ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับ EuroNCAP ในการจับเอารถยนต์ที่มีขายอยู่ในตลาดมาทดสอบชน เพื่อให้คะแนนความปลอดภัยในการปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รวมถึงความปลอดภัยของคนเดินถนนยามเมื่อถูกรถยนต์คันนั้นชน
ส่วนใหญ่ EuroNCAP มักจะนำรถยนต์นั่งหรือเอ็มพีวีซึ่งเป็นกลุ่มที่มียอดขายอยู่ในระดับสูงของยุโรปมาทดสอบ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลสำหรับให้ลูกค้าพิจารณประกอบการตัดสินใจเพื่อซื้อรถยนต์ใหม่ และในทางกลับกันก็เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์จัดการพัฒนารถยนต์ของตัวเองให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน
แต่ในช่วงที่ผ่านมารถสปอร์ตเปิดประทุนเริ่มนิยม EuroNCAP ก็สนองกับความต้องการของตลาด ด้วยการจับเอารถสปอร์ตเปิดประทุนรุ่นใหม่ๆ ที่มีขายอยู่ในตลาดมาทดสอบ ซึ่งก็มีทั้งผลงานที่น่าพอใจและผิดหวังกันเล็กน้อย แต่นั่นก็ยังไม่ฮือฮาเท่ากับผลการทดสอบครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อ EuroNCAP จับเอาปิกอัพ 3 รุ่นมาทดสอบชน และผลที่ได้ คือ ความน่าผิดหวัง เพราะปิกอัพกลายเป็นกลุ่มรถยนต์ที่มีระดับของคะแนนในการทดสอบต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ตัวถังอื่นๆ
ในยุโรปอาจจะเฉยๆ แต่สำหรับเมืองไทย เรื่องนี้ฮือฮาเอาเรื่อง เพราะปิกอัพทั้ง 3 คัน คือ มิตซูบิชิ ไตรตัน (L200 ในยุโรป), อีซูซู ดีแมคซ์ และนิสสัน นาวารา มีขายอยู่ในตลาด และ 2 รุ่นแรกประกอบจากเมืองไทยส่งไปขาย ส่วนรุ่นสุดท้ายทางนิสสันออกมาบอกว่าเป็นคนละสเปกกับเมืองไทย และเป็นรุ่นที่ประกอบจากฐานการผลิตในยุโรป จะขาดก็เพียงโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้เท่านั้นที่ไม่ได้ถูกจับเข้ามาร่วมวงในครั้งนี้
เหตุผลที่ EuroNCAP นำปิกอัพมาทดสอบก็เพราะว่าเทรนด์การใช้รถยนต์ของคนในยุโรปเริ่มที่จะเปลี่ยนไปและหันมาเหมือนกับคนไทยมากขึ้น ปิกอัพไม่ใช่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อีกต่อไป แต่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานส่วนตัว และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มียอดขายขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างในปี 2007 ที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนปิกอัพใหม่มากถึง 7.2% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
รูปแบบการทดสอบชนของ EuroNCAP
- ด้านหน้าแบบครึ่งหน้า หรือ Offset กับสิ่งกีดขวางแบบยุบตัวได้ โดยใช้พื้นที่ 40% ด้านหน้าชนเข้ากับสิ่งกีดขวาง ด้วยความเร็ว 64 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 40 ไมล์/ชั่วโมง
-ด้านข้างใช้สิ่งกีดขวางแบบเคลื่อนตัวได้ซึ่งมีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาด 500X1,500 มิลลิเมตร ชนเข้าทางด้านข้างแบบทำมุม 90 องศากับตัวรถด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 30 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยจุดปะทะ หรือ R Point ตรงบริเวณประตูหน้า
-คนเดินถนนจะใช้ความเร็ว 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 25 ไมล์/ชั่วโมงในการชนเข้ากับหุ่นดัมมี่
สำหรับผลการทดสอบชนจากการเปิดเผยของเว็บไซต์ EuroNCAP แบ่งออกมาตามนี้
***Mitsubishi L200***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 4 ดาว (รวม 27 คะแนน-ด้านหน้า : 9 คะแนน ด้านข้าง : 16 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 2 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 3 ดาว (32 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 2 ดาว (2 คะแนน)
รุ่นที่นำมาทดสอบเป็นรุ่นปี 2008 ตัวถังแบบ 4 ประตูวางเครื่องยนต์ 4 สูบเทอร์โบดีเซล 2,500 ซีซีเป็นขุมพลัง พร้อมกับน้ำหนักของตัวรถ 1,880 กิโลกรัม ติดตั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า ส่วนเข็มขัดนิรภัยเป็นแบบดึงกลับพร้อมลดแรงกระชากหรือ Load Limiter ทั้งฝั่งคนขับและคนนั่ง
ประสิทธิภาพในการปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าพบว่า ทำหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งคนขับและผู้โดยสารด้านหน้ามีระดับแรงกระทำที่ศีรษะต่ำมาก แต่สิ่งที่ถูกติติงมาคือ ระบบยึดรั้งยังทำหน้าที่ได้ไม่ค่อยเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะว่าในส่วนของคนขับมีค่าแรงกระทำสูงมากบริเวณหน้าอกจนนำไปสู่ความเสี่ยงของการบาดเจ็บอย่างรุนแรง อีกทั้งการเคลื่อนตัวของแผงหน้าปัดหลังจากการชนทำให้ผู้ขับและผู้โดยสารมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่ขาทั้งส่วนบนและล่าง
***Isuzu D-MAX/Rodeo***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 1.5 ดาว (รวม 17 คะแนน-ด้านหน้า : 2 คะแนน ด้านข้าง : 15 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 0 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 2 ดาว (22 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 1 ดาว (2 คะแนน)
รุ่นที่นำมาทดสอบเป็นแบบ 4 ประตูรุ่นปี 2008 พร้อมเครื่องยนต์ 2,500 ซีซีเทอร์โบดีเซล (น้ำหนัก 1,875 กิโลกรัม) ซึ่งมีถุงลมนิรภัยคู่หน้า แต่เข็มขัดนิรภัยเป็นแบบ Pretensioner ไม่มี Load-Limiter มาให้
แรงกระทำที่เกิดขึ้นกับหุ่นดัมมี่ทดสอบในระหว่างการชนด้านหน้าถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ที่บริเวณคอ หน้าอก ซึ่งมีระดับการปกป้องแค่ Poor หรือ แย่ โดยเฉพาะหน้าอกของคนขับ ซึ่งมีความเสี่ยงในระดับสูงมากจนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้
ขณะที่ศีรษะมีความเสี่ยงสูงเช่นกันต่อการบาดเจ็บ ส่วนท่อนล่าง การเคลื่อนตัวของแป้นเบรกและคันเร่งมากจนเกินไป ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เท้าทั้ง 2 ข้างของคนขับมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บอย่างรุนแรง ส่วนคนนั่งด้านหน้าถือว่ามีระดับการปกป้องที่ดีพอสมควร โดยเฉพาะศีรษะซึ่งได้ระดับ Good หรือ ดี
***Nissan Navara***
***ครั้งแรก***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 0.5 ดาว (รวม 18 คะแนน-ด้านหน้า : 1 คะแนน ด้านข้าง : 16 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 1 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 3 ดาว (32 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 2 ดาว (14 คะแนน
***ครั้งที่ 2***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 3 ดาว (รวม 24 คะแนน-ด้านหน้า : 7 คะแนน ด้านข้าง : 16 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 1 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 4 ดาว (40 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 2 ดาว (14 คะแนน)
นิสสันพบกับปัญหาในการทดสอบครั้งแรกจนเป็นเหตุที่ทำให้ EuroNCAP ต้องแจ้งให้มีการปรับปรุงก่อนที่จะนำมาทดสอบใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานของถุงลมนิรภัยที่มีการจุดระเบิดช้าเกินไป จนเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงมาก
รุ่นที่ทดสอบมีอุปกรณ์ครบเช่นเดียวกับมิตซูบิชิ L200 และเป็นรุ่น 4 ประตู 2008 โดยในครั้งแรกของการทดสอบพบว่าตัวรถมีความเสียหายค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องของชิ้นส่วนในห้องโดยสารที่มีการเคลื่อนตัวอย่างมากจนส่งผลต่อการทำอันตรายกับผู้ที่อยู่ข้างใน และรางแชสซีส์ตัวถังที่หักเมื่อมีการชนแถมยังพุ่งทะลุเข้ามายังในห้องโดยสาร และทำอันตรายต่อเท้าของผู้ขับ
หลังจากที่มีการปรับปรุงแล้ว ผลงานของนาวาราในการปกป้องคนขับและผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าถือว่าดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ตัวใหม่ในการควบคุมการทำงานของถุงลมนิรภัย โดยหลังจากนั้นนิสสันก็ประกาศรีคอลล์ให้ลูกค้านำรถเข้ามาเปลี่ยน
