พิษณุโลก - รองผู้ว่าฯ รับข้อเสนอรื้อ-ย้ายสิ่งก่อสร้างแปลกปลอม บดบัง “ศาลสมเด็จพระนเรศวร เขตพระราชวังจันทน์” หลังกระแสโซเซียลฯ รุกหนัก ขณะที่กลุ่มคนพิษณุโลกอนุรักษ์ศาลพระองค์ดำ เดินหน้ายื่นหนังสือต่อพรุ่งนี้
พิษณุโลก - รองผู้ว่าฯ รับข้อเสนอรื้อ-ย้ายสิ่งก่อสร้างแปลกปลอม บดบัง “ศาลสมเด็จพระนเรศวร เขตพระราชวังจันทน์” หลังกระแสโซเซียลฯ รุกหนัก ขณะที่กลุ่มคนพิษณุโลกอนุรักษ์ศาลพระองค์ดำ เดินหน้ายื่นหนังสือต่อพรุ่งนี้
วันนี้ (25 พ.ค.) นายไพบูลย์ ณบุตรจอม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก, พ.อ.วิชิต วงศ์สังข์ รองผู้บัญชาการ มทบ.39, น.ส.ดวงกมล ยุทธเสรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 และหน่วยงานราชและภาคประชาชน เช่น อ.ขวัญทอง สอนสิริ ฯลฯ ร่วมประชุมชี้แจงการอนุรักษ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช “หลังเดิม” ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
หลังกระแสคัดค้านในสังคมโซเซียลมีเดียขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างพลับพลา หรือตำหนักหลังใหม่ บดบังศาลพระองค์ดำหลังเดิม และทับเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งอยู่ในแนวเขตพระราชวังจันทน์
วันนี้ (25 พ.ค.) นายไพบูลย์ ณบุตรจอม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก, พ.อ.วิชิต วงศ์สังข์ รองผู้บัญชาการ มทบ.39, น.ส.ดวงกมล ยุทธเสรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 และหน่วยงานราชและภาคประชาชน เช่น อ.ขวัญทอง สอนสิริ ฯลฯ ร่วมประชุมชี้แจงการอนุรักษ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช “หลังเดิม” ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
หลังกระแสคัดค้านในสังคมโซเซียลมีเดียขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างพลับพลา หรือตำหนักหลังใหม่ บดบังศาลพระองค์ดำหลังเดิม และทับเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งอยู่ในแนวเขตพระราชวังจันทน์
อ.ขวัญทอง สอนศิริ ได้เริ่มชี้แจงว่า สิ่งก่อสร้างใหม่ ทำให้บังเกิดสิ่งแปลกปลอมแก่ “พระบรมราชานุสาวรีย์ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” (สถานที่พระบรมราชสมภพ พ.ศ. 2098) ซึ่งมีรัฐพิธี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศาลฯ และสังเวยพระบรมราชานุสาวรีย์ 25 ม.ค. 2505
อ.ขวัญทอง สอนศิริ ได้เริ่มชี้แจงว่า สิ่งก่อสร้างใหม่ ทำให้บังเกิดสิ่งแปลกปลอมแก่ “พระบรมราชานุสาวรีย์ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” (สถานที่พระบรมราชสมภพ พ.ศ. 2098) ซึ่งมีรัฐพิธี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศาลฯ และสังเวยพระบรมราชานุสาวรีย์ 25 ม.ค. 2505
“ศาลสมเด็จฯ อยู่เมืองพิษณุโลก มากว่า 55 ปี รัฐบาลเป็นผู้สร้าง คือ พระบรมราชานุสาวรีย์ ต่อมาประกาศเป็นโบราณสถาน พระราชวังจันทน์ พ.ศ. 2536 แต่สิ่งปลูกสร้างใหม่ ใช้คำว่า พระตำหนัก และออกแบบพระปรางค์บริเวณเครื่องบน น่าจะถอดแบบมาจากวัดใหญ่ แต่ไม่ใช่ศิลปะของอยุธยา ต้องการให้รื้อ หรือย้ายเท่านั้น”
เมื่อถามว่าทำไมไม่คัดค้านตั้งแต่แรก อ.ขวัญทอง สอนศิริ บอกเพียงว่าช่วงนั้นเป็นช่วงปฏิวัติยึดอำนาจใหม่ๆ ถูกกันออกไม่ให้พูด และกระแสโลกโซเซียลฯ ไม่แรงเหมือนปัจจุบัน
ด้านนายไพบูลย์ ณบุตรจอม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า จะรวบรวมข้อเสนอแนะให้รื้อสิ่งปลูกสร้างใหม่ภายในเขตพระราชวังจันทน์ นำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และให้ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 นำเสนออธิบดีกรมศิลปกรต่อไปว่า ชาวพิษณุโลกเห็นควรรื้อและย้ายสิ่งก่อสร้างใหม่
โดยในการก่อสร้างดังกล่าวนั้นใช้งบประมาณ 43 ล้านบาท แบ่งเป็นงบที่ได้จากการบริจาคหรือบูชาพระ 23 ล้านบาท ที่ทางทหารได้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเสร็จแล้ว ขณะที่งบประมาณอีก 20 ล้าน เป็นงบประมาณกลุ่มจังหวัด ยังไม่ได้เบิกจ่ายตามงวด โดยมีสำนักศิลปากรที่ 6 เป็นผู้ควบคุมดูแล บริษัทเอกชนที่ได้ประมูลงานและทำสัญญาไปแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างแก้ไขปรับปรุงแบบก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม วันพรุ่งนี้ (26 พ.ค.) กลุ่มคนพิษณุโลกอนุรักษ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังคงนัดรวมพลสักการะศาลสมเด็จฯ ก่อนจะเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อทหาร และตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ต่อไป