กับภาพที่มีให้เห็นกันจนชินตาบนท้องถนน นิยามที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับคนส่วนใหญ่ในบ้านเราก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวกับ ‘ควันดำ เร่งไม่ขึ้น อืด เสียงดัง’
ทั้งที่ความจริงแล้วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ประเภทนี้มีการพัฒนาที่รุดหน้าอย่างมาก จนเรียกว่าไม่ได้มีความใกล้เคียงกับนิยามข้างต้นเลย และมีประสิทธิภาพไม่เฉพาะการใช้งานบนถนนเท่านั้น แต่ยังรุกถึงแวดวงมอเตอร์สปอร์ตโดยสามารถนำมาใช้แข่งขันกับเครื่องยนต์เบนซินได้ ชนิดที่ว่าไม่ใช่แค่มีผลงานที่สูสีกันเท่านั้น แต่ถึงขั้นเอาชนะกันได้เลย
และผลการแข่งขันของเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงในระหว่างปี 2006-2008 คือ หลักฐานที่ยืนยันถึงเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ดีเซล และผลผลิตที่ต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับดีเซลอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี
ออดี้-เชลล์เปิดโลกดีเซลสู่มอเตอร์สปอร์ต
หลังจากอิ่มตัวกับชัยชนะนับจากปี 2000-2002 และ 2004-2005 ในสนามแข่งมาราธอนเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงที่ประเทศฝรั่งเศสด้วยการใช้ตัวแข่ง R8 ซึ่งวางเครื่องยนต์เบนซิน ในปี 2006 ออดี้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการเปิดตัวรถแข่งในชื่อ R10 พร้อมเครื่องยนต์ใหม่วี12 5,500 ซีซี ที่รีดกำลังออกมาได้ 650 แรงม้า
รถแข่งรุ่นนี้สามารถความตื่นตะลึงให้วงการพอสมควร ไม่ใช่เพราะเป็นรถแข่งรุ่นใหม่ของออดี้เท่านั้นแต่นี่คือรถแข่งที่เกิดมาเพื่อคว้าชัยโดยที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล และแน่นอนว่า ออดี้ไม่ได้ทำงานในครั้งนี้โดยลำพัง แต่มีเชลล์ ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกเป็นพันธมิตรที่อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล V-Power Diesel สำหรับใช้ในการแข่งขัน
ชัยชนะในปี 2006 และ 2007 คือ เครื่องพิสูจน์ถึงความยอดเยี่ยมในการทำงานของทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี และในปีนี้ เชลล์ได้เชิญสื่อมวลชนนับสิบชีวิตทั่วโลกรวมถึง “ผู้จัดการ มอเตอริ่ง” เข้าร่วมเป็นสักขีพยานแห่งความสำเร็จบนสนามแข่ง ซึ่งผลการแข่งคงทราบกันไปแล้วว่าออดี้และเชลล์สามารถพาตัวแข่ง R10 และเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลเดินหน้าสู่การคว้าแชมป์ได้อีกครั้ง
ประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ส่วนหนึ่งอยู่ที่การทำแฮทริกในการคว้าแชมป์เลอมังส์ในปีนี้ด้วยชัยชนะเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันของทั้งคู่ แต่อีกส่วนหนึ่ง คือ เป็นครั้งแรกที่เชลล์พัฒนาน้ำมันดีเซลประเภทใหม่มาใช้ ซึ่งอะไรที่เรียกว่าเป็นของใหม่ในมอเตอร์สปอร์ตถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อชัยชนะ แต่เชลล์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าน้ำมันดีเซลของพวกเขาสามารถสร้างความมั่นใจและมีประสิทธิภาพสูงขนาดไหน
เริ่มต้นชัยชนะกับ BTL
