xs
xsm
sm
md
lg

ป.ป.ช.อยุธยาดึงเครือข่าย 9 อำเภอ เดินหน้าปักหมุดพื้นที่เสี่ยงทุจริต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พระนครศรีรอยุยา - ป.ป.ช.อยุธยาดึงเครือข่าย 9 อำเภอ เดินหน้าปักหมุดพื้นที่เสี่ยงทุจริต พร้อมขยายให้ครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอ มุ่งเน้น “ป้องนำปราบ” คือ การป้องกันการทุจริต ป้องกันความเสียหาย สร้างจิตสำนึกค่านิยมซื่อสัตย์สุจริต และไม่ทนต่อการทุจริต

วันนี้ (30 ก.ค.) ที่โรงแรมคลาสสิค คามิโอ อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานเปิดโครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (โครงการต่อเนื่องขยายผล) กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 โดยมุ่งเน้น “ป้องนำปราบ” คือ การป้องกันการทุจริต ป้องกันความเสียหาย สร้างจิตสำนึกค่านิยมซื่อสัตย์สุจริต และไม่ทนต่อการทุจริต

นายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หัวข้อ “บทบาทของเครือข่ายภาคประชาชน กับการป้องกันการบุกรุกที่สาธารณะ” ล่าสุดมีเครือข่าย 100 คน จาก 9 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก อำเภออุทัย อำเภอภาชี อำเภอวังน้อย อำเภอบางไทร และ อำเภอลาดบัวหลวง โค้ช และสมาชิกชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต โดยจะร่วมกันกำหนดหมุดแผนที่ความเสี่ยงต่อการทุจริต พร้อมลงพื้นที่ตามหมุด เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลทั้ง 76 จังหวัด โดยมีการจัดเรียงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำไปเป็นข้อปฏิบัติในการปราบปรามการทุจริต พร้อมระบุว่า ก่อนหน้านี้องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้ประกาศผลดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2566 พบว่าประเทศไทยได้ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก จาก 180 ประเทศ แสดงให้เห็นถึงการทุจริตเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมมือป้องกัน ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้เครือข่ายทั้ง 100 คนจะเป็นพลังป้องกันการทุจริต ไม่สนับสนุนการทุจริตทุกรูปแบบ และขยายผลไปสู่การสร้างฐานข้อมูลใช้ต่อต้านการทุจริตในระดับจังหวัด

นาฝ ส.ภัคศรัณย์ โอสถสงเคราะห์ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่อง เริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นโครงการเก็บรวบรวมข้อมูลและแสวงหาแนวทางการต่อต้านการทุจริตจากข้อมูลจริงในพื้นที่ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ใช้หลักการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) และการคาดการณ์อนาคต (Scenario Analysis) โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลคือ เครือข่ายชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตในทุกจังหวัด ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ช. กับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยง คาดการณ์อนาคตร่วมกัน ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันคือการแก้ไขปัญหาให้มีความเสี่ยงลดลง






กำลังโหลดความคิดเห็น