ข่าวในประเทศ - ปอกเปลือกราคาน้ำมันในไทย "รสนา" ส.ว.จอมแฉ อัดรัฐบาลและปตท. หาประโยชน์จากส่วนต่างราคาน้ำมันโลก ด้วยการอ้างค่าการตลาดต่ำ จนราคาน้ำมันไม่ปรับลดลงตามความเป็นจริง ขณะเดียวกันเมื่อสำรวจเข้าไปดูราคาน้ำมันแต่ละชนิด เกิดข้อกังขา?! ราคาน้ำมัน E20 เท่ากับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และต่ำกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เพียง 80 สตางค์ ทั้งที่นโยบายเมื่อเริ่มผลักดัน กระทรวงพลังงานกำหนดให้ต่ำกว่า 1 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมัน E85 ที่ปรับลดลงเพียงแค่ 2 ครั้ง ทำให้บรรดาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ตระกูล E ทั้งหลาย เกิดปัญหาส่วนต่างของราคาไม่มีแรงจูงใจพอ โดยเฉพาะประเด็นอัตราสิ้นเปลืองที่มากกว่า และเมื่อเจาะเข้าไปในรายละเอียด สาเหตุราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ไม่ปรับลดลงมาก มาจากราคาวัตถุดิบ "เอทานอล" ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มจะเกิดสภาวะตึงตัวอีก ทำให้มองเห็นอนาคตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แทนที่จะเป็นทางออกให้กับประชาชน แต่นี่จะเป็น "บดักพลังงานทางเลือก"เสียเอง
ราคาน้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 30.39 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 ราคา 23.09 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 95 ราคา 23.89 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน E20 ราคา 23.09 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน E85 ราคา 18.29 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซล 23.94 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซล B5 ราคา 23.24 บาทต่อลิตร
นั่นคือราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่งปรับลดลงเป็นครั้งที่ 29 แล้ว(รวมทั้งดีเซลและเบนซิน) นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง จากกว่า 140 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล จนปัจจุบันลงมาอยู่ที่ 61 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล
โดยการลดราคาน้ำมันครั้งล่าสุดนี้ นับว่าห่างจากครั้งก่อนเพียง 2 วัน หลังจากที่ส.ว.จอมแฉ "รสนา โตสิตระกูล" สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) กรุงเทพฯ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้เปิดเผยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 ต.ค.) ถึงการหาผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาน้ำมัน จากการลดลงของราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ปตท.กลับมักอ้างเรื่องค่าการตลาดต่ำ และมีการปรับลดลงเพียงไม่กี่บาท หากเปรียบเทียบกับการลดลงของราคาน้ำมันตลาดโลก
ส.ว.จอมแฉระบุว่า เมื่อเทียบราคาค่าการตลาดปี 2550 และ 2551 พบว่าเบนซิน 95 วันที่ 10 กันยายน 2550 มีค่าการตลาด 1.45 บาทต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันค่าการตลาดสูงขึ้นถึง 5 บาท ขณะที่ดีเซลมีค่าการตลาดในวันที่ 10 กันยายน 2550 อยู่ที่ 60 สตางค์ ขณะที่ปัจจุบันค่าการตลาดเพิ่มเป็น 4 บาท ถือว่าปตท.มีกำไรจากค่าการตลาดสูงมาก ทั้งที่ราคาน้ำมันควรปรับลดลงได้อีก 3-4 บาท
เหตุนี้ทำให้ส.ว.จอมแฉเรียกร้องให้รัฐบาลสนใจปัญหาพลังงาน และขอให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ พลังงาน คมนาคม พาณิชย์ และอุตสาหกรรม ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามความเป็นจริง อย่าใช้เทคนิคหากำไรจากส่วนต่างของราคาน้ำมันโลกที่ลดลง จากการออกมาถล่มรัฐบาลและบริษัทน้ำมันของส.ว.รสนา แน่นอนคงจะทำให้ถูกใจหลายๆ คน ซึ่งตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง
จากการออกมาถล่มรัฐบาลและบริษัทน้ำมันของส.ว.รสนาแน่นอนคงจะทำให้ถูกใจใครหลายคน ซึ่งตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาน้ำมันในไทยกลับลดลงเพียงไม่กี่บาท โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ลดลงน้อยและช้ากว่าแต่นั่นคือภาพรวมของราคาน้ำมันในไทยที่เป็นประเด็นจะต้องเรียกร้องกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตและมีความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก ที่รัฐบาลพยายามจะผลักดันให้เป็นพลังงานอนาคตของไทย เพื่อทดแทนน้ำมันจากฟอสซิล นั่นคือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซิน กับเอทานอล ตามสัดส่วนมากน้อยแตกต่างกันไป โดยปัจจุบันในประเทศไทยที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 (มีส่วนผสมเอทานอล 10%) และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 นอกจากนี้ยังมีน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่รัฐบาลต้องการเร่งรัดให้ใช้ภายในปีนี้ ทั้งที่ยังมีปัญหาถกเถียงถึงความพร้อมหรือไม่ ตามที่ "ผู้จัดการมอเตอริ่ง"ได้เสนอไปแล้ว