ในปี 2006 และ 2007 รถแข่งของออดี้ใช้น้ำมัน V-Power Diesel สำหรับแข่งขันของเชลล์ ภายใต้การสังเคราะห์ในรูปแบบ GTL หรือ Gas to Liquid ซึ่งเชลล์เป็นรายแรกที่ริเริ่มกรรมวิธีนี้ โดยเป็นการสร้างเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนในรูปแบบของเหลว (เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่อง) ด้วยการสังเคราะห์จากแก๊สธรรมชาติภายใต้เทคโนโลยีเฉพาะของเชลล์ ซึ่งผลที่ได้คือ น้ำมันดีเซลที่ปราศจากกำมะถัน และมีคุณภาพของซีเทนสูง ช่วยให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากน้ำมันดีเซลทั่วไป
อย่างไรก็ตาม GTL ไม่ใช่ของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะว่านับจากปี 1993 เป็นต้นมา เชลล์ได้ส่งผลผลิตที่ใช้รูปแบบ GTL จากโรงงานบินตูลูในประเทศมาเลเซียออกสู่ตลาด เพียงแต่ยังไม่มีความแพร่หลายเท่าไร และในปัจจุบัน กับความร่วมมือกับกาตาร์ ปิโตรเลียม เชลล์ได้มีการสร้างโรงงานผลิต GTL ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่กาตาร์ด้วยกำลังการผลิตจำนวน 140,000 บาร์เรลล์ต่อวัน ซึ่งในเวลาต่อมาน้ำมันดีเซลสังเคราะห์ภายใต้รูปแบบ GTL ก็ถูกส่งขายในยุโรปภายใต้ชื่อ V-Power Diesel โดยเริ่มที่ประเทศอิตาลีในปี 2002 ก่อนที่จะได้รับความนิยมไปทั่วโลก และมีสถานีบริการของเชลล์มากกว่า 7,000 แห่งทั่วโลกที่มีน้ำมัน V-Power Diesel จำหน่าย รวมประเทศไทยด้วย
ก่อนที่เชลล์จะกลายเป็นพันธมิตรของออดี้สำหรับการแข่งขันเลอมังส์ในปี 2006 ด้วยการสนับสนุนน้ำมันดีเซล V-Power Diesel ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในสนามแข่งด้วยเทคโนโลยี GTL เช่นเดียวกับการทำงานร่วมกับเฟอร์รารี่ในกลุ่มของน้ำมันเบนซิน ซึ่งทางเชลล์สนับสนุนทีมแข่งของค่ายนี้มาตั้งแต่ยุคของเอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ในทศวรรษที่ 1930 มาจนถึงการแข่งขันฟอร์มูลา วันในยุคปัจจุบัน
เปิดรูปแบบใหม่ของน้ำมัน BTL
สำหรับในปีนี้ เชลล์สร้างความตื่นตะลึงอีกครั้ง เพราะว่ามีการนำสูตรใหม่ของน้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในการแข่งขันด้วยการเพิ่มรูปแบบการสังเคราะห์น้ำมันที่เรียกว่า BTL หรือ Biomass to Liquids หรือการแปรรูปชีวมวลสารมาเป็นของเหลว โดยนำมาใช้ร่วมกับน้ำมันสูตรเดิมแบบ GTL เพื่อใช้เป็นน้ำมันสำหรับทีมแข่งเลอมังส์ในปีนี้
ออดี้เปิดเผยว่านี่จะเป็นครั้งแรกของโลกที่รถแข่ง R10 Tdi ใช้เชื้อเพลิงประเภทนี้ซึ่งทางเชลล์จัดการส่งน้ำมันดีเซลรุ่น V-Power ที่มีส่วนประกอบของ GTL และ BTL มาใช้ และถือเป็นน้ำมันดีเซลยุคใหม่ที่ได้รับการพัฒนาและผลิตโดยมีส่วนประกอบของ Biowasted หรือของเสียทางชีวภาพที่ไม่ได้เป็นอาหาร เช่น กากไม้ หรือผลผลิตที่มาจากป่า
ด้วยการทำงานที่มีการร่วมมือกับทาง CHOREN Industries GmbH แห่งประเทศเยอรมนี ซึ่งเชลล์เข้ามาถือหุ้นในบริษัทนี้เมื่อปี 2005 บริษัทแห่งนี้ถือเป็นผู้นำของโลกในด้านระบบกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบที่เป็นของแข็งและมีส่วนประกอบของคาร์บอนไปสู่การเป็นเชื้อเพลิง และ CHOREN จะรับหน้าที่ผลิต BTL ที่ได้รับการปรับแต่งเพื่อนำมาใช้กับ V-Power Diesel สำหรับใช้ในรายการเลอมังส์
นอกจากนั้น โรงงานแห่งแรกของโลกที่มีการทดลองผลิตเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ของ CHOREN ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี จะเริ่มทำหน้าที่ผลิตเชื้อเพลิงประเภทนี้ออกสู่ตลาดภายใน 12 เดือนข้างหน้า
