หลังจากที่ค่ายผู้นำตลาดออกมาประกาศว่า “นับแต่นี้รถทุกรุ่นของฮอนด้าจะเป็นหัวฉีดทั้งหมด” ถือเป็นการสร้างกระแสใหม่ให้กับตลาดรถจักรยานยนต์ของเมืองไทยเนื่องจากฮอนด้าครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 70% ในปีนี้ ขณะที่ค่ายเบอร์รองอย่างซูซูกิก็หันมาทำรถจักรยานยนต์ใหม่แบบหัวฉีดออกสู่ตลาดเช่นกัน
ฉะนั้นโฟกัสของตลาดรถสองล้อจึงหันไปหาค่ายเบอร์สอง “ยามาฮ่า” ว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร หลังคู่แข่ง หันไปคบหากับเครื่องยนต์หัวฉีดกันแล้ว “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์ “ประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์” รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เพื่อหาคำตอบ
-มองคู่แข่งหันมาเล่นเครื่องยนต์หัวฉีดอย่างไร?
เราคงปล่อยให้คู่แข่งทำตลาดไปก่อน เนื่องจากมองว่าตลาดเวลานี้อาจจะยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มตามคันละกว่า 3,000 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่ม และเมื่อเทียบความคุ้มค่ากับระหว่างการประหยัดน้ำมันที่เพิ่มขึ้นราว 10% กับราคาตัวรถที่ต้องจ่ายแล้ว รถเครื่องยนต์คาบูเรเตอร์ยังคงคุ้มค่ากว่า
ขณะที่ประสิทธิภาพด้านการขับขี่ระหว่างเครื่องยนต์หัวฉีดกับคาบูเรเตอร์นั้นมีความใกล้เคียงกัน แต่เครื่องคาบูเรเตอร์จะได้เปรียบอยู่ในด้านของลูกค้าที่ชื่นชอบการปรับแต่งเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์แบบคาบูเรเตอร์ยังตอบสนองตลาดส่วนนี้อยู่
ซึ่งเครื่องยนต์แบบหัวฉีด อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่ตลาดจะยอมรับ รวมถึงอู่ซ่อมและปรับแต่งเครื่องยนต์ภายนอกที่ไม่ใช่ศูนย์บริการก็ยังจำเป็นต้องรอการปรับตัวอีกสักระยะหนึ่ง
-ยามาฮ่าพร้อมทำระบบหัวฉีดเมื่อไหร่?
เรามองปัจจัยหลักในการตัดสินใจเรื่องนี้อยู่ 3 ประการ คือ การยอมรับของลูกค้า, มาตรฐานไอเสีย และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถามว่าเวลานี้ยามาฮ่า พร้อมทำตลาดหัวฉีดหรือไม่ เราตอบได้ทันทีว่า “พร้อม” ดูจากเรามีรุ่น สปาร์ค 135i ที่เป็นเครื่องยนต์หัวฉีดทำตลาดอยู่แล้ว เพียงแต่รอเวลาให้ตลาดยอมรับและการบังคับมาตรฐานไอเสีย ซึ่งเป็นจะตัวกำหนดสำคัญ
-อนาคตของรถหัวฉีดเป็นอย่างไร?
แน่นอนว่าอนาคตรถจักรยานยนต์ของไทยจะต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ระบบหัวฉีดทั้งหมดใน 4 ปีข้างหน้า ด้วยข้อกำหนดด้านมาตรฐานไอเสียที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ โดยปัจจุบันเราบังคับอยู่ที่ระดับ 5 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2552 จะบังคับที่ระดับ 6 ซึ่งเราสามารถปรับรถเครื่องยนต์คาบูเรเตอร์เพียงเล็กน้อยก็ผ่านมาตรฐานได้
อย่างไรก็ตามในปี 2555 หรือ 2010 จะมีการบังคับใช้มาตรฐานไอเสียระดับ 7 การจะทำให้รถที่ใช้เครื่องคาบูเรเตอร์ ผ่านมาตรฐานดังกล่าวจะต้องใช้ต้นทุนมากกว่าการเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์แบบหัวฉีด ฉะนั้นจึงไม่แปลก หากภายใน 4 ปีข้างหน้าจะเห็นจักรยานยนต์ใหม่ทุกคันในเมืองไทยเป็นเครื่องยนต์แบบหัวฉีด
-ยามาฮ่า จะทำเครื่องหัวฉีดทั้งหมดเมื่อไหร่?
ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ แล้วแต่ปัจจัยทั้ง 3 ประการ อาจจะเป็นปีหน้า หรืออีก 2-3 ปี มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น
-แนวโน้มตลาดของปีนี้?
คาดว่าจะเติบโตทั้งปีประมาณ 5% หรือราว 1.7 ล้านคัน หลังจาก ตลาดรถจักรยานยนต์ 8 เดือนที่ผ่านมา(ม.ค.-ส.ค.)มียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 1,176,088 คันขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
เฉพาะส่วนของยามาฮ่าเอง มียอดจดทะเบียนรวม 298,068 คัน เติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 20% และมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 2.8% มาอยู่ที่ 25.4% เป็นอันดับ 2 ของตลาดรวม โดยมีรุ่น ฟีโน่ เป็นตัวทำยอดเฉลี่ยขายเดือนละประมาณ 23,000 คันหรือคิดเป็นสัดส่วนการขายราว 65% ของยอดรวมทั้งหมดของยามาฮ่า และในปีนี้คาดว่า ยามาฮ่าจะทำยอดได้ถึง 440,000 แสนคัน เติบโตขึ้น 20%
-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด?
ปัจจัยด้านราคาน้ำมันแพงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถของผู้บริโภคอยู่บ้าง แต่ก็มีทั้งแง่บวกและลบ ด้านลบแบบชัดเจนคือ ต้นทุนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นคันละ 700-800 บาท ส่วนทางอ้อมเช่นอัตราเงินเฟ้อ ค่าแรง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ขณะที่ด้านดีคือ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้นทำให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มเช่นกัน
สำหรับเรื่องน้ำท่วมก็มีผลกระทบอยู่บ้างแต่เพียงระยะสั้น ซึ่งบริษัทฯ เตรียมให้การช่วยเหลือไว้แล้วโดยจะร่วมมือกับผู้จำหน่ายให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการออกให้บริการถึงพื้นที่ ตรวจเช็คสภาพรถและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ฟรี แถมส่วนลดพิเศษสำหรับค่าอะไหล่ พร้อมกับตั้งงบประมาณไว้ไม่อั้นเพื่อการดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ฉะนั้นโฟกัสของตลาดรถสองล้อจึงหันไปหาค่ายเบอร์สอง “ยามาฮ่า” ว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร หลังคู่แข่ง หันไปคบหากับเครื่องยนต์หัวฉีดกันแล้ว “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์ “ประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์” รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เพื่อหาคำตอบ
-มองคู่แข่งหันมาเล่นเครื่องยนต์หัวฉีดอย่างไร?
เราคงปล่อยให้คู่แข่งทำตลาดไปก่อน เนื่องจากมองว่าตลาดเวลานี้อาจจะยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มตามคันละกว่า 3,000 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่ม และเมื่อเทียบความคุ้มค่ากับระหว่างการประหยัดน้ำมันที่เพิ่มขึ้นราว 10% กับราคาตัวรถที่ต้องจ่ายแล้ว รถเครื่องยนต์คาบูเรเตอร์ยังคงคุ้มค่ากว่า
ขณะที่ประสิทธิภาพด้านการขับขี่ระหว่างเครื่องยนต์หัวฉีดกับคาบูเรเตอร์นั้นมีความใกล้เคียงกัน แต่เครื่องคาบูเรเตอร์จะได้เปรียบอยู่ในด้านของลูกค้าที่ชื่นชอบการปรับแต่งเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์แบบคาบูเรเตอร์ยังตอบสนองตลาดส่วนนี้อยู่
ซึ่งเครื่องยนต์แบบหัวฉีด อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่ตลาดจะยอมรับ รวมถึงอู่ซ่อมและปรับแต่งเครื่องยนต์ภายนอกที่ไม่ใช่ศูนย์บริการก็ยังจำเป็นต้องรอการปรับตัวอีกสักระยะหนึ่ง
-ยามาฮ่าพร้อมทำระบบหัวฉีดเมื่อไหร่?