สิ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของนาวารา คือ ความปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กที่นั่งอยู่ในเบาะนั่งนิรภัย เพราะมีระดับการปกป้องที่ดีกว่า 2 รุ่นก่อนหน้านี้ และยิ่งดีขึ้นไปอีกจนถึงระดับ 4 ดาวหลังจากการปรับปรุงตัวรถและนำมาทดสอบอีกครั้ง
ส่วนใหญ่ EuroNCAP มักจะนำรถยนต์นั่งหรือเอ็มพีวีซึ่งเป็นกลุ่มที่มียอดขายอยู่ในระดับสูงของยุโรปมาทดสอบ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลสำหรับให้ลูกค้าพิจารณประกอบการตัดสินใจเพื่อซื้อรถยนต์ใหม่ และในทางกลับกันก็เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์จัดการพัฒนารถยนต์ของตัวเองให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน
แต่ในช่วงที่ผ่านมารถสปอร์ตเปิดประทุนเริ่มนิยม EuroNCAP ก็สนองกับความต้องการของตลาด ด้วยการจับเอารถสปอร์ตเปิดประทุนรุ่นใหม่ๆ ที่มีขายอยู่ในตลาดมาทดสอบ ซึ่งก็มีทั้งผลงานที่น่าพอใจและผิดหวังกันเล็กน้อย แต่นั่นก็ยังไม่ฮือฮาเท่ากับผลการทดสอบครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อ EuroNCAP จับเอาปิกอัพ 3 รุ่นมาทดสอบชน และผลที่ได้ คือ ความน่าผิดหวัง เพราะปิกอัพกลายเป็นกลุ่มรถยนต์ที่มีระดับของคะแนนในการทดสอบต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ตัวถังอื่นๆ
ในยุโรปอาจจะเฉยๆ แต่สำหรับเมืองไทย เรื่องนี้ฮือฮาเอาเรื่อง เพราะปิกอัพทั้ง 3 คัน คือ มิตซูบิชิ ไตรตัน (L200 ในยุโรป), อีซูซู ดีแมคซ์ และนิสสัน นาวารา มีขายอยู่ในตลาด และ 2 รุ่นแรกประกอบจากเมืองไทยส่งไปขาย ส่วนรุ่นสุดท้ายทางนิสสันออกมาบอกว่าเป็นคนละสเปกกับเมืองไทย และเป็นรุ่นที่ประกอบจากฐานการผลิตในยุโรป จะขาดก็เพียงโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้เท่านั้นที่ไม่ได้ถูกจับเข้ามาร่วมวงในครั้งนี้
เหตุผลที่ EuroNCAP นำปิกอัพมาทดสอบก็เพราะว่าเทรนด์การใช้รถยนต์ของคนในยุโรปเริ่มที่จะเปลี่ยนไปและหันมาเหมือนกับคนไทยมากขึ้น ปิกอัพไม่ใช่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อีกต่อไป แต่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานส่วนตัว และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มียอดขายขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างในปี 2007 ที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนปิกอัพใหม่มากถึง 7.2% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
รูปแบบการทดสอบชนของ EuroNCAP
- ด้านหน้าแบบครึ่งหน้า หรือ Offset กับสิ่งกีดขวางแบบยุบตัวได้ โดยใช้พื้นที่ 40% ด้านหน้าชนเข้ากับสิ่งกีดขวาง ด้วยความเร็ว 64 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 40 ไมล์/ชั่วโมง
-ด้านข้างใช้สิ่งกีดขวางแบบเคลื่อนตัวได้ซึ่งมีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาด 500X1,500 มิลลิเมตร ชนเข้าทางด้านข้างแบบทำมุม 90 องศากับตัวรถด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 30 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยจุดปะทะ หรือ R Point ตรงบริเวณประตูหน้า
-คนเดินถนนจะใช้ความเร็ว 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 25 ไมล์/ชั่วโมงในการชนเข้ากับหุ่นดัมมี่
สำหรับผลการทดสอบชนจากการเปิดเผยของเว็บไซต์ EuroNCAP แบ่งออกมาตามนี้
***Mitsubishi L200***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 4 ดาว (รวม 27 คะแนน-ด้านหน้า : 9 คะแนน ด้านข้าง : 16 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 2 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 3 ดาว (32 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 2 ดาว (2 คะแนน)
รุ่นที่นำมาทดสอบเป็นรุ่นปี 2008 ตัวถังแบบ 4 ประตูวางเครื่องยนต์ 4 สูบเทอร์โบดีเซล 2,500 ซีซีเป็นขุมพลัง พร้อมกับน้ำหนักของตัวรถ 1,880 กิโลกรัม ติดตั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า ส่วนเข็มขัดนิรภัยเป็นแบบดึงกลับพร้อมลดแรงกระชากหรือ Load Limiter ทั้งฝั่งคนขับและคนนั่ง
ประสิทธิภาพในการปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าพบว่า ทำหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งคนขับและผู้โดยสารด้านหน้ามีระดับแรงกระทำที่ศีรษะต่ำมาก แต่สิ่งที่ถูกติติงมาคือ ระบบยึดรั้งยังทำหน้าที่ได้ไม่ค่อยเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะว่าในส่วนของคนขับมีค่าแรงกระทำสูงมากบริเวณหน้าอกจนนำไปสู่ความเสี่ยงของการบาดเจ็บอย่างรุนแรง อีกทั้งการเคลื่อนตัวของแผงหน้าปัดหลังจากการชนทำให้ผู้ขับและผู้โดยสารมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่ขาทั้งส่วนบนและล่าง
***Isuzu D-MAX/Rodeo***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 1.5 ดาว (รวม 17 คะแนน-ด้านหน้า : 2 คะแนน ด้านข้าง : 15 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 0 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 2 ดาว (22 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 1 ดาว (2 คะแนน)
รุ่นที่นำมาทดสอบเป็นแบบ 4 ประตูรุ่นปี 2008 พร้อมเครื่องยนต์ 2,500 ซีซีเทอร์โบดีเซล (น้ำหนัก 1,875 กิโลกรัม) ซึ่งมีถุงลมนิรภัยคู่หน้า แต่เข็มขัดนิรภัยเป็นแบบ Pretensioner ไม่มี Load-Limiter มาให้
แรงกระทำที่เกิดขึ้นกับหุ่นดัมมี่ทดสอบในระหว่างการชนด้านหน้าถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ที่บริเวณคอ หน้าอก ซึ่งมีระดับการปกป้องแค่ Poor หรือ แย่ โดยเฉพาะหน้าอกของคนขับ ซึ่งมีความเสี่ยงในระดับสูงมากจนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้
ขณะที่ศีรษะมีความเสี่ยงสูงเช่นกันต่อการบาดเจ็บ ส่วนท่อนล่าง การเคลื่อนตัวของแป้นเบรกและคันเร่งมากจนเกินไป ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เท้าทั้ง 2 ข้างของคนขับมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บอย่างรุนแรง ส่วนคนนั่งด้านหน้าถือว่ามีระดับการปกป้องที่ดีพอสมควร โดยเฉพาะศีรษะซึ่งได้ระดับ Good หรือ ดี
***Nissan Navara***
***ครั้งแรก***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 0.5 ดาว (รวม 18 คะแนน-ด้านหน้า : 1 คะแนน ด้านข้าง : 16 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 1 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 3 ดาว (32 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 2 ดาว (14 คะแนน
***ครั้งที่ 2***
คะแนนจากการทดสอบชนด้านหน้า : 3 ดาว (รวม 24 คะแนน-ด้านหน้า : 7 คะแนน ด้านข้าง : 16 คะแนน ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย : 1 คะแนน)
คะแนนจากการปกป้องเด็กเล็ก : 4 ดาว (40 คะแนน)
คะแนนจากการทดสอบชนคนเดินถนน : 2 ดาว (14 คะแนน)
นิสสันพบกับปัญหาในการทดสอบครั้งแรกจนเป็นเหตุที่ทำให้ EuroNCAP ต้องแจ้งให้มีการปรับปรุงก่อนที่จะนำมาทดสอบใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานของถุงลมนิรภัยที่มีการจุดระเบิดช้าเกินไป จนเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงมาก
รุ่นที่ทดสอบมีอุปกรณ์ครบเช่นเดียวกับมิตซูบิชิ L200 และเป็นรุ่น 4 ประตู 2008 โดยในครั้งแรกของการทดสอบพบว่าตัวรถมีความเสียหายค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องของชิ้นส่วนในห้องโดยสารที่มีการเคลื่อนตัวอย่างมากจนส่งผลต่อการทำอันตรายกับผู้ที่อยู่ข้างใน และรางแชสซีส์ตัวถังที่หักเมื่อมีการชนแถมยังพุ่งทะลุเข้ามายังในห้องโดยสาร และทำอันตรายต่อเท้าของผู้ขับ
หลังจากที่มีการปรับปรุงแล้ว ผลงานของนาวาราในการปกป้องคนขับและผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าถือว่าดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ตัวใหม่ในการควบคุมการทำงานของถุงลมนิรภัย โดยหลังจากนั้นนิสสันก็ประกาศรีคอลล์ให้ลูกค้านำรถเข้ามาเปลี่ยน
สิ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของนาวารา คือ ความปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กที่นั่งอยู่ในเบาะนั่งนิรภัย เพราะมีระดับการปกป้องที่ดีกว่า 2 รุ่นก่อนหน้านี้ และยิ่งดีขึ้นไปอีกจนถึงระดับ 4 ดาวหลังจากการปรับปรุงตัวรถและนำมาทดสอบอีกครั้ง