เผยทฤษฎี Brain-Based Leadership กุญแจดอกใหมไขประตูสูความสำเร็จของการพัฒนาคนสำหรับผูบริหาร เชื่อจะพัฒนาคนใหสำเร็จตองเขาใจธรรมชาติทางความคิดของคน “ออคิด สลิงชอท” มุ่งเป้าประยุกต์ใช้อย่างได้ผลจริง
ดร. ธัญ ธำรงนาวาสวัสดิ์ Consulting Partner บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด กล่าวว่า Brain-Based Leadership หรือทฤษฎีผู้นำกับสมอง คือการนำความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษยมาประยุกตเขากับการพัฒนาภาวะผูนำ ซึ่งคนที่มีภาวะผูนำคือคนที่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ขณะเดียวกันก็สามารถโนมนาวพฤติกรรมของผูตามได พฤติกรรมเกิดจากความเชื่อ ความเชื่อเกิดจากความ คิด และความคิดเกิดขึ้นจากสมอง
“หากเราเขาใจสมองก็เทากับวาเราเขาถึงที่มาของพฤติกรรม และสามารถโนมนาวพฤติกรรมผูอื่นไดที่ตนตอ จากการศึกษาเรื่อง Brain-Based Leadership กวา 10 ปี พบวาธรรมชาติของสมองแตละคนมีบางเรื่องที่ทำไดและมีความถนัดที่จะทำ แต่ก็มีบางเรื่องที่สมองไมถนัดและไมชอบทำ จึงมองวาหากผูนำสามารถเขาใจไดวาสมองมีกระบวนการทำงานอยางไร จะยิ่งเขาใจวิธีที่มนุษยคิดและแสดงออกได้ดีขึ้น”
อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการบริหาร บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด เปดเผยวา เนื่องจาก Brain-Based Leadership เกี่ยวข้องในหลายๆ เรื่อง เชน Leading Change, Motivation, Strengths-Based Development, Communication, Problem Solving, Emotional Capabilities ซึ่งลวนแลวแตเปนทักษะที่สำคัญยิ่งตอการเปนผูนำที่ดี จึงไดนำ Brain-Based Leadership มาประยุกตใชในหลายๆ หลักสูตรที่จัดใหกับผูบริหารและผูนำในองคกรตางๆ
ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร Our Iceberg is Melting®: Changing and Succeeding Under any Conditions ซึ่งเปนเรื่องของการเรียนรูภาวะผูนำเพื่อใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในองคกร หลักสูตร Accelerate Your Growth ซึ่งเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตผูนำเพื่อกาวสูความสำเร็จ ทั้งสวนบุคคลและองคกร หรือหลักสูตร Innovative Problem Solving & Decision Making การแกไขปญหา โดยเฉพาะปญหาที่เกิดจากการทำงานกับคน ซึ่งล้วนมีมุมที่เกี่ยวพันกับการทำงานของสมอง และที่สำคัญคือสามารถนำไปใช้ไดจริงกับการพัฒนาคนในองคกร แมกระทั่งตัวของผูบริหารเอง
Brain-Based Leadership เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอยางยิ่งผูนำในองคกรตางๆ จะไดประโยชนจากการเขาใจสมองตัวเองเพื่อพัฒนาตนเองใหดียิ่งขึ้น และเขาใจสมองคนอื่นเพื่อสามารถโนมนาวพวกเขาไดดีขึ้น เช่น ธรรมชาติของคนเป็นธรรมชาติแห่งอารมณ์ หน้าที่ของผู้นำที่ดีคือพยายามให้พลังของอารมณ์เป็นไปในทางบวก ทางที่ถูก ทำให้องค์กรใช้พลังในทางที่ดีขึ้น
ยกตัวอย่าง ในสถานการณ์ที่ทีมงานกำลังอารมณ์ไม่ดี วิธีการคือเริ่มด้วยการถามว่า “บอกหน่อยว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไร?” แต่ให้เพียงคนละ 1 คำ ไม่ให้พร่ำพรรณณา ก็มีคำตอบว่า หงุดหงิด เซ็ง ท้อ โกรธ คำถามต่อไปคือ“อยากรู้สึกอย่างไร?” มีคำตอบว่า สนุก แฮปปี้ สู้ คำถามต่อไปคือ“ทำอย่างไรจึงรู้สึกแบบที่อยากรู้สึก?” สิ่งที่ทำจริงๆ คือ“ให้เวลา” เพื่อเปลี่ยนจากการปล่อยให้ใช้อารมณ์อย่างเต็มที่มาเป็นใช้ความคิดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
“จะเห็นว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมในองค์กรส่วนมากไม่ได้ผลสำเร็จที่แท้จริง เพราะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงชั่วคราว ไม่ยั่งยืน ไม่ได้เปลี่ยนความคิด แต่จะให้ได้ผลจึงต้องหล่อหลอมความเชื่อ เพราะเมื่อเชื่อจะรู้สึก และจะมีพฤติกรรมตามความรู้สึกนั้น เช่น ถ้าเชื่อว่าคนนี้ดีมากๆ ก็จะรู้สึกรัก หรือเชื่อว่าเลวมากๆ จะรู้สึกเกลียด”