สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศ ไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2560 ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 27 จาก 63 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฮ่องกงและสวิตเซอร์แลนด์ยังคงครองอันดับที่ 1และ 2 ขณะที่สิงคโปร์เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 ทำให้สหรัฐอเมริกาตกไปเป็นอันดับที่ 4
ทั้งนี้ ในปี 2560 ผลการจัดอันดับของไทยดีขึ้นทั้ง โดยคะแนนและอันดับ โดยคะแนนภาพรวมในปีนี้เพิ่มขึ้น เป็น 80.095 เปรียบเทียบกับ 74.681 ในปี 2559 และมีอันดับเลื่อนขึ้นจาก 28 ในปี 2559 เป็น 27 ในปี 2560 ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ประเทศอาเซียนที่อยู่ในการจัดอั นดับนี้ ซึ่งได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียแล้ว ไทยยังคงอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยไทย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีอันดับดีขึ้น ในขณะที่มาเลเซียมีอันดับลดต่ำลง
เมื่อพิจารณาคะแนนที่ประเทศไทยได้รับ ในระยะตั้งแต่ปี 2556 - 2560 จะเห็นได้ว่ามีคะแนนสูงขึ้นมาตลอดนับตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา และเริ่มมีแนวโน้มสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของทุกประเทศที่ได้รับการจัดอันดับตั้งแต่ปี 2558 โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีคะแนน 80.095 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของ 63 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเท่ากับ 77.033 อันแสดงให้เห็นว่าความพยายามของรัฐบาบและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้เริ่มส่งผล ซึ่งหากมีการเร่งดำเนินการขับเลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จะทำให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถสูงขึ้นจนเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำอย่างแน่นอน
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และ ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสา มารถในการแข่งขัน TMA (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่า “การที่ผลการจัดอันดับในปีนี้ดีขึ้นทั้งคะแนนและอันดับ โดยเป็นปีแรกที่มีคะแนนรวมเกินกว่า 80 คะแนนและสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยรวมข องทุกประเทศ เป็นการยืนยันว่าการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นสิ่งที่ทั้งรัฐและเอกชนต้อง มีจุดหมายร่วมกันและลงมือขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันผลักดันและสร้างความเปลี่ยนแปลงในประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศ ในระยะยาวไปหลายเรื่อง ผลการจัดอันดับ ทำให้เห็นว่าเรามาถูกทางแล้วและจะต้องพยายามร่วมมือกันต่อไป”
ในการจัดอันดับฯ ของ IMD มีการพิจารณา 4 ด้าน คือ สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปรากฏว่า ปัจจัยที่ไทยมีอันดับดีที่สุดคือ สภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 10 จาก 63 ประเทศ โดยมีอันดับดีขึ้นถึง 3 อันดับจากปี 2559 ในขณะที่ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับดีขึ้น 3 อันดับเช่นเดียวกัน ทำให้อยู่ในอันดับที่ 20ในปีนี้ ส่วนปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีอันดับที่ 25 และ 49 ตามลำดับในปี 2560
ดร.ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า “ผลการจัดอันดับชี้ว่าสมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐอันดับดีขึ้นถึง 3 อันดับ สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจร ะดับมหภาคที่ส่งสัญญาณดีขึ้น และการปรับปรุงในด้านกฎระเบียบและกฎหมายธุรกิจที่ส่งผลดีให้ดำเนินธุรกิจมีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น อาทิ การเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ การดำเนินการด้านศุลกากรสำหรับการค้าขายข้ามพรมแดน นักธุรกิจจึงมีความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐที่เอื้อต่อการทำธุรกิจของภาคเอกชนมากขึ้น รวมทั้งมีความเชื่อมั่น ต่อความสามารถในการบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาลมากขึ้นเช่นเดี ยวกัน”
เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวดด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีขึ้นถึง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economy) ที่ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 33 จากอันดับที่ 37 ในปี 2559 การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) อยู่ในอันดับที่ 3 จากอันดับที่ 6 ในปี 2559 ราคาและค่าครองชีพ (Prices) ที่อันดับดีขึ้นมากจากอันดับ ที่ 45 เป็นอันดับที่ 28
ขณะที่ด้านการจ้างงาน (Employment) ยังอยู่ในอันดับที่ดีมากคืออันดับที่ 3 เช่นเดียวกับปีก่อน เรื่องที่มีอันดับลดลงคือ การลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) จากอันดับที่ 28 ในปี 2559 เป็นอันดับที่ 37 ในปีนี้ จุดเด่นของประเทศไทยในหมวดนี้ยังคงเป็นด้านที่เกี่ยวกับการจ้างงาน รายได้จากการท่องเที่ยว และความมั่นคงของบัญชีเดินสะพัด ส่วนประเด็นที่ยังต้องพัฒนาต่อไปคือ รายได้ประชาชาติต่อหัวของประชาก รที่อยู่ในอันดับที่ 54 ด้านค่าครองชีพ ความเสี่ยงจากการย้ายฐานการผลิต และด้านการลงทุนทางตรงทั้งจากต่างประเทศและการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) มีอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 3 ปีล่าสุด ปัจจัยย่อยมีอันดับที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ กฎหมายด้านธุรกิจ (Business Legislation) ที่ดีขึ้นถึง 6 อันดับจากปี 2559 โดยขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 38 จากอันดับ ที่ 44 ในปีก่อนหน้า และกรอบการบริหารด้านสังคม (Institution Framework) ที่ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 30 จาก 33 ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ นโยบายภาษี (Tax Policy) นั้นยังคงได้อันดับที่สูงกว่าเดิมจากที่เคยสูงอยู่แล้ว โดยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 4 ในปี 2560 อีกด้วย
ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของประเด็นที่ใช้ในการจัดอันดับในหมวดนี้มาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารในภาคธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่มีอันดับที่สูงขึ้น จึงสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่รัฐดำเนินการเช่น การแก้ไขกฎระเบียบและปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ ให้มีความสะดวกต่อการดำเนินธุรกิจ การให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน การปรับตัวของนโยบายภาครัฐ รวมถึงความคล่องตัวในการดำเนินนโยบาย ได้รับการยอมรับจากผู้ตอบแบบสำรวจ ส่วนประเด็นที่ยังต้องปรับปรุง ในหมวดนี้ ได้แก่ ต้นทุนการปลดออกจากงาน (Redundancy Costs) กำแพงภาษี (Tariff barriers) และ ระยะเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up days) เป็นต้น
ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ปัจจัยย่อยที่อันดับดีขึ้น 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการจัดการ (Management Practices) และ ด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) ในขณะที่ด้านตลาดแรงงาน และด้านการเงิน มีอันดับลดลง ส่วนด้านทัศนคติและค่านิยมมีอันดับคงเดิม ด้านการจัดการ (Management Practices) ปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับโดยขึ้นมาอยู่ที่ 20 ในปีนี้ มีผลมาจากการดีขึ้นของตัวชี้วัด ต่างๆ เช่น การคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction) การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และ ความน่าเชื่อถือของผู้จัดการ (Credibility of managers) เป็นต้น
ส่วนในด้านผลิตภาพและประสิทธิภา พ (Productivity & Efficiency) ถึงแม้จะมีอันดับดีขึ้น 2 อันดับจากปีที่ผ่านมาโดยมาอยู่อั นดับที่ 41 อันเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้น ของอัตราเพิ่มของผลิตภาพ (Overall Productivity – real growth) ซึ่งอยู่ในอันดับ 3 จาก 63 ประเทศ แต่ยังคงเป็นประเด็นที่ประเทศไท ยควรเร่งปรับปรุง เนื่องจากผลิตภาพของแรงงานทั้งใ นภาพรวมและในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงอยู่ในอันดับต่ำ อาทิ ผลิตภาพในภาพรวม (Overall Productivity) ที่อยู่ในอันดับที่ 58 จาก 63 ประเทศ
