*ก้าวสู่มหาวิทยาลัยแห่งการให้และการแบ่งปัน
*เผยกลยุทธ์สร้างความต่าง สร้างจุดเด่น สู่เป้าหมายผู้นำ
* ติดอันดับ 1 ผลสำรวจของ Webometrics
เป้าหมายการขึ้นสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมของดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มมองเห็นเคร้าโครงมากขึ้นแล้ว เพราะปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวนมากที่เข้าสมัครเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดหลักสูตรที่หลากหลายสาขาวิชา เพื่อต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่สู่สังคม
ปัจจุบันได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมกว่า 140 หลักสูตร ครอบคลุม 5 กลุ่มคณะวิชา ดังนี้ 1. กลุ่มคณะวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2. กลุ่มคณะวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และการบิน 3. กลุ่มคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4. กลุ่มคณะวิชาศิลปะและการออกแบบ และ 5. กลุ่มคณะวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจ
ดร.อาทิตย์ เปิดเผยว่า การศึกษายุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องของการวัดมาตรฐานการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งเหล่านั้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงมีเป้าหมายสร้างการศึกษาให้เป็นขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศไทย ไม่ได้ต้องการสอนเพื่อให้คนใดคนหนึ่งเด่นหรือรวยอยู่คนเดียว แต่ต้องสอนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการร่วมปฏิรูปประเทศ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมธรรมาธิปไตย หรือมหาวิทยาลัยแห่งการให้และการแบ่งปัน (Creative Giving and Sharing Society)
ตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะบ่มเพาะภูมิปัญญาให้แก่บัณฑิตทุกคนต้องเก่งทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน โดยในกระบวนการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องมุ่งสร้างผู้นำในระดับสากล ทั้งนี้ ผู้นำไม่ได้หมายถึงตำแหน่งหัวหน้า แต่หมายถึงเป็นคนที่เก่งที่สุดที่สร้างขึ้น และผู้นำต้องไม่ใช่ผู้แสวงหาอำนาจเพื่อไปโกงกินหรือคอรัปชั่น แต่ผู้นำต้องสร้างนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุด นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตต้องไม่มักใหญ่ แต่ต้องใฝ่สูงและมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีเหนือใคร ดังนั้นการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตจึงต้องเป็นนวัตกรรม
แนวทางของมหาวิทยาลัยรังสิต ต้องการสร้างคนให้มีความรู้รอบด้าน ทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน การศึกษาไม่ใช่การเรียนหนังสือ ไม่ใช่การเรียนเพื่อให้ได้รับปริญญาหรือเป็นเครื่องประดับไว้บนข้างฝา หรือใช้เป็นเครื่องมือแบ่งชั้นวรรณะ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความตกต่ำทางการศึกษาในประเทศไทย แต่ต้องมองว่าการศึกษาคือ การบ่มเพาะภูมิปัญญาหรือความสามารถที่รอบด้านทั้งทางด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน เพื่อเป็นคนที่มีความรู้แบบองค์รวม ไม่ใช่รู้เพียงด้านเดียว นอกจากนี้การศึกษายังต้องมุ่งสร้างให้เกิดประโยชน์โดยยึดประเทศและสังคม
มาตรฐานการศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลักอ คือ 1.Competiveness 2.Quality 3.Internationalization 4. Readiness for the real world และ 5.Certification เพื่อสร้างคนของเราให้สามารถสนองหรือสู้กับความท้าทายของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ด้วยแนวทางการศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินจากทุกสถาบันจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุดคือ “ดีมาก” พร้อมทั้งขยับก้าวขึ้นมาเป็นมาร์เก็ตลีดเดอร์ ด้วยจำนวนนักศึกษามากที่สุดในระดับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นบทสะท้อนความเชื่อมั่นของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อมหาวิทยาลัยรังสิต
