เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้ตลาดรถสปอร์ต
ในยุคหลังสงครามโลก ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งเขต และทรัพยากรสำหรับใช้ในการผลิตรถยนต์ก็มีไม่เพียงพอ นั่นก็เลยทำให้ 356 ต้องใช้ชิ้นส่วนหลายอย่าง เช่น เครื่องยนต์, เกียร์ และระบบกันสะเทือนร่วมกับโฟล์คเต่า แต่ 356 เองก็ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ก็เพราะว่าโฟล์คเต่ารุ่นใหม่ๆ ใช้ชิ้นส่วนที่ได้รับการผลิตจากพอร์ช ทำให้พวกเขาสามารถกำหนดสเปกและใช้มาตรฐานที่ดีในการผลิตเพื่อเผื่อให้กับเพื่อนร่วมสายพันธุ์ด้วย
356 มีการปรับปรุงเวอร์ชันใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เช่น A, B และ C โดยรุ่นสุดท้ายวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่ที่ได้รับการออกแบบโดยพอร์ช ขณะที่โครงสร้างตัวถังได้รับการออกแบบโดยเออร์วิน โคเมนด้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบโฟล์คเต่าด้วยเช่นกัน
เอกลักษณ์ของรถสปอร์ตจากพอร์ชที่ยึดมาตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน คือ การใช้เครื่องยนต์วางด้านท้าย (เหมือนกับโฟล์คเต่า) และเครื่องยนต์ก็เป็นแบบสูบนอน หรือบ็อกเซอร์ และระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
356 ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีการผลิตออกสู่ตลาดทั้งตัวถังคูเป้และเปิดประทุน ซึ่งในปี 1950 มีการผลิตออกขายรวม 52 คัน และพอร์ชวางแผนที่จะขยายไลน์ผลิต แต่ด้วยเหตุที่โรงงานในออสเตรียมีขนาดเล็กและไม่สามารถทำได้ จึงทำให้พอร์ชต้องระเห็จกลับมาตั้งต้นใหม่ที่เมืองสตุ๊ตการ์ท และที่นี่พวกเขาปรับปรุงไลน์ผลิตใหม่ และตั้งเป้าในการประกอบรถสปอร์ตออกสู่ตลาดรวมทั้งสิ้น 100 คันต่อปี และ 10 ปีผ่านไป รถสปอร์ตรุ่นนี้มียอดผลิตรวม 25,000 คัน และเพิ่มขึ้นเป็น 77,766 คันเมื่อผ่านไป 15 ปี
สู่จุดเริ่มต้นของเจ้าชายกบ
ในยุคกลางทศวรรษที่ 1950 เฟอร์รี่เกิดแนวคิดในการที่จะพัฒนารถสปอร์ตรุ่นใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี รถสปอร์ตรุ่นนี้จะต้องออกแบบใหม่และมีเรี่ยวแรงที่เหนือกว่า 356 ที่วางขายอยู่ในตลาด โครงการนี้เริ่มต้นในปี 1957 และทุกอย่างได้รับการวางแผนโดยเฟอร์รี่ภายใต้คอนเซ็ปต์ สปอร์ตเครื่องยนต์วางท้ายและระบายความร้อนด้วยอากาศ ตัวรถจะต้องมีพื้นที่สำหรับวางของมากพอที่ชุดกอล์ฟจะต้องวางได้ และที่สำคัญจะต้องตอบสนองการขับขี่ได้อย่างยอดเยี่ยม
ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะไปได้ดี แต่กลับมีสิ่งเดียวที่เฟอร์รี่ยังหาทางออกไม่ได้ นั่นก็คือ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก และหลังจากที่ทำการบ้านและทดลองออกแบบกันนานหลายปี ในปี 1960 เฟอร์ดินันด์ อเล็กซานเดอร์ ลูกชายคนโตของเฟอร์รี่ พอร์ช ก็จัดการหาทางออกของเรื่องนี้ ด้วยตัวถังแบบสปอร์ตแฮทช์แบ็ก 2+2 ที่นั่ง
จากนั้นโปรเจ๊กต์ในการพัฒนาภายใต้ชื่อรหัส 901 ก็เริ่มขึ้นในปี 1962 ทุกอย่างของตัวรถได้รับการออกแบบใหม่หมดรวมถึงระบบกันสะเทือนแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท และระบบบังคับเลี้ยวแบบแร็กแอนด์พิเนียนที่มีขนาดกะทัดรัดแต่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพเพราะต้องการลดพื้นที่ในการติดตั้งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขนาดโดยรวมของตัวรถ ขณะที่เครื่องยนต์ 6 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศก็ได้รับการดูแลและพัฒนาภายใต้การควบคุมของ เฟอร์ดินันด์ เพี๊ยซ (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของโฟล์คสวาเกน) หลานชายของเฟอร์รี่ ซึ่งรูปแบบแนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ยาวนานอย่างต่อเนื่องในการผลิตจนกระทั่งถึงปี 1998 เลยทีเดียว
