xs
xsm
sm
md
lg

สกว.จัดเวทีเสวนาถกประเด็น “รัฐธรรมนูญไทยกับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สุรพันธ์ บุรานนท์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดเวทีเสวนาวิชาการ“รัฐธรรมนูญกับภาวะโลกร้อน : การแก้ไขปัญหาด้วยกฎหมาย” ณ โรงแรมสุโกศล โดยมี นายสุรพันธ์ บุรานนท์ รองเลขาธิการ สำนักงาน ศาลปกครอง เป็นประธานการเปิดงาน โอกาสนี้ ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ให้เกียรติกล่าวปาถกฐาในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญกับภาวะโลกร้อน”

ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว กล่าวว่า “ไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและของโลก สภาพแวดล้อมแย่ลงส่งผลกระทบต่อหลายมิติ แม้ว่าเราจะเป็นประเทศเล็กๆแต่ก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในแง่ของกฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 มีมาตราที่กล่าวถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่บ้าง จวบจนมารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีมาตราที่กล่าวถึงกฎหมายที่เกียวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียด อย่างในมาตรา 57 บัญญัติไว้ว่า
ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว
“บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว”

ทั้งนี้ จากการเข้าร่วมประชุมประเทศภาคอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกว่าการประชุม COP 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2559 สมาชิกสภานิติบัญญัติทั่วโลก ประมาณ 93 ประเทศ ได้ตกลงกันว่าอย่างน้อยที่สุดขอให้ ทางสภานิติบัญญัติของแต่ละประเทศ 1.ออกกฎหมายในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนให้ได้ 2.ขอให้สมาชิกถ่ายทอด Science Technology ไปสู่กลุ่มบุคคลที่มีภารกิจเรื่องนี้ เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.สนับสนุนให้เยาวชนและสตรีเข้ามามีบทบาทและตระหนักถึงการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน
ปัจจุบันไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม อาทิ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พรบ.จัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ร.บ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ร.บ. สวนป่า พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พรบ.ควบคุมอาหาร ฯลฯ คำถามที่ประเทศไทยต้องคิดต่อคือ จะทำยังไง ให้มี พรบ.ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตรง ควรมีงานออกการทำงานที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการมากกว่างานอย่างเอกเทศและทับซ้อนกัน

ด้าน รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผอ.ฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สกว. กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลก ที่ สกว.ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และให้การสนับสนุนโครงการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากว่า 15 ปี โอกาสนี้ ดร.อนันต์ คงเครือพันธุ์ นักวิจัยจากสำนักงานศาลปกครองและคณะได้ทำการศึกษาวิจัยภายใต้ชื่อ โครงการ “การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” โดยทำการศึกษาในช่วง พ.ศ.2557 - 2559 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของต่างประเทศกับของไทย นำเสนอแนวคิดในการพัฒนากฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในกระบวนการวิจัยมีการระดมข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของไทยโดยตรง
ดร.อนันต์ คงเครือพันธุ์
ด้าน ดร.อนันต์ คงเครือพันธุ์ นักวิจัยจากสำนักงานศาลปกครอง หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า “ปัจจุบันประเทศที่มีกฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีตัวบทชัดเจน ประกอบไปด้วยเม็กซิโก สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ ออสเตรีย เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ ฟิลิปปินส์ เป้าหมายการดำเนินงานด้านนี้ของประเทศไทย ณ ปัจจุบันคือ การลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 ในปี 2573 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2543 เป้าหมายเพิ่มเติม คือ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 25 หากได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ (เงินทุน และเทคโนโลยี) ทั้งนี้การศึกษากฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นการเรียนลัด เพื่อทราบจุดแข็งและจุดอ่อนอันอาจนำมาใช้พิจารณาบริบทที่เหมาะสมสำหรับไทยต่อไป”
กำลังโหลดความคิดเห็น