เรามองปัจจัยหลักในการตัดสินใจเรื่องนี้อยู่ 3 ประการ คือ การยอมรับของลูกค้า, มาตรฐานไอเสีย และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถามว่าเวลานี้ยามาฮ่า พร้อมทำตลาดหัวฉีดหรือไม่ เราตอบได้ทันทีว่า “พร้อม” ดูจากเรามีรุ่น สปาร์ค 135i ที่เป็นเครื่องยนต์หัวฉีดทำตลาดอยู่แล้ว เพียงแต่รอเวลาให้ตลาดยอมรับและการบังคับมาตรฐานไอเสีย ซึ่งเป็นจะตัวกำหนดสำคัญ
-อนาคตของรถหัวฉีดเป็นอย่างไร?
แน่นอนว่าอนาคตรถจักรยานยนต์ของไทยจะต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ระบบหัวฉีดทั้งหมดใน 4 ปีข้างหน้า ด้วยข้อกำหนดด้านมาตรฐานไอเสียที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ โดยปัจจุบันเราบังคับอยู่ที่ระดับ 5 และตั้งแต่ 1 ม.ค. 2552 จะบังคับที่ระดับ 6 ซึ่งเราสามารถปรับรถเครื่องยนต์คาบูเรเตอร์เพียงเล็กน้อยก็ผ่านมาตรฐานได้
อย่างไรก็ตามในปี 2555 หรือ 2010 จะมีการบังคับใช้มาตรฐานไอเสียระดับ 7 การจะทำให้รถที่ใช้เครื่องคาบูเรเตอร์ ผ่านมาตรฐานดังกล่าวจะต้องใช้ต้นทุนมากกว่าการเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์แบบหัวฉีด ฉะนั้นจึงไม่แปลก หากภายใน 4 ปีข้างหน้าจะเห็นจักรยานยนต์ใหม่ทุกคันในเมืองไทยเป็นเครื่องยนต์แบบหัวฉีด
-ยามาฮ่า จะทำเครื่องหัวฉีดทั้งหมดเมื่อไหร่?
ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ แล้วแต่ปัจจัยทั้ง 3 ประการ อาจจะเป็นปีหน้า หรืออีก 2-3 ปี มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น
-แนวโน้มตลาดของปีนี้?
คาดว่าจะเติบโตทั้งปีประมาณ 5% หรือราว 1.7 ล้านคัน หลังจาก ตลาดรถจักรยานยนต์ 8 เดือนที่ผ่านมา(ม.ค.-ส.ค.)มียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 1,176,088 คันขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
เฉพาะส่วนของยามาฮ่าเอง มียอดจดทะเบียนรวม 298,068 คัน เติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 20% และมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 2.8% มาอยู่ที่ 25.4% เป็นอันดับ 2 ของตลาดรวม โดยมีรุ่น ฟีโน่ เป็นตัวทำยอดเฉลี่ยขายเดือนละประมาณ 23,000 คันหรือคิดเป็นสัดส่วนการขายราว 65% ของยอดรวมทั้งหมดของยามาฮ่า และในปีนี้คาดว่า ยามาฮ่าจะทำยอดได้ถึง 440,000 แสนคัน เติบโตขึ้น 20%
-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด?
ปัจจัยด้านราคาน้ำมันแพงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถของผู้บริโภคอยู่บ้าง แต่ก็มีทั้งแง่บวกและลบ ด้านลบแบบชัดเจนคือ ต้นทุนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นคันละ 700-800 บาท ส่วนทางอ้อมเช่นอัตราเงินเฟ้อ ค่าแรง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ขณะที่ด้านดีคือ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้นทำให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มเช่นกัน
สำหรับเรื่องน้ำท่วมก็มีผลกระทบอยู่บ้างแต่เพียงระยะสั้น ซึ่งบริษัทฯ เตรียมให้การช่วยเหลือไว้แล้วโดยจะร่วมมือกับผู้จำหน่ายให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการออกให้บริการถึงพื้นที่ ตรวจเช็คสภาพรถและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ฟรี แถมส่วนลดพิเศษสำหรับค่าอะไหล่ พร้อมกับตั้งงบประมาณไว้ไม่อั้นเพื่อการดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม