เป็นการแตกไลน์อีกครั้งให้กับสายพันธุ์ G-Class หลังจากที่มีขายกับรุ่นดั้งเดิมที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 1979 และรุ่นเอาใจลูกค้าระดับหรูด้วยสายพันธุ์ที่เหนือระดับอย่าง GL-Class ส่วนรุ่นใหม่จะเปิดตัวระลอกแรกด้วยการเป็นเวอร์ชันต้นแบบไปก่อนในชื่อ Vision GLK Freeside ที่ดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ 2008 จากนั้นค่อยถึงเวลาขายจริงในช่วงกลางปีในรหัส GLK-Class
การนำตัว L และ K มาใช้ในการตั้งชื่อรุ่นคงบ่งบอกถึงแนวคิดและคอนเซ็ปต์ในการทำตลาดของเอสยูวีรุ่นนี้ได้เป็นอย่างดี เหมือนกับที่ CLK สร้างความแตกต่างจาก C-Class ด้วยตัวถังแบบคูเป้ และเปิดประทุน
โดยค่ายดาว 3 แฉกได้ขยายความของคำว่า L และ K ที่ต่อท้าย G ว่ามาจาก Luxury และ Kompaktheit ในภาษาเยอรมัน หรือหมายถึงความกะทัดรัดในภาษาไทย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วคือ ความหรูแบบกะทัดรัดของเอสยูวีที่ได้รับอิทธิพลมาจาก G-Class นั่นเอง
เอาเป็นว่าแม้รูปทรงจะไม่สปอร์ต แต่ GLK คือ ผลผลิตรุ่นเล็กที่เน้นสมรรถนะมากกว่ารูปลักษณ์ เพราะในรุ่นนี้มีการติดตั้งระบบ AGILITY Control เพื่อควบคุมการทำงานของระบบช่วงล่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน โดยเฉพาะการเน้นความคล่องตัวเวลาแล่นทะยานอยู่บนทางเรียบ
มิติตัวถังแบบ 5 ประตูมาพร้อมกับความกะทัดรัดที่มีความยาวเพียง 4.52 เมตรพร้อมล้อแม็กวงโตขนาด 20 นิ้วขณะที่รูปลักษณ์ภายนอกได้รับการประยุกต์ความสปอร์ตมาจาก GL-Class และแม้ทางค่ายดาว 3 แฉกจะระบุว่าเป็นแค่ต้นแบบ แต่จากการที่ผ่านมา เมื่อมีการใช้คำว่า Vision นำหน้าชื่อต้นแบบรุ่นใด เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของตัวรถว่ามีระดับใกล้เคียงกับรุ่นจำหน่ายจริงมากที่สุดชนิดเกือบ 100% แล้ว
ภายในห้องโดยสารที่เพียบพร้อมด้วยความหรูหรา และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใหม่ๆ เช่น ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 โซน, ระบบพรีเซฟตี้ที่ช่วยลดความรุนแรงหากมีการชน หรือหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ, ถุงลมนิรภัยป้องกันการกระแทกของหัวเข่าของผู้ขับขี่, ระบบไฟหน้าแบบ Intelligent Light System (ILS) สามารถปรับระดับความเข้มหรือระยะทางในการส่องสว่างตามสภาพการขับ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในเอส-คลาสใหม่
ในรุ่นจำหน่ายจริงจริงยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะใช้เครื่องยนต์อะไรบ้างในการทำตลาด แต่สำหรับเวอร์ชันนี้จะเอาใจคนรักเครื่องยนต์ดีเซลด้วยเวอร์ชัน Bluetec ที่กำลังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา
โดยขุมพลังที่วางอยู่ใต้ฝากระโปรงต้นแบบรุ่นนี้เป็นแบบเทอร์โบดีเซล 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 2,200 ซีซี จ่ายน้ำมันด้วยแรงดันถึง 2,000 บาร์ และใช้เทอร์โบแบบแปรผัน รีดกำลังออกมาได้ 170 แรงม้า และมีระดับมลพิษไอเสียต่ำมาก สามารถผ่านมาตรฐาน Euro 6 ที่จะเริ่มบังคับใช้ในยุโรปช่วงปี 2015
พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลาด้วยระบบ 4Matic มีการกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์สู่ล้อหน้าและหลังในอัตราส่วน 45:55% และใช้เกียร์อัตโนมัติ 7 จังหวะในการถ่ายทอดกำลัง เสริมด้วยระบบความปลอดภัยอย่างระบบควบคุมการทรงตัว หรือ ESP และระบบป้องกันการลื่นไถลเมื่อมีการเร่งความเร็ว หรือ ASR