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 มีราคาเท่ากันอยู่ที่ 23.09 บาทต่อลิตร หรือหากย้อนกลับไปก่อนปรับราคาลดลงล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งสองประเภทอยู่ที่ 23.69 บาทต่อลิตร โดยมีราคาเท่ากันมาได้สักระยะแล้ว หรือถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เพียง 80 สตางค์เท่านั้น
นับเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เพราะวัตถุประสงค์ของการผลักดันให้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน และประหยัดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงได้จัดโครงการรณรงค์ และส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศ หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างน้ำมันแก๊สโซฮอล์
เหตุนี้กระทรวงพลังงานจึงกำหนดให้ ระดับราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 95 ไม่น้อยกว่า 1 บาทต่อลิตร โดยให้ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ให้ไม่ต่ำกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน เช่นเดียวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10
ส่วนเหตุผลที่ต้องให้ระดับราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ต่ำกว่าน้ำมัน E10 ออกเทน 95 หรือแม้แต่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ต้องต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งนอกจากจูงใจผู้ใช้รถให้กันมาเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้ว เป็นยอมรับกันทั่วไปว่า อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของแก๊สโซฮอล์มีมากกว่าเบนซิน และโดยเฉพาะน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมของเอทานอลในปริมาณที่มากขึ้น ก็ยิ่งมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้มีส่วนต่างของราคา เพื่อให้ราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เมื่อเทียบกับอัตราสิ้นเปลือง หรือการระเหยของเอทานอล ยังมีความคุ้มค่ากว่าการใช้น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมเอทานอลในปริมาณที่น้อยกว่า
การที่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เท่ากันกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 91 หรือต่ำกว่าน้ำมัน E10 ออกเทน 95 จึงแทบจะไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้รถแต่อย่างใด!
จากสิ่งที่เกิดขึ้นจึงน่าเป็นห่วงไปถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ซึ่งกระทรวงพลังงานต้องการเร่งผลักดันให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีส่วนผสมของเอทานอลมากถึง 85% และมีน้ำมันเบนซินเพียง 15% เพราะขณะที่ราคาน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง แต่น้ำมัน E85 นับตั้งแต่เปิดจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ราคาเริ่มที่ 20.19 บาทต่อลิตร ผ่านมาถึงปัจจุบันลดลงเพียง 2 ครั้ง ซึ่งล่าสุดปรับลดลงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมัน E85 อยู่ที่ 18.29 บาทต่อลิตร
แน่นอนว่าหากราคาน้ำมัน E85 ไม่แตกต่างจากราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 หรือแม้กระทั้งน้ำมันเบนซินมากนัก แรงจูงใจที่จะให้เกิดการใช้น้ำมัน E85 จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะต่างก็ทราบดีถึงอัตราสิ้นเปลืองของน้ำมัน E85 ที่มีมากกว่าน้ำมันทุกชนิด การที่จะทำให้คุ้มค่าต่อการใช้ ราคาของน้ำมัน E85 จึงจำเป็นต้องมีส่วนต่างจากเบนซินมากกว่าครึ่งทีเดียว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 หรือแม้แต่น้ำมัน E10 มีราคาที่ใกล้เคียงกัน และการปรับลดราคาลงน้อยครั้งกว่าน้ำมันเบนซิน มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันเอทานอลที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลง ทำให้ผู้ค้าน้ำมันที่ใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ไม่สามารถปรับลดราคาลงได้มากนัก ยิ่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมเอทานอล ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย และยิ่งมีข่าวเอทานอลเข้าสู่สภาวะขาดตลาด ดังจะเห็นได้จากเชลล์ที่เกิดสภาวะไม่มีสต็อกเอทานอลเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
