xs
xsm
sm
md
lg

ผลสำรวจ “ซีอีโอไอที-สื่อสาร” ชี้ชัดกังวัลปัญหาขาดแคลนคนเก่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผลสำรวจ “ซีอีโอไอที-สื่อสาร” ระบุปัญหาขาดแคลนบุคลากร กระทบธุรกิจเดี้ยง เล็งจ้างแรงงานเพิ่ม รับยุคเทคโนโลยีหมุนเร็ว เชื่อเศรษฐกิจโลกโตต่อ

PwC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) เผยผลสำรวจล่าสุด Fit for the future:17th Annual Global CEO Survey – Key findings in the technology industryโดยผลสำรวจ PwC ถูกจัดทำขึ้นระหว่าง เดือน กันยายน ถึง ธันวาคม 2556 โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูง หรือ ซีอีโอในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกในหลากหลายทวีป ประกอบด้วยแอฟริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย (39%), ยุโรป (33%), อเมริกา (27%) ครอบคลุม 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ซอฟแวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, อิเล็กทรอนิกส์และจัดจำหน่าย, คอมพิวเตอร์และเครือข่าย, อินเตอร์เน็ต, ชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์ การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และแบบตัวต่อตัว

ผลจากการสำรวจที่น่าสนใจ ได้แก่ ซีอีโอไอที-สื่อสาร-เทคโนโลยีทั่วโลกถึงร้อยละ 90 มั่นใจการเติบโตรายได้ทางธุรกิจ (Revenue growth) ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า หลังได้รับอานิสงส์จากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ-ยุโรปช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและดีมานต์ผู้บริโภค และมีซีอีโอถึงร้อยละ 91 ที่เชื่อมั่นว่ารายได้ทางธุรกิจของตนจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในอีก 3 ปีข้างหน้า

ผู้บริหารกลุ่มไอที-สื่อสาร-เทคโนโลยีถึงร้อยละ 93 มองว่าเศรษฐกิจโลก (Global economy) จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเปรียบเทียบกับปีก่อนเพียงร้อยละ 74 และมีซีอีโอเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะมีการปรับตัวลดลงเปรียบเทียบกับปีก่อนที่ร้อยละ 23 ประเทศที่ซีอีโอฯมองเป็นเป้าหมายหลักของการลงทุนด้านเทคโนโลยี-ไอที-สื่อสารนอกเหนือไปจากกลุ่มประเทศ BRIC 3 อันดับแรกในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ได้แก่ เศรษฐกิจในตลาดที่มีการเติบโตสูง (High growth markets) ได้แก่ แอฟริกาใต้, เม็กซิโก และอินโดนีเซีย ภูมิภาคที่ซีอีโอฯมองว่าจะเป็นแหล่งเป้าหมายหลักของการควบรวมฯ (Mergers & acquisitions) ด้านเทคโนโลยี-ไอที-สื่อสารมากที่สุด 5 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ อเมริกาเหนือ (ร้อยละ 31), ยุโรปตะวันตก (ร้อยละ 29), เอเชียใต้ (ร้อยละ 18), ละตินอเมริกา (ร้อยละ 12) และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ร้อยละ 10)

ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจ-การเมืองในประเทศ ประกอบกับการชะลอตัวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Emerging economies) จะส่งผลให้ธุรกิจไอที-เทคโนโลยี-สื่อสารในประเทศไทยประสบกับความซบเซาในระยะสั้น แต่การขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต รวมไปถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะยังทำให้อุตสาหกรรมเติบโตได้ในระยะยาว กระแสของการนำกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 ประเภท ได้แก่ Social, Mobility, Analytics และ Cloud Computing (SMAC) ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนองค์กรทั่วโลก ส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับตัวและเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคและการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ซีอีโอฯมากถึงร้อยละ 90 มองว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technological advances) จะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจมากที่สุดในอีก 5 ปีข้างหน้า การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ (Limited availability of key skills) เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของบรรดาผู้บริหารอุตสาหกรรมไอที-สื่อสาร-เทคโนโลยี

โดยมีซีอีโอฯถึงร้อยละ 68 ที่มองว่าการขาดแคลนลูกจ้างพนักงานที่มีฝีมือเป็นภัยคุกคามที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ (Business threats to growth) มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ปัญหาช่องว่างทักษะทางไอทีในประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า ส่งผลต่อความสามารถด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ หากไม่มีการลงทุนพัฒนาทักษะทางด้านไอทีอย่างจริงจัง จำนวนอุปกรณ์สื่อสารและเครือข่าย (Networked devices) ในโลกคาดจะเพิ่มเป็น 5 หมื่นล้านเครื่องในปี 2563 ในขณะที่ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 7.6 พันล้านคนในปีเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการแรงงานไอที นอกจากนี้ แนวโน้มการจ้างงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคาดจะปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ โดยผู้บริหารกว่าร้อยละ 62 มีแผนที่จะเพิ่ม Headcount
กำลังโหลดความคิดเห็น