xs
xsm
sm
md
lg

ถอดรหัสอาคารเขียว ต่างชาติแห่เช่าตึกรักษ์โลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


*เผยอาคารเขียวไม่ใช่แค่ประหยัดพลังงาน แต่เพิ่มคุณภาพชีวิตด้วย
*ยกระดับมาตรฐานเทียบสากล
*จับตาอาคารเกิดใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การลงทุนก่อสร้างอาคารเขียว ไม่ใช่กระแสอีกต่อไป เมื่อผู้พักอาศัยต้องการอยู่อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ หรือเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุด ทำให้เจ้าของอาคาาต่างก็หันมาให้ความสนใจพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรืออาคารเขียวมากขึ้น แม้ว่าจะมีต้นทุนสูงกว่า แต่ก็สามารถสร้างรายได้ได้มากกว่า อีกทั้งจะถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้นด้วย
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญระดับโลก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอาคารเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการบริโภคที่สูงทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศโลก ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน มีการสนับสนุนการนำพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) มาใช้ในอาคาร เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือ การใช้น้ำ ที่มีการออกแบบนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ รวมไปถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำน้อยหรือไม่ใช้เลย หรือ การเลือกใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัฎจักรชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เป็นต้น

นางสาวคณาปภา อรรคภาส์ ผู้จัดการส่วนกรีนโซลูชั่น ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า ตลาดอาคารเขียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนโครงการที่ลงทะเบียนยื่นขอมาตรฐานอาคารเขียวในไทยและอาเซียน โดยเฉพาะมาตรฐาน LEED ตลาดในประเทศไทยปี 2015 มีโครงการที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนเพิ่มขึ้น 37% จากปีก่อน และในกลุ่มประเทศอาเซียนก็เพิ่มขึ้นถึง 25%

ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 20-25%
ประกอบกับแผนการพัฒนาการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามที่ นายกรัฐมนตรี “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP21) ถึงเป้าหมายของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20-25%ภายในปี 2030 ซึ่งการจัดทำอาคารเขียวหรือการใช้วัสดุประหยัดพลังงานก็เป็นส่วนที่สำคัญที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ไปจนถึง การพัฒนาการออกแบบ การก่อสร้าง และการนำไปใช้งาน ซึ่งแต่ละนวัตกรรมของแต่ละห่วงโซ่จะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกันให้เกิดเป็นรูปธรรม
ไม่เฉพาะอาคารของภาคเอกชนเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างอาคารเขียว แต่ภาครัฐก็ให้ความสำคัญมากขึ้น โดยอาคารใหม่ๆเริ่มก่อสร้างโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน ส่วนอาคารเก่าก็ใช้วิธีการปรับปรุง เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ อาทิ หลอดไฟ ควบคุมเครื่องปรับอากาศให้อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25 อาศาเซนเซียส ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ปลูกต้นไม้เพิ่มอ๊อกซิเจน คุมหลังคา ลดความร้อนเข้าสู่อาคาร รวมถึงเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคาร มีระบบระบายอากาศที่ดี

ต่างชาติย้ายเข้าอาคารเขียว
ทั้งนี้ จากการสอบถามเจ้าของพื้นที่อาคารสำนักงานให้เช่าในย่าน CBD พบว่า International firm จาก EU/USA มีการย้ายไปเช่าพื้นที่ของอาคารที่ได้การรับรองอาคารเขียวมาตรฐาน LEED เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นนโยบายของบริษัทแม่ ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในองค์กรควบคู่กันไปกับเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคาร ซึ่งอาคารเขียวตอบโจทย์ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
ขณะที่ผู้ประกอบการเจ้าของอาคารสำนักงานก็ต้องปรับตัวด่วยการลงทุนก่อสร้างอาคารสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนอาคารเก่าก็ควรปรับปรุงสถานที่ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งอาจจะเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้ใช้พลังงานน้อยลง เช่น ใช้กระจก 2 ชั้น ปลูกต้นไม้คลุมชั้นบน รวมถึงเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร
นางสาวคณาปภา กล่าวว่า การให้คำปรึกษาพัฒนาเป็นอาคารเขียวของ “เอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น” แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การเป็นที่ปรึกษาสำหรับอาคารที่จะขอรับการประเมินมาตรฐานอาคารเขียว หรือการเป็นที่ปรึกษาพัฒนาอาคารเขียวแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้บริการศึกษาความเป็นไปได้ในการขอการรับรองอาคารเขียว ให้คำปรึกษาในการออกแบบและก่อสร้าง เลือกใช้วัสดุก่อสร้างตามข้อกำหนดการประเมินอาคารเขียว การจำลองสภาพการใช้พลังงานของอาคาร การให้บริการด้านผู้ตรวจสอบงานระบบของอาคาร ตลอดจนการเสนอเข้ารับรองมาตรฐานอาคารเขียว และการให้บริการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์ หรือการให้คำแนะนำสินค้าของเอสซีจีที่มีคุณสมบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือสินค้าที่ได้รับฉลาก SCG Eco Value หรือฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การเลือกใช้สินค้าตามที่ระบุในมาตรฐานอาคารเขียว LEED, TREES, etc. รวมถึงสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบอาคารที่ “เอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น” ให้คำปรึกษาพัฒนาเป็นอาคารเขียว แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อาคารสร้างใหม่ หรืออาคารที่มีการปรับปรุงใหม่ (New Building Design and Construction) ได้แก่ อาคารทั่วไป โรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึง อาคารสำนักงาน โรงแรม โรงงาน และที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม อาคารเก่า หรืออาคารที่เปิดใช้งานแล้ว (Existing Building Operation and Maintenance) และการขอเฉพาะพื้นที่ภายในอาคาร (Interior or Retail space)

