บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุ่งมั่นยกระดับการปฏิบัติต่อบุคลากรที่เป็นเลิศ ชูยุทธศาสตร์ “3P” ผลักดันให้ทั่วทั้งองค์กรมีการปฏิบัติต่อพนักงานทั้งไทย และต่างด้าวเป็นไปตามหลักปฏิบัติ และมาตรฐานสากล ก้าวสู่องค์กรต้นแบบด้านการบริหารแรงงาน
นายอภิชาติ แก้วกิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ซีพีเอฟ กล่าวว่า ตามที่บริษัทฯ กำหนดนโยบายจัดจ้างแรงงานต่างด้าวโดยตรง และให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกับแรงงานไทย ได้สร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่อการดูแลแรงงานของภาคเอกชนไทยได้มาตรฐานสากล มีส่วนป้องกันการใช้แรงงานทาส และการค้ามนุษย์
ในปี 2559 นี้ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้ายกระดับมาตรฐานงานบริหารบุคลากรขององค์กร มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์หลัก “3P” ขึ้น ได้แก่ Policy-Practice-Partnership เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้โรงงาน และสถานประกอบการทุกแห่งของบริษัทฯ มีการดูแลบุคลากรเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ P-Policy หรือนโยบาย จะเป็นกรอบการบริหารพนักงานที่ยึดหลักตามหลักสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานขององค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายการจัดจ้างแรงงานต่างด้าวที่บริษัทฯ มุ่งเน้นการจัดจ้าง และดูแลแรงงานอย่างเป็นธรรม เทียบเท่าแรงงานไทยทุกประการ
ส่วน P-Practice หรือการปฏิบัติ เป็นการดำเนินผลักดันองค์กรให้มีการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานทุกระดับ สอดคล้องตามมาตรฐานแรงงานไทย หรือ มรท.8001-2553 ขณะที่ P-Partnership หรือการให้ความร่วมมือ บริษัทฯ จะทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เอ็นจีโอทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงสมาพันธ์ และสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานของไทยให้ดีขึ้น
ปัจจุบัน ซีพีเอฟจัดจ้างแรงงานต่างด้าว จำนวน 5,200 คน เป็นลูกจ้างโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานกัมพูชารวม 4,450 คน ที่เหลือ 750 คนเป็นพม่า ทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมเทียบเท่าแรงงานคนไทยทุกประการ เช่น การรับค่าจ้าง ค่าทักษะฝีมือแรงงาน การปรับค่าจ้างประจำปี รวมถึงสวัสดิการที่เป็นไปตามกฎหมาย เช่น ประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ การลาพักร้อน การรับค่าจ้างล่วงเวลาตามที่กฎหมายกำหนด สามารถทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามหลักมาตรฐานสากล รวมถึงได้รับการปรับตำแหน่ง และเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
นายอภิชาติ กล่าวต่อว่า แรงงานต่างด้าวที่ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ประมาณ 2,300 คน เป็นชาวกัมพูชา ด้วยนโยบายการจ้างแรงงานต่างด้าว ช่วยให้บริษัทดูแลและยกระดับฝีมือของแรงงานต่างด้าวได้อย่างเต็มที่ มีจัดที่พัก และรถรับส่งระหว่างที่พัก และโรงงานทุกวัน มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานไทย-กัมพูชา และมีเจ้าหน้าที่ประสานงานที่พูดไทยได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แรงงานต่างด้าวของบริษัททำงาน และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ นครราชสีมา นับเป็นสถานประกอบการแห่งแรกของบริษัทฯ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุดเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของซีพีเอฟในการดูแลบุคลากรทุกระดับ ยึดหลักตามมาตรฐานสากล และร่วมยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลกต่อไป
นายอภิชาติ แก้วกิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ซีพีเอฟ กล่าวว่า ตามที่บริษัทฯ กำหนดนโยบายจัดจ้างแรงงานต่างด้าวโดยตรง และให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกับแรงงานไทย ได้สร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต่อการดูแลแรงงานของภาคเอกชนไทยได้มาตรฐานสากล มีส่วนป้องกันการใช้แรงงานทาส และการค้ามนุษย์
ในปี 2559 นี้ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้ายกระดับมาตรฐานงานบริหารบุคลากรขององค์กร มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์หลัก “3P” ขึ้น ได้แก่ Policy-Practice-Partnership เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้โรงงาน และสถานประกอบการทุกแห่งของบริษัทฯ มีการดูแลบุคลากรเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ P-Policy หรือนโยบาย จะเป็นกรอบการบริหารพนักงานที่ยึดหลักตามหลักสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานขององค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายการจัดจ้างแรงงานต่างด้าวที่บริษัทฯ มุ่งเน้นการจัดจ้าง และดูแลแรงงานอย่างเป็นธรรม เทียบเท่าแรงงานไทยทุกประการ
ส่วน P-Practice หรือการปฏิบัติ เป็นการดำเนินผลักดันองค์กรให้มีการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานทุกระดับ สอดคล้องตามมาตรฐานแรงงานไทย หรือ มรท.8001-2553 ขณะที่ P-Partnership หรือการให้ความร่วมมือ บริษัทฯ จะทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เอ็นจีโอทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงสมาพันธ์ และสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานของไทยให้ดีขึ้น
ปัจจุบัน ซีพีเอฟจัดจ้างแรงงานต่างด้าว จำนวน 5,200 คน เป็นลูกจ้างโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานกัมพูชารวม 4,450 คน ที่เหลือ 750 คนเป็นพม่า ทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมเทียบเท่าแรงงานคนไทยทุกประการ เช่น การรับค่าจ้าง ค่าทักษะฝีมือแรงงาน การปรับค่าจ้างประจำปี รวมถึงสวัสดิการที่เป็นไปตามกฎหมาย เช่น ประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ การลาพักร้อน การรับค่าจ้างล่วงเวลาตามที่กฎหมายกำหนด สามารถทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามหลักมาตรฐานสากล รวมถึงได้รับการปรับตำแหน่ง และเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
นายอภิชาติ กล่าวต่อว่า แรงงานต่างด้าวที่ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ประมาณ 2,300 คน เป็นชาวกัมพูชา ด้วยนโยบายการจ้างแรงงานต่างด้าว ช่วยให้บริษัทดูแลและยกระดับฝีมือของแรงงานต่างด้าวได้อย่างเต็มที่ มีจัดที่พัก และรถรับส่งระหว่างที่พัก และโรงงานทุกวัน มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานไทย-กัมพูชา และมีเจ้าหน้าที่ประสานงานที่พูดไทยได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แรงงานต่างด้าวของบริษัททำงาน และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ นครราชสีมา นับเป็นสถานประกอบการแห่งแรกของบริษัทฯ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทยระดับสมบูรณ์ขั้นสูงสุดเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของซีพีเอฟในการดูแลบุคลากรทุกระดับ ยึดหลักตามมาตรฐานสากล และร่วมยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลกต่อไป