12 กันยายน 1962 ที่งานแสดงแฟรงค์เฟิร์ต มอเตอร์โชว์ พอร์ชจัดการเผยโฉมหน้าต้นแบบของรถสปอร์ตรุ่นใหม่ที่มาจากโปรเจ็กต์ 901 ก่อนที่ผลผลิตแรกจะออกจากไลน์ผลิตในวันที่ 14 กันยายน 1964 และถูกเปิดตัวออกมาในงานปารีส มอเตอร์โชว์ จากนั้น 901 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น 911 ซึ่งกลายมาเป็นรถสปอร์ตรุ่นประวัติศาสตร์ของพอร์ช
ตัวถังคูเป้แบบ 2+2 ที่นั่งของพอร์ช 911 ถูกเปิดตัวออกมาพร้อมกับเสียงฮือฮาในด้านความล้ำสมัยของการออกแบบ และตัวพอร์ชเองก็ไม่ได้หยุดทางเลือกเอาไว้แค่นี้ เพราะในปี 1965 ก็เพิ่มอีกทางเลือกด้วยรุ่นทาร์กา ออกมาทำตลาดพร้อมกับนิยามที่ว่า Safety Convertible เพราะว่าเป็นการเปิดประทุนที่ถอดออกเฉพาะแผ่นหลังคา ต่างจากทาร์กาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นในปี 1972-1973 ก็เปิดตัวรหัสแรง Carrera RS 2.7 ออกมาทำตลาด
จากการที่พอร์ชให้ความสนใจในการเข้าร่วมมอเตอร์สปอร์ต จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารุ่นเทอร์โบ ซึ่งภายใต้กฎการแข่งขันระบุว่า พอร์ชจะต้องนำรถสปอร์ตที่ขายอยู่ในตลาดมาพัฒนาเป็นรถแข่ง ซึ่งพอร์ช 911 เทอร์โบเปิดตัวออกมาในปี 1974
911 ถือเป็นรถสปอร์ตที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในประวัติศาสตร์ของพอร์ช และมีการทำตลาดจนถึงรุ่นปัจจุบันซึ่งใช้รหัสตัวถังว่า 997 และเพิ่มมีการปรับโฉมหรือไมเนอร์เชนจ์ไปเมื่อไม่นานนี้ โดยจุดที่แตกต่างจากในอดีต คือ 911 ยุคใหม่นับจากรุ่น 996 ที่เปิดตัวในปี 1998 ได้เปลี่ยนมาหาเครื่องยนต์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำแทนที่การระบายความร้อนด้วยอากาศ
***โปรดติดตามตอนต่อไป
ในยุคหลังสงครามโลก ประเทศเยอรมนีถูกแบ่งเขต และทรัพยากรสำหรับใช้ในการผลิตรถยนต์ก็มีไม่เพียงพอ นั่นก็เลยทำให้ 356 ต้องใช้ชิ้นส่วนหลายอย่าง เช่น เครื่องยนต์, เกียร์ และระบบกันสะเทือนร่วมกับโฟล์คเต่า แต่ 356 เองก็ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ก็เพราะว่าโฟล์คเต่ารุ่นใหม่ๆ ใช้ชิ้นส่วนที่ได้รับการผลิตจากพอร์ช ทำให้พวกเขาสามารถกำหนดสเปกและใช้มาตรฐานที่ดีในการผลิตเพื่อเผื่อให้กับเพื่อนร่วมสายพันธุ์ด้วย
356 มีการปรับปรุงเวอร์ชันใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เช่น A, B และ C โดยรุ่นสุดท้ายวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่ที่ได้รับการออกแบบโดยพอร์ช ขณะที่โครงสร้างตัวถังได้รับการออกแบบโดยเออร์วิน โคเมนด้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบโฟล์คเต่าด้วยเช่นกัน
เอกลักษณ์ของรถสปอร์ตจากพอร์ชที่ยึดมาตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน คือ การใช้เครื่องยนต์วางด้านท้าย (เหมือนกับโฟล์คเต่า) และเครื่องยนต์ก็เป็นแบบสูบนอน หรือบ็อกเซอร์ และระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
356 ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีการผลิตออกสู่ตลาดทั้งตัวถังคูเป้และเปิดประทุน ซึ่งในปี 1950 มีการผลิตออกขายรวม 52 คัน และพอร์ชวางแผนที่จะขยายไลน์ผลิต แต่ด้วยเหตุที่โรงงานในออสเตรียมีขนาดเล็กและไม่สามารถทำได้ จึงทำให้พอร์ชต้องระเห็จกลับมาตั้งต้นใหม่ที่เมืองสตุ๊ตการ์ท และที่นี่พวกเขาปรับปรุงไลน์ผลิตใหม่ และตั้งเป้าในการประกอบรถสปอร์ตออกสู่ตลาดรวมทั้งสิ้น 100 คันต่อปี และ 10 ปีผ่านไป รถสปอร์ตรุ่นนี้มียอดผลิตรวม 25,000 คัน และเพิ่มขึ้นเป็น 77,766 คันเมื่อผ่านไป 15 ปี