BTL เป็นน้ำมันดีเซลแบบเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 2 ให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ ปราศจากกำมะถัน และสามารถลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลทั่วไป
และจากชัยชนะในสนามแข่งปีนี้ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมอีกครั้งของทั้งออดี้ และผู้ที่อยู่เบื้องหลังในด้านการสนับสนุนน้ำมันดีเซลสำหรับการแข่งขันอย่าง “เชลล์”
เลอมังส์คือสนามทดสอบชั้นเยี่ยม
ด้วยรูปแบบที่สุดโหดซึ่งเครื่องยนต์จะต้องทำงานอย่างหนักภายใต้ขีดจำกัดสูงสุดตลอด 24 ชั่วโมงของการแข่งขัน เลอมังส์จึงเปรียบเสมือนสนามทดสอบชั้นดีในการนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงของเชลล์
นอกจากออดี้แล้ว เชลล์ยังรับหน้าที่สนับสนุนน้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในการแข่งขัน หรือ Official Fuel Supplier ให้กับทีมอื่นๆ ที่ในการแข่งขันด้วย โดยในปีนี้เชลล์จะสนับสนุนทั้งน้ำมัน V-Power Diesel และน้ำมันเบนซินซึ่งมีส่วนผสมของเอธานอล 10% สำหรับใช้ในการแข่งขันรวมแล้วประมาณ 260,000 ลิตร ซึ่งน้ำมันทั้งหมดได้รับการปรับแต่งมาจากโรงงานของเชลล์ในฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนีเพื่อให้สอดคล้องกับกฎการแข่งขันที่ควบคุมโดยผู้จัดเลอมังส์ 24 ชั่วโมงอย่าง Automobile Club l’Ouest (ACO)
นั่นหมายความว่า มอเตอร์สปอร์ตถือเป็นเวทีสำคัญสำหรับใช้ในการทดสอบน้ำมันตัวใหม่และสามารถแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของน้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในการแข่งขัน V-Power Diesel ซึ่งมีทั้ง GTL และ BTL ได้เป็นอย่างดี
ถึงบรรทัดนี้คงต้องบอกว่าชัยชนะบนสนามแข่งอันทรหด 24 ชั่วโมง “เลอ มังส์ “ เป็นบทพิสูจน์ได้ดีว่าน้ำมันดีเซล-เบนซิน ของเชลล์นั้น “สุดยอด” ขนาดไหน
ทั้งที่ความจริงแล้วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ประเภทนี้มีการพัฒนาที่รุดหน้าอย่างมาก จนเรียกว่าไม่ได้มีความใกล้เคียงกับนิยามข้างต้นเลย และมีประสิทธิภาพไม่เฉพาะการใช้งานบนถนนเท่านั้น แต่ยังรุกถึงแวดวงมอเตอร์สปอร์ตโดยสามารถนำมาใช้แข่งขันกับเครื่องยนต์เบนซินได้ ชนิดที่ว่าไม่ใช่แค่มีผลงานที่สูสีกันเท่านั้น แต่ถึงขั้นเอาชนะกันได้เลย
และผลการแข่งขันของเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงในระหว่างปี 2006-2008 คือ หลักฐานที่ยืนยันถึงเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ดีเซล และผลผลิตที่ต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับดีเซลอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี
ออดี้-เชลล์เปิดโลกดีเซลสู่มอเตอร์สปอร์ต
หลังจากอิ่มตัวกับชัยชนะนับจากปี 2000-2002 และ 2004-2005 ในสนามแข่งมาราธอนเลอ มังส์ 24 ชั่วโมงที่ประเทศฝรั่งเศสด้วยการใช้ตัวแข่ง R8 ซึ่งวางเครื่องยนต์เบนซิน ในปี 2006 ออดี้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการเปิดตัวรถแข่งในชื่อ R10 พร้อมเครื่องยนต์ใหม่วี12 5,500 ซีซี ที่รีดกำลังออกมาได้ 650 แรงม้า
รถแข่งรุ่นนี้สามารถความตื่นตะลึงให้วงการพอสมควร ไม่ใช่เพราะเป็นรถแข่งรุ่นใหม่ของออดี้เท่านั้นแต่นี่คือรถแข่งที่เกิดมาเพื่อคว้าชัยโดยที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล และแน่นอนว่า ออดี้ไม่ได้ทำงานในครั้งนี้โดยลำพัง แต่มีเชลล์ ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกเป็นพันธมิตรที่อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล V-Power Diesel สำหรับใช้ในการแข่งขัน
