นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2551 ด้วยปริมาณการขาย 47,130 คัน ลดลง 13.0 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 17,991 คัน เพิ่มขึ้น 20.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 29,139 คัน ลดลง 25.7% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 24,739 คัน ลดลง 28.6% ทางด้านสถิติการขายสะสม 8 เดือนของปี 2551 มีปริมาณทั้งสิ้น 413,377 คัน เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 147,690 คัน เพิ่มขึ้น 30.2% รถเพื่อการพาณิชย์ 265,687 คัน ลดลง 6.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 227,917 คัน ลดลง 8.7%
ตลาดรถยนต์ 8 เดือนแรกเติบโต ด้วยยอดขายรวม 413,377 คัน เพิ่มขึ้น 3.9% สืบเนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์นั่ง ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 30.2% เนื่องจากความนิยมที่มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีต่อรถยนต์รุ่นใหม่ อาทิ โคโรลล่า อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ส ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 6.6% รวมถึงตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตลดลง 8.7%
ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม มีอัตราการเติบโตลดลง 13% ปริมาณการขาย 47,130 คัน เป็นผลมาจากการหดตัวของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ปรับตัวลดลง 25.7% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ใน เซ็กเมนท์นี้ที่ลดลงถึง 28.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดีตลาดรถยนต์นั่งที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 20.3% ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับลดราคาลงถึง 7 ครั้ง เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดรวมไม่ลดลงไปมาก
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน คาดว่าปริมาณการขายทรงตัว ตามสถิติการขายแล้ว เดือนกันยายนจะมียอดขายมากที่สุดในไตรมาส 3 ประกอบกับมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด อาทิ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ใหม่ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ใหม่ ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ รวมถึงแคมเปญพิเศษต่างๆอีกมายมายจากหลายค่าย น่าจะส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์เดือนกันยายน แต่ทั้งนี้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและส่งผลต่อตลาดรถยนต์ได้
ตลาดรถยนต์รวมทุกประเภท
ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ตลาดรถปิกอัพขนาด 1 ตัน (ไม่รวม SUV)
ตลาดรถยนต์ 8 เดือนแรกเติบโต ด้วยยอดขายรวม 413,377 คัน เพิ่มขึ้น 3.9% สืบเนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์นั่ง ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 30.2% เนื่องจากความนิยมที่มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีต่อรถยนต์รุ่นใหม่ อาทิ โคโรลล่า อัลติส และ ฮอนด้า แจ๊ส ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 6.6% รวมถึงตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตลดลง 8.7%
ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม มีอัตราการเติบโตลดลง 13% ปริมาณการขาย 47,130 คัน เป็นผลมาจากการหดตัวของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ปรับตัวลดลง 25.7% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ใน เซ็กเมนท์นี้ที่ลดลงถึง 28.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดีตลาดรถยนต์นั่งที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 20.3% ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับลดราคาลงถึง 7 ครั้ง เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดรวมไม่ลดลงไปมาก
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน คาดว่าปริมาณการขายทรงตัว ตามสถิติการขายแล้ว เดือนกันยายนจะมียอดขายมากที่สุดในไตรมาส 3 ประกอบกับมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด อาทิ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ใหม่ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ใหม่ ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ รวมถึงแคมเปญพิเศษต่างๆอีกมายมายจากหลายค่าย น่าจะส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์เดือนกันยายน แต่ทั้งนี้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและส่งผลต่อตลาดรถยนต์ได้
ตลาดรถยนต์รวมทุกประเภท
ยี่ห้อ | ส.ค.08 | ส.ค.07 | ม.ค.-ส.ค.08 |
โตโยต้า | 20,405 | 24,524 | 176,815 |
อีซูซุ | 10,683 | 14,209 | 90,609 |
ฮอนด้า | 6,040 | 4,525 | 55,890 |
นิสสัน | 2,195 | 2,732 | 22,129 |
มิตซูบิชิ | 1,278 | 2,004 | 16,264 |
ซูซูกิ | 938 | 204 | 5,214 |
มาสด้า | 762 | 1,255 | 7,761 |
ฮีโน่ | 591 | 640 | 4,872 |
มิตซูบิชิ-ฟูโซ่ | 131 | 230 | 1,066 |
นิสสัน เอ็น ดีเซล | 71 | 88 | 703 |
ซูบารุ | 9 | 7 | 107 |
รวมรถญี่ปุ่น | 43,103 | 50,418 | 381,430 |
ฮุนได | 101 | - | 605 |
เกีย | 22 | 17 | 288 |
แดวู | 2 | - | 65 |
เชฟโรเลต | 2,008 | 1,812 | 16,252 |
ฟอร์ด | 687 | 1,202 | 6,238 |
เบนซ์ | 418 | 362 | 2,953 |
โปรตอน | 343 | - | 2,057 |
บีเอ็มดับเบอลยู | 179 | 131 | 1,318 |
วอลโว่ | 83 | 58 | 606 |
ทาทา | 27 | - | 94 |
วูหลิง | 20 | - | 315 |
โฟล์คสวาเกน | 17 | 37 | 235 |
เปอโยต์ | 10 | 8 | 98 |
ยี่ห้ออื่นๆ | 110 | 118 | 823 |
รวมทั้งหมด | 47,130 | 54,163 | 413,377 |
ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ยี่ห้อ | ส.ค.08 | ส.ค.07 | ม.ค.-ส.ค.08 |
โตโยต้า | 8,851 | 8,661 | 72,410 |
ฮอนด้า | 5,499 | 4,025 | 49,188 |
นิสสัน | 692 | 420 | 4,917 |
มาสด้า | 303 | 276 | 2,459 |
มิตซูบิชิ | 206 | 251 | 2,699 |
ซูซูกิ | 28 | 31 | 252 |
ซูบารุ | 8 | 7 | 99 |
รวมรถญี่ปุ่น | 15,587 | 13,671 | 132,024 |
ฮุนได | 65 | - | 166 |
เกีย | 12 | 17 | 129 |
เชฟโรเลต | 1,181 | 627 | 7,787 |
เบนซ์ | 394 | 342 | 2,599 |
โปรตอน | 343 | - | 2,057 |
บีเอ็มดับเบอลยู | 160 | 112 | 1,160 |
ฟอร์ด | 132 | 60 | 760 |
วอลโว่ | 35 | 33 | 284 |
เปอโยต์ | 10 | 8 | 98 |
โฟล์คสวาเกน | - | 4 | 5 |
ยี่ห้ออื่นๆ | 72 | 80 | 621 |
รวมทั้งหมด | 17,991 | 14,954 | 147,690 |
ตลาดรถปิกอัพขนาด 1 ตัน (ไม่รวม SUV)
ยี่ห้อ | ส.ค.08 | ส.ค.07 | ม.ค.-ส.ค.08 |
โตโยต้า | 10,424 | 14,429 | 94,856 |
อีซูซุ | 10,095 | 13,369 | 85,734 |
นิสสัน | 1,482 | 2,162 | 16,732 |
มิตซูบิชิ | 1,066 | 1,753 | 13,545 |
เชฟโรเลต | 657 | 864 | 6,403 |
ฟอร์ด | 529 | 1,103 | 5,251 |
มาสด้า | 459 | 979 | 5,302 |
ทาทา | 27 | - | 94 |
รวมทั้งหมด | 24,739 | 34,659 | 227,917 |