนต์นั่งมีหลายประการด้วยกัน อาทิ โรงงานต้องมีระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000 กระบวนการผลิต การกำจัดของเสีย และคู่มือแนะนำการดูแลอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ส่วนข้อกำหนดเฉพาะนั้น ได้แก่ สีและสารเคมีที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ จะต้องไม่ผสมโลหะหนัก มีเอกสารแนะนำวิธีการจัดการของเสียจากการใช้งาน มีระดับมลพิษทางเสียงไม่เกินที่กำหนด และมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งต้องผ่านมาตรฐานการปล่อยไอเสียสู่อากาศ ยูโร 3 และสารทำความเย็นที่ใช้ในระบบปรับอากาศต้องมี ค่าโอดีพี เท่ากับศูนย์ (ODP - Ozone Depletion Potential ระดับค่าการวัดสารทำความเย็นที่มีผลต่อการทำลายชั้นโอโซน)
นอกจากนั้น รถยนต์ฉลากเขียว ยังต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการกำจัดสารหล่อลื่น และสารเคมีอันตราย นอกจากนั้น ส่วนประกอบอื่นๆ และชิ้นส่วนพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้จะต้องมีสัญลักษ์บ่งบอกอย่างชัดเจนอีกด้วย