ชัยชนะในปี 2006 และ 2007 คือ เครื่องพิสูจน์ถึงความยอดเยี่ยมในการทำงานของทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี และในปีนี้ เชลล์ได้เชิญสื่อมวลชนนับสิบชีวิตทั่วโลกรวมถึง “ผู้จัดการ มอเตอริ่ง” เข้าร่วมเป็นสักขีพยานแห่งความสำเร็จบนสนามแข่ง ซึ่งผลการแข่งคงทราบกันไปแล้วว่าออดี้และเชลล์สามารถพาตัวแข่ง R10 และเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลเดินหน้าสู่การคว้าแชมป์ได้อีกครั้ง
ประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ส่วนหนึ่งอยู่ที่การทำแฮทริกในการคว้าแชมป์เลอมังส์ในปีนี้ด้วยชัยชนะเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันของทั้งคู่ แต่อีกส่วนหนึ่ง คือ เป็นครั้งแรกที่เชลล์พัฒนาน้ำมันดีเซลประเภทใหม่มาใช้ ซึ่งอะไรที่เรียกว่าเป็นของใหม่ในมอเตอร์สปอร์ตถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อชัยชนะ แต่เชลล์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าน้ำมันดีเซลของพวกเขาสามารถสร้างความมั่นใจและมีประสิทธิภาพสูงขนาดไหน
เริ่มต้นชัยชนะกับ BTL
ในปี 2006 และ 2007 รถแข่งของออดี้ใช้น้ำมัน V-Power Diesel สำหรับแข่งขันของเชลล์ ภายใต้การสังเคราะห์ในรูปแบบ GTL หรือ Gas to Liquid ซึ่งเชลล์เป็นรายแรกที่ริเริ่มกรรมวิธีนี้ โดยเป็นการสร้างเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนในรูปแบบของเหลว (เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่อง) ด้วยการสังเคราะห์จากแก๊สธรรมชาติภายใต้เทคโนโลยีเฉพาะของเชลล์ ซึ่งผลที่ได้คือ น้ำมันดีเซลที่ปราศจากกำมะถัน และมีคุณภาพของซีเทนสูง ช่วยให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากน้ำมันดีเซลทั่วไป
อย่างไรก็ตาม GTL ไม่ใช่ของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะว่านับจากปี 1993 เป็นต้นมา เชลล์ได้ส่งผลผลิตที่ใช้รูปแบบ GTL จากโรงงานบินตูลูในประเทศมาเลเซียออกสู่ตลาด เพียงแต่ยังไม่มีความแพร่หลายเท่าไร และในปัจจุบัน กับความร่วมมือกับกาตาร์ ปิโตรเลียม เชลล์ได้มีการสร้างโรงงานผลิต GTL ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่กาตาร์ด้วยกำลังการผลิตจำนวน 140,000 บาร์เรลล์ต่อวัน ซึ่งในเวลาต่อมาน้ำมันดีเซลสังเคราะห์ภายใต้รูปแบบ GTL ก็ถูกส่งขายในยุโรปภายใต้ชื่อ V-Power Diesel โดยเริ่มที่ประเทศอิตาลีในปี 2002 ก่อนที่จะได้รับความนิยมไปทั่วโลก และมีสถานีบริการของเชลล์มากกว่า 7,000 แห่งทั่วโลกที่มีน้ำมัน V-Power Diesel จำหน่าย รวมประเทศไทยด้วย
ก่อนที่เชลล์จะกลายเป็นพันธมิตรของออดี้สำหรับการแข่งขันเลอมังส์ในปี 2006 ด้วยการสนับสนุนน้ำมันดีเซล V-Power Diesel ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในสนามแข่งด้วยเทคโนโลยี GTL เช่นเดียวกับการทำงานร่วมกับเฟอร์รารี่ในกลุ่มของน้ำมันเบนซิน ซึ่งทางเชลล์สนับสนุนทีมแข่งของค่ายนี้มาตั้งแต่ยุคของเอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ในทศวรรษที่ 1930 มาจนถึงการแข่งขันฟอร์มูลา วันในยุคปัจจุบัน
เปิดรูปแบบใหม่ของน้ำมัน BTL
