กสอ.ชี้การดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยกำลังได้รับความนิยมต่อเนื่อง เหตุผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มมองหาสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นและความแปลกใหม่ในสินค้าและการบริการมากขึ้น จากการส่งเสริมด้วยกิจกรรมและโครงการต่างๆ ในปีที่2559 ผ่านมาสามารถสร้างผู้ดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพได้ถึง 590 ราย โดยในปี 2560 นี้ยังคงมุ่งมั่นสร้างกลุ่มเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยมาตรการการสนับสนุนด้านระบบนิเวศ การจัดกิจกรรมสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบต่างๆ การเติมเต็มไอเดียสู่การวางแผนธุรกิจให้น่าสนใจและเกิดขึ้นจริงได้ ตลอดจนการเขียนแผนธุรกิจและการเงิน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าตามเป้าหมาย พร้อมตั้งเป้าให้เกิดผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไม่ต่ำกว่า 800 ราย หรือเพิ่มขึ้น 36 %
ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในช่วงระยะ 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี้ แนวความคิดการทำธุรกิจสตาร์ทอัพกำลังได้รับความนิยมจากบรรดาผู้ที่มีไอเดีย กล้าคิด กล้าฝัน และมีความต้องการที่จะผันตัวเป็นผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีและถือเป็นสัญญาณที่ต้องจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเกิดขึ้นของกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังผันแปรและต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงได้
แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพในประเทศไทยโดยรวมแล้วนับว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับเริ่มสร้าง ระดับกำลังเติบโต และระดับที่สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ในภาพรวมก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงพัฒนาความพร้อมทั้งในด้านระบบนิเวศหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการคิดค้นและประกอบธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพใหม่ ๆการพัฒนาไอเดียที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ การนำเสนอแผนงานเพื่อการสนับสนุนการร่วมทุน ตลอดจนการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในยุคที่ระบบดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งและเข้ามาเป็นปัจจัยที่ 5 อย่างที่ปฏิเสธไมได้
ดร.พสุ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยในปี 2560 และในอนาคตการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพนับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจในการลงทุนอย่างสูง ซึ่งมาจากการที่ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มมองหาสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นและความแปลกใหม่ในสินค้าและการบริการมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจเทคสตาร์ทอัพ (สตาร์ทอัพด้านระบบเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์) ที่คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยขณะนี้หลากหลายธุรกิจ อุตสาหกรรมและผู้บริโภคได้เริ่มมีทั้งการปรับตัว วิธีในการดำเนินงาน และวิถีการดำเนินชีวิตให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ไว้ว่า ภายใน 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจดังกล่าวอาจมีมูลค่าราว 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1.33 ล้านล้านบาท (ที่มา : รายงานระหว่างกูเกิลและเทมาเซ็กเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทย) ยิ่งไปกว่านั้น มีความเป็นไปได้สูงอีกว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ตลาดดิจิทัลจะทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยเฉพาะจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริการแอปพลิเคชัน ธุรกิจซื้อขายออนไลน์ ตลอดจนแพลตฟอร์มและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทในพฤติกรรมการดำเนินชีวิตจนเป็นปัจจัยที่ 5 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับในปี 2560 นี้ กสอ.ก็ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างกลุ่มเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มเติมทั้งกิจกรรมและโครงการการสนับสนุนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยระบบดิจิทัลอย่างเข้มข้น ทั้งด้วยมาตรการการสนับสนุนด้านระบบนิเวศ (Co-Working Space) ที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ ๆ การจัดกิจกรรมสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ การเติมเต็มไอเดียสู่การวางแผนธุรกิจให้น่าสนใจและเกิดขึ้นจริงได้ ตลอดจนการเขียนแผนธุรกิจและการเงินเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าตามเป้าหมาย ทั้งนี้ จากโครงการและกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมในปี 2559 ที่ผ่านมาสามารถสร้างผู้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบสตาร์ทอัพได้ถึง 590 ราย (ที่มา: สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) โดยในปี 2560 ยังได้ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าวนี้อีกไม่ต่ำกว่า 800 ราย หรือเพิ่มขึ้น 36 % ซึ่งคาดหวังให้มีกลุ่มสตาร์ทอัพที่ครอบคลุมหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพกลุ่มสาธารณสุขและเทคโนโลยีการแพทย์ กลุ่มหุ่นยนต์อัจฉริยะและระบบเครื่องกล กลุ่มเทคโนโลยีพลังงาน ตลอดจนกลุ่มดิจิทัล และระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อ
ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในช่วงระยะ 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี้ แนวความคิดการทำธุรกิจสตาร์ทอัพกำลังได้รับความนิยมจากบรรดาผู้ที่มีไอเดีย กล้าคิด กล้าฝัน และมีความต้องการที่จะผันตัวเป็นผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีและถือเป็นสัญญาณที่ต้องจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเกิดขึ้นของกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังผันแปรและต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงได้
แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพในประเทศไทยโดยรวมแล้วนับว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับเริ่มสร้าง ระดับกำลังเติบโต และระดับที่สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ในภาพรวมก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงพัฒนาความพร้อมทั้งในด้านระบบนิเวศหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการคิดค้นและประกอบธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพใหม่ ๆการพัฒนาไอเดียที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ การนำเสนอแผนงานเพื่อการสนับสนุนการร่วมทุน ตลอดจนการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในยุคที่ระบบดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งและเข้ามาเป็นปัจจัยที่ 5 อย่างที่ปฏิเสธไมได้
ดร.พสุ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยในปี 2560 และในอนาคตการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพนับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจในการลงทุนอย่างสูง ซึ่งมาจากการที่ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มมองหาสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นและความแปลกใหม่ในสินค้าและการบริการมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจเทคสตาร์ทอัพ (สตาร์ทอัพด้านระบบเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์) ที่คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยขณะนี้หลากหลายธุรกิจ อุตสาหกรรมและผู้บริโภคได้เริ่มมีทั้งการปรับตัว วิธีในการดำเนินงาน และวิถีการดำเนินชีวิตให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ไว้ว่า ภายใน 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจดังกล่าวอาจมีมูลค่าราว 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1.33 ล้านล้านบาท (ที่มา : รายงานระหว่างกูเกิลและเทมาเซ็กเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทย) ยิ่งไปกว่านั้น มีความเป็นไปได้สูงอีกว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ตลาดดิจิทัลจะทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยเฉพาะจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริการแอปพลิเคชัน ธุรกิจซื้อขายออนไลน์ ตลอดจนแพลตฟอร์มและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทในพฤติกรรมการดำเนินชีวิตจนเป็นปัจจัยที่ 5 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับในปี 2560 นี้ กสอ.ก็ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างกลุ่มเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มเติมทั้งกิจกรรมและโครงการการสนับสนุนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยระบบดิจิทัลอย่างเข้มข้น ทั้งด้วยมาตรการการสนับสนุนด้านระบบนิเวศ (Co-Working Space) ที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ ๆ การจัดกิจกรรมสนับสนุนเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ การเติมเต็มไอเดียสู่การวางแผนธุรกิจให้น่าสนใจและเกิดขึ้นจริงได้ ตลอดจนการเขียนแผนธุรกิจและการเงินเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าตามเป้าหมาย ทั้งนี้ จากโครงการและกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมในปี 2559 ที่ผ่านมาสามารถสร้างผู้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบสตาร์ทอัพได้ถึง 590 ราย (ที่มา: สำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) โดยในปี 2560 ยังได้ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าวนี้อีกไม่ต่ำกว่า 800 ราย หรือเพิ่มขึ้น 36 % ซึ่งคาดหวังให้มีกลุ่มสตาร์ทอัพที่ครอบคลุมหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพกลุ่มสาธารณสุขและเทคโนโลยีการแพทย์ กลุ่มหุ่นยนต์อัจฉริยะและระบบเครื่องกล กลุ่มเทคโนโลยีพลังงาน ตลอดจนกลุ่มดิจิทัล และระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อ