xs
xsm
sm
md
lg

ม.เกษตร ศรีราชา ร่วมมือกับไทยออยล์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - คณะวิทยาการจัดการ ม.เกษตร ศรีราชา ร่วมมือกับเครือไทยออยล์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อติดตาม และเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของผู้นำ และประชาชนในพื้นที่โดยรอบแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและเคมี บริเวณชุมชนแหลมฉบัง

วันนี้ (18 มิ.ย.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารุณี ตันติวงศ์วาณิช รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นประธานเปิดการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของผู้นำ และประชาชนในพื้นที่โดยรอบแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและเคมี บริเวณชุมชนแหลมฉบัง โดยมี นายเลอเลิศ อมรสังข์ ผู้จัดการประชาสัมพันธ์โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ พร้อมด้วย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมบรรยายให้ความรู้ และเสวนาในหัวข้อ “บทบาทชุมชนกับ EIA” และ “ชุมชนกับการติดตามตรวจสอบสิ่งแวดล้อม” ร่วมงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารุณี ตันติวงศ์วาณิช กล่าวว่า โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อติดตามและเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของผู้นำและประชาชนในพื้นที่โดยรอบแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและเคมี บริเวณชุมชนแหลมฉบัง ในครั้งนี้ เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ จัดขึ้นให้แก่ประธานคณะกรรมการชุมชน และประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคประชาชนมีบทบาทในการทำหน้าที่ติดตาม และสามารถตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่แหลมฉบังอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ นอกจากวิทยากรที่เป็นคณาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยโครงการดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากเครือไทยออยล์ ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม นำโดย นายภูพิงค์ ทวีทรัพย์ ผู้จัดการการจัดการสิ่งแวดล้อม และนายประทีป เลียงเพ็ชร ผู้จัดการรัฐกิจสัมพันธ์ ส่วนงาน EIA ร่วมบรรยาย ให้ความรู้ และรับฟังเสียงจากภาคประชาชนอีกด้วย

นอกจากการบรรยายแล้ว ตัวแทนชุมชน และประชาชนที่เข้ารับการอบรมยังได้ฝึกทักษะและประสบการณ์ในการเก็บเกี่ยวการเก็บตัวอย่างภาคสนาม สำรวจและวิเคราะห์คุณภาพเสียงและอากาศ คุณภาพน้ำ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต การสื่อสารข้อมูลสิ่งแวดล้อม และข้อมูลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

ด้าน นายเลอเลิศ อมรสังข์ เผยว่า ฐานะที่ไทยออลย์เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ที่จะต้องมีการทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เห็นว่า โครงการจัดอบรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้ประชาชนที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากโครงการต่างๆ ได้เข้าใจถึงวิธีการ และขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเชื่อว่าในปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการที่จะต้องทำ EIA นั้น รวมถึงไทยออยล์เองก็ต้องเปิดกว้างในการรับฟังเสียงของประชาชน และทุกอย่างต้องมีการดำเนินการที่โปร่งใส และชัดเจน

ดังนั้น การให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจึงถือว่าเป็นเรื่องทีดีต่อทั้งสองฝ่าย และภาคประชาชนเองก็จะได้เข้าใจถึงหลักการทางวิชาการมากขึ้นอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น