"ราคาประกาศเอทานอลในไตรมาสที่ 4 ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 อยู่ที่ 22 บาทต่อลิตร จากไตรมาสสามอยู่ที่ 18 บาทต่อลิตร และทางผู้ผลิตได้บวกค่าพรีเมี่ยม 2 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาเอทานอลปัจจุบันอยู่ที่ 24 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นเรื่องปกติของช่วงไตรมาส 4 ที่เป็นช่วงปิดหีบอ้อย ทำให้โมลาส(กากน้ำตาล) ที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำตาลทราย และเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลขาดตลาดไปด้วย ซึ่งการขึ้นลงของเอทานอลเป็นไปตามกลไกของตลาด"
นั่นคือคำกล่าวของ "สิริวุทธิ์ เสียมภักดี" นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย ถึงสาเหตุของราคาเอทานอลที่ปรับตัวสูงขึ้น และยังเปิดเผยถึงทิศทางแนวโน้มของเอทานอลว่า"เอทานอลในช่วงไตรมาส 4 อาจจะเกิดภาวะตึงตัวจากปัญหาที่กล่าวมา แต่ไม่ถึงกับขาดแคลน แม้ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หรือ 2 เดือนนี้ จะมีความต้องการเอทานอลรวม(ทุกประเภทไม่ใช่เฉพาะน้ำมันแก๊สโซฮอล์) 54 ล้านลิตร ขณะที่ผลิตได้เพียง 45-46 ล้านลิตร ส่วนที่ขาดไป 9 ล้านลิตร ยังมีปริมาณสต็อกสำรองอยู่ประมาณ 10 ล้านลิตร จึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ยกเว้นเชลล์ที่เกิดจากการไม่บริหารสต็อกเอง อย่างไรก็ตาม หากการเปิดหีบอ้อยอีกครั้ง ในเดือนธันวาคมเกิดล่าช้าออกไป อาจจะทำให้เกิดสภาวะตึกตัวมากขึ้นได้"
นี่คือปัญหาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งจะเห็นว่าเอทานอลได้มีการปรับราคาขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงแรกที่เริ่มผลักดันให้ใช้แก๊สโซฮอล์เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ราคาเอทานอลอยู่ที่ประมาณ 14-15 บาทต่อลิตรเท่านั้น และได้ปรับตัวขึ้นมาตลอด จนปัจจุบันอยู่ที่ 24 บาทต่อลิตร และแนวโน้มยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางที่ลดลง หรืออยู่ในระดับ 70-90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
จากสิ่งที่กล่าวมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทบทวน และหาวิธีรักษาเสถียรภาพให้ได้ แม้พลังงานเหล่านี้จะช่วยลดภาระการนำเข้าน้ำมัน แต่หากทำให้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และที่สุดหันไปใช้น้ำมันเช่นเดิม หรือนี่คือ"กับดักพลังงานทางเลือก!"
ราคาน้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 30.39 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 ราคา 23.09 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 95 ราคา 23.89 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน E20 ราคา 23.09 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน E85 ราคา 18.29 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซล 23.94 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซล B5 ราคา 23.24 บาทต่อลิตร
นั่นคือราคาน้ำมัน ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซึ่งปรับลดลงเป็นครั้งที่ 29 แล้ว(รวมทั้งดีเซลและเบนซิน) นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง จากกว่า 140 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล จนปัจจุบันลงมาอยู่ที่ 61 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล
โดยการลดราคาน้ำมันครั้งล่าสุดนี้ นับว่าห่างจากครั้งก่อนเพียง 2 วัน หลังจากที่ส.ว.จอมแฉ "รสนา โตสิตระกูล" สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) กรุงเทพฯ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้เปิดเผยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 ต.ค.) ถึงการหาผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาน้ำมัน จากการลดลงของราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ปตท.กลับมักอ้างเรื่องค่าการตลาดต่ำ และมีการปรับลดลงเพียงไม่กี่บาท หากเปรียบเทียบกับการลดลงของราคาน้ำมันตลาดโลก