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปัจจัยย่อย 2 ด้านที่อันดับดีขึ้น ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (Technological Infrastructure) ที่ปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับ และโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป (Basic Infrastructure) ที่ปรับตัวดีขึ้น 1 อันดับ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 36 ดีขึ้น 6 อันดับ โดยตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อการปรับ ตัวดีขึ้น ได้แก่ การมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ตอบ สนองภาคธุรกิจและความเชื่อมโยงต่ างๆ ความเร็วอินเตอร์เนต การส่งออกสินค้าไฮเทค และ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีซึ่งเกิดจ ากความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอ กชน และรัฐกับเอกชน (Public-private partnerships) เป็นต้น
ด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปได้รับการจัดอันดับที่ 34 ปรับตัวดีขึ้น 1 อันดับ โดยมีตัวชี้วัดที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งน้ำ (Access to water) ที่ปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับ การเข้าถึงสินค้าบริโภคพื้นฐาน (Access to commodities) ซึ่งมีอันดับดีขึ้น 3 อันดับ และ คุณภาพของการขนส่งทางอากาศ (Quality of air transportation) ซึ่งอันดับดีขึ้น 3 อันดับ เช่นเดียวกัน
แม้ว่าผลการจัดอันดับด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมยังอยู่ในระดับค่อนข้ างต่ำ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่ าตัวชี้วัดย่อยเกี่ยวกับการลงทุ นด้านการวิจัยและพัฒนาและบุคลากรด้านวิจัยมีอันดับดีขึ้นในทุกประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตัวชี้วัดในเชิงมูลค่าปรับตัวดีขึ้นถึง 4 อันดับ และสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้าน R&D ของภาคธุรกิจ ต่อ GDP (Business expenditure on R&D (%)) ปรับตัวดีขึ้นถึง 10 อันดับ
นอกจากนั้น ความเห็นของภาคธุรกิจต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรม (Innovation Capacity) ของประเทศก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างมี นัยสำคัญโดยปรับตัวดีขึ้นถึง 9 อันดับจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นอย่าง มากคือด้านที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร ทั้งจำนวนการขอจดสิทธิบัตร และจำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับการจด และสิทธิบัตรที่มีผลบังคับใช้
ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และการศึกษา ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งพัฒนาอย่างมาก โดยยังอยู่ในอันดับต่ำทั้งสองหมวด ประเด็นสำคัญที่ต้องปรับปรุงในด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ แก่ การเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ต่อประชากร และการประหยัดพลังงาน ในขณะที่ด้านการศึกษา ต้องเร่งพัฒนาความสามารถทางภาษา อังกฤษของบุคลากร รวมทั้งความสามารถทางวิชาการโดย เฉพาะด้านคณิตศาสตร์และวิ ทยาศาสตร์ และการปรับปรุงอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปีนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนมีความเข้าใจ และการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวเริ่มปรากฎผลเป็นรู ปธรรมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้เ ชี่ยวชาญ IMD ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประเศที่มีพัฒนาการสูงขึ้นมากในปีนี้ ว่าล้วนเป็นผลมาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาครัฐและภาคเอกชน และการเพิ่มผลิตภาพของประเทศ
สำหรับประเทศไทย ผลที่ดีขึ้นนี้ยังคงเป็นเพียงจุ ดเริ่มต้น ซึ่งคุณเทวินทร์กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าเราจะมีอันดับที่ดีขึ้นในปีนี้ แต่ประเทศอื่นๆ ในโลกต่างก็เร่งพัฒนาตนเองไปเช่นเดียวกับเรา เพราะฉะนั้นเราจะต้องพยายามทำให้ มากขึ้นและเร็วขึ้น โดยประเด็นท้าทายที่เราต้องขับเคลื่อนให้ก้าวหน้าไปให้ได้ คือการพัฒนาคนให้มีความรู้เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ และการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งท างด้านเศรษฐกิจและสังคม”
นอกจากนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนี้เดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องและประเทศไทยมี อันดับความสามารถในการแข่งขันที่ ดีขึ้น “รัฐบาลได้มอบหมายให้มีหน่วยงาน เจ้าภาพรับผิดชอบตัวชี้วัดแต่ ละตัวอย่างชัดเจน ในช่วงต่อไปหน่วยงานเหล่านี้ จะต้องทำงานร่วมกับสศช. TMA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้มีการปรับปรุงระบบข้อมูลตัวชี้ วัดให้ครบถ้วน ถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะแผนงาน/โค รงการ/มาตรการที่ชัดเจน สำหรับการปรับปรุงตัวชี้วัดความ สามารถ ในการแข่งขันทุกมิติ และที่สำคัญคือการที่รัฐบาลขับเ คลื่อนการดำเนินแผนงานเพื่อพัฒน าโครงสร้างพื้นฐานในทุกด้าน รวมทั้งในเรื่องพัฒนาคนไทยให้มี คุณภาพสูงขึ้น” ดร. ปัทมาสรุป