สู่จุดเริ่มต้นของเจ้าชายกบ
ในยุคกลางทศวรรษที่ 1950 เฟอร์รี่เกิดแนวคิดในการที่จะพัฒนารถสปอร์ตรุ่นใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี รถสปอร์ตรุ่นนี้จะต้องออกแบบใหม่และมีเรี่ยวแรงที่เหนือกว่า 356 ที่วางขายอยู่ในตลาด โครงการนี้เริ่มต้นในปี 1957 และทุกอย่างได้รับการวางแผนโดยเฟอร์รี่ภายใต้คอนเซ็ปต์ สปอร์ตเครื่องยนต์วางท้ายและระบายความร้อนด้วยอากาศ ตัวรถจะต้องมีพื้นที่สำหรับวางของมากพอที่ชุดกอล์ฟจะต้องวางได้ และที่สำคัญจะต้องตอบสนองการขับขี่ได้อย่างยอดเยี่ยม
ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะไปได้ดี แต่กลับมีสิ่งเดียวที่เฟอร์รี่ยังหาทางออกไม่ได้ นั่นก็คือ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก และหลังจากที่ทำการบ้านและทดลองออกแบบกันนานหลายปี ในปี 1960 เฟอร์ดินันด์ อเล็กซานเดอร์ ลูกชายคนโตของเฟอร์รี่ พอร์ช ก็จัดการหาทางออกของเรื่องนี้ ด้วยตัวถังแบบสปอร์ตแฮทช์แบ็ก 2+2 ที่นั่ง
จากนั้นโปรเจ๊กต์ในการพัฒนาภายใต้ชื่อรหัส 901 ก็เริ่มขึ้นในปี 1962 ทุกอย่างของตัวรถได้รับการออกแบบใหม่หมดรวมถึงระบบกันสะเทือนแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท และระบบบังคับเลี้ยวแบบแร็กแอนด์พิเนียนที่มีขนาดกะทัดรัดแต่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพเพราะต้องการลดพื้นที่ในการติดตั้งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขนาดโดยรวมของตัวรถ ขณะที่เครื่องยนต์ 6 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศก็ได้รับการดูแลและพัฒนาภายใต้การควบคุมของ เฟอร์ดินันด์ เพี๊ยซ (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของโฟล์คสวาเกน) หลานชายของเฟอร์รี่ ซึ่งรูปแบบแนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ยาวนานอย่างต่อเนื่องในการผลิตจนกระทั่งถึงปี 1998 เลยทีเดียว
12 กันยายน 1962 ที่งานแสดงแฟรงค์เฟิร์ต มอเตอร์โชว์ พอร์ชจัดการเผยโฉมหน้าต้นแบบของรถสปอร์ตรุ่นใหม่ที่มาจากโปรเจ็กต์ 901 ก่อนที่ผลผลิตแรกจะออกจากไลน์ผลิตในวันที่ 14 กันยายน 1964 และถูกเปิดตัวออกมาในงานปารีส มอเตอร์โชว์ จากนั้น 901 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น 911 ซึ่งกลายมาเป็นรถสปอร์ตรุ่นประวัติศาสตร์ของพอร์ช
ตัวถังคูเป้แบบ 2+2 ที่นั่งของพอร์ช 911 ถูกเปิดตัวออกมาพร้อมกับเสียงฮือฮาในด้านความล้ำสมัยของการออกแบบ และตัวพอร์ชเองก็ไม่ได้หยุดทางเลือกเอาไว้แค่นี้ เพราะในปี 1965 ก็เพิ่มอีกทางเลือกด้วยรุ่นทาร์กา ออกมาทำตลาดพร้อมกับนิยามที่ว่า Safety Convertible เพราะว่าเป็นการเปิดประทุนที่ถอดออกเฉพาะแผ่นหลังคา ต่างจากทาร์กาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นในปี 1972-1973 ก็เปิดตัวรหัสแรง Carrera RS 2.7 ออกมาทำตลาด
จากการที่พอร์ชให้ความสนใจในการเข้าร่วมมอเตอร์สปอร์ต จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารุ่นเทอร์โบ ซึ่งภายใต้กฎการแข่งขันระบุว่า พอร์ชจะต้องนำรถสปอร์ตที่ขายอยู่ในตลาดมาพัฒนาเป็นรถแข่ง ซึ่งพอร์ช 911 เทอร์โบเปิดตัวออกมาในปี 1974
911 ถือเป็นรถสปอร์ตที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในประวัติศาสตร์ของพอร์ช และมีการทำตลาดจนถึงรุ่นปัจจุบันซึ่งใช้รหัสตัวถังว่า 997 และเพิ่มมีการปรับโฉมหรือไมเนอร์เชนจ์ไปเมื่อไม่นานนี้ โดยจุดที่แตกต่างจากในอดีต คือ 911 ยุคใหม่นับจากรุ่น 996 ที่เปิดตัวในปี 1998 ได้เปลี่ยนมาหาเครื่องยนต์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำแทนที่การระบายความร้อนด้วยอากาศ
***โปรดติดตามตอนต่อไป