สำหรับในปีนี้ เชลล์สร้างความตื่นตะลึงอีกครั้ง เพราะว่ามีการนำสูตรใหม่ของน้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในการแข่งขันด้วยการเพิ่มรูปแบบการสังเคราะห์น้ำมันที่เรียกว่า BTL หรือ Biomass to Liquids หรือการแปรรูปชีวมวลสารมาเป็นของเหลว โดยนำมาใช้ร่วมกับน้ำมันสูตรเดิมแบบ GTL เพื่อใช้เป็นน้ำมันสำหรับทีมแข่งเลอมังส์ในปีนี้
ออดี้เปิดเผยว่านี่จะเป็นครั้งแรกของโลกที่รถแข่ง R10 Tdi ใช้เชื้อเพลิงประเภทนี้ซึ่งทางเชลล์จัดการส่งน้ำมันดีเซลรุ่น V-Power ที่มีส่วนประกอบของ GTL และ BTL มาใช้ และถือเป็นน้ำมันดีเซลยุคใหม่ที่ได้รับการพัฒนาและผลิตโดยมีส่วนประกอบของ Biowasted หรือของเสียทางชีวภาพที่ไม่ได้เป็นอาหาร เช่น กากไม้ หรือผลผลิตที่มาจากป่า
ด้วยการทำงานที่มีการร่วมมือกับทาง CHOREN Industries GmbH แห่งประเทศเยอรมนี ซึ่งเชลล์เข้ามาถือหุ้นในบริษัทนี้เมื่อปี 2005 บริษัทแห่งนี้ถือเป็นผู้นำของโลกในด้านระบบกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบที่เป็นของแข็งและมีส่วนประกอบของคาร์บอนไปสู่การเป็นเชื้อเพลิง และ CHOREN จะรับหน้าที่ผลิต BTL ที่ได้รับการปรับแต่งเพื่อนำมาใช้กับ V-Power Diesel สำหรับใช้ในรายการเลอมังส์
นอกจากนั้น โรงงานแห่งแรกของโลกที่มีการทดลองผลิตเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ของ CHOREN ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี จะเริ่มทำหน้าที่ผลิตเชื้อเพลิงประเภทนี้ออกสู่ตลาดภายใน 12 เดือนข้างหน้า
BTL เป็นน้ำมันดีเซลแบบเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 2 ให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ ปราศจากกำมะถัน และสามารถลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 90% เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลทั่วไป
และจากชัยชนะในสนามแข่งปีนี้ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมอีกครั้งของทั้งออดี้ และผู้ที่อยู่เบื้องหลังในด้านการสนับสนุนน้ำมันดีเซลสำหรับการแข่งขันอย่าง “เชลล์”
เลอมังส์คือสนามทดสอบชั้นเยี่ยม
ด้วยรูปแบบที่สุดโหดซึ่งเครื่องยนต์จะต้องทำงานอย่างหนักภายใต้ขีดจำกัดสูงสุดตลอด 24 ชั่วโมงของการแข่งขัน เลอมังส์จึงเปรียบเสมือนสนามทดสอบชั้นดีในการนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงของเชลล์
นอกจากออดี้แล้ว เชลล์ยังรับหน้าที่สนับสนุนน้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในการแข่งขัน หรือ Official Fuel Supplier ให้กับทีมอื่นๆ ที่ในการแข่งขันด้วย โดยในปีนี้เชลล์จะสนับสนุนทั้งน้ำมัน V-Power Diesel และน้ำมันเบนซินซึ่งมีส่วนผสมของเอธานอล 10% สำหรับใช้ในการแข่งขันรวมแล้วประมาณ 260,000 ลิตร ซึ่งน้ำมันทั้งหมดได้รับการปรับแต่งมาจากโรงงานของเชลล์ในฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนีเพื่อให้สอดคล้องกับกฎการแข่งขันที่ควบคุมโดยผู้จัดเลอมังส์ 24 ชั่วโมงอย่าง Automobile Club l’Ouest (ACO)
นั่นหมายความว่า มอเตอร์สปอร์ตถือเป็นเวทีสำคัญสำหรับใช้ในการทดสอบน้ำมันตัวใหม่และสามารถแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของน้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในการแข่งขัน V-Power Diesel ซึ่งมีทั้ง GTL และ BTL ได้เป็นอย่างดี
ถึงบรรทัดนี้คงต้องบอกว่าชัยชนะบนสนามแข่งอันทรหด 24 ชั่วโมง “เลอ มังส์ “ เป็นบทพิสูจน์ได้ดีว่าน้ำมันดีเซล-เบนซิน ของเชลล์นั้น “สุดยอด” ขนาดไหน