xs
xsm
sm
md
lg

ตำรวจภูธรตากตั้ง กก.สอบ 3 ตร.แม่สอด-แม่ระมาด ถูกร้องเรียนพันแรงงานทันที หลัง ผบช.ภ.6 สั่งย้าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พิษณุโลก/ตาก - ผบช.6 สั่งย้ายตำรวจทั้งสัญญาบัตร-ประทวน โรงพักชายแดนตาก 3 นาย ตามข้อร้องเรียนสงสัยพันแรงงาน พร้อมตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ไม่ผิดกลับที่เดิมได้


ความคืบหน้ากรณี พล.ต.ท.อภิชาติ ศิริสิทธิ์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 ลงนามในคำสั่งตำรวจภูธรภาค 6 ที่ 41/2564 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติราชการ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 เนื้อหาระบุว่า เพื่อให้การปฏิบัติราชการของตำรวจภูธรภาค 6 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงให้ข้าราชการตำรวจจำนวน 3 ราย ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 6 โดยขาดจากตำแหน่งเดิมและให้ผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 6 เป็นผู้กำกับดูแลตามคำสั่งกรมตำรวจ ที่ 1212/2537 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2537 เรื่อง มาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและวินัยราชการตำรวจ คือ

ร้อยตำรวจเอก จิติพงษ์ เม้าทุ่ง รองสารวัตรป้องกันปราบปราบ สถานีตำรวจภูธรแม่เมย จังหวัดตาก, ร้อยตำรวจโท สิงโต เพชรรัตน์ รองสารวัตร (สายงานปฏิบัติการป้องกันปราบปราม) สถานีตำรวจภูธรแม่สอด และดาบตำรวจ นพวรัชญ์ ศรีสิริพงษ์ ผู้บังคับหมู่ (ทำหน้าที่สืบสวน) สถานีตำรวจภูธรแม่ระมาด จังหวัดตาก

แหล่งข่าวตำรวจภูธรภาค 6 เปิดเผยว่า เหตุผลที่ย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 นายมาช่วยราชการที่ภาค 6 นั้น เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีรายงานเกี่ยวกับการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานตามแนวชายแดนไทย-พม่า โดยทาง ผบช.ภาค 6 ให้ย้ายขาดมาประจำศูนย์ปฏิบัติการ ศปก.ภาค 6 และให้มารายงานตัวต่อ ผบก.อก.ภาค 6 เมื่อเย็นวันที่ 22 ม.ค. หากไม่มีความผิดก็สามารถกลับที่เดิมได้

ทั้งนี้ ทางตำรวจภูธรจังหวัดตากจะตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแต่ไม่กำหนดเวลา กรณีการเคลื่อนย้ายแรงงานตามชายแดนไทย-พม่าด้านจังหวัดตาก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาพบหลายหน่วยรายงานระบุมีตำรวจพัวพันด้วย จึงต้องพิสูจน์ให้เห็นและเป็นไปตามข้อเท็จจริง

ส่วนกรณีรอง ผบ.สตช.ดินทางมาประชุมที่แม่สอด จ.ตาก (ภายใน ฉก.พล.ร.4) นั้นเป็นเรื่องมาตรการคุมเข้มด้านชายแดนต่างๆ ไม่น่าเกี่ยวกันกับการย้ายตำรวจทั้ง 3 นาย เพราะมีเรื่องร้องเรียนอยู่ก่อนแล้ว


กำลังโหลดความคิดเห็น