ใครที่สนใจคงต้องอดใจรอกันอีกสักนิด เพราะอีกสักระยะ เมอร์เซเดส-เบนซ์ถึงจะผลิตออกมาขายในตลาด และคาดว่าไม่น่าจะเกินปลายปีนี้บรรดาแฟนๆ ของค่ายดาว 3 แฉกถึงจะมีโอกาสได้สัมผัสกับรุ่นจำหน่ายจริงของตัวลุยไซส์กะทัดรัดรุ่นนี้
การนำตัว L และ K มาใช้ในการตั้งชื่อรุ่นคงบ่งบอกถึงแนวคิดและคอนเซ็ปต์ในการทำตลาดของเอสยูวีรุ่นนี้ได้เป็นอย่างดี เหมือนกับที่ CLK สร้างความแตกต่างจาก C-Class ด้วยตัวถังแบบคูเป้ และเปิดประทุน
โดยค่ายดาว 3 แฉกได้ขยายความของคำว่า L และ K ที่ต่อท้าย G ว่ามาจาก Luxury และ Kompaktheit ในภาษาเยอรมัน หรือหมายถึงความกะทัดรัดในภาษาไทย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วคือ ความหรูแบบกะทัดรัดของเอสยูวีที่ได้รับอิทธิพลมาจาก G-Class นั่นเอง
เอาเป็นว่าแม้รูปทรงจะไม่สปอร์ต แต่ GLK คือ ผลผลิตรุ่นเล็กที่เน้นสมรรถนะมากกว่ารูปลักษณ์ เพราะในรุ่นนี้มีการติดตั้งระบบ AGILITY Control เพื่อควบคุมการทำงานของระบบช่วงล่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน โดยเฉพาะการเน้นความคล่องตัวเวลาแล่นทะยานอยู่บนทางเรียบ
มิติตัวถังแบบ 5 ประตูมาพร้อมกับความกะทัดรัดที่มีความยาวเพียง 4.52 เมตรพร้อมล้อแม็กวงโตขนาด 20 นิ้วขณะที่รูปลักษณ์ภายนอกได้รับการประยุกต์ความสปอร์ตมาจาก GL-Class และแม้ทางค่ายดาว 3 แฉกจะระบุว่าเป็นแค่ต้นแบบ แต่จากการที่ผ่านมา เมื่อมีการใช้คำว่า Vision นำหน้าชื่อต้นแบบรุ่นใด เป็นการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของตัวรถว่ามีระดับใกล้เคียงกับรุ่นจำหน่ายจริงมากที่สุดชนิดเกือบ 100% แล้ว
ภายในห้องโดยสารที่เพียบพร้อมด้วยความหรูหรา และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใหม่ๆ เช่น ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 โซน, ระบบพรีเซฟตี้ที่ช่วยลดความรุนแรงหากมีการชน หรือหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ, ถุงลมนิรภัยป้องกันการกระแทกของหัวเข่าของผู้ขับขี่, ระบบไฟหน้าแบบ Intelligent Light System (ILS) สามารถปรับระดับความเข้มหรือระยะทางในการส่องสว่างตามสภาพการขับ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในเอส-คลาสใหม่
ในรุ่นจำหน่ายจริงจริงยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะใช้เครื่องยนต์อะไรบ้างในการทำตลาด แต่สำหรับเวอร์ชันนี้จะเอาใจคนรักเครื่องยนต์ดีเซลด้วยเวอร์ชัน Bluetec ที่กำลังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา
โดยขุมพลังที่วางอยู่ใต้ฝากระโปรงต้นแบบรุ่นนี้เป็นแบบเทอร์โบดีเซล 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว 2,200 ซีซี จ่ายน้ำมันด้วยแรงดันถึง 2,000 บาร์ และใช้เทอร์โบแบบแปรผัน รีดกำลังออกมาได้ 170 แรงม้า และมีระดับมลพิษไอเสียต่ำมาก สามารถผ่านมาตรฐาน Euro 6 ที่จะเริ่มบังคับใช้ในยุโรปช่วงปี 2015
พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลาด้วยระบบ 4Matic มีการกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์สู่ล้อหน้าและหลังในอัตราส่วน 45:55% และใช้เกียร์อัตโนมัติ 7 จังหวะในการถ่ายทอดกำลัง เสริมด้วยระบบความปลอดภัยอย่างระบบควบคุมการทรงตัว หรือ ESP และระบบป้องกันการลื่นไถลเมื่อมีการเร่งความเร็ว หรือ ASR
ใครที่สนใจคงต้องอดใจรอกันอีกสักนิด เพราะอีกสักระยะ เมอร์เซเดส-เบนซ์ถึงจะผลิตออกมาขายในตลาด และคาดว่าไม่น่าจะเกินปลายปีนี้บรรดาแฟนๆ ของค่ายดาว 3 แฉกถึงจะมีโอกาสได้สัมผัสกับรุ่นจำหน่ายจริงของตัวลุยไซส์กะทัดรัดรุ่นนี้