ทั้งนี้ ในปี 2560 ผลการจัดอันดับของไทยดีขึ้นทั้ง โดยคะแนนและอันดับ โดยคะแนนภาพรวมในปีนี้เพิ่มขึ้น เป็น 80.095 เปรียบเทียบกับ 74.681 ในปี 2559 และมีอันดับเลื่อนขึ้นจาก 28 ในปี 2559 เป็น 27 ในปี 2560 ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ประเทศอาเซียนที่อยู่ในการจัดอั นดับนี้ ซึ่งได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียแล้ว ไทยยังคงอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยไทย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีอันดับดีขึ้น ในขณะที่มาเลเซียมีอันดับลดต่ำลง
เมื่อพิจารณาคะแนนที่ประเทศไทยได้รับ ในระยะตั้งแต่ปี 2556 - 2560 จะเห็นได้ว่ามีคะแนนสูงขึ้นมาตลอดนับตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา และเริ่มมีแนวโน้มสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของทุกประเทศที่ได้รับการจัดอันดับตั้งแต่ปี 2558 โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีคะแนน 80.095 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของ 63 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเท่ากับ 77.033 อันแสดงให้เห็นว่าความพยายามของรัฐบาบและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้เริ่มส่งผล ซึ่งหากมีการเร่งดำเนินการขับเลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จะทำให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถสูงขึ้นจนเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำอย่างแน่นอน
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และ ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสา มารถในการแข่งขัน TMA (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่า “การที่ผลการจัดอันดับในปีนี้ดีขึ้นทั้งคะแนนและอันดับ โดยเป็นปีแรกที่มีคะแนนรวมเกินกว่า 80 คะแนนและสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยรวมข องทุกประเทศ เป็นการยืนยันว่าการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นสิ่งที่ทั้งรัฐและเอกชนต้อง มีจุดหมายร่วมกันและลงมือขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันผลักดันและสร้างความเปลี่ยนแปลงในประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นฐานสำหรับการพัฒนาประเทศ ในระยะยาวไปหลายเรื่อง ผลการจัดอันดับ ทำให้เห็นว่าเรามาถูกทางแล้วและจะต้องพยายามร่วมมือกันต่อไป”
ในการจัดอันดับฯ ของ IMD มีการพิจารณา 4 ด้าน คือ สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปรากฏว่า ปัจจัยที่ไทยมีอันดับดีที่สุดคือ สภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 10 จาก 63 ประเทศ โดยมีอันดับดีขึ้นถึง 3 อันดับจากปี 2559 ในขณะที่ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับดีขึ้น 3 อันดับเช่นเดียวกัน ทำให้อยู่ในอันดับที่ 20ในปีนี้ ส่วนปัจจัยด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานมีอันดับคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีอันดับที่ 25 และ 49 ตามลำดับในปี 2560
ดร.ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า “ผลการจัดอันดับชี้ว่าสมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐอันดับดีขึ้นถึง 3 อันดับ สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจร ะดับมหภาคที่ส่งสัญญาณดีขึ้น และการปรับปรุงในด้านกฎระเบียบและกฎหมายธุรกิจที่ส่งผลดีให้ดำเนินธุรกิจมีความสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น อาทิ การเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ การดำเนินการด้านศุลกากรสำหรับการค้าขายข้ามพรมแดน นักธุรกิจจึงมีความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐที่เอื้อต่อการทำธุรกิจของภาคเอกชนมากขึ้น รวมทั้งมีความเชื่อมั่น ต่อความสามารถในการบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาลมากขึ้นเช่นเดี ยวกัน”
เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวดด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีปัจจัยย่อยที่มีอันดับดีขึ้นถึง 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economy) ที่ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 33 จากอันดับที่ 37 ในปี 2559 การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) อยู่ในอันดับที่ 3 จากอันดับที่ 6 ในปี 2559 ราคาและค่าครองชีพ (Prices) ที่อันดับดีขึ้นมากจากอันดับ ที่ 45 เป็นอันดับที่ 28
