เร่งเตรียมพร้อมองค์กรสู่ยุคแห่งการแข่งขันด้วยนวัตกรรม กูรูแนะต้องเกิดมาจากเรื่องกระบวนการ ชี้ตัวอย่างองค์กรที่ทำสำเร็จมาแล้ว เช่น ฟอร์ด โตโยต้า และซีร็อกซ์ ต้นแบบของ Benchmarking ย้ำการเรียนรู้ข้ามไลน์ธุรกิจจะทำให้เกิดนวัตกรรมมากกว่า
ดร. โฮเกอร์ โคล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารองค์กร สถาบันฟรานโฮเฟอร์เพื่อระบบการผลิตและเทคโนโลยีการออกแบบ (IPK) ประเทศเยอรมนี กล่าวในงานสัมมนา “Get Ready for an Innovation Explosion” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization - APO) ว่า การที่จะทำให้เกิด Innovation ในภาคการผลิตและบริการมาจากเรื่องกระบวนการ
ยกตัวอย่าง เรื่อง “กรณีศึกษาแรกของ Henry Ford“ ซึ่งแนวคิดมาจากการดูงานในโรงฆ่าสัตว์แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับรถ Ford เรื่อง “Toyota” โดยการวิเคราะห์กระบวนการจากในซูเปอร์มาร์เก็ต เรื่อง “Xerox“ ที่เป็นต้นแบบของ Benchmarking ในปัจจุบัน
ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการของ Benchmarking หรือการเทียบเคียงสมรรถนะ ที่ไม่ได้เพียงแค่เปรียบเทียบกับองค์กรในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่เป็นการเจาะลึก Performance ดังนั้น การเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในธุรกิจเดียวกันก็จะไม่เกิด Innovation สูงมาก แต่หากข้ามไปไลน์อื่นได้จะเกิดเป็น Innovation Explosion คือการเกิดขึ้นของนวัตกรรมแบบทันทีทันใด หรือระเบิดออกมา
Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการปรับปรุงผลิตภาพและการสร้างนวัตกรรมให้แก่องค์กร ข้อมูลจาก Brain & Company พบว่า Benchmarking เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการที่ได้รับความนิยมเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1993 จากบริษัทต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการปรับปรุงองค์กร โดยมีจุดเด่นที่สำคัญคือ การเรียนลัดจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ
“Benchmarking เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ(Systematic Process) ที่ใช้หาช่องว่างระหว่าง (ประสิทธิภาพ)Performance เรากับองค์กรที่เราจะไปเทียบด้วย นอกจากการวินิจฉัยแล้ว ต้องเรียนรู้จากคนที่เก่งกว่าเรา ว่าองค์กรที่เขาเก่งกว่าเราเขาทำอย่างไร เราก็ไปเรียนรู้จากเขาแล้วปรับมาใช้กับองค์กรเรา เพื่อปรับปรุง Performance ของเราให้ดียิ่งขึ้นลงไปถึงการทำ Process Improvement หรือการปรับปรุงกระบวนการ”
“ถามว่าจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หรือจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ตอบได้ว่าขึ้นอยู่กับว่าการทำของเรามันคิดนอกกรอบแค่ไหน ถ้าเราข้าม Industry มากๆ เราก็จะเห็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นที่มาของ Innovation”
กล่าวโดยสรุป Benchmarking เป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นฐานให้เรา ดังเช่นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยแสดงให้เห็นถึงตัวกระบวนการ ซึ่งมาจากการทำ Benchmarking เพื่อพัฒนาลำดับของ Performance , Product และ Process ของเราให้ดีขึ้น
ดร.โฮเกอร์กล่าวต่อว่า แม้ว่า Benchmarking จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลมากในการที่จะปรับปรุงกระบวนการ อย่าไรก็ตามสำหรับบริษัทขนาดใหญ่มีศักยภาพในการใช้เงิน แต่ SME เป็นเรื่องที่ต้องช่วย ซึ่งรัฐบาลเยอรมันเล็งเห็นความสำคัญเช่นเดียวกับไทย นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Benchmarking Index โดยมีการสำรวจปัญหาในธุรกิจ SME และพัฒนาเครื่องมือนี้โดยมีทั้งหมด 66 ตัวชี้วัดทั้งหมด
สำหรับบริษัทที่ต้องการเข้าไปใช้ฐานข้อมูลนี้ จะต้องกรอกข้อมูล 66 ตัวชี้วัด แล้วจะมีที่ปรึกษา คอยช่วยเหลือว่าเครื่องมือไหนใช้อย่างไร แล้วนำไปใส่ในถังข้อมูลที่มีหลายประเทศ ซึ่งประเทศที่เป็นสมาชิกสามารถใช้ได้ โดยส่วนนี้จะมีถังใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมด ปัจจุบันมีข้อมูลกว่า 100,000 องค์กร
จุดสำคัญคือข้อมูลที่ออกมาจะมีการวิเคราะห์ซึ่งทำโดยผู้รู้ แล้วทำออกมาเป็นรายงานพร้อมกับข้อแนะนำ หรือสถานการณ์ที่คล้ายกับกรณีศึกษา ซึ่งเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ในระดับกระบวนการ จากข้อมูลนี้เราอาจจะดูว่าในเรื่องนี้ใครเก่งที่สุดในกลุ่ม แล้วกระบวนการเหล่านั้นทำอย่างไร
สิ่งที่ดร.โฮเกอร์พยายามชี้ให้เห็นคือ Benchmarking เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลมากในการที่จะปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งการที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาได้เป็นเรื่องที่เราจะเรียนรู้ได้จากคนที่เขาเก่งกว่าเราว่าคือใคร แล้วจะประยุกต์ใช้ Best Practice กับองค์กรเราได้อย่างไร
นอกจากนี้ รัฐบาลเยอรมันยังพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้บริษัทสามารถวัดทุนทางปัญญาได้ โดยสามารถคาดการณ์กลยุทธ์องค์กรด้วยตนเอง ซึ่งช่วยให้เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้ เช่น กรณีของบิลเกตส์คือไมโครซอฟต์ที่ได้รับถึง 70 รางวัล จากการเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีทุนมนุษย์ที่ดี มีประเภทของโครงสร้างฝึกงานที่ดี และมีความสมบูรณ์แบบในเรื่องความสัมพันธ์
ขณะที่ธนาคารจำนวนมากที่ดำเนินการในเรื่องทุนทางปัญญา ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย สำหรับสถาบันฟรานโฮเฟอร์พัฒนาวิธีการดังกล่าว โดยด้านหนึ่งช่วยธนาคาร ส่วนอีกด้านหนึ่งช่วยบริษัทขนาดเล็กในการจัดการทุนทางปัญญา
ทุนทางปัญญาเป็นเรื่องที่จะทวีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะใน Knowledge Community หรือในประเทศที่บอกตัวเองว่าเป็นผู้สร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรม (Innovation Different) หรือเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge Society)