ดร.อาทิตย์ มองว่า หลายเรื่องในเมืองไทยดีอยู่ให้หานวัตกรรมใหม่ๆใส่เข้าไปเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่จะสามารถทำได้ดี และยังสามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศได้ด้วย คือ 1.การเกษตรอัจฉะริยะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ไบโอเทค โครงการหลวงที่สร้างขึ้นมาให้เกิดประโยชน์ต่างๆทำให้ดีขึ้น เช่น ทำอย่างไรให้เพลี้ยไม่กินพืช และด้านอาหาร อาทิ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ 2.กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบิน กลุ่มการบิน การท่องเที่ยว และการโรงแรม ในส่วนนี้คนไทยจะเก่งมาก โจทย์คือ ทำอย่างไรให้พัฒนาพ่อครัวให้มีรายได้เดือนละ 200,000 บาท เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก เพราะอาหารไทยมีชื่อเสียงโดดดังไปทั่วโลก 3.กลุ่มการแพทย์และสุขภาพ 4.กลุ่มครีเอทีฟอาร์ท ในกลุ่มนี้คนไทยมีความสามารถและเก่งมาก โดยที่ผู้กำกับโฆษณา ผู้กำกับภาพยนตร์เก่งที่สุดอยู่ในประเทศไทยทั้งนั้น
ทั้งนี้ ด้านพัฒนาการศึกษา เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้สร้างแพลตฟอร์มใหม่ทั้งหมด โดยการปรับขนาดของหมวดเว็บไซต์ให้เหมาะกับหน้าจอทั้ง 3 ขนาดหน้าจอ คือ จอสมาร์ทโฟน จอแท็บแล็ต และจอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรังสิตได้ง่ายขึ้น จนเป็นที่มาของการได้อันดับ 1 ของผลสำรวจของ Webometrics องค์กรที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ranking Web of World Universities จากประเทศสเปน โดยได้มีการประกาศผลจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอกชน
โดยเกณฑ์การประเมินของ webometrics จะพิจารณาจาก 1. PRESENCE (15%) หรือ เนื้อหาการตีพิมพ์ จำนวนเว็บเพจภายใต้โดเมน จากเว็บไซต์ทั้งหมด รวมทั้งเว็บแบบไดนามิก (วัดด้วย Google) 2. OPENNESS (15%) หรือจำนวนไฟล์เอกสาร แฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมด ที่อยู่ภายใน domain เดียวกัน ในรูปของ Acrobat (pdf), PostScript (ps), MS Word (doc), MS Powerpoint (ppt), MS Excel (xls) 3. IMPACT (50%) หรือ จำนวนลิงค์ภายนอก (external links) ที่ได้รับ (inlinks) มีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงมาจากภายนอก สืบค้นโดยใช้ search engines เช่น Yahoo และใช้ syntax ในการค้นวัดด้วย Majestic SEO and ahrefs
4. EXCELLENCE (20%) หรือ จำนวนบทความวิชาการ และการอ้างอิงบทความทางวิชาการที่ปรากฏภายใน domain ของมหาวิทยาลัย และสามารถสืบค้นได้ด้วย google scholar ซึ่งจากผลการจัดอันดับจากเว็บดังกล่าว ก็มีชื่อ มหาวิทยาลัยรังสิต ติดอันดับที่ 1 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอกชน
"หมดยุคของข้อมูลข่าวสาร แต่โจทย์คือทำอย่างไร ให้การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร เชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภคได้ตลอดเวลา นั่นคือ สิ่งที่มหาวิทยาลัยรังสิตคิด และหาแนวทางการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคให้รวดเร็วและเข้าถึงมากที่สุด"ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวอีกว่า การพัฒนาเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ก็ไม่ได้ออกแบบเหมือนทั่วๆไป แต่จะสร้างความแตกต่างและสร้างจุดเด่น เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ยกตัวอย่าง การสร้างปฎิทิน ก็ไม่ได้เหมิแนปฎิทินทั่วไปที่บอกวัน เดือน ปี เท่านั้น แต่จะบอกสิ่งที่นักศึกษาต้องการรู้ ซึ่งเป็นเหมือนปฎิทินของมหาวิทยาลัยรังสิตเอง อาทิ ในปฎิทินจะบอกวันที่ต้องลงทะเบียน และวันสุดท้ายของการลงทะเบียน หรือ วันเริ่มสอบ เป็นต้น