ขณะที่ด้านการจ้างงาน (Employment) ยังอยู่ในอันดับที่ดีมากคืออันดับที่ 3 เช่นเดียวกับปีก่อน เรื่องที่มีอันดับลดลงคือ การลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) จากอันดับที่ 28 ในปี 2559 เป็นอันดับที่ 37 ในปีนี้ จุดเด่นของประเทศไทยในหมวดนี้ยังคงเป็นด้านที่เกี่ยวกับการจ้างงาน รายได้จากการท่องเที่ยว และความมั่นคงของบัญชีเดินสะพัด ส่วนประเด็นที่ยังต้องพัฒนาต่อไปคือ รายได้ประชาชาติต่อหัวของประชาก รที่อยู่ในอันดับที่ 54 ด้านค่าครองชีพ ความเสี่ยงจากการย้ายฐานการผลิต และด้านการลงทุนทางตรงทั้งจากต่างประเทศและการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) มีอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 3 ปีล่าสุด ปัจจัยย่อยมีอันดับที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ กฎหมายด้านธุรกิจ (Business Legislation) ที่ดีขึ้นถึง 6 อันดับจากปี 2559 โดยขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 38 จากอันดับ ที่ 44 ในปีก่อนหน้า และกรอบการบริหารด้านสังคม (Institution Framework) ที่ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 30 จาก 33 ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ นโยบายภาษี (Tax Policy) นั้นยังคงได้อันดับที่สูงกว่าเดิมจากที่เคยสูงอยู่แล้ว โดยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 4 ในปี 2560 อีกด้วย
ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของประเด็นที่ใช้ในการจัดอันดับในหมวดนี้มาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารในภาคธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่มีอันดับที่สูงขึ้น จึงสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่รัฐดำเนินการเช่น การแก้ไขกฎระเบียบและปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ ให้มีความสะดวกต่อการดำเนินธุรกิจ การให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน การปรับตัวของนโยบายภาครัฐ รวมถึงความคล่องตัวในการดำเนินนโยบาย ได้รับการยอมรับจากผู้ตอบแบบสำรวจ ส่วนประเด็นที่ยังต้องปรับปรุง ในหมวดนี้ ได้แก่ ต้นทุนการปลดออกจากงาน (Redundancy Costs) กำแพงภาษี (Tariff barriers) และ ระยะเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up days) เป็นต้น
ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ปัจจัยย่อยที่อันดับดีขึ้น 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการจัดการ (Management Practices) และ ด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency) ในขณะที่ด้านตลาดแรงงาน และด้านการเงิน มีอันดับลดลง ส่วนด้านทัศนคติและค่านิยมมีอันดับคงเดิม ด้านการจัดการ (Management Practices) ปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับโดยขึ้นมาอยู่ที่ 20 ในปีนี้ มีผลมาจากการดีขึ้นของตัวชี้วัด ต่างๆ เช่น การคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction) การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และ ความน่าเชื่อถือของผู้จัดการ (Credibility of managers) เป็นต้น
ส่วนในด้านผลิตภาพและประสิทธิภา พ (Productivity & Efficiency) ถึงแม้จะมีอันดับดีขึ้น 2 อันดับจากปีที่ผ่านมาโดยมาอยู่อั นดับที่ 41 อันเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้น ของอัตราเพิ่มของผลิตภาพ (Overall Productivity – real growth) ซึ่งอยู่ในอันดับ 3 จาก 63 ประเทศ แต่ยังคงเป็นประเด็นที่ประเทศไท ยควรเร่งปรับปรุง เนื่องจากผลิตภาพของแรงงานทั้งใ นภาพรวมและในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงอยู่ในอันดับต่ำ อาทิ ผลิตภาพในภาพรวม (Overall Productivity) ที่อยู่ในอันดับที่ 58 จาก 63 ประเทศ
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปัจจัยย่อย 2 ด้านที่อันดับดีขึ้น ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (Technological Infrastructure) ที่ปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับ และโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป (Basic Infrastructure) ที่ปรับตัวดีขึ้น 1 อันดับ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 36 ดีขึ้น 6 อันดับ โดยตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อการปรับ ตัวดีขึ้น ได้แก่ การมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ตอบ สนองภาคธุรกิจและความเชื่อมโยงต่ างๆ ความเร็วอินเตอร์เนต การส่งออกสินค้าไฮเทค และ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีซึ่งเกิดจ ากความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอ กชน และรัฐกับเอกชน (Public-private partnerships) เป็นต้น