ทุ่มงบ R&D 2,000 ล้าน พัฒนาสินค้า
ด้านนายนิธิ ภัทรโชค ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ตลาดในประเทศ ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า จะเปิดตัวนวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) อย่างต่อเนื่อง และเตรียมงบประมาณ R&D ในปีนี้กว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุมทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มสตรัคเจอรัล บิสซิเนสได้แก่ ปูนซีเมนต์ คอนกรีต เหล็ก ท่อไม่เน้นการแข่งขันด้านราคา มุ่งเสริมศักยภาพให้กับกลุ่มคู่ค้า มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาเสมือนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ และขยายการลงทุนไปสู่อาเซียน กลุ่มเฮ้าส์ซิ่ง บิสซิเนส ได้แก่ หลังคาและอุปกรณ์หลังคา ฝ้าผนัง ไม้สังเคราะห์ ฉนวน และผลิตภัณฑ์ตกแต่งภูมิทัศน์ โดยนวัตกรรมใหม่ที่จะเปิดตัวในปีนี้ อาทิ กระเบื้องหลังคาคอนกรีต เฉดสีเข้ม ที่ตอบกระแสความนิยมบ้านสไตล์โมเดิร์น แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสะท้อนรังสีความร้อน เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในตัวบ้าน
กลุ่มเทคโนโลยี แบ่งเป็น 2 แบรนด์ ได้แก่ SCG Building tech (เอสซีจี บิลดิ้งเทค) นวัตกรรมการก่อสร้างที่เป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้นเช่น ระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ที่ติดตั้งรวดเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรม ในสภาวะการขาดแคลนแรงงานฝีมือ และ SCG Living tech (เอสซีจี ลีฟวิ่งเทค) นวัตกรรมการสร้างที่อยู่อาศัยให้มีภาวะอยู่สบายมากขึ้น ประหยัดพลังงานเช่น ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา SolarECO System(เอสซีจี โซล่าอีโค่ ซิสเท็ม)
กลุ่มโซลูชั่น พัฒนาขึ้นจากความเข้าใจที่เราทราบว่าลูกค้าต้องการอะไรเพื่อการอยู่อาศัย หรือสังคมโดยรวม ทั้งด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในรูปของบริการแบบครบวงจร ได้แก่ SCG Green Building Solution(เอสซีจี กรีนบิลดิ้ง โซลูชั่น) บริการให้คำปรึกษาเรื่องสิ่งปลูกสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ SCG Eldercare Solution (เอสซีจี เอลเดอร์แคร์ โซลูชั่น) ตอบโจทย์ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทั้งภายในและภายนอกของบ้าน
ธนพล ศิริธนชัย
ขณะที่นายธนพล ศิริธนชัย ประธาน บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กล่าวว่า การพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องผู้ประกอบการมองว่าเป็นมาตรฐานของการก่อสร้างไปแล้ว เพราะทุกคนให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม มีการตื่นตัวกันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาให้ความสนใจก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากที่ในอดีตอาจจะไม่ให้ความสำคัญมากนัก เพราะมองว่าเป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก
"การก่อสร้างอาคารสำนักงานให้เช่าของบริษัทก็พัฒนาความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ อาคารใหม่ล่าสุด จะมีห้องอาบน้ำทุกชั้น สำหรับนักปั่นจักรยาน เลนจอดรถจักรยาน ซึ่งกระแสการปั่นจักรยานกำลังมาแรง ทำให้มีคนจำนวยไม่น้อยที่ปั่นจักรยานมาทำงาน ซึ่งสามารถออกกำลังกายไปด้วยในครั้งเดียวกัน"
บริษัทเตรียมที่จะพัฒนาอาคารโดยใส่วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมากขึ้น อาทิ อาจจะติดตั้งโซลาร์ เซลล์ เพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ในเวลากลางคืน สำหรับไฟทางเดินรอบอาคาร ขณะอยู่ระหว่างศึกษาเทคโนโลยีทีจะนำมาใช้ โดยศึกษาเทคโนโลยีจากต่างเทศ เช่น ญี่ปุ่น
การลงทุนก่อสร้างอาคารเขียว ไม่ใช่กระแสอีกต่อไป เมื่อผู้พักอาศัยต้องการอยู่อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ หรือเบียดเบียนธรรมชาติให้น้อยที่สุด ทำให้เจ้าของอาคาาต่างก็หันมาให้ความสนใจพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรืออาคารเขียวมากขึ้น แม้ว่าจะมีต้นทุนสูงกว่า แต่ก็สามารถสร้างรายได้ได้มากกว่า อีกทั้งจะถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้นด้วย
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญระดับโลก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอาคารเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการบริโภคที่สูงทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศโลก ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน มีการสนับสนุนการนำพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) มาใช้ในอาคาร เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือ การใช้น้ำ ที่มีการออกแบบนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ รวมไปถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำน้อยหรือไม่ใช้เลย หรือ การเลือกใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัฎจักรชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เป็นต้น
เอสซีจีชูนวัตกรรม เปิดตัวโครงสร้างซีเมนต์ระบบ 3D Printing ครั้งแรกในอาเซียน พร้อมเร่งตอบโจทย์ผลิตภัณฑ์ผู้สูงวัย
เอสซีจียกขบวนนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและเทคโนโลยีการอยู่อาศัย จัดแสดงในงานสถาปนิก’59 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “Discover your next by SCG EXPERIENCE” ต่อยอดนวัตกรรมปูนซีเมนต์รูปแบบใหม่ไร้ขีดจำกัดกับผลงาน “SCG Y-BOX Pavilion” สิ่งปลูกสร้างขนาดสูงกว่า 3 เมตร ชิ้นแรกของอาเซียน ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อการอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ผู้สูงวัยโดยเฉพาะ สัมผัสกระเบื้องสุดยอดดีไซน์ระดับโลก และพบสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาเรื่องบ้านอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคมนี้ ที่บูธเอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค เมืองทองธานี
กำลังโหลดความคิดเห็น