*เผยกลยุทธ์สร้างความต่าง สร้างจุดเด่น สู่เป้าหมายผู้นำ
* ติดอันดับ 1 ผลสำรวจของ Webometrics
เป้าหมายการขึ้นสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมของดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เริ่มมองเห็นเคร้าโครงมากขึ้นแล้ว เพราะปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวนมากที่เข้าสมัครเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดหลักสูตรที่หลากหลายสาขาวิชา เพื่อต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่สู่สังคม
ปัจจุบันได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมกว่า 140 หลักสูตร ครอบคลุม 5 กลุ่มคณะวิชา ดังนี้ 1. กลุ่มคณะวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2. กลุ่มคณะวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และการบิน 3. กลุ่มคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4. กลุ่มคณะวิชาศิลปะและการออกแบบ และ 5. กลุ่มคณะวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจ
ดร.อาทิตย์ เปิดเผยว่า การศึกษายุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องของการวัดมาตรฐานการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งเหล่านั้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำ มหาวิทยาลัยรังสิตจึงมีเป้าหมายสร้างการศึกษาให้เป็นขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศไทย ไม่ได้ต้องการสอนเพื่อให้คนใดคนหนึ่งเด่นหรือรวยอยู่คนเดียว แต่ต้องสอนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการร่วมปฏิรูปประเทศ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมธรรมาธิปไตย หรือมหาวิทยาลัยแห่งการให้และการแบ่งปัน (Creative Giving and Sharing Society)
ตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะบ่มเพาะภูมิปัญญาให้แก่บัณฑิตทุกคนต้องเก่งทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน โดยในกระบวนการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องมุ่งสร้างผู้นำในระดับสากล ทั้งนี้ ผู้นำไม่ได้หมายถึงตำแหน่งหัวหน้า แต่หมายถึงเป็นคนที่เก่งที่สุดที่สร้างขึ้น และผู้นำต้องไม่ใช่ผู้แสวงหาอำนาจเพื่อไปโกงกินหรือคอรัปชั่น แต่ผู้นำต้องสร้างนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุด นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตต้องไม่มักใหญ่ แต่ต้องใฝ่สูงและมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีเหนือใคร ดังนั้นการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตจึงต้องเป็นนวัตกรรม
แนวทางของมหาวิทยาลัยรังสิต ต้องการสร้างคนให้มีความรู้รอบด้าน ทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน การศึกษาไม่ใช่การเรียนหนังสือ ไม่ใช่การเรียนเพื่อให้ได้รับปริญญาหรือเป็นเครื่องประดับไว้บนข้างฝา หรือใช้เป็นเครื่องมือแบ่งชั้นวรรณะ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความตกต่ำทางการศึกษาในประเทศไทย แต่ต้องมองว่าการศึกษาคือ การบ่มเพาะภูมิปัญญาหรือความสามารถที่รอบด้านทั้งทางด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน เพื่อเป็นคนที่มีความรู้แบบองค์รวม ไม่ใช่รู้เพียงด้านเดียว นอกจากนี้การศึกษายังต้องมุ่งสร้างให้เกิดประโยชน์โดยยึดประเทศและสังคม
มาตรฐานการศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลักอ คือ 1.Competiveness 2.Quality 3.Internationalization 4. Readiness for the real world และ 5.Certification เพื่อสร้างคนของเราให้สามารถสนองหรือสู้กับความท้าทายของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ด้วยแนวทางการศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินจากทุกสถาบันจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุดคือ “ดีมาก” พร้อมทั้งขยับก้าวขึ้นมาเป็นมาร์เก็ตลีดเดอร์ ด้วยจำนวนนักศึกษามากที่สุดในระดับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งเป็นบทสะท้อนความเชื่อมั่นของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อมหาวิทยาลัยรังสิต
ดร.อาทิตย์ มองว่า หลายเรื่องในเมืองไทยดีอยู่ให้หานวัตกรรมใหม่ๆใส่เข้าไปเพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่จะสามารถทำได้ดี และยังสามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศได้ด้วย คือ 1.การเกษตรอัจฉะริยะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ไบโอเทค โครงการหลวงที่สร้างขึ้นมาให้เกิดประโยชน์ต่างๆทำให้ดีขึ้น เช่น ทำอย่างไรให้เพลี้ยไม่กินพืช และด้านอาหาร อาทิ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ 2.กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบิน กลุ่มการบิน การท่องเที่ยว และการโรงแรม ในส่วนนี้คนไทยจะเก่งมาก โจทย์คือ ทำอย่างไรให้พัฒนาพ่อครัวให้มีรายได้เดือนละ 200,000 บาท เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก เพราะอาหารไทยมีชื่อเสียงโดดดังไปทั่วโลก 3.กลุ่มการแพทย์และสุขภาพ 4.กลุ่มครีเอทีฟอาร์ท ในกลุ่มนี้คนไทยมีความสามารถและเก่งมาก โดยที่ผู้กำกับโฆษณา ผู้กำกับภาพยนตร์เก่งที่สุดอยู่ในประเทศไทยทั้งนั้น
ทั้งนี้ ด้านพัฒนาการศึกษา เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้สร้างแพลตฟอร์มใหม่ทั้งหมด โดยการปรับขนาดของหมวดเว็บไซต์ให้เหมาะกับหน้าจอทั้ง 3 ขนาดหน้าจอ คือ จอสมาร์ทโฟน จอแท็บแล็ต และจอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรังสิตได้ง่ายขึ้น จนเป็นที่มาของการได้อันดับ 1 ของผลสำรวจของ Webometrics องค์กรที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ranking Web of World Universities จากประเทศสเปน โดยได้มีการประกาศผลจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอกชน
โดยเกณฑ์การประเมินของ webometrics จะพิจารณาจาก 1. PRESENCE (15%) หรือ เนื้อหาการตีพิมพ์ จำนวนเว็บเพจภายใต้โดเมน จากเว็บไซต์ทั้งหมด รวมทั้งเว็บแบบไดนามิก (วัดด้วย Google) 2. OPENNESS (15%) หรือจำนวนไฟล์เอกสาร แฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมด ที่อยู่ภายใน domain เดียวกัน ในรูปของ Acrobat (pdf), PostScript (ps), MS Word (doc), MS Powerpoint (ppt), MS Excel (xls) 3. IMPACT (50%) หรือ จำนวนลิงค์ภายนอก (external links) ที่ได้รับ (inlinks) มีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงมาจากภายนอก สืบค้นโดยใช้ search engines เช่น Yahoo และใช้ syntax ในการค้นวัดด้วย Majestic SEO and ahrefs
4. EXCELLENCE (20%) หรือ จำนวนบทความวิชาการ และการอ้างอิงบทความทางวิชาการที่ปรากฏภายใน domain ของมหาวิทยาลัย และสามารถสืบค้นได้ด้วย google scholar ซึ่งจากผลการจัดอันดับจากเว็บดังกล่าว ก็มีชื่อ มหาวิทยาลัยรังสิต ติดอันดับที่ 1 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอกชน
"หมดยุคของข้อมูลข่าวสาร แต่โจทย์คือทำอย่างไร ให้การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร เชื่อมโยงแบรนด์กับผู้บริโภคได้ตลอดเวลา นั่นคือ สิ่งที่มหาวิทยาลัยรังสิตคิด และหาแนวทางการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคให้รวดเร็วและเข้าถึงมากที่สุด"ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวอีกว่า การพัฒนาเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ก็ไม่ได้ออกแบบเหมือนทั่วๆไป แต่จะสร้างความแตกต่างและสร้างจุดเด่น เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ยกตัวอย่าง การสร้างปฎิทิน ก็ไม่ได้เหมิแนปฎิทินทั่วไปที่บอกวัน เดือน ปี เท่านั้น แต่จะบอกสิ่งที่นักศึกษาต้องการรู้ ซึ่งเป็นเหมือนปฎิทินของมหาวิทยาลัยรังสิตเอง อาทิ ในปฎิทินจะบอกวันที่ต้องลงทะเบียน และวันสุดท้ายของการลงทะเบียน หรือ วันเริ่มสอบ เป็นต้น