xs
xsm
sm
md
lg

ชิเจโทชิ มิโยชิ : เบื้องหลังความสำเร็จของเล็กซัส

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


การเยือนทาฮาร่าโรงงานผลิต "เลกซัส" ประเทศญี่ป่น ชิเจโทชิ มิโยชิ หัวหน้าทีมวิศวกรของเลกซัสพูดถึงความเป็นมา การพัฒนา สถานการณ์ ของเลกซัส แก่สื่อมวลชน

-ความแตกต่างระหว่างยี่ห้อโตโยต้ากับเลกซัสอยู่ตรงไหน
โตโยต้า เป็นรถที่เน้นตลาดที่มียอดจำหน่ายสูงเป็นสำคัญ และมีเป้าหมายที่จะผลิตรถยนต์ที่เหมาะสมกับสภาพตลาดในแต่ละท้องถิ่น ส่วนเลกซัส จะเป็นรถระดับพรีเมียร์คาร์หรือเน้นตลาดชั้นสูงเท่านั้น

-เลกซัสเริ่มผลิตเมื่อไร
เลกซัสเริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี 1989 มีการผลิตรถยนต์รุ่น LS เป็นรุ่นแรกและอยู่บนพื้นฐานและความต้องการผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษบนหลักการสำคัญ 2 อย่างคือ 1. Yet Phiolosophy ความต้องการที่ขัดแย้งกันโดยไม่มีการล้มเลิกกลางคัน 2.Action at source การแก้ไขปัญหาโดยย้อนไปที่ต้นเหตุ

-ยอดขายเลกซัส
ตลอดระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมาเลกซัสสามารถทำยอดจำหน่ายได้สูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทำยอดขายทั่วโลกเกินกว่า 500,000 คัน และตลาดหลัก 3 ใน 4 อยู่ที่อเมริกาเหนือ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งเลกซัสมียอดจำหน่ายต่ำกว่าและเมื่อปีที่แล้วรุ่น RX และ EX สามารถครองส่วนแบ่งได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มียอดจำหน่ายเพียง 300,000 คัน

เราเคยสำรวจความต้องการของผู้บริโภคที่มีรายสูงในญี่ปุ่นพบว่ากลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่มีความชื่นชอบเลกซัสมากกว่ายี่ห้ออื่นคิดเป็น 4.58% และกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่า 30 ปี มีความชื่นชอบยี่ห้ออื่นๆ มากกว่าเลกซัสคิดเป็น 3.0%

ส่วนการสำรวจความรู้จักรถเลกซัสในยุโรปส่วนใหญ่จะยังไม่ค่อยรู้จักแบรนด์ เลกซัส แต่ปัจจุบันหลังจากเรามีรถไฮบริดจำหน่าย เชื่อว่าจะทำให้คนรู้จักเลกซัสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

-จุดแข็ง จุดอ่อน

ความแข็งแกร่งของเลกซัสในตลาดอเมริกาเหนือนั้นคือคำตอบ สำหรับจุดอ่อนของเลกซัส คือ การพึ่งพาตลาดอเมริกาเหนือค่อนข้างมากเกินไป จำเป็นต้องขยายตลาดเพิ่มเติมและเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ คือ ตลาดยุโรป เพราะปัจจุบันเลกซัสมีส่วนแบ่งการตลาดรถหรูเพียงแค่ 7% ที่สำคัญคนยุโรปไม่รู้จักแบรนด์เลกซัส รวมถึงคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยชอบรถเลกซัสด้วย

ปัจจุบันยอดจำหน่ายของเลกซัสค่อนข้างดี แต่ก็มีปัญหาแยะเหมือนกันซึ่งเราอยากที่จะกลับมาแก้ปัญหาต่างๆ พร้อมย้อนกลับมาทบทวนจุดแข็งและความถนัดของเลกซัสว่าอยู่ตรงไหนเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและสร้างแบรนด์เลกซัสอีกรั้งหนึ่ง

เลกซัสเพิ่งเติบโตแค่ 20 ปี ถ้าเทียบกับเมอร์เซเดส-เบนซ์และบีเอ็มดับเบิลยูทีมีประวัติศาสตร์เป็น 100 ปี เราสู้ไม่ได้ โดยเฉพาะในตลาดยุโรป เราจึงอยากรุกไปที่ที่ยังไม่มีเลกซัส เราอยากแข่งกับประวัติสาสตร์ของเขา แต่เราจะไม่ทำตาม เพราะเรามีเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่แล้ว เราคิดเสมอว่าต้องพยายามแสวงหาคุณค่าใหม่ ๆที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

-การพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่

การพัฒนารถใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะรถประหยัดพลังงานเลกซัส ไฮบริด ที่จะต้องออกมาอีกหลายรุ่นแน่นอน พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในคำว่า “ชั้นสูง” ซึ่งแต่เดิมจะหมายถึง คนที่มีฐานะดี มีทรัพย์สินเงินทองจำนวนมาก แต่วันนี้ผมเปลี่ยนความคิดใหม่ ผมสนใจความแปรปรวนทางด้านจิตใจมากกว่า ดังนั้น ณ เวลานี้คำว่าชั้นสูงหมายถึงความประทับใจ ความพึงพอใจ ของลูกค้ามากกว่า

ฉะนั้น คุณค่าที่แท้จริงของคำว่าชั้นสูงจะอยู่ที่การนำเสนอเวลาที่ประทับใจให้กับลูกค้า การนำเสนอรถยนต์ที่มีคุณภาพที่ดี รวมถึงกลุ่มลูกค้าเลกซัสที่ไม่ใช่เป็นผู้ขับขี่จะต้องรู้สึกมีความสุข ความสบาย ไปด้วย ดังนั้นหน้าที่สำคัญของเลกซัสคือเน้นเรื่องคุณภาพให้กับเวลา นี่คือปรัชญาเลกซัส

-การออกแบบรถ

พื้นฐานการออกแบบรถเลกซัสเรียกว่า L-finesse ที่ไม่ใช่มีความหมายว่าเลกซัส แต่หมายถึง แนวหน้า หรือ Leading อย่างรุ่น IS ที่ออกแบบมาบนพื้นฐานของความเรียบง่าย และมีความสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะลักษณะพิเศษของการออกแบบ นั้นคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้แบรนด์ เลกซัส และมีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะรุ่นนั้นๆ ด้วย

-คิดอย่างไรที่เขาบอกว่าเลกซัสใช้แพลตฟอร์มเดียวกับโตโยต้า

คำตอบของผมคือ ใช่ แล้วทำไม ระหว่างเลกซัสกับโตโยต้าก็เหมือนกับสูตรอาหารที่คนทำแต่วัตถุดิบคนละอย่างกัน ดังนั้นรสชาติย่อมแตกต่างกัน แม้ว่าเลกซัสกับโตโยต้าจะใช้ชิ้นส่วนเดียวกันแต่ผลที่ออกมาย่อมไม่เหมือนกัน เพราะรถยนต์เลกซัสผลิตภายใต้มาตรฐานที่เรียกว่า “เลกซัส มัสส์” จะต้องผ่านมาตรฐานมากกว่า 500 หัวข้อ ที่สำคัญเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนจะนำมาใช้กับเลกซัสเป็นคันแรกเสมอ

สุดท้าย มิโยชิ บอกว่า ผมอยากพัฒนาเลกซัสให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น