กระทรวงทรัพย์ฯ จับมือสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ภาครัฐ เอกชน เปิดตัวตราสัญลักษณ์ Bio-Economy พร้อมนำทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect) หนุนเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เหตุใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น ชี้เร่งพัฒนาประเทศเป็นเรื่องจำเป็นแต่ระวังสะดุดขาตัวเอง ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันรักษาข้อได้เปรียบต้นทุนทางธรรมชาติและทางสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในกลุ่มผู้ผลิตสินค้า ชุมชน และผู้บริโภค
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวของชุมชนและเมือง รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศไทย เป็นปัจจัยให้เกิดการบริโภคทรัพยากรจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพลดลงจนน่าเป็นห่วง
โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและเรียนรู้จากธรรมชาติจนเกิดเป็นภูมิปัญญา หากเราละเลยภูมิปัญญาเหล่านี้ก็อาจจะสูญหายไปได้ แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการมาในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องให้เดินหน้าต่อไป ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ควบคุมการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งต้องสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยการเสริมสร้างระบบกลไกการจัดการ และความร่วมมือจากทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ผลิตสินค้า รวมถึงภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคและเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ
การดำเนินงานนั้นได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ เบโด้ (BEDO) เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกร่วมกันในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางด้านชีวภาพอย่างยั่งยืน ล่าสุด ได้เปิดตัวตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ไบโอ อีโคโนมี(Bio-Economy) โดยนำทฤษฏีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect) มาใช้สนับสนุนและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี เป็นเครื่องหมายส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้สังคมเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้บริโภค ชุมชน และผู้ประกอบการ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ใช้ ผลิต และบริโภคผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพที่พัฒนาจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าและพัฒนาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และนำผลตอบแทนที่ได้รับกลับไปฟื้นฟูสู่ชุมชน สังคม และช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น อาจกล่าวได้ว่าตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้เดินหน้าควบคู่ไปกับการอนุรักษ์โดยอาศัยฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย
ด้าน ผศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (BEDO) กล่าวว่า เบโด้ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2550 มีหน้าที่ในการบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสแก่ประชาชน โดยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมถึงการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานคือ สร้างขีดความสามารถของชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาธุรกิจ การจัดการองค์ความรู้ ศึกษาวิจัยและพัฒนา และการสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนากลไกเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแผน
ผู้อำนวยการ กล่าวว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตสินค้าและชุมชนหันมาให้ความสนใจในการดำเนินธุรกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร เบโด้ จึงจัดทำตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี (Bio-Economy) หรือ ตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ขึ้น
โดยมอบให้แก่ผู้ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ 1. การใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนเป็นวัตถุดิบ 2. กระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. มีการนำรายได้ไปอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี นั้นคือ โอกาสทางการตลาดในการประชาสัมพันธ์สินค้า การนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายที่ร้านฟ้าใสแกลอรี่ และได้สิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ที่ เบโด้ จัดขึ้น รวมถึงได้มีการพูดคุยกับพันธมิตรซึ่งจะมีการร่วมมือกันเพื่อผลักดันและสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ให้มีโอกาสในประสบความสำเร็จมากขึ้น อาทิ สถาบันการเงิน ผู้จัดจำหน่ายสินค้า องค์กรภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีชุมชนและผู้ประกอบการได้รับตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี แล้ว กว่า 10 ผลิตภัณฑ์ และ กำลังอยู่ในการพิจารณาอีกกว่า 100 ผลิตภัณฑ์
นอกจากนั้น เบโด้ ยังได้มีการนำทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect) มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผลักดันให้ตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี และสินค้าที่ได้รับตราผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการฟูมฟักหนอนผีเสื้อ ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำแนะนำในการผลิตภัณฑ์และบริการจากทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น การพัฒนาของดักแด้คือการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิญพาณิชย์ สร้างช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดต่อยอดทางธุรกิจ และผีเสื้อขยับปีก คือการผลักดันให้สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบและดำเนินธุรกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนและได้รับตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี เป็นที่รู้จัก มีสถานที่จัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนและกิจกรรมการตลาดและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของ เบโด้ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในอนาคตยังมีโครงการผลักดันให้สินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี เป็นที่รู้จักและมีโอกาสในการจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับตราผลิตภัณฑ์ ไบโอ อีโคโนมี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในกลุ่มผู้ผลิตสินค้า ชุมชน และผู้บริโภค
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวของชุมชนและเมือง รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศไทย เป็นปัจจัยให้เกิดการบริโภคทรัพยากรจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพลดลงจนน่าเป็นห่วง
โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและเรียนรู้จากธรรมชาติจนเกิดเป็นภูมิปัญญา หากเราละเลยภูมิปัญญาเหล่านี้ก็อาจจะสูญหายไปได้ แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการมาในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องให้เดินหน้าต่อไป ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ควบคุมการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งต้องสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยการเสริมสร้างระบบกลไกการจัดการ และความร่วมมือจากทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ผลิตสินค้า รวมถึงภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคและเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ
การดำเนินงานนั้นได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ เบโด้ (BEDO) เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกร่วมกันในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางด้านชีวภาพอย่างยั่งยืน ล่าสุด ได้เปิดตัวตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ไบโอ อีโคโนมี(Bio-Economy) โดยนำทฤษฏีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect) มาใช้สนับสนุนและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี เป็นเครื่องหมายส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้สังคมเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้บริโภค ชุมชน และผู้ประกอบการ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ใช้ ผลิต และบริโภคผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพที่พัฒนาจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าและพัฒนาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และนำผลตอบแทนที่ได้รับกลับไปฟื้นฟูสู่ชุมชน สังคม และช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น อาจกล่าวได้ว่าตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี จะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้เดินหน้าควบคู่ไปกับการอนุรักษ์โดยอาศัยฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแท้จริงอีกด้วย
ด้าน ผศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (BEDO) กล่าวว่า เบโด้ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2550 มีหน้าที่ในการบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสแก่ประชาชน โดยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมถึงการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานคือ สร้างขีดความสามารถของชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาธุรกิจ การจัดการองค์ความรู้ ศึกษาวิจัยและพัฒนา และการสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนากลไกเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแผน
ผู้อำนวยการ กล่าวว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตสินค้าและชุมชนหันมาให้ความสนใจในการดำเนินธุรกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร เบโด้ จึงจัดทำตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี (Bio-Economy) หรือ ตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ขึ้น
โดยมอบให้แก่ผู้ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ 1. การใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนเป็นวัตถุดิบ 2. กระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. มีการนำรายได้ไปอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี นั้นคือ โอกาสทางการตลาดในการประชาสัมพันธ์สินค้า การนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายที่ร้านฟ้าใสแกลอรี่ และได้สิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ที่ เบโด้ จัดขึ้น รวมถึงได้มีการพูดคุยกับพันธมิตรซึ่งจะมีการร่วมมือกันเพื่อผลักดันและสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ให้มีโอกาสในประสบความสำเร็จมากขึ้น อาทิ สถาบันการเงิน ผู้จัดจำหน่ายสินค้า องค์กรภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีชุมชนและผู้ประกอบการได้รับตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี แล้ว กว่า 10 ผลิตภัณฑ์ และ กำลังอยู่ในการพิจารณาอีกกว่า 100 ผลิตภัณฑ์
นอกจากนั้น เบโด้ ยังได้มีการนำทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect) มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผลักดันให้ตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี และสินค้าที่ได้รับตราผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการฟูมฟักหนอนผีเสื้อ ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำแนะนำในการผลิตภัณฑ์และบริการจากทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น การพัฒนาของดักแด้คือการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิญพาณิชย์ สร้างช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดต่อยอดทางธุรกิจ และผีเสื้อขยับปีก คือการผลักดันให้สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบและดำเนินธุรกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนและได้รับตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี เป็นที่รู้จัก มีสถานที่จัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนและกิจกรรมการตลาดและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของ เบโด้ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในอนาคตยังมีโครงการผลักดันให้สินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ ไบโอ อีโคโนมี เป็นที่รู้จักและมีโอกาสในการจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับตราผลิตภัณฑ์ ไบโอ อีโคโนมี