ส.ว.จอมแฉระบุว่า เมื่อเทียบราคาค่าการตลาดปี 2550 และ 2551 พบว่าเบนซิน 95 วันที่ 10 กันยายน 2550 มีค่าการตลาด 1.45 บาทต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันค่าการตลาดสูงขึ้นถึง 5 บาท ขณะที่ดีเซลมีค่าการตลาดในวันที่ 10 กันยายน 2550 อยู่ที่ 60 สตางค์ ขณะที่ปัจจุบันค่าการตลาดเพิ่มเป็น 4 บาท ถือว่าปตท.มีกำไรจากค่าการตลาดสูงมาก ทั้งที่ราคาน้ำมันควรปรับลดลงได้อีก 3-4 บาท
เหตุนี้ทำให้ส.ว.จอมแฉเรียกร้องให้รัฐบาลสนใจปัญหาพลังงาน และขอให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ พลังงาน คมนาคม พาณิชย์ และอุตสาหกรรม ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามความเป็นจริง อย่าใช้เทคนิคหากำไรจากส่วนต่างของราคาน้ำมันโลกที่ลดลง จากการออกมาถล่มรัฐบาลและบริษัทน้ำมันของส.ว.รสนา แน่นอนคงจะทำให้ถูกใจหลายๆ คน ซึ่งตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง
จากการออกมาถล่มรัฐบาลและบริษัทน้ำมันของส.ว.รสนาแน่นอนคงจะทำให้ถูกใจใครหลายคน ซึ่งตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาน้ำมันในไทยกลับลดลงเพียงไม่กี่บาท โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่ลดลงน้อยและช้ากว่าแต่นั่นคือภาพรวมของราคาน้ำมันในไทยที่เป็นประเด็นจะต้องเรียกร้องกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตและมีความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก ที่รัฐบาลพยายามจะผลักดันให้เป็นพลังงานอนาคตของไทย เพื่อทดแทนน้ำมันจากฟอสซิล นั่นคือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซิน กับเอทานอล ตามสัดส่วนมากน้อยแตกต่างกันไป โดยปัจจุบันในประเทศไทยที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 (มีส่วนผสมเอทานอล 10%) และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 นอกจากนี้ยังมีน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่รัฐบาลต้องการเร่งรัดให้ใช้ภายในปีนี้ ทั้งที่ยังมีปัญหาถกเถียงถึงความพร้อมหรือไม่ ตามที่ "ผู้จัดการมอเตอริ่ง"ได้เสนอไปแล้ว
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 มีราคาเท่ากันอยู่ที่ 23.09 บาทต่อลิตร หรือหากย้อนกลับไปก่อนปรับราคาลดลงล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งสองประเภทอยู่ที่ 23.69 บาทต่อลิตร โดยมีราคาเท่ากันมาได้สักระยะแล้ว หรือถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เพียง 80 สตางค์เท่านั้น
นับเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เพราะวัตถุประสงค์ของการผลักดันให้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน และประหยัดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงได้จัดโครงการรณรงค์ และส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศ หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างน้ำมันแก๊สโซฮอล์
เหตุนี้กระทรวงพลังงานจึงกำหนดให้ ระดับราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 95 ไม่น้อยกว่า 1 บาทต่อลิตร โดยให้ใช้เงินกองทุนน้ำมัน เป็นกลไกในการรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ให้ไม่ต่ำกว่าค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน เช่นเดียวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10
ส่วนเหตุผลที่ต้องให้ระดับราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ต่ำกว่าน้ำมัน E10 ออกเทน 95 หรือแม้แต่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ต้องต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งนอกจากจูงใจผู้ใช้รถให้กันมาเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้ว เป็นยอมรับกันทั่วไปว่า อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของแก๊สโซฮอล์มีมากกว่าเบนซิน และโดยเฉพาะน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมของเอทานอลในปริมาณที่มากขึ้น ก็ยิ่งมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้มีส่วนต่างของราคา เพื่อให้ราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เมื่อเทียบกับอัตราสิ้นเปลือง หรือการระเหยของเอทานอล ยังมีความคุ้มค่ากว่าการใช้น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมเอทานอลในปริมาณที่น้อยกว่า
การที่ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เท่ากันกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 91 หรือต่ำกว่าน้ำมัน E10 ออกเทน 95 จึงแทบจะไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้รถแต่อย่างใด!
จากสิ่งที่เกิดขึ้นจึงน่าเป็นห่วงไปถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ซึ่งกระทรวงพลังงานต้องการเร่งผลักดันให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีส่วนผสมของเอทานอลมากถึง 85% และมีน้ำมันเบนซินเพียง 15% เพราะขณะที่ราคาน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง แต่น้ำมัน E85 นับตั้งแต่เปิดจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ราคาเริ่มที่ 20.19 บาทต่อลิตร ผ่านมาถึงปัจจุบันลดลงเพียง 2 ครั้ง ซึ่งล่าสุดปรับลดลงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมัน E85 อยู่ที่ 18.29 บาทต่อลิตร
แน่นอนว่าหากราคาน้ำมัน E85 ไม่แตกต่างจากราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 หรือแม้กระทั้งน้ำมันเบนซินมากนัก แรงจูงใจที่จะให้เกิดการใช้น้ำมัน E85 จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะต่างก็ทราบดีถึงอัตราสิ้นเปลืองของน้ำมัน E85 ที่มีมากกว่าน้ำมันทุกชนิด การที่จะทำให้คุ้มค่าต่อการใช้ ราคาของน้ำมัน E85 จึงจำเป็นต้องมีส่วนต่างจากเบนซินมากกว่าครึ่งทีเดียว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 หรือแม้แต่น้ำมัน E10 มีราคาที่ใกล้เคียงกัน และการปรับลดราคาลงน้อยครั้งกว่าน้ำมันเบนซิน มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันเอทานอลที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลง ทำให้ผู้ค้าน้ำมันที่ใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ไม่สามารถปรับลดราคาลงได้มากนัก ยิ่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมเอทานอล ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย และยิ่งมีข่าวเอทานอลเข้าสู่สภาวะขาดตลาด ดังจะเห็นได้จากเชลล์ที่เกิดสภาวะไม่มีสต็อกเอทานอลเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
"ราคาประกาศเอทานอลในไตรมาสที่ 4 ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 อยู่ที่ 22 บาทต่อลิตร จากไตรมาสสามอยู่ที่ 18 บาทต่อลิตร และทางผู้ผลิตได้บวกค่าพรีเมี่ยม 2 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาเอทานอลปัจจุบันอยู่ที่ 24 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นเรื่องปกติของช่วงไตรมาส 4 ที่เป็นช่วงปิดหีบอ้อย ทำให้โมลาส(กากน้ำตาล) ที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำตาลทราย และเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลขาดตลาดไปด้วย ซึ่งการขึ้นลงของเอทานอลเป็นไปตามกลไกของตลาด"
นั่นคือคำกล่าวของ "สิริวุทธิ์ เสียมภักดี" นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย ถึงสาเหตุของราคาเอทานอลที่ปรับตัวสูงขึ้น และยังเปิดเผยถึงทิศทางแนวโน้มของเอทานอลว่า"เอทานอลในช่วงไตรมาส 4 อาจจะเกิดภาวะตึงตัวจากปัญหาที่กล่าวมา แต่ไม่ถึงกับขาดแคลน แม้ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หรือ 2 เดือนนี้ จะมีความต้องการเอทานอลรวม(ทุกประเภทไม่ใช่เฉพาะน้ำมันแก๊สโซฮอล์) 54 ล้านลิตร ขณะที่ผลิตได้เพียง 45-46 ล้านลิตร ส่วนที่ขาดไป 9 ล้านลิตร ยังมีปริมาณสต็อกสำรองอยู่ประมาณ 10 ล้านลิตร จึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ยกเว้นเชลล์ที่เกิดจากการไม่บริหารสต็อกเอง อย่างไรก็ตาม หากการเปิดหีบอ้อยอีกครั้ง ในเดือนธันวาคมเกิดล่าช้าออกไป อาจจะทำให้เกิดสภาวะตึกตัวมากขึ้นได้"
นี่คือปัญหาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งจะเห็นว่าเอทานอลได้มีการปรับราคาขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงแรกที่เริ่มผลักดันให้ใช้แก๊สโซฮอล์เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ราคาเอทานอลอยู่ที่ประมาณ 14-15 บาทต่อลิตรเท่านั้น และได้ปรับตัวขึ้นมาตลอด จนปัจจุบันอยู่ที่ 24 บาทต่อลิตร และแนวโน้มยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางที่ลดลง หรืออยู่ในระดับ 70-90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
จากสิ่งที่กล่าวมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทบทวน และหาวิธีรักษาเสถียรภาพให้ได้ แม้พลังงานเหล่านี้จะช่วยลดภาระการนำเข้าน้ำมัน แต่หากทำให้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และที่สุดหันไปใช้น้ำมันเช่นเดิม หรือนี่คือ"กับดักพลังงานทางเลือก!"