โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (OPOAI) ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับธุรกิจ SMEs กว่า 3,600 ล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการ 1,041 รายในพื้นที่ 76 จังหวัด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มยอดขาย พร้อมยกระดับราคาผลิตผลทางการเกษตรให้สูงขึ้น ได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเศรษฐกิจไทย ชูผู้ประกอบการพร้อมแข่งขันบนเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และตลาดโลก
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปโดยการพัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตผลการเกษตรของไทย บนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้มแข็งสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการเพิ่มองค์ความรู้ในด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กร ปรับโครงสร้างการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs ทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน บริการทางการเงิน และการลงทุนอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและเสริมสร้างโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย “1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร” หรือ One Province One Agro-Industrial Product: OPOAI ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม
จึงนับเป็นโครงการที่สามารถสนับสนุนนโยบายรัฐบาลข้างต้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ให้ได้รับการพัฒนาตามแผนงาน 6 ด้าน ประกอบด้วย1. การบริหารจัดการโลจิสติกส์ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. การลดต้นทุนพลังงาน 5. การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล และ 6. กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด
เรียกว่าเป็นการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งโครงการ OPOAIเน้นการดึงศักยภาพของวัตถุดิบท้องถิ่น ผสมผสานนวัตกรรมและคำแนะนำที่ถูกต้องจากทีมที่ปรึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ รู้จักการช่วยเหลือตัวเองด้วยการนำสิ่งที่ตัวเองมีอยู่มาพัฒนา และเพิ่มมูลค่าของสินค้า
ทางด้าน อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า "นับจากปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โครงการ OPOA Iมีผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร 11 ประเภท เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 1,041 ราย โดยเฉพาะในปี 2557 มีผู้เข้าร่วมถึง 138 ราย ครอบคลุมในพื้นที่ 76 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นสาขาข้าว พืชไร่ ผัก-ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งหวังยกระดับให้เป็น Product Champion อีกด้วย”
จากองค์ความรู้ที่ได้รับ ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มยอดขายรวมเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 3,637 ล้านบาท เรียกว่าเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเพื่อเป็นการเชิดชูผู้ประกอบการดีเด่นให้เป็นต้นแบบกับผู้ประกอบการรายอื่น
สำหรับโครงการ OPOAI ยังได้มีการคัดเลือกผู้ประกอบการดีเด่นประจำปี 2557 ประกอบด้วย แผนงานที่ 1 บริษัท บุณยเกียรติ ไอศกรีม จ.เพชรบูรณ์ แผนงานที่ 2 บริษัท ข้าวทิพย์แพร่ จำกัด จ.แพร่ แผนงานที่ 3 สหกรณ์การเกษตรกันทรลักษ์ จำกัด จ.ศรีสะเกษ แผนงานที่ 4 บริษัท กิจเจริญพรชัย จำกัด จ.สิงห์บุรี แผนงานที่ 5 บริษัท คุณเก๋ขนมหวาน จำกัด จ.ปทุมธานี และแผนงานที่ 6 บริษัท สามเกษตรมิลล์ จำกัด จ.อุทัยธานี โดยมีโอกาสได้เข้ารับโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอันเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมด้วย กระทรวงอุตสาหกรรมเชื่อว่า โครงการ OPOAI จะสามารถพัฒนาผู้ประกอบการ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรให้สามารถแข่งขันพร้อมก้าวสู่ยุค AEC และตลาดโลกได้
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปโดยการพัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตผลการเกษตรของไทย บนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้มแข็งสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการเพิ่มองค์ความรู้ในด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กร ปรับโครงสร้างการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs ทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน บริการทางการเงิน และการลงทุนอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและเสริมสร้างโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย “1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร” หรือ One Province One Agro-Industrial Product: OPOAI ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม
จึงนับเป็นโครงการที่สามารถสนับสนุนนโยบายรัฐบาลข้างต้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ให้ได้รับการพัฒนาตามแผนงาน 6 ด้าน ประกอบด้วย1. การบริหารจัดการโลจิสติกส์ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. การลดต้นทุนพลังงาน 5. การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล และ 6. กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด
เรียกว่าเป็นการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งโครงการ OPOAIเน้นการดึงศักยภาพของวัตถุดิบท้องถิ่น ผสมผสานนวัตกรรมและคำแนะนำที่ถูกต้องจากทีมที่ปรึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ รู้จักการช่วยเหลือตัวเองด้วยการนำสิ่งที่ตัวเองมีอยู่มาพัฒนา และเพิ่มมูลค่าของสินค้า
ทางด้าน อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า "นับจากปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โครงการ OPOA Iมีผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร 11 ประเภท เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 1,041 ราย โดยเฉพาะในปี 2557 มีผู้เข้าร่วมถึง 138 ราย ครอบคลุมในพื้นที่ 76 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นสาขาข้าว พืชไร่ ผัก-ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งหวังยกระดับให้เป็น Product Champion อีกด้วย”
จากองค์ความรู้ที่ได้รับ ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มยอดขายรวมเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 3,637 ล้านบาท เรียกว่าเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเพื่อเป็นการเชิดชูผู้ประกอบการดีเด่นให้เป็นต้นแบบกับผู้ประกอบการรายอื่น
สำหรับโครงการ OPOAI ยังได้มีการคัดเลือกผู้ประกอบการดีเด่นประจำปี 2557 ประกอบด้วย แผนงานที่ 1 บริษัท บุณยเกียรติ ไอศกรีม จ.เพชรบูรณ์ แผนงานที่ 2 บริษัท ข้าวทิพย์แพร่ จำกัด จ.แพร่ แผนงานที่ 3 สหกรณ์การเกษตรกันทรลักษ์ จำกัด จ.ศรีสะเกษ แผนงานที่ 4 บริษัท กิจเจริญพรชัย จำกัด จ.สิงห์บุรี แผนงานที่ 5 บริษัท คุณเก๋ขนมหวาน จำกัด จ.ปทุมธานี และแผนงานที่ 6 บริษัท สามเกษตรมิลล์ จำกัด จ.อุทัยธานี โดยมีโอกาสได้เข้ารับโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอันเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมด้วย กระทรวงอุตสาหกรรมเชื่อว่า โครงการ OPOAI จะสามารถพัฒนาผู้ประกอบการ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรให้สามารถแข่งขันพร้อมก้าวสู่ยุค AEC และตลาดโลกได้