ด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปได้รับการจัดอันดับที่ 34 ปรับตัวดีขึ้น 1 อันดับ โดยมีตัวชี้วัดที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งน้ำ (Access to water) ที่ปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับ การเข้าถึงสินค้าบริโภคพื้นฐาน (Access to commodities) ซึ่งมีอันดับดีขึ้น 3 อันดับ และ คุณภาพของการขนส่งทางอากาศ (Quality of air transportation) ซึ่งอันดับดีขึ้น 3 อันดับ เช่นเดียวกัน
แม้ว่าผลการจัดอันดับด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมยังอยู่ในระดับค่อนข้ างต่ำ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่ าตัวชี้วัดย่อยเกี่ยวกับการลงทุ นด้านการวิจัยและพัฒนาและบุคลากรด้านวิจัยมีอันดับดีขึ้นในทุกประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตัวชี้วัดในเชิงมูลค่าปรับตัวดีขึ้นถึง 4 อันดับ และสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้าน R&D ของภาคธุรกิจ ต่อ GDP (Business expenditure on R&D (%)) ปรับตัวดีขึ้นถึง 10 อันดับ
นอกจากนั้น ความเห็นของภาคธุรกิจต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรม (Innovation Capacity) ของประเทศก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างมี นัยสำคัญโดยปรับตัวดีขึ้นถึง 9 อันดับจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นอย่าง มากคือด้านที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร ทั้งจำนวนการขอจดสิทธิบัตร และจำนวนสิทธิบัตรที่ได้รับการจด และสิทธิบัตรที่มีผลบังคับใช้
ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และการศึกษา ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งพัฒนาอย่างมาก โดยยังอยู่ในอันดับต่ำทั้งสองหมวด ประเด็นสำคัญที่ต้องปรับปรุงในด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ แก่ การเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ต่อประชากร และการประหยัดพลังงาน ในขณะที่ด้านการศึกษา ต้องเร่งพัฒนาความสามารถทางภาษา อังกฤษของบุคลากร รวมทั้งความสามารถทางวิชาการโดย เฉพาะด้านคณิตศาสตร์และวิ ทยาศาสตร์ และการปรับปรุงอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปีนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนมีความเข้าใจ และการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวเริ่มปรากฎผลเป็นรู ปธรรมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้เ ชี่ยวชาญ IMD ที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประเศที่มีพัฒนาการสูงขึ้นมากในปีนี้ ว่าล้วนเป็นผลมาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาครัฐและภาคเอกชน และการเพิ่มผลิตภาพของประเทศ
สำหรับประเทศไทย ผลที่ดีขึ้นนี้ยังคงเป็นเพียงจุ ดเริ่มต้น ซึ่งคุณเทวินทร์กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าเราจะมีอันดับที่ดีขึ้นในปีนี้ แต่ประเทศอื่นๆ ในโลกต่างก็เร่งพัฒนาตนเองไปเช่นเดียวกับเรา เพราะฉะนั้นเราจะต้องพยายามทำให้ มากขึ้นและเร็วขึ้น โดยประเด็นท้าทายที่เราต้องขับเคลื่อนให้ก้าวหน้าไปให้ได้ คือการพัฒนาคนให้มีความรู้เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ และการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งท างด้านเศรษฐกิจและสังคม”
นอกจากนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนี้เดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องและประเทศไทยมี อันดับความสามารถในการแข่งขันที่ ดีขึ้น “รัฐบาลได้มอบหมายให้มีหน่วยงาน เจ้าภาพรับผิดชอบตัวชี้วัดแต่ ละตัวอย่างชัดเจน ในช่วงต่อไปหน่วยงานเหล่านี้ จะต้องทำงานร่วมกับสศช. TMA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้มีการปรับปรุงระบบข้อมูลตัวชี้ วัดให้ครบถ้วน ถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะแผนงาน/โค รงการ/มาตรการที่ชัดเจน สำหรับการปรับปรุงตัวชี้วัดความ สามารถ ในการแข่งขันทุกมิติ และที่สำคัญคือการที่รัฐบาลขับเ คลื่อนการดำเนินแผนงานเพื่อพัฒน าโครงสร้างพื้นฐานในทุกด้าน รวมทั้งในเรื่องพัฒนาคนไทยให้มี คุณภาพสูงขึ้น” ดร. ปัทมาสรุป