ยูบีเอ็ม เตรียมรับมือวิกฤตพลังงาน ชี้พลังงานทดแทนคือทางออก รองรับความต้องการพุ่ง หลังเปิด AEC
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากผลการศึกษา "แนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2013 หรือ 2556" โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับทบวงพลังงาน ระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าเดิม 3 เท่า ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้พลังงานในอนาคต
สำหรับประเทศไทยนั้นคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าก๊าซจากปัจจุบัน 25% เป็น 90% และนำเข้าน้ำมัน เพิ่มมากกว่า 90% จากปัจจุบันนำเข้ากว่า 60% ภายใน 15 ปี หรือปี 2573 ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานมากที่สุดในภูมิภาค เพราะเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีปริมาณความต้องการใช้พลังงาน เป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากอินโดนีเซีย ขณะที่อินโดนีเชีย มาเลเซีย กัมพูชา และเมียนมาร์ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ (LPG) ขนาดใหญ่ที่นอกจากจะเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศแล้ว ยังเหลือส่งออกมาให้ไทยและประเทศอื่นๆ ในขณะที่เวียดนามกำลังเดินหน้าลดการพึ่งพาพลังงานด้วยโครงการโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์
นายมนู กล่าวว่า เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งประเทศที่ต่างชาติจะจับตามองและให้ความสนใจมาลงทุน ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ความมั่งคงด้านพลังงาน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ด้านดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.) กล่าวว่า พพ. จะเสนอนโยบายในการส่งเสริมให้มีการลงทุนพลังงานทดแทนให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของไทย โดยอ้างอิงจากแผนที่ศักยภาพพลังงานของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ที่มีศักยภาพในด้านพลังงานจากแสงอาทิตย์และลมอย่างมาก และจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระดับชุมชน เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนด้านพลังงานให้แก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ หนึ่งในโครงการศึกษา วิจัย ต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน โดยมีเป้าหมายผลิตพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ไม่ต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ และโครงการ Solar Rooftop ซึ่งกำลังได้รับความสนใจทั้งจากภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม
นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากผลการศึกษา "แนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต ฉบับปี 2013 หรือ 2556" โดยกระทรวงพลังงานร่วมกับทบวงพลังงาน ระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าเดิม 3 เท่า ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้พลังงานในอนาคต
สำหรับประเทศไทยนั้นคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าก๊าซจากปัจจุบัน 25% เป็น 90% และนำเข้าน้ำมัน เพิ่มมากกว่า 90% จากปัจจุบันนำเข้ากว่า 60% ภายใน 15 ปี หรือปี 2573 ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงด้านพลังงานมากที่สุดในภูมิภาค เพราะเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีปริมาณความต้องการใช้พลังงาน เป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากอินโดนีเซีย ขณะที่อินโดนีเชีย มาเลเซีย กัมพูชา และเมียนมาร์ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ (LPG) ขนาดใหญ่ที่นอกจากจะเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศแล้ว ยังเหลือส่งออกมาให้ไทยและประเทศอื่นๆ ในขณะที่เวียดนามกำลังเดินหน้าลดการพึ่งพาพลังงานด้วยโครงการโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์
นายมนู กล่าวว่า เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งประเทศที่ต่างชาติจะจับตามองและให้ความสนใจมาลงทุน ปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ความมั่งคงด้านพลังงาน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ด้านดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.) กล่าวว่า พพ. จะเสนอนโยบายในการส่งเสริมให้มีการลงทุนพลังงานทดแทนให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของไทย โดยอ้างอิงจากแผนที่ศักยภาพพลังงานของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ที่มีศักยภาพในด้านพลังงานจากแสงอาทิตย์และลมอย่างมาก และจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระดับชุมชน เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนด้านพลังงานให้แก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ หนึ่งในโครงการศึกษา วิจัย ต้นแบบวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน โดยมีเป้าหมายผลิตพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ไม่ต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ และโครงการ Solar Rooftop ซึ่งกำลังได้รับความสนใจทั้งจากภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม