ศูนย์ข่าวศรีราชา - เริ่มลงมือก่อสร้างแล้ว ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มั่นใจหากแล้วเสร็จสามารถยกระดับประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ขานรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
เรือเอกกานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เผยถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้น ขณะนี้ ถือว่าเริ่มดำเนินการแล้ว โดยมีการแบ่งงานออกเป็นหลายส่วน ซึ่งส่วนแรกคือ การขุดลอกและนำดินดังกล่าวมาถมเพื่อก่อสร้างเป็นตัวท่าเรือ โดยมีการลงนามและได้ผู้รับเหมาเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของท่าเทียบเรือ F1 คาดแล้วเสร็จปี 2567 ซึ่งจะรองรับได้ 4 ล้านทีอียู สอดรับกับกำลังการรองรับของท่าเรือแหลมฉบังเต็ม 11 ล้านทีอียูในปี 2567
สำหรับส่วนที่ 2 คือ โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน และตัวแผ่นดินที่จะเป็นรูปแบบของตัวท่าเรือ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขต เพื่อดำเนินการด้านพัสดุ คาดว่าต้นปี 2564 จะสามารถหาผู้รับจ้างต่อไป ส่วนอื่นๆ ก็จะดำเนินการตามกรอบของเวลาที่กำหนดไว้
โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้นมีความสำคัญในระดับประเทศ และเป็นหนึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดังนั้น ทางกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลได้ให้ความสนใจและเข้ามาติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการเพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมตลอดเวลา แต่อีกส่วนหนึ่งที่คาบเกี่ยวการดำเนินในการก่อสร้าง คือ ด้านสิ่งแวดล้อม เพราะโครงการแหลมฉบังเฟส 3 มีผลกระทบกับชุมชนโดยรอบที่ทำการประมง และเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยที่ผ่านมา ท่าเรือแหลมฉบังได้เข้าไปเยียวยากลุ่มดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และคาดว่าในปีหน้าจะบรรลุข้อตกลงร่วมในการเยียวยาส่วนต่างๆ กับชาวบ้านและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาการก่อสร้าง ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเข้าไปกำกับดูแล เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของฝั่งทะเล ที่อาจจะส่งผลต่อมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ท่าเรือจึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการกำกับดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย นอกจากนั้น ยังได้จัดตั้งกองทุนที่จะชดเชยเยียวยากรณีที่มีผลกระทบเกิดขึ้น เพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นยุติโดยเร็ว
เรือเอกกานต์ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้น ถูกกำหนดไว้ในข้อกำหนดในแผน EHIA แล้ว เช่น ฝุ่นบนท้องถนน ซึ่งได้กำหนดเส้นทางในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ไว้แล้ว เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่โดยรอบท่าเรือให้น้อยที่สุด ส่วนการขุดลอกร่องน้ำจากความลึก 16 เมตร เป็น 18.5 เมตรนั้น สิ่งที่อยู่ใต้ทะเลนั้นยังไม่ทราบว่ามีสารเคมีอะไรสะสมอยู่บ้าง ดังนั้นบริษัทที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ และหากมีปัญหาก็ต้องหามาตรการในการป้องกันให้ทันท่วงที คาดว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย
“ท่าเรือแหลมฉบัง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าเรืออันดับ 1 ของประเทศที่มีทั้งประสิทธิภาพคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตั้งใจอย่างแน่วแน่ ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า ท่าเรือแหลมฉบังจะนำความเจริญและเศรษฐกิจที่ดีสู่ประเทศชาติในอนาคตอย่างแน่นอน” เรือเอกกาญจน์ กล่าว
เรือเอกกานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เผยถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้น ขณะนี้ ถือว่าเริ่มดำเนินการแล้ว โดยมีการแบ่งงานออกเป็นหลายส่วน ซึ่งส่วนแรกคือ การขุดลอกและนำดินดังกล่าวมาถมเพื่อก่อสร้างเป็นตัวท่าเรือ โดยมีการลงนามและได้ผู้รับเหมาเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของท่าเทียบเรือ F1 คาดแล้วเสร็จปี 2567 ซึ่งจะรองรับได้ 4 ล้านทีอียู สอดรับกับกำลังการรองรับของท่าเรือแหลมฉบังเต็ม 11 ล้านทีอียูในปี 2567
สำหรับส่วนที่ 2 คือ โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน และตัวแผ่นดินที่จะเป็นรูปแบบของตัวท่าเรือ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขต เพื่อดำเนินการด้านพัสดุ คาดว่าต้นปี 2564 จะสามารถหาผู้รับจ้างต่อไป ส่วนอื่นๆ ก็จะดำเนินการตามกรอบของเวลาที่กำหนดไว้
โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้นมีความสำคัญในระดับประเทศ และเป็นหนึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดังนั้น ทางกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลได้ให้ความสนใจและเข้ามาติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการเพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมตลอดเวลา แต่อีกส่วนหนึ่งที่คาบเกี่ยวการดำเนินในการก่อสร้าง คือ ด้านสิ่งแวดล้อม เพราะโครงการแหลมฉบังเฟส 3 มีผลกระทบกับชุมชนโดยรอบที่ทำการประมง และเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยที่ผ่านมา ท่าเรือแหลมฉบังได้เข้าไปเยียวยากลุ่มดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และคาดว่าในปีหน้าจะบรรลุข้อตกลงร่วมในการเยียวยาส่วนต่างๆ กับชาวบ้านและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาการก่อสร้าง ท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเข้าไปกำกับดูแล เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของฝั่งทะเล ที่อาจจะส่งผลต่อมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ท่าเรือจึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการกำกับดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย นอกจากนั้น ยังได้จัดตั้งกองทุนที่จะชดเชยเยียวยากรณีที่มีผลกระทบเกิดขึ้น เพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นยุติโดยเร็ว
เรือเอกกานต์ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 นั้น ถูกกำหนดไว้ในข้อกำหนดในแผน EHIA แล้ว เช่น ฝุ่นบนท้องถนน ซึ่งได้กำหนดเส้นทางในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ไว้แล้ว เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่โดยรอบท่าเรือให้น้อยที่สุด ส่วนการขุดลอกร่องน้ำจากความลึก 16 เมตร เป็น 18.5 เมตรนั้น สิ่งที่อยู่ใต้ทะเลนั้นยังไม่ทราบว่ามีสารเคมีอะไรสะสมอยู่บ้าง ดังนั้นบริษัทที่ปรึกษาจะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ และหากมีปัญหาก็ต้องหามาตรการในการป้องกันให้ทันท่วงที คาดว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย
“ท่าเรือแหลมฉบัง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าเรืออันดับ 1 ของประเทศที่มีทั้งประสิทธิภาพคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตั้งใจอย่างแน่วแน่ ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า ท่าเรือแหลมฉบังจะนำความเจริญและเศรษฐกิจที่ดีสู่ประเทศชาติในอนาคตอย่างแน่นอน” เรือเอกกาญจน์ กล่าว