Ericsson ConsumerLab Report เผย 7 หัวข้อสำคัญเรื่องอิทธิพลของทีวีและสื่อทรงพลัง พร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
รายงาน Ericsson ConsumerLab Report ในหัวข้อ “อิทธิพลของทีวีและสื่ออันทรงพลังที่มีต่อผู้บริโภค” ฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าถึงสื่อในปัจจุบัน ซึ่งในที่นี้เจาะลึกลงไปที่วิดีโอที่ฉายออกอากาศทางทีวี แสดงสถิติต่างๆ ของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ได้ทำการศึกษา อาทิ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตลอดจนการวิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์และคาดการณ์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมทีวีและสื่อ รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยได้ด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลโดยสรุป 7 เรื่อง ได้แก่ 1. ผู้บริโภคที่ดูวิดีโอออนดีมานด์ผ่านระบบสตรีมมิ่งอย่างน้อยวันละครั้งเพิ่มสูงขึ้น มีมากขึ้นกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2012 ที่มีเพียงร้อยละ 30 2. ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีการดูซีรี่ส์ รายการต่างๆ และหนังแบบออนดีมานด์ทางทีวีเพิ่มสูงขึ้นกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากปี 2011 ที่ประมาณ 2.9 ชั่วโมง
3. พฤติกรรมการดูทีวีสัมพันธ์กับช่วงอายุเช่นกัน โดยกว่าร้อยละ 82 ของคนอายุช่วง 60-69 ปี จะดูทีวีเป็นกิจวัตรประจำวัน 4. กลุ่ม Gen Y (อายุ 16-34) จะดูทีวีส่วนใหญ่บนสมาร์ทโฟน แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต ซึ่งประมาณ 53เปอร์เซ็นต์ของเวลาการดูทีวีและวิดีโอทั้งหมด 5. จำนวนผู้บริโภคที่ดูวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 โดยเวลาการดูทีวีและวิดีโอบนอุปกรณ์โมบาย สูงขึ้นเป็น 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับปี 2012
6. กว่าครึ่งของผู้บริโภคที่ดูทีวีและวีดีโอทั่วไปกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถเลือกหารายการที่น่าสนใจและอยากดูได้ในแต่ละวัน โดยกว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุ 25-34 ปี ต่างต้องเจอกับความยุ่งยากนี้เป็นประจำทุกวัน และ7. สำหรับคนที่ไม่เคยใช้บริการทีวีที่มีค่าใช้จ่าย (ผู้บริโภคที่ไม่เคยใช้งานทีวีที่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือน) เป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่ผู้ประกอบการหยิบยื่นให้ในปัจจุบัน ทั้งการผูกมัดระยะยาว แพกเกจที่ไม่ยืดหยุ่น ราคาที่สูง และโฆษณามากมายล้วนทำให้ร้อยละ 50 ของคนกลุ่มนี้ไม่อยากเสียเงินเพื่อใช้บริการ ไม่ว่าตอนนี้หรือในอนาคตก็ตาม
รายงาน Ericsson ConsumerLab Report ในหัวข้อ “อิทธิพลของทีวีและสื่ออันทรงพลังที่มีต่อผู้บริโภค” ฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าถึงสื่อในปัจจุบัน ซึ่งในที่นี้เจาะลึกลงไปที่วิดีโอที่ฉายออกอากาศทางทีวี แสดงสถิติต่างๆ ของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ได้ทำการศึกษา อาทิ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตลอดจนการวิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์และคาดการณ์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมทีวีและสื่อ รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศไทยได้ด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลโดยสรุป 7 เรื่อง ได้แก่ 1. ผู้บริโภคที่ดูวิดีโอออนดีมานด์ผ่านระบบสตรีมมิ่งอย่างน้อยวันละครั้งเพิ่มสูงขึ้น มีมากขึ้นกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2012 ที่มีเพียงร้อยละ 30 2. ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีการดูซีรี่ส์ รายการต่างๆ และหนังแบบออนดีมานด์ทางทีวีเพิ่มสูงขึ้นกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากปี 2011 ที่ประมาณ 2.9 ชั่วโมง
3. พฤติกรรมการดูทีวีสัมพันธ์กับช่วงอายุเช่นกัน โดยกว่าร้อยละ 82 ของคนอายุช่วง 60-69 ปี จะดูทีวีเป็นกิจวัตรประจำวัน 4. กลุ่ม Gen Y (อายุ 16-34) จะดูทีวีส่วนใหญ่บนสมาร์ทโฟน แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต ซึ่งประมาณ 53เปอร์เซ็นต์ของเวลาการดูทีวีและวิดีโอทั้งหมด 5. จำนวนผู้บริโภคที่ดูวิดีโอบนสมาร์ทโฟน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 โดยเวลาการดูทีวีและวิดีโอบนอุปกรณ์โมบาย สูงขึ้นเป็น 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับปี 2012
6. กว่าครึ่งของผู้บริโภคที่ดูทีวีและวีดีโอทั่วไปกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถเลือกหารายการที่น่าสนใจและอยากดูได้ในแต่ละวัน โดยกว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีอายุ 25-34 ปี ต่างต้องเจอกับความยุ่งยากนี้เป็นประจำทุกวัน และ7. สำหรับคนที่ไม่เคยใช้บริการทีวีที่มีค่าใช้จ่าย (ผู้บริโภคที่ไม่เคยใช้งานทีวีที่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือน) เป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่ผู้ประกอบการหยิบยื่นให้ในปัจจุบัน ทั้งการผูกมัดระยะยาว แพกเกจที่ไม่ยืดหยุ่น ราคาที่สูง และโฆษณามากมายล้วนทำให้ร้อยละ 50 ของคนกลุ่มนี้ไม่อยากเสียเงินเพื่อใช้บริการ ไม่ว่าตอนนี้หรือในอนาคตก็ตาม