กระบี่ - ชาวตำบลเขาคราม จ.กระบี่ ผวา! พบตัวหนอนสีเหลืองนับแสนตัวโผล่ต้นมะขาม กินใบหมดเหลือแต่ต้นยืนโด่ หวั่นระบาดลุกลามไปยังพืชเกษตร วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ และกำจัด ด้านเกษตรจังหวัดกระบี่ระบุน่าจะเป็นหนอนใยทองมีอันตรายในระยะสั้นๆ เตรียมลงพื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีกำจัด ป้องกันลุกลาม

วันนี้ (22 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ม.6 บ้านเขาค้อม ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ ว่า พบหนอนจำนวนมากมาอาศัยอยู่บนต้นมะขาม คอยกัดกินใบมะขามจนหมดต้น เหลือแต่กาน และเมื่อตัวหนอนสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแสบคัน จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบต้นมะขาม อายุประมาณ 10 ปี สูงประมาณ 5 เมตร ขึ้นอยู่ริมถนนกลางหมู่บ้าน มีชาวบ้านที่สัญจรไปมาแวะยืนมุงดูอยู่ด้วยความสงสัย

จาการตรวจสอบบริเวณบนต้นมะขาม พบหนอนลำตัวสีเหลือง ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 นิ้ว มีขนสีเหลืองฟูสวยงาม เกาะอยู่ตามกิ่งก้าน และใบนับแสนตัว และยังพบว่าหนอนมีการสร้างรังคล้ายกับรังไหมหม่อน ขนาดเท่าหัวแม่มือสีเหลืองอ่อนสวยงาม โดยชาวบ้านที่มายืนดูต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นหนอนจำนวนมากมายขนาดนี้มาก่อน เกรงว่าจะเกิดอันตราย เพราะตัวที่ร่วงหล่นลงมาจากต้นมะขามไก่จะไม่จิกกินเป็นอาหาร จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ

นายมีชัย เด่นมาลัย อายุ 44 ปี ชาวบ้าน ม.6 ต.เขาคราม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว กล่าวว่า สังเกตเห็นตัวหนอนมาอาศัยอยู่บนต้นมะขามได้ประมาณ 3 วันที่ผ่านมา จึงตรวจสอบดูก็พบหนอนดังกล่าวมีจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะไปอาศัยอยู่ส่วนที่เป็นกิ่งก้านใบ และคอยกัดกินใบมะขามจนหมด หลังจากนั้นก็จะทำรังฟักตัวอ่อน มีสีเหลือง ขนาดเท่ากับตัวหนอน และพบว่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระบาดไปยังต้นมะม่วงที่อยู่ใกล้กัน และเริ่มกัดกินใบ และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านอีกหลายรายที่ไปสัมผัสมีอาการคันตามผิวหนัง แต่ไม่ทราบว่าเป็นหนอนชนิดใด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพราะเกรงว่าจะลุกลามไปยังพืชผลทางการเกษตร

ด้านนายวีระศักดิ์ เกิดแสง เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากลักษณะตัวหนอนตามที่รับแจ้งจากชาวบ้าน คาดว่าน่าจะเป็นหนอนใยทอง เป็นผีเสื้อกลางคืน เป็นอันตรายช่วงสั้นๆ คือ ระยะตัวหนอน จากนั้นจะชักใย เข้าดักแด้ และกลายเป็นผีเสื้อกลางคืนสีขาวจะไม่เป็นอันตราย ในระยะนี้ แต่จำเป็นต้องป้องกันกำจัดเพื่อป้องกันการระบาดลุกลามไปกัดกินพืชทางการเกษตร และผลไม้ของชาวบ้าน

วันนี้ (22 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ม.6 บ้านเขาค้อม ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ ว่า พบหนอนจำนวนมากมาอาศัยอยู่บนต้นมะขาม คอยกัดกินใบมะขามจนหมดต้น เหลือแต่กาน และเมื่อตัวหนอนสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแสบคัน จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบต้นมะขาม อายุประมาณ 10 ปี สูงประมาณ 5 เมตร ขึ้นอยู่ริมถนนกลางหมู่บ้าน มีชาวบ้านที่สัญจรไปมาแวะยืนมุงดูอยู่ด้วยความสงสัย
จาการตรวจสอบบริเวณบนต้นมะขาม พบหนอนลำตัวสีเหลือง ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 นิ้ว มีขนสีเหลืองฟูสวยงาม เกาะอยู่ตามกิ่งก้าน และใบนับแสนตัว และยังพบว่าหนอนมีการสร้างรังคล้ายกับรังไหมหม่อน ขนาดเท่าหัวแม่มือสีเหลืองอ่อนสวยงาม โดยชาวบ้านที่มายืนดูต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นหนอนจำนวนมากมายขนาดนี้มาก่อน เกรงว่าจะเกิดอันตราย เพราะตัวที่ร่วงหล่นลงมาจากต้นมะขามไก่จะไม่จิกกินเป็นอาหาร จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ
นายมีชัย เด่นมาลัย อายุ 44 ปี ชาวบ้าน ม.6 ต.เขาคราม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว กล่าวว่า สังเกตเห็นตัวหนอนมาอาศัยอยู่บนต้นมะขามได้ประมาณ 3 วันที่ผ่านมา จึงตรวจสอบดูก็พบหนอนดังกล่าวมีจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะไปอาศัยอยู่ส่วนที่เป็นกิ่งก้านใบ และคอยกัดกินใบมะขามจนหมด หลังจากนั้นก็จะทำรังฟักตัวอ่อน มีสีเหลือง ขนาดเท่ากับตัวหนอน และพบว่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระบาดไปยังต้นมะม่วงที่อยู่ใกล้กัน และเริ่มกัดกินใบ และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านอีกหลายรายที่ไปสัมผัสมีอาการคันตามผิวหนัง แต่ไม่ทราบว่าเป็นหนอนชนิดใด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพราะเกรงว่าจะลุกลามไปยังพืชผลทางการเกษตร
ด้านนายวีระศักดิ์ เกิดแสง เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากลักษณะตัวหนอนตามที่รับแจ้งจากชาวบ้าน คาดว่าน่าจะเป็นหนอนใยทอง เป็นผีเสื้อกลางคืน เป็นอันตรายช่วงสั้นๆ คือ ระยะตัวหนอน จากนั้นจะชักใย เข้าดักแด้ และกลายเป็นผีเสื้อกลางคืนสีขาวจะไม่เป็นอันตราย ในระยะนี้ แต่จำเป็นต้องป้องกันกำจัดเพื่อป้องกันการระบาดลุกลามไปกัดกินพืชทางการเกษตร และผลไม